ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยร่วงอีก 14 จุด โดน “บอนด์ช็อก” นักลงทุนปรับพอร์ตครั้งใหญ่ ขายหุ้นอุดขาดทุนบอนด์ จากความกังวลเฟดอาจลดเม็ดเงินQE อีกทั้งนิกเกอิดิ่ง จากเยนอ่อนค่า โบรกฯประเมินความผันผวนยังมีสูง เชื่อเดียวกับโอกาสรีบาวด์ ลุ้น!ปัจจัยบวกหลัก ประชุมกนง. 29พฤษภาคม ที่คาดลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยหนุนดัชนีไปต่อ
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (27พ.ค.) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่าน มา ซึ่งระหว่างวันปรับลดลงมากสุด 22.14 จุด ก่อนกลับมาปิดที่ระดับ 1,593.10 จุด ลดลง 14.36 จุด หรือ -0.89% มูลค่าการซื้อขาย 48,220.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,551.02 ล้านบาท โดยรวมเกิดภาวะ “บอนด์ช็อก”นักลงทุนแตกตื่นเทขายหุ้นทุกตลาด เพื่อดึงเงินกลับไปอุดตลาดพันธบัตรที่ขาดทุน หลังธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ส่งสัญญาณ อาจลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร
ขณะเดียวกัน อีกปัจจัยเกิดจากการลดลงอย่างหนักของดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังค่าเงินเยนอ่อนค่า และอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มตัวขึ้น จากข่าวที่ออกมาว่า การจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่ในระดับ 2% ได้นั้น รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และอาจมีเม็ดเงินไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงไทย ถือเป็นตลาดที่มีเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อเฟดมีท่าทีจะชะลอความร้อนแรงมาตรการQE และญี่ปุ่นซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบจำนวนมากเกิดปัญหา จึงเกิดแรงเทขายหุ้นเพื่อดึงเม็ดเงินกลับ และโดยรวมถือเป็นการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะเชื่อกันว่า ในการประชุมเฟดครั้งต่อไปมีความเป็นไปได้สูงที่เฟด อาจลดวงเงินซื้อพันธบัตร ซึ่งเป็นสัญญาณถึงการชะลอหรือยกเลิกมาตรการ QE
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(28พ.ค.) ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยยังความผันผวนค่อนข้างมากจากปัจจัยต่างประเทศ อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสรีบาวด์กลับขึ้นมาได้บ้าง หลังปรับตัวลดลงไปมากในช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา แต่นักลงทุนบางส่วนยังรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 29 พ.ค. จึงประเมินแนวต้าน 1,600 จุด แนวรับ 1,580 จุด
นางสาว มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มในรอบตลาดหุ้นไทยในรอบสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีจะไม่เกิน 1,620 จุด ทั้งนี้ นักลงทุนต้องติดตามต่อในเรื่องของการประชุม กนง.ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้ ถ้าหากว่าผลการประชุม สรุปว่าลดอัตราดอกเบี้ยลงในอัตราที่หลายฝ่ายประเมินไว้ เชื่อว่าจะช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้น
รวมถึงกรณี MSCI ที่จะเพิ่มอีก4หุ้นไทย เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard Indices ในวันที่ 31พ.ค. ได้แก่ MINT ,TRUE และ HMPRO ซึ่งคาดว่าน่าจะเห็นเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาซื้อหุ้นทั้ง3หลักทรัพย์ในวันสุดท้าย อีกทั้งยังมีในส่วนของ MSCI Global Small Cap Indices ที่มีหุ้นไทยเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 20 หลักทรัพย์ โดยจุดนี้ มองว่าอาจจะทำให้หุ้นไทยขยับผันผวนผิดปกติ และถ้ามีการนำหุ้นบางตัวออกไป ก็อาจจะทำให้หุ้นไทยร่วงผิดปกติด้วยเช่นกัน
“เราประเมินแนวรับที่ 1,585 จุด ซึ่งอาจเห็นการรีบาวด์กลับขึ้นมา ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,600 -1,605 จุด โดยรวมตลาดยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบๆอย่างนี้ต่อไปอีกระยะ เป็นการปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆในเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลงประมาณ 2% ตลาดหุ้นอินโดนีเซียลดลงประมาณ 1%”
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล. เอเซีย พลัส กล่าวว่า บริษัทคาดว่าการประชุมของ กนง. ในวันที่ 29 พ.ค. นี้ อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.75% เหลือ 2.50% เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท หลังจากที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วส่วนหนึ่ง
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (27พ.ค.) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่าน มา ซึ่งระหว่างวันปรับลดลงมากสุด 22.14 จุด ก่อนกลับมาปิดที่ระดับ 1,593.10 จุด ลดลง 14.36 จุด หรือ -0.89% มูลค่าการซื้อขาย 48,220.16 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,551.02 ล้านบาท โดยรวมเกิดภาวะ “บอนด์ช็อก”นักลงทุนแตกตื่นเทขายหุ้นทุกตลาด เพื่อดึงเงินกลับไปอุดตลาดพันธบัตรที่ขาดทุน หลังธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ส่งสัญญาณ อาจลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร
ขณะเดียวกัน อีกปัจจัยเกิดจากการลดลงอย่างหนักของดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังค่าเงินเยนอ่อนค่า และอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มตัวขึ้น จากข่าวที่ออกมาว่า การจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่ในระดับ 2% ได้นั้น รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และอาจมีเม็ดเงินไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงไทย ถือเป็นตลาดที่มีเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อเฟดมีท่าทีจะชะลอความร้อนแรงมาตรการQE และญี่ปุ่นซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบจำนวนมากเกิดปัญหา จึงเกิดแรงเทขายหุ้นเพื่อดึงเม็ดเงินกลับ และโดยรวมถือเป็นการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะเชื่อกันว่า ในการประชุมเฟดครั้งต่อไปมีความเป็นไปได้สูงที่เฟด อาจลดวงเงินซื้อพันธบัตร ซึ่งเป็นสัญญาณถึงการชะลอหรือยกเลิกมาตรการ QE
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(28พ.ค.) ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยยังความผันผวนค่อนข้างมากจากปัจจัยต่างประเทศ อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสรีบาวด์กลับขึ้นมาได้บ้าง หลังปรับตัวลดลงไปมากในช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา แต่นักลงทุนบางส่วนยังรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 29 พ.ค. จึงประเมินแนวต้าน 1,600 จุด แนวรับ 1,580 จุด
นางสาว มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มในรอบตลาดหุ้นไทยในรอบสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีจะไม่เกิน 1,620 จุด ทั้งนี้ นักลงทุนต้องติดตามต่อในเรื่องของการประชุม กนง.ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้ ถ้าหากว่าผลการประชุม สรุปว่าลดอัตราดอกเบี้ยลงในอัตราที่หลายฝ่ายประเมินไว้ เชื่อว่าจะช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้น
รวมถึงกรณี MSCI ที่จะเพิ่มอีก4หุ้นไทย เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard Indices ในวันที่ 31พ.ค. ได้แก่ MINT ,TRUE และ HMPRO ซึ่งคาดว่าน่าจะเห็นเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาซื้อหุ้นทั้ง3หลักทรัพย์ในวันสุดท้าย อีกทั้งยังมีในส่วนของ MSCI Global Small Cap Indices ที่มีหุ้นไทยเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 20 หลักทรัพย์ โดยจุดนี้ มองว่าอาจจะทำให้หุ้นไทยขยับผันผวนผิดปกติ และถ้ามีการนำหุ้นบางตัวออกไป ก็อาจจะทำให้หุ้นไทยร่วงผิดปกติด้วยเช่นกัน
“เราประเมินแนวรับที่ 1,585 จุด ซึ่งอาจเห็นการรีบาวด์กลับขึ้นมา ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,600 -1,605 จุด โดยรวมตลาดยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบๆอย่างนี้ต่อไปอีกระยะ เป็นการปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆในเอเชีย เช่น ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลงประมาณ 2% ตลาดหุ้นอินโดนีเซียลดลงประมาณ 1%”
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล. เอเซีย พลัส กล่าวว่า บริษัทคาดว่าการประชุมของ กนง. ในวันที่ 29 พ.ค. นี้ อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จากปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.75% เหลือ 2.50% เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท หลังจากที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วส่วนหนึ่ง