ASTV ผู้จัดการรายวัน - พบหุ้นกลุ่ม NPG ระยะสุดท้าย 21 บริษัท จ่อชี้ชะตาอยู่หรือไปในปีหน้า PICNI -NFC- SAFARI- KTECH- DTM และ CIRKIT ขบวน หากไม่ผ่านข้อบังคับโดนลบชื่อหายจากระบบแน่ แต่ถ้าแผนแก้ไขคืบใกล้เคียงเกณฑ์ ยังพอมีโอกาสต่อชะตาได้อีก1ปี ตลาดหลักทรัพย์ระบุ บางบริษัทอยู่มาตั้งแต่วิกฤตปี2540 ร่วม16ปีมาแล้ว ด้าน CAWOW-PATKL-MPG-SECC- TRS และ TT&T คิวต่อไปที่อาจลงมาอยู่ในNPGเช่นกัน
นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มีหุ้นในกลุ่มบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่แก้ไขผลดำเนินงานไม่ได้ภายในกำหนด หรือNPG (Non Performing Group) จำนวนกว่า 20 บริษัท ซึ่งอยู่ในขั้นที่ 3 หรือขั้นสุดท้าย และมีโอกาสที่จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2557 หากไม่สามารถแก้ไขผลดำเนินงานได้ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2554)
“ปี2557 จะมีหุ้นในกลุ่มNPG หลายตัวที่ถูกพิจารณาเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะไม่สามารถแก้ไขผลดำเนินงานตามกำหนด โดยผลดำเนินงานสุดท้ายที่จะชี้วัดว่าบริษัทใดยังสามารถอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไปหรือไม่ บริษัทใดต้องเพิกถอนออก หรือให้โอกาสอีก1ปี คือผลดำเนินงานในปี 2556 ที่จะมีการทยอยประกาศในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า และจะเริ่มมีผลต่อหุ้นกลุ่มนี้ในเดือนเมษายน2557 ”
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทเหล่านี้ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้ไม่สามารถผ่านข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำหนดได้ แต่มีผลการดำเนินงาน และความคืบหน้าในการฟื้นฟูธุรกิจใกล้เคียงต่อข้อบังดังกล่าว ก็ยังมีโอกาสที่ได้รับการอนุญาตผ่อนผัน หรือยืดระยะเวลาเพื่อปรับปรุงธุรกิจและผลดำเนินงานของบริษัทออกไปได้อีก 1ปี หรือภายในสิ้นสุดผลดำเนินงานปี2557
นายศักรินทร์ กล่าวว่า การพิจารณาให้บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มนี้ออกจากกลุ่มNPG หรือเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ หรือขยายระยะเวลาเพิ่มเติมให้อีก 1ปี จะดูจากหลายปัจจัย เช่นพัฒนาการต่อการดำเนินธุรกิจหรือผลดำเนินงานในทิศทางที่บวก , ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ เรียบร้อยหรือลุล่วงไปมากน้อยเพียงใด และ สภาพคล่องของหุ้น เป็นต้น
ที่ผ่านมาในกลุ่ม NPG และกลุ่มNC (Non-Compliance) หรือ หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน หลายหลักทรัพย์ เป็นหุ้นที่มีปัญหามาตั้งแต่ยุควิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้โอกาสบริษัทเหล่านี้ในการแก้ไขผลดำเนินงาน และโครงสร้างหนี้มาเป็นเวลาร่วม 16ปี
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจรายชื่อ บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตามข้อ 9 (6) ของข้อบังคับตลท. เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์ พบว่า มีหุ้นบริษัทใหญ่หลายบริษัทที่เคยได้รับความสนใจเข้าลงทุนอยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย จากทั้งหมด 21 บริษัท อยู่ในระยะที่ 3 ของการประกาศ NPG เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 เช่น บมจ.ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) บมจ.ปุ๋ย เอ็นเอฟซี (NFC) บมจ.ซาฟารีเวิลด์ (SAFARI) บมจ.เค-เทค คอนสตรัคชั่น (KTECH) บมจ. ดาต้าแมท (DTM) บมจ.เซอร์คิท อิเลคโทรนิกส์อินดัสตรีส์ (CIRKIT) บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลอปเม้นท์ (APX) เป็นต้น
โดยหุ้นในกลุ่ม NPG ที่เหลือได้แก่ ABICO, BRC, CPICO, D-MARK ,ITV, POMPUI,SGF,SMPC,AJP,TPROP,USC,VGM และWR ส่วนหุ้นที่อยู่ในหมวดNC ระยะที่3 มีจำนวน 6 ราย ได้แก่ CAWOW,PATKL,MPG,SECC,TRS และ TT&T ขณะที่หุ้นในหมวดNC ระยะที่ 2 มีอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ THL, ASCON และ SINGHA ส่วนที่อยู่ในระยะที่ 1 คือ SCAN และ SMC นอกจากนี้ ยังมีบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลอื่น อีก 3 บริษัท ได้แก่ YNP,BLISS และ PRO
สำหรับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกเพิกถอน กรณีการดำเนินงานและฐานะทางการเงินตามข้อ 9(6) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน กำหนดไว้ดังนี้ 1.สินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการลดลงหรือกำลังลดลงในจำนวนที่มีนัยสำคัญ เนื่องมาจากการขาย จำหน่าย การให้เช่า การแยกส่วนออกไป การหยุดผลิต การละทิ้ง การเสื่อมคุณภาพ การถูกยึด การเวนคืน ฯลฯ
2.มีการหยุดประกอบกิจการทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดไม่ว่าด้วยเหตุใด โดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะมาจากบริษัท หรือบุคคลอื่นใด 3.ผู้สอบบัญชีรายงานว่าไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นว่างบบัญชีไม่ถูกต้องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และ4.ฐานะการเงินซึ่งเปิดเผยในงบการเงินหรืองบการเงินรวมฉบับล่าสุด ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้วแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์
ดังนั้นเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีแนวทางในการแก้ไขอย่างชัดเจน และเพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย ตลาดหลักทรัพย์จึงมีวิธีดูแลบริษัทที่มีฐานะการเงินไม่แข็งแรง โดยนำมาแยกกลุ่มออกจากบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะการเงินแข็งแรง เพื่อกระตุ้นให้บริษัทเหล่านั้นเร่งฟื้นฟูกิจการ โดยจะขึ้นเครื่องหมาย NC เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายเพิกถอน พร้อมขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขาย และให้เวลา 2ปีในการฟื้นฟูกิจการ
หากภายใน2ปี บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ตามข้อบังคับของตลท. จะถูกปลดเครื่องหมาย NC และSP ออก และสามารถกลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติ แต่หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามระยะเวลาที่กำหนดภายใน 2ปีได้ ตลท.จะถอนชื่อออกจากกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ และย้ายบริษัทนั้นไปอยู่ในกลุ่มNPGซึ่งให้เวลาในการแก้ไข 3ระยะ และยังคงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลและปฏิบัติตามข้อตกลงการเป็นบริษัทจดทะเบียน จนกว่าจะดำเนินการแก้ไขได้ตามข้อบังคับที่กำหนดไว้
ส่วนหลักเกณฑ์ในการเพื่อขอพ้นเหตุเพิกถอน คือ 1. ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า20ล้านบาทสำพหรับตลาดmai และ300 ล้านบาทสำหรับ SET 2.ตลท.จะพิจารณางบการเงินประจำปี หรืองบการเงิน4ไตรมาสที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้วพบว่า มีกำไรสุทธิ และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ กรณ๊ซื้อขายในmai ส่วน SET ต้องมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
3.ปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้บริษัททั้งหมด บริษัทสามารถจ่ายหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ตามกำหนดเวลา แผนปรับโครงสร้างหนี้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย 4.ตลท.เห็นว่าบริษัทมีฐานะการเงินและผลดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดประกอบด้วย5.มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การดำเนิสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนก่อนขอพ้นเหตุเพิกถอน และ6.บริษัทที่ฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย บริษัทต้องออกจากการฟื้นฟูกิจการผ่านศาล
นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตอนนี้มีหุ้นในกลุ่มบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่แก้ไขผลดำเนินงานไม่ได้ภายในกำหนด หรือNPG (Non Performing Group) จำนวนกว่า 20 บริษัท ซึ่งอยู่ในขั้นที่ 3 หรือขั้นสุดท้าย และมีโอกาสที่จะถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม 2557 หากไม่สามารถแก้ไขผลดำเนินงานได้ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2554)
“ปี2557 จะมีหุ้นในกลุ่มNPG หลายตัวที่ถูกพิจารณาเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะไม่สามารถแก้ไขผลดำเนินงานตามกำหนด โดยผลดำเนินงานสุดท้ายที่จะชี้วัดว่าบริษัทใดยังสามารถอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไปหรือไม่ บริษัทใดต้องเพิกถอนออก หรือให้โอกาสอีก1ปี คือผลดำเนินงานในปี 2556 ที่จะมีการทยอยประกาศในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า และจะเริ่มมีผลต่อหุ้นกลุ่มนี้ในเดือนเมษายน2557 ”
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทเหล่านี้ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้ไม่สามารถผ่านข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำหนดได้ แต่มีผลการดำเนินงาน และความคืบหน้าในการฟื้นฟูธุรกิจใกล้เคียงต่อข้อบังดังกล่าว ก็ยังมีโอกาสที่ได้รับการอนุญาตผ่อนผัน หรือยืดระยะเวลาเพื่อปรับปรุงธุรกิจและผลดำเนินงานของบริษัทออกไปได้อีก 1ปี หรือภายในสิ้นสุดผลดำเนินงานปี2557
นายศักรินทร์ กล่าวว่า การพิจารณาให้บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มนี้ออกจากกลุ่มNPG หรือเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ หรือขยายระยะเวลาเพิ่มเติมให้อีก 1ปี จะดูจากหลายปัจจัย เช่นพัฒนาการต่อการดำเนินธุรกิจหรือผลดำเนินงานในทิศทางที่บวก , ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ เรียบร้อยหรือลุล่วงไปมากน้อยเพียงใด และ สภาพคล่องของหุ้น เป็นต้น
ที่ผ่านมาในกลุ่ม NPG และกลุ่มNC (Non-Compliance) หรือ หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายต้องปรับปรุงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน หลายหลักทรัพย์ เป็นหุ้นที่มีปัญหามาตั้งแต่ยุควิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้โอกาสบริษัทเหล่านี้ในการแก้ไขผลดำเนินงาน และโครงสร้างหนี้มาเป็นเวลาร่วม 16ปี
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจรายชื่อ บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตามข้อ 9 (6) ของข้อบังคับตลท. เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์ พบว่า มีหุ้นบริษัทใหญ่หลายบริษัทที่เคยได้รับความสนใจเข้าลงทุนอยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย จากทั้งหมด 21 บริษัท อยู่ในระยะที่ 3 ของการประกาศ NPG เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 เช่น บมจ.ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) บมจ.ปุ๋ย เอ็นเอฟซี (NFC) บมจ.ซาฟารีเวิลด์ (SAFARI) บมจ.เค-เทค คอนสตรัคชั่น (KTECH) บมจ. ดาต้าแมท (DTM) บมจ.เซอร์คิท อิเลคโทรนิกส์อินดัสตรีส์ (CIRKIT) บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลอปเม้นท์ (APX) เป็นต้น
โดยหุ้นในกลุ่ม NPG ที่เหลือได้แก่ ABICO, BRC, CPICO, D-MARK ,ITV, POMPUI,SGF,SMPC,AJP,TPROP,USC,VGM และWR ส่วนหุ้นที่อยู่ในหมวดNC ระยะที่3 มีจำนวน 6 ราย ได้แก่ CAWOW,PATKL,MPG,SECC,TRS และ TT&T ขณะที่หุ้นในหมวดNC ระยะที่ 2 มีอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ THL, ASCON และ SINGHA ส่วนที่อยู่ในระยะที่ 1 คือ SCAN และ SMC นอกจากนี้ ยังมีบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลอื่น อีก 3 บริษัท ได้แก่ YNP,BLISS และ PRO
สำหรับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกเพิกถอน กรณีการดำเนินงานและฐานะทางการเงินตามข้อ 9(6) ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน กำหนดไว้ดังนี้ 1.สินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการลดลงหรือกำลังลดลงในจำนวนที่มีนัยสำคัญ เนื่องมาจากการขาย จำหน่าย การให้เช่า การแยกส่วนออกไป การหยุดผลิต การละทิ้ง การเสื่อมคุณภาพ การถูกยึด การเวนคืน ฯลฯ
2.มีการหยุดประกอบกิจการทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดไม่ว่าด้วยเหตุใด โดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะมาจากบริษัท หรือบุคคลอื่นใด 3.ผู้สอบบัญชีรายงานว่าไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นว่างบบัญชีไม่ถูกต้องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และ4.ฐานะการเงินซึ่งเปิดเผยในงบการเงินหรืองบการเงินรวมฉบับล่าสุด ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้วแสดงว่าผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์
ดังนั้นเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีแนวทางในการแก้ไขอย่างชัดเจน และเพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย ตลาดหลักทรัพย์จึงมีวิธีดูแลบริษัทที่มีฐานะการเงินไม่แข็งแรง โดยนำมาแยกกลุ่มออกจากบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะการเงินแข็งแรง เพื่อกระตุ้นให้บริษัทเหล่านั้นเร่งฟื้นฟูกิจการ โดยจะขึ้นเครื่องหมาย NC เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายเพิกถอน พร้อมขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขาย และให้เวลา 2ปีในการฟื้นฟูกิจการ
หากภายใน2ปี บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ตามข้อบังคับของตลท. จะถูกปลดเครื่องหมาย NC และSP ออก และสามารถกลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติ แต่หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามระยะเวลาที่กำหนดภายใน 2ปีได้ ตลท.จะถอนชื่อออกจากกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ และย้ายบริษัทนั้นไปอยู่ในกลุ่มNPGซึ่งให้เวลาในการแก้ไข 3ระยะ และยังคงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลและปฏิบัติตามข้อตกลงการเป็นบริษัทจดทะเบียน จนกว่าจะดำเนินการแก้ไขได้ตามข้อบังคับที่กำหนดไว้
ส่วนหลักเกณฑ์ในการเพื่อขอพ้นเหตุเพิกถอน คือ 1. ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า20ล้านบาทสำพหรับตลาดmai และ300 ล้านบาทสำหรับ SET 2.ตลท.จะพิจารณางบการเงินประจำปี หรืองบการเงิน4ไตรมาสที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้วพบว่า มีกำไรสุทธิ และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ กรณ๊ซื้อขายในmai ส่วน SET ต้องมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
3.ปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้บริษัททั้งหมด บริษัทสามารถจ่ายหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ตามกำหนดเวลา แผนปรับโครงสร้างหนี้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย 4.ตลท.เห็นว่าบริษัทมีฐานะการเงินและผลดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดประกอบด้วย5.มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การดำเนิสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนก่อนขอพ้นเหตุเพิกถอน และ6.บริษัทที่ฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย บริษัทต้องออกจากการฟื้นฟูกิจการผ่านศาล