โรงเรียนประจำไม่ว่าจะเป็นชายล้วนหรือหญิงล้วนมีมาหลายร้อยปีแล้ว และก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ทั้งในอังกฤษ และอเมริกา สำหรับอังกฤษนั้นเมื่อไม่นานมานี้ได้เปิดรับผู้หญิงเป็นครั้งแรก เมื่อ 10 ปีก่อนผมไปเยี่ยมโรงเรียน Rugby เขาก็ให้หัวหน้านักเรียนชาย และนักเรียนหญิงมาต้อนรับ
เด็กที่ไปอยู่โรงเรียนประจำส่วนใหญ่ไปจากครอบครัวที่มั่งมี เรียกว่ามีความเป็นอยู่ที่สบาย แต่เหตุใดจึงมาอยู่โรงเรียนประจำ แสดงว่าพ่อแม่ต้องเห็นว่าการอยู่โรงเรียนประจำ จะทำให้เด็กได้รับการกล่อมเกลาที่ดี แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่อยากเข้าโรงเรียนประจำ แต่เมื่อเข้าไปแล้วก็ไม่อยากออก แม้ในวันหยุดก็หาโอกาสนอนอยู่ที่โรงเรียนไม่กลับบ้าน
Charles Darwin เมื่อยังเด็กไปอยู่โรงเรียน Shrewsbury ซึ่งเขาเขียนบันทึกไว้ว่าไม่ชอบเลย Eric Blair หรือที่ใช้ชื่อเขียนหนังสือว่า George Orwell ก็อยู่โรงเรียน Eton และก็ไม่ชอบโรงเรียนเช่นกัน
โรงเรียนประจำเป็นเสมือนชุมชนเล็กๆ ที่มีเด็กจำนวนหนึ่งไม่มากเกินกว่าที่ทุกคนจะรู้จักซึ่งกันและกัน และในชุมชนแห่งนี้เด็กจะปกครองกันเอง โดยมีเด็กโตเป็นหัวหน้า แม้โรงเรียนจะมีกฎระเบียบ แต่พวกเด็กๆ ก็จะมีกติกาของพวกตนเองไว้เหมือนกัน เช่น ในการกินอาหารต้องให้หัวโต๊ะหรือหัวหน้ากินก่อน เด็กเล็กต้องรับใช้เด็กโต และเด็กโตก็จะให้ขนมนมเนยเป็นการตอบแทน แม้แต่สิทธิพิเศษ เช่น การเข้านอนดึก หรือการหนีโรงเรียนก็สงวนไว้สำหรับเด็กโตเท่านั้น เด็กเล็กจะออกไปนอกโรงเรียนไม่ได้ เว้นแต่พี่จะใช้ ส่วนมากมักเป็นการใช้เด็กไปซื้อก๋วยเตี๋ยวใกล้ๆ โรงเรียน
เคยมีคนเอาหนังสือที่เป็นวิทยานิพนธ์มาให้ผมอ่าน เป็นการวิเคราะห์นักเรียนประจำ โดยเฉพาะคนที่เป็นมหาดเล็กอยู่ในวังสมัยรัชกาลที่ 6 อ่านแล้วก็ขบขันมากในฐานะที่เคยเป็นเด็กประจำมาก่อน แม้แต่การที่เด็กผู้ชายเล่นฟุตบอลแล้วมีคนชอบดูฟุตบอล ก็มีการตีความเป็นนัยว่าชอบดูพวกผู้ชายที่บึกบึนแข็งแรง
ที่จริงนักเรียนประจำชายจะชอบผู้ชายด้วยกันก็มีบ้าง แต่เด็กที่กระเดียดเป็นผู้หญิงมักถูกล้อเลียนและแอนตี้ แสดงว่าการรักร่วมเพศยังไม่ได้รับการยอมรับ เพราะในโรงเรียนประจำนั้น นักกีฬาจะได้รับการยกย่องมากกว่าคนเรียนเก่ง การเล่นกีฬาก่อให้เกิดความรักพวกพ้อง และทำให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ที่จะช่วยกัน ทำให้ทีมชนะโดยไม่เห็นแก่ตัว และต้องมีวินัยมาฝึกซ้อมให้สม่ำเสมอ และการเล่นกีฬาก็ต้องเล่นตามกติกา หากจะหนักก็เรียกว่า “หนักในเกม” ไม่โกง ไม่เกเร
ในโรงเรียนประจำ เด็กจะมีการตั้งฉายาให้เพื่อนจนกลายเป็นชื่อเล่นคนละชื่อกับที่บ้านเรียก อาจกล่าวได้ว่า ฉายาใหม่นี้กลายเป็น “อัตลักษณ์” ของเด็กแต่ละคนไปจนวันตาย บางคนก็ถูกเรียกชื่อเล่นเป็นชื่อพ่อ อย่างพวกลูกนายทิม โชตนา เพื่อนๆ ก็เรียกว่า “ไอ้ทิม” เป็นต้น ในสมัยผมยังเด็กฉายาเหล่านี้มักจะตั้งตามบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน แต่เดี๋ยวนี้มีการตั้งชื่อกันแปลกๆ เช่น “ส้นตีน” “กำตด” เป็นต้น
เด็กๆ ในโรงเรียนประจำจะมีภาษาเป็นของตนเองที่ใช้พูดเป็นที่เข้าใจกัน อย่างเช่น การขโมยจะเรียกว่า “มูด” การโกงจะเรียกว่า “ชักดาบ” เคยมีคนรวบรวมคำเหล่านี้ไว้ ปรากฏว่ามีเป็นสิบคำ และมีแตกต่างกันไปตามยุคสมัย
ข้อเสียของเด็กประจำก็คือ การรักเพื่อนมากเกินไป และไม่ขัดใจเพื่อนจึงถูกตามใจจนเสียนิสัย เมื่อแต่งงานไปแล้วก็มีปัญหากับภรรยา เพราะความเอาใจตัวเองมากเกินไป และการรักเพื่อนให้เวลากับเพื่อนมาก วิธีการที่ภรรยาจะอยู่กันยืดก็คือต้องคิดว่าตนเองเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นเมีย ผัวทำอะไรผิดมา ก็ไม่ซ้ำเติม
การรักเพื่อนนี้อาจเป็นเพราะเมื่อเด็กๆ จากครอบครัวมาก็จะเกิดความว้าเหว่ และทดแทนด้วยการมีเพื่อน แต่เพื่อนสนิทก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ จนโตอยู่มัธยมปลายแล้วจึงลงตัว
ข้อดีของเด็กประจำคือ ความสามารถในการปรับตัว และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเป็นผู้มีสปิริต รักหมู่รักคณะ เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี อยู่ที่ไหนก็มีแต่คนรัก ในบริษัทใหญ่ๆ นักเรียนประจำมักมีภาวะผู้นำสูง เป็นที่รักใคร่ของทั้งเพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
ในอังกฤษและอเมริกา นักเรียนประจำมักได้ดีเป็นผู้นำประเทศ สำหรับเมืองไทยเราเด็กประจำก็ได้ดีเหมือนกัน แต่เป็นเด็กโรงเรียนทหารนะครับ
เด็กที่ไปอยู่โรงเรียนประจำส่วนใหญ่ไปจากครอบครัวที่มั่งมี เรียกว่ามีความเป็นอยู่ที่สบาย แต่เหตุใดจึงมาอยู่โรงเรียนประจำ แสดงว่าพ่อแม่ต้องเห็นว่าการอยู่โรงเรียนประจำ จะทำให้เด็กได้รับการกล่อมเกลาที่ดี แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่อยากเข้าโรงเรียนประจำ แต่เมื่อเข้าไปแล้วก็ไม่อยากออก แม้ในวันหยุดก็หาโอกาสนอนอยู่ที่โรงเรียนไม่กลับบ้าน
Charles Darwin เมื่อยังเด็กไปอยู่โรงเรียน Shrewsbury ซึ่งเขาเขียนบันทึกไว้ว่าไม่ชอบเลย Eric Blair หรือที่ใช้ชื่อเขียนหนังสือว่า George Orwell ก็อยู่โรงเรียน Eton และก็ไม่ชอบโรงเรียนเช่นกัน
โรงเรียนประจำเป็นเสมือนชุมชนเล็กๆ ที่มีเด็กจำนวนหนึ่งไม่มากเกินกว่าที่ทุกคนจะรู้จักซึ่งกันและกัน และในชุมชนแห่งนี้เด็กจะปกครองกันเอง โดยมีเด็กโตเป็นหัวหน้า แม้โรงเรียนจะมีกฎระเบียบ แต่พวกเด็กๆ ก็จะมีกติกาของพวกตนเองไว้เหมือนกัน เช่น ในการกินอาหารต้องให้หัวโต๊ะหรือหัวหน้ากินก่อน เด็กเล็กต้องรับใช้เด็กโต และเด็กโตก็จะให้ขนมนมเนยเป็นการตอบแทน แม้แต่สิทธิพิเศษ เช่น การเข้านอนดึก หรือการหนีโรงเรียนก็สงวนไว้สำหรับเด็กโตเท่านั้น เด็กเล็กจะออกไปนอกโรงเรียนไม่ได้ เว้นแต่พี่จะใช้ ส่วนมากมักเป็นการใช้เด็กไปซื้อก๋วยเตี๋ยวใกล้ๆ โรงเรียน
เคยมีคนเอาหนังสือที่เป็นวิทยานิพนธ์มาให้ผมอ่าน เป็นการวิเคราะห์นักเรียนประจำ โดยเฉพาะคนที่เป็นมหาดเล็กอยู่ในวังสมัยรัชกาลที่ 6 อ่านแล้วก็ขบขันมากในฐานะที่เคยเป็นเด็กประจำมาก่อน แม้แต่การที่เด็กผู้ชายเล่นฟุตบอลแล้วมีคนชอบดูฟุตบอล ก็มีการตีความเป็นนัยว่าชอบดูพวกผู้ชายที่บึกบึนแข็งแรง
ที่จริงนักเรียนประจำชายจะชอบผู้ชายด้วยกันก็มีบ้าง แต่เด็กที่กระเดียดเป็นผู้หญิงมักถูกล้อเลียนและแอนตี้ แสดงว่าการรักร่วมเพศยังไม่ได้รับการยอมรับ เพราะในโรงเรียนประจำนั้น นักกีฬาจะได้รับการยกย่องมากกว่าคนเรียนเก่ง การเล่นกีฬาก่อให้เกิดความรักพวกพ้อง และทำให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ที่จะช่วยกัน ทำให้ทีมชนะโดยไม่เห็นแก่ตัว และต้องมีวินัยมาฝึกซ้อมให้สม่ำเสมอ และการเล่นกีฬาก็ต้องเล่นตามกติกา หากจะหนักก็เรียกว่า “หนักในเกม” ไม่โกง ไม่เกเร
ในโรงเรียนประจำ เด็กจะมีการตั้งฉายาให้เพื่อนจนกลายเป็นชื่อเล่นคนละชื่อกับที่บ้านเรียก อาจกล่าวได้ว่า ฉายาใหม่นี้กลายเป็น “อัตลักษณ์” ของเด็กแต่ละคนไปจนวันตาย บางคนก็ถูกเรียกชื่อเล่นเป็นชื่อพ่อ อย่างพวกลูกนายทิม โชตนา เพื่อนๆ ก็เรียกว่า “ไอ้ทิม” เป็นต้น ในสมัยผมยังเด็กฉายาเหล่านี้มักจะตั้งตามบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน แต่เดี๋ยวนี้มีการตั้งชื่อกันแปลกๆ เช่น “ส้นตีน” “กำตด” เป็นต้น
เด็กๆ ในโรงเรียนประจำจะมีภาษาเป็นของตนเองที่ใช้พูดเป็นที่เข้าใจกัน อย่างเช่น การขโมยจะเรียกว่า “มูด” การโกงจะเรียกว่า “ชักดาบ” เคยมีคนรวบรวมคำเหล่านี้ไว้ ปรากฏว่ามีเป็นสิบคำ และมีแตกต่างกันไปตามยุคสมัย
ข้อเสียของเด็กประจำก็คือ การรักเพื่อนมากเกินไป และไม่ขัดใจเพื่อนจึงถูกตามใจจนเสียนิสัย เมื่อแต่งงานไปแล้วก็มีปัญหากับภรรยา เพราะความเอาใจตัวเองมากเกินไป และการรักเพื่อนให้เวลากับเพื่อนมาก วิธีการที่ภรรยาจะอยู่กันยืดก็คือต้องคิดว่าตนเองเป็นเพื่อนมากกว่าเป็นเมีย ผัวทำอะไรผิดมา ก็ไม่ซ้ำเติม
การรักเพื่อนนี้อาจเป็นเพราะเมื่อเด็กๆ จากครอบครัวมาก็จะเกิดความว้าเหว่ และทดแทนด้วยการมีเพื่อน แต่เพื่อนสนิทก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะๆ จนโตอยู่มัธยมปลายแล้วจึงลงตัว
ข้อดีของเด็กประจำคือ ความสามารถในการปรับตัว และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเป็นผู้มีสปิริต รักหมู่รักคณะ เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี อยู่ที่ไหนก็มีแต่คนรัก ในบริษัทใหญ่ๆ นักเรียนประจำมักมีภาวะผู้นำสูง เป็นที่รักใคร่ของทั้งเพื่อนร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
ในอังกฤษและอเมริกา นักเรียนประจำมักได้ดีเป็นผู้นำประเทศ สำหรับเมืองไทยเราเด็กประจำก็ได้ดีเหมือนกัน แต่เป็นเด็กโรงเรียนทหารนะครับ