สภาอุตฯ โวยไฟดับภาคใต้ธุรกิจเสียหายหนัก โดยเฉพาะธุรกิจผลิตถุงมือยาง-ถุงยางอนามัย เหตุกระบวนการผลิต 24 ชั่วโมง พร้อมสำรวจความเสียหายภาคอุตสาหกรรมที่อาจกระทบต่อคุณภาพ ยื่น 3 มาตรการให้รัฐบาลแจงสาเหตุที่ไปที่มา สร้างความเชื่อมั่นและการตั้งศูนย์ฉุกเฉินแจ้งเตือนสกัดความเสียหายลาม ด้าน ธปท.ป้องแบงก์ไม่เสียหายเหตุมีระบบรองรับ
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า จากปัญหาไฟฟ้าดับพร้อมกันในทุกพื้นที่ของ 14 จังหวัดภาคใต้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เพื่อสอบถามประเมินความเสียหายจากการที่ไฟฟ้าดับในครั้งนี้ โดยพบว่าอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง-ถุงยางอนามัย อุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและสุราษฎร์ธานี ได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นการผลิต 24 ชั่วโมง ซึ่งน่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร-อาหารแปรรูป ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่มีเครื่องปั่นไฟ แต่ส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ทั้งไลน์การผลิต อุตสาหกรรมปลาป่น ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดระนอง และสงขลา ได้รับแจ้งว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตในช่วงเย็น ความเสียหายอาจจะไม่มาก, อุตสาหกรรมผลิตไม้ยาง- ไม้ยางแปรรูป ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พังงา สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ฯลฯ หากเป็นโรงเลื่อย ความเสียหายอาจไม่มี แต่หากสินค้าอยู่ระหว่างการอบ ลดความชื้น อาจส่งผลต่อคุณภาพของไม้ รวมถึงการกำจัดเชื้อรา, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผลกระทบยังไม่ชัดเจน นอกจากสถานร้านค้า สถานบันเทิง ไม่สามารถให้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ในด้านความเชื่อมั่น คงจะต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์
นายธนิตกล่าวว่า ความเสียหายในเชิงมูลค่าจากการที่ไฟฟ้าดับอย่างฉับพลันใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจน แต่ในด้านความเชื่อมั่น ทั้งด้านการผลิต การลงทุน และการท่องเที่ยว คงจะได้รับการกระทบค่อนข้างมาก ทั้งนี้ หากไฟฟ้าดับในช่วงกลางวัน ความเสียหายจากภาคการผลิต จะเสียหายมากกว่านี้ จากการประเมินของ ส.อ.ท. ซึ่งได้ข้อมูลจากพื้นที่ ต้องการให้รัฐบาลกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้
1. ด้านความเชื่อมั่น ต้องมีการสอบสวนสาเหตุที่แท้จริง ว่าเกิดได้อย่างไร รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับในลักษณะดังกล่าว จะมีวิธีการและมาตรการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการชี้แจง แถลงข่าวให้ชัดเจน เพราะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น ทั้งด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. ด้านการประเมินความเสียหายและความรับผิดชอบ จะต้องมีการประเมินความเสียหาย ทั้งด้านอุตสาหกรรม การผลิต และด้านอื่นๆ ว่ามีความเสียหายอย่างไร โดยเฉพาะสินค้าบางประเภทของภาคอุตสาหกรรม มีความอ่อนไหวต่อคุณภาพ และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใน ครั้งนี้
3. ศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารภาวะฉุกเฉินทาง SMS (SMS Emergency Call Center) ได้รับแจ้งจากพื้นที่ว่า ในช่วงที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับ ผู้ประกอบการและประชาชนไม่สามารถหาข้อมูลหรือสอบถามว่า เกิดอะไรขึ้น ไฟฟ้าดับเพราะเหตุใด จะมาเมื่อใด เพราะเกี่ยวข้องกับการเตรียมการของภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ประชาชนมีความตื่นตกใจ เพราะไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุก่อการร้าย หรือเกิดจากเหตุใด เนื่องจากโทรศัพท์ในหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งต้องใช้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถติดต่อได้ รัฐบาลจึงควรจัดตั้งศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารในภาวะฉุกเฉินต่างๆ โดยใช้ SMS ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
**ธปท.ยันระบบแบงก์ไม่เสียหาย**
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงเหตุการณ์ไฟดับใน 14 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ธปท.ยังไม่ได้รายงานความเสียหายจากสาขาธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะธนาคารพาณิชย์อาจเห็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่สามารถดูแลได้ อย่างไรก็ตาม ธปท.มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีระบบรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว
ธปท.เชื่อว่าปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้อาจจะส่งผลให้ธุรกรรมทางการเงินติดขัดบ้าง อาทิ ธุรกรรมที่ทำผ่านเครื่องเอทีเอ็ม เป็นต้น ก็ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายแต่อย่างใด เพราะช่วงที่ไฟฟ้าดับเป็นเวลากลางคืน ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ก็ปิดสาขาแล้ว
นอกจากนี้ช่วงไฟฟ้าดับไม่ใช่ช่วงปลายเดือนที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีการถอน โอนหรือทำธุรกรรมด้านการเงินค่อนข้างมาก จึงยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าคนทั่วไปเข้าใจได้ .
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า จากปัญหาไฟฟ้าดับพร้อมกันในทุกพื้นที่ของ 14 จังหวัดภาคใต้ ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ เพื่อสอบถามประเมินความเสียหายจากการที่ไฟฟ้าดับในครั้งนี้ โดยพบว่าอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง-ถุงยางอนามัย อุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและสุราษฎร์ธานี ได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นการผลิต 24 ชั่วโมง ซึ่งน่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร-อาหารแปรรูป ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่มีเครื่องปั่นไฟ แต่ส่วนใหญ่ก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ทั้งไลน์การผลิต อุตสาหกรรมปลาป่น ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดระนอง และสงขลา ได้รับแจ้งว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตในช่วงเย็น ความเสียหายอาจจะไม่มาก, อุตสาหกรรมผลิตไม้ยาง- ไม้ยางแปรรูป ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา พังงา สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ฯลฯ หากเป็นโรงเลื่อย ความเสียหายอาจไม่มี แต่หากสินค้าอยู่ระหว่างการอบ ลดความชื้น อาจส่งผลต่อคุณภาพของไม้ รวมถึงการกำจัดเชื้อรา, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผลกระทบยังไม่ชัดเจน นอกจากสถานร้านค้า สถานบันเทิง ไม่สามารถให้บริการในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ในด้านความเชื่อมั่น คงจะต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์
นายธนิตกล่าวว่า ความเสียหายในเชิงมูลค่าจากการที่ไฟฟ้าดับอย่างฉับพลันใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจน แต่ในด้านความเชื่อมั่น ทั้งด้านการผลิต การลงทุน และการท่องเที่ยว คงจะได้รับการกระทบค่อนข้างมาก ทั้งนี้ หากไฟฟ้าดับในช่วงกลางวัน ความเสียหายจากภาคการผลิต จะเสียหายมากกว่านี้ จากการประเมินของ ส.อ.ท. ซึ่งได้ข้อมูลจากพื้นที่ ต้องการให้รัฐบาลกำหนดมาตรการดังต่อไปนี้
1. ด้านความเชื่อมั่น ต้องมีการสอบสวนสาเหตุที่แท้จริง ว่าเกิดได้อย่างไร รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับในลักษณะดังกล่าว จะมีวิธีการและมาตรการอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการชี้แจง แถลงข่าวให้ชัดเจน เพราะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น ทั้งด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. ด้านการประเมินความเสียหายและความรับผิดชอบ จะต้องมีการประเมินความเสียหาย ทั้งด้านอุตสาหกรรม การผลิต และด้านอื่นๆ ว่ามีความเสียหายอย่างไร โดยเฉพาะสินค้าบางประเภทของภาคอุตสาหกรรม มีความอ่อนไหวต่อคุณภาพ และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใน ครั้งนี้
3. ศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารภาวะฉุกเฉินทาง SMS (SMS Emergency Call Center) ได้รับแจ้งจากพื้นที่ว่า ในช่วงที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับ ผู้ประกอบการและประชาชนไม่สามารถหาข้อมูลหรือสอบถามว่า เกิดอะไรขึ้น ไฟฟ้าดับเพราะเหตุใด จะมาเมื่อใด เพราะเกี่ยวข้องกับการเตรียมการของภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ประชาชนมีความตื่นตกใจ เพราะไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุก่อการร้าย หรือเกิดจากเหตุใด เนื่องจากโทรศัพท์ในหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งต้องใช้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถติดต่อได้ รัฐบาลจึงควรจัดตั้งศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารในภาวะฉุกเฉินต่างๆ โดยใช้ SMS ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
**ธปท.ยันระบบแบงก์ไม่เสียหาย**
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงเหตุการณ์ไฟดับใน 14 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ธปท.ยังไม่ได้รายงานความเสียหายจากสาขาธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะธนาคารพาณิชย์อาจเห็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่สามารถดูแลได้ อย่างไรก็ตาม ธปท.มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีระบบรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว
ธปท.เชื่อว่าปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้อาจจะส่งผลให้ธุรกรรมทางการเงินติดขัดบ้าง อาทิ ธุรกรรมที่ทำผ่านเครื่องเอทีเอ็ม เป็นต้น ก็ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายแต่อย่างใด เพราะช่วงที่ไฟฟ้าดับเป็นเวลากลางคืน ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ก็ปิดสาขาแล้ว
นอกจากนี้ช่วงไฟฟ้าดับไม่ใช่ช่วงปลายเดือนที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีการถอน โอนหรือทำธุรกรรมด้านการเงินค่อนข้างมาก จึงยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าคนทั่วไปเข้าใจได้ .