วานนี้ (19 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว นำคณะรัฐมนตรีสำคัญทั้งสองประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เน้นย้ำความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในฐานะประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีพัฒนาการความร่วมมือที่ดีในทุกมิติและทุกระดับ
รีฝ่ายไทยประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมว.คมนาคม รมว.พาณิชย์ รมว.แรงงาน รมว.มหาดไทย และ รมช.คลัง
ส่วนฝ่าย สปป.ลาว ประกอบด้วย นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี นายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ รมว.ป้องกันความสงบ รัฐมนตรีหัวหน้าห้องว่าการรัฐบาล รมว.กสิกรรมและป่าไม้ รมว.อุตสาหกรรมและการค้า รมว.โยธาธิการและขนส่ง รมว.แถลงข่าววัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รมว.การเงิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมช.ต่างประเทศ รมช.ป้องกันประเทศ และ รมช.แรงงาน
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สรุปดังนี้
ความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคง ได้มีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1) การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน โดยจะร่วมมือตรวจตราสอดส่องและป้องกันการกระทำของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่ออีกประเทศ หากพบเบาะแส หน่วยงานความมั่นคงจะแจ้งและประสานงานอย่างรวดเร็ว โยไทยยืนยันนโยบายไม่ให้บุคคลใดใช้ประเทศไทยเป็นที่พักพิงหรือวางแผนก่อความไม่สงบหรือต่อต้านรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน
2 ) ความร่วมมือในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเร่งรัดการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว
3 ) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยจะมีการยกระดับความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติด ปราบปรามและนำส่งผู้กระทำความผิดและผู้หลบหนีการจับกุมลงโทษคดียาเสพติด โดยเห็นควรใช้ช่องทางติดต่อที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว
4) ความร่วมมือด้านแรงงานและการป้องกันการค้ามนุษย์ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือร่วมมือป้องกันและปราบปรามการล่อลวงเด็กและสตรีเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ โดยฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานลาวผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย และพร้อมอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเข้าแรงงานลาวที่ถูกกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจด้านการจ้างแรงงานไทย – ลาว โดยคณะรัฐมนตรีไทยมีมติขยายเวลาดำเนินการของศูนย์ One Stop Service เพื่อให้การพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวไปอีก120 วัน นับตั้งแต่ 14 เม.ย.56 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า ผ่าน
5) การอำนวยความสะดวกในการผ่านแดน โดยเฉพาะการดำเนินการเรื่องการตรวจปล่อยสินค้า ณ จุดเดียว หรือ Single Stop Inspection (SSI) และปรับปรุงพื้นที่จุดผ่านแดนและเส้นทางคมนาคมที่ต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการเดินทางผ่านแดนและความแออัดของการสัญจรบริเวณจุดผ่านแดนสำคัญ
6 ) การส่งเสริมการค้าไทย-ลาว ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างรายได้ของประชาชน สปป.ลาว และเพื่อประโยชน์ร่วมกันของไทยและลาว
7 )การใช้ประโยชน์จากเส้นทางถนนหมายเลย 8 และ 12 ในเป็นเส้นทางเชื่องโยงทางโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนตามแนวเส้นทางทั้งสอง โดยฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้ไปลงทุนบริเวณเส้นทางดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และฝ่ายลาวจะอำนวยความสะดวกและปรับปรุงการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เส้นทางให้ได้มาตรฐาน ในส่วนของการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการพัฒนาความเชื่อมโยง (Connectivity)ด้านการคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค และระหว่างไทย – ลาว – จีน เช่น การสร้างสะพานเชื่อมต่อทางรถไฟ (หนองคาย – ท่านาแล้ง) เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับทางรถไฟความเร็วสูงกับจีน ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North – South Economic Corridor)และการประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว2 แห่ง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (19 พ.ค.2556) ได้แก่ จุดผ่านแดนภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ โดยในส่วนของฝ่ายลาวจะยกระดับด่านท้องถิ่นบ้านผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไซยะบุรี เป็นด่านสากลเมื่อการก่อสร้างเส้นทางบ้านผาแก้ว – ปากลายแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2557และจุดผ่านแดนบ้านสบรวก จ.เชียงราย ซึ่งฝ่ายลาวได้เปิดด่านสากลสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว ไปเมื่อเดือนก.ค.ปี2555 ที่ผ่านมานอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในด้านการท่องเที่ยว โดยฝ่ายไทย สนับสนุน
8) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวไปมาระหว่างไทยและลาวรวมทั้ง สนับสนุนการใช้ ACMECS Single Visaหรือ ASVเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ในภูมิภาคและอาเซียน ซึ่งไทยและกัมพูชาได้เริ่มโครงการนำร่องก่อนหน้านี้แล้ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสอง ได้แสดงความยินดีที่ปี 2556 เป็นปีแห่งการฉลองครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งสมาคมไทย –ลาว/ลาว –ไทย เพื่อมิตรภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน สังคมและวัฒนธรรมและมีคุณูปการสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
โอกาสนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการลงนามเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ 2 บันทึกความเข้าใจว่าความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-ลาว และ ความตกลงว่าด้วยกรรมสิทธิ์ การนำใช้ การบริหาร และการบูรณรักษาสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)
ด้านนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่งสปป.ลาว กล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันในการแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ให้การค้าและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนมีบรรยากาศที่ดีขึ้น การแก้ไขปัญหาแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานลาวที่ทำงานอยู่ที่ประเทศไทย และแรงงานไทยที่อยู่ในประเทศลาว ซึ่งมีทั้งถูกและผิดกฎหมาย โดยทั้ง 2 ประเทศ จะพยายามแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมกันอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหา
"การประชุมครั้งนี้มีการพูดคุยด้วยบรรยากาศที่ดี และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้อำนายความสะดวกในการจัดการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ" นายทองสิงกล่าว.
รีฝ่ายไทยประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมว.คมนาคม รมว.พาณิชย์ รมว.แรงงาน รมว.มหาดไทย และ รมช.คลัง
ส่วนฝ่าย สปป.ลาว ประกอบด้วย นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี นายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ รมว.ป้องกันความสงบ รัฐมนตรีหัวหน้าห้องว่าการรัฐบาล รมว.กสิกรรมและป่าไม้ รมว.อุตสาหกรรมและการค้า รมว.โยธาธิการและขนส่ง รมว.แถลงข่าววัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รมว.การเงิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รมช.ต่างประเทศ รมช.ป้องกันประเทศ และ รมช.แรงงาน
ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สรุปดังนี้
ความร่วมมือด้านการเมือง และความมั่นคง ได้มีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1) การรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน โดยจะร่วมมือตรวจตราสอดส่องและป้องกันการกระทำของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่ออีกประเทศ หากพบเบาะแส หน่วยงานความมั่นคงจะแจ้งและประสานงานอย่างรวดเร็ว โยไทยยืนยันนโยบายไม่ให้บุคคลใดใช้ประเทศไทยเป็นที่พักพิงหรือวางแผนก่อความไม่สงบหรือต่อต้านรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน
2 ) ความร่วมมือในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเร่งรัดการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว
3 ) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยจะมีการยกระดับความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติด ปราบปรามและนำส่งผู้กระทำความผิดและผู้หลบหนีการจับกุมลงโทษคดียาเสพติด โดยเห็นควรใช้ช่องทางติดต่อที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว
4) ความร่วมมือด้านแรงงานและการป้องกันการค้ามนุษย์ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือร่วมมือป้องกันและปราบปรามการล่อลวงเด็กและสตรีเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ โดยฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานลาวผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย และพร้อมอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเข้าแรงงานลาวที่ถูกกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจด้านการจ้างแรงงานไทย – ลาว โดยคณะรัฐมนตรีไทยมีมติขยายเวลาดำเนินการของศูนย์ One Stop Service เพื่อให้การพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวไปอีก120 วัน นับตั้งแต่ 14 เม.ย.56 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า ผ่าน
5) การอำนวยความสะดวกในการผ่านแดน โดยเฉพาะการดำเนินการเรื่องการตรวจปล่อยสินค้า ณ จุดเดียว หรือ Single Stop Inspection (SSI) และปรับปรุงพื้นที่จุดผ่านแดนและเส้นทางคมนาคมที่ต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการเดินทางผ่านแดนและความแออัดของการสัญจรบริเวณจุดผ่านแดนสำคัญ
6 ) การส่งเสริมการค้าไทย-ลาว ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างรายได้ของประชาชน สปป.ลาว และเพื่อประโยชน์ร่วมกันของไทยและลาว
7 )การใช้ประโยชน์จากเส้นทางถนนหมายเลย 8 และ 12 ในเป็นเส้นทางเชื่องโยงทางโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนตามแนวเส้นทางทั้งสอง โดยฝ่ายไทยพร้อมส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้ไปลงทุนบริเวณเส้นทางดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และฝ่ายลาวจะอำนวยความสะดวกและปรับปรุงการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เส้นทางให้ได้มาตรฐาน ในส่วนของการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการพัฒนาความเชื่อมโยง (Connectivity)ด้านการคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค และระหว่างไทย – ลาว – จีน เช่น การสร้างสะพานเชื่อมต่อทางรถไฟ (หนองคาย – ท่านาแล้ง) เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกับทางรถไฟความเร็วสูงกับจีน ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North – South Economic Corridor)และการประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว2 แห่ง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (19 พ.ค.2556) ได้แก่ จุดผ่านแดนภูดู่ จ.อุตรดิตถ์ โดยในส่วนของฝ่ายลาวจะยกระดับด่านท้องถิ่นบ้านผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไซยะบุรี เป็นด่านสากลเมื่อการก่อสร้างเส้นทางบ้านผาแก้ว – ปากลายแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2557และจุดผ่านแดนบ้านสบรวก จ.เชียงราย ซึ่งฝ่ายลาวได้เปิดด่านสากลสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว ไปเมื่อเดือนก.ค.ปี2555 ที่ผ่านมานอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในด้านการท่องเที่ยว โดยฝ่ายไทย สนับสนุน
8) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวไปมาระหว่างไทยและลาวรวมทั้ง สนับสนุนการใช้ ACMECS Single Visaหรือ ASVเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ในภูมิภาคและอาเซียน ซึ่งไทยและกัมพูชาได้เริ่มโครงการนำร่องก่อนหน้านี้แล้ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสอง ได้แสดงความยินดีที่ปี 2556 เป็นปีแห่งการฉลองครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งสมาคมไทย –ลาว/ลาว –ไทย เพื่อมิตรภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน สังคมและวัฒนธรรมและมีคุณูปการสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
โอกาสนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการลงนามเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ 2 บันทึกความเข้าใจว่าความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-ลาว และ ความตกลงว่าด้วยกรรมสิทธิ์ การนำใช้ การบริหาร และการบูรณรักษาสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย)
ด้านนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่งสปป.ลาว กล่าวว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันในการแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ให้การค้าและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนมีบรรยากาศที่ดีขึ้น การแก้ไขปัญหาแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานลาวที่ทำงานอยู่ที่ประเทศไทย และแรงงานไทยที่อยู่ในประเทศลาว ซึ่งมีทั้งถูกและผิดกฎหมาย โดยทั้ง 2 ประเทศ จะพยายามแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมกันอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหา
"การประชุมครั้งนี้มีการพูดคุยด้วยบรรยากาศที่ดี และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้อำนายความสะดวกในการจัดการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ" นายทองสิงกล่าว.