หลังฟองสบู่ในส่วนต่างๆ ของโลกแตกเมื่อปี 2551 ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจร้ายแรงเป็นอันดับที่สองรองลงมาจากเมื่อครั้งหลังตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาล่มปี 2472 ซึ่งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจจำนวนมากล้มละลายรวมทั้งของประเทศในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลยูโรด้วย เช่น ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซและไซปรัส ปัจจัยที่ทำให้ล้มละลายมักเป็นการใช้เงินเกินตัวของรัฐบาลส่งผลให้เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวจนชำระไม่ทัน ฉะนั้น การแก้ไขจึงมักต้องมีการตัดการใช้จ่ายรวมอยู่ด้วย การตัดการใช้จ่ายส่วนหนึ่งอาจต้องมาจากการลดข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐลง
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาโปรตุเกสประกาศจะลดพนักงานของรัฐลง 30,000 คนพร้อมกับเพิ่มอายุการเกษียณของพนักงานจาก 65 เป็น 66 ปี ส่วนกรีซประการลดพนักงานของรัฐลง 15,000 คน เนื่องจากเรื่องของกรีซมีบางด้านคล้ายของไทยทำให้น่าสนใจมากกว่าจึงของนำมาเล่า
ในเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากเรื่องการปลดพนักงานของรัฐแล้ว กรีซยังมีเรื่องเกี่ยวกับหัวหน้าคนงานชาวกรีซสามคนยิงปืนลูกซองเข้าใส่กลุ่มพนักงานเก็บผลไม้ในไร่สตรอเบอร์รี่อีกด้วย คนงานเหล่านั้นส่วนใหญ่ไปจากบังกลาเทศซึ่งรวมตัวกันกดดันให้นายจ้างจ่ายค่าแรงที่ค้างอยู่ คนงานราว 30 คนถูกลูกปืน ส่วนนายจ้างและหัวหน้าคนงานถูกจับไปดำเนินคดี
การปลดพนักงานของรัฐมีความจำเป็นเพราะรัฐมีพนักงานมากเกินไปจากการใช้นโยบายแนวประชานิยมอย่างต่อเนื่องมานาน นั่นคือ นักการเมืองโดยเฉพาะในฝ่ายรัฐบาลแสวงหาความนิยมผ่านการสนับสนุนให้รัฐบาลรับพนักงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจ่ายเงินเดือนสูงและให้สวัสดิการดีจึงมีชาวกรีซจำนวนมากอยากได้งานนั้น เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานมีส่วนทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูงมากซึ่งต้องปิดด้วยการกู้ยืมเพิ่มขึ้น เมื่อปีที่กรีซล้มละลายและไปขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟและธนาคารกลางยุโรป รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูงถึงเกือบ 13 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) และตอนนี้เป็นหนี้สูงถึง 170 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ข้อตกลงของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรห้ามสมาชิกขาดดุลงบประมาณเกิดปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่รัฐบาลกรีซใช้วิธีตกแต่งบัญชีตามข้อแนะนำของธนาคารขนาดยักษ์แห่งหนึ่งซึ่งขาดจรรยาบรรอย่างร้ายแรง ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การสมรู้ร่วมกันทำชั่วระหว่างนักการเมืองเลวกับธนาคารทรามทำให้ประเทศล้มละลายได้ไม่ยากเลย
ตัวเลขเหล่านั้นทำให้ผู้เชี่ยวชาญมักมองว่า ไทยจะไม่เป็นเหมือนกรีซ ผู้เชี่ยวชาญมองเช่นนั้นเพราะรัฐบาลไทยขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยราว 1 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในช่วงสามปีที่ผ่านมา และตอนนี้รัฐบาลมีภาระหนี้สินอยู่เพียงประมาณ 44 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี กระนั้นก็ตาม มีผู้แย้งว่าไทยจะใช้เกณฑ์ที่ต่างประเทศใช้วัดภาระหนี้สินไม่ได้เนื่องจากไทยมีกำลังจ่ายน้อยกว่า นั่นคือ ไทยเก็บภาษีได้ราว 17 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ในขณะที่ประเทศอื่นเก็บได้สูงกว่ามาก โดยเฉพาะประเทศก้าวหน้าทั้งหลายที่ใช้เกณฑ์ดังกล่าว กรีซเก็บภาษีได้เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีซึ่งนับว่าอยู่ในระดับต่ำเสียด้วยซ้ำโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ให้รัฐสวัสดิการสูงและเก็บภาษีในอัตรา 40-50 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ฉะนั้น ไทยจะต้องคิดให้หนักในด้านการจะกู้มาเพิ่มอีก 2.2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานรวมทั้งรถไฟความเร็วสูงที่อาจขาดทุนมหาศาลนอกเหนือจากจำนวน 3.5 แสนล้านบาทที่กู้มาใช้ในโครงการบริหารจัดการน้ำ
ทางด้านการยิงคนงานเก็บสตรอเบอร์รี่ ที่มาของเรื่องคือชาวกรีซไม่ต้องการทำงานจำพวกใช้แรงงาน พวกเขาต้องการทำงานในสำนักงานเท่านั้น ถ้าได้เป็นพนักงานของรัฐก็ยิ่งชอบเพราะเงินเดือนดีและมีทั้งสวัสดิการและความมั่นคงสูง ฉะนั้น เมื่อเจ้าของไร่หาจ้างชาวกรีซไม่ได้ พวกเขาจึงไปจ้างคนงานจากต่างประเทศด้วยค่าแรงราว 750-1,000 บาทต่อวัน ชาวกรีซปฏิเสธที่จะทำงานนั้นทั้งที่ประเทศมีคนว่างงานสูงมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนในวัยทำงาน การปฏิเสธที่จะทำงานหมายถึงการไม่มีผลผลิต แต่แน่ละ คนเหล่านั้นยังต้องการบริโภค ดังเป็นที่ทราบกันดี การบริโภคโดยไม่มีการผลิตเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคลและในระดับประเทศ
ชาวไทยไม่ต่างกับชาวกรีซในด้านที่รังเกียจงานจำพวกใช้แรงงานและต้องการทำงานในสำนักงาน ยิ่งเป็นงานราชการยิ่งชอบ ทัศนคติแนวนี้เป็นที่มาเบื้องต้นของปรากฏการณ์หลายอย่างรวมทั้งการจ้างแรงงานนับล้านคนจากประเทศเพื่อนบ้านและระบบการศึกษาซึ่งกำลังประสบปัญหาร้ายแรงมาก
เมื่อพูดเช่นนี้ มักมีผู้แย้งว่าเมืองไทยขาดแรงงานจึงต้องจ้างแรงงานต่างชาติ แต่นั่นไม่เป็นความจริงเสมอไปเพราะคนไทยอีกจำนวนมากทำงานไม่เต็มที่ เรื่องนี้มีให้ดูอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะจำพวกเร่ขายของในที่ต่างๆ รวมทั้งตามตลาดนัด บนทางเท้า ตามหน้าศูนย์การค้า บนสะพานข้ามถนน บนทางเดินลอยฟ้า เช่น ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิซึ่งแทบจะหาทางเดินไม่ได้ในบางเวลา พวกเร่ขายของเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีการศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้เขามองว่างานใช้แรงงานต่ำกว่าสถานะของตน ส่วนคนที่ไม่มีการศึกษาสูงขนาดนั้นก็ยังมองว่างานใช้แรงงานเป็นงานชั้นต่ำ
ทัศนคติเช่นนั้นเป็นปัจจับพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่มีการกวดวิชาอย่างแพร่หลายและมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหง การกวดวิชามุ่งไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผู้เข้ากวดวิชายังไม่มีรายได้แต่ต้องใช้เงิน นั่นคือการบริโภคที่ไม่มีการผลิตชนิดหนึ่ง ส่วนการเรียนให้ได้ปริญญาเกิดจากความหวังว่ามันจะเป็นใบเบิกทางไปสู่งานจำพวกในสำนักงาน หรืองานราชการ มหาวิทยาลัยจึงเกิดขึ้นมาสนองความต้องการนั้น
ผู้เรียนจำนวนมากเรียนจบปริญญาตรีแล้วไม่มีงานทำจึงมุ่งไปทำปริญญาโทต่อส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งแข่งขันกันเปิดหลักสูตรปริญญาโทซึ่งเรียนกันแบบห้องละนับร้อยคนและอาจารย์วนเวียนไปสอนตามที่ต่างๆ อย่างฉาบฉวย คุณภาพของการศึกษาจะเป็นอย่างไรไม่ค่อยได้รับการใส่ใจยังผลให้เกิดภาวะจำพวก “จ่ายครบ จบแน่นอน” ร้ายยิ่งกว่านั้น ยังมีการจ้างเขียนรายงานและวิทยานิพนธ์อีกด้วย สาเหตุแนวนี้ที่ทำให้เมืองไทยมีมือกฎหมายชั้นดุษฎีบัณฑิตที่ให้เหตุผลว่า นักโทษหนีคดีมิได้ทำผิดกฎหมาย หากทำสิ่งที่กฎหมายไม่อนุญาต หรืออะไรเทือกนั้นอันเป็นสิ่งน่าอดสูสุดๆ
การมีนักศึกษาและผู้จบปริญญาและไม่จบปริญญามากมายที่ไม่มีงานทำ ปฏิเสธที่จะทำงาน หรือทำงานจำพวกไม่เต็มเวลาหมายความว่าการศึกษาเป็นความสูญเปล่าเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาไม่มีการผลิต หรือผลิตน้อย แต่ยังบริโภคเช่นเดิม จะสังเกตได้ว่าทุกคนมักแต่งกายทันสมัย อยู่ในห้างร้านชั้นมีราคา ใช้โทรศัพท์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แบบล่าสุดและดูจะพูดโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา
การเป็นหนี้สิน หรือขายไร่ขายนาเพื่อเอาเงินมาสนับสนุนการศึกษาแบบสูญเปล่าและวิถีชีวิตแบบหยิบโหย่งนั้นคือต้นตอของปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งผู้บริหารประเทศจะต้องมองให้ทะลุว่ามันจะทำไทยให้เหมือนกรีซในวันหนึ่งข้างหน้า แต่ ณ วันนี้ไม่เห็นมีใครในรัฐบาล หรือระดับผู้นำประเทศตระหนักถึงปัญหาส่งผลให้เมืองไทยคล้ายคนตาบอดซึ่งกำลังเดินทางไปตกเหว
ในช่วงเดือนที่ผ่านมาโปรตุเกสประกาศจะลดพนักงานของรัฐลง 30,000 คนพร้อมกับเพิ่มอายุการเกษียณของพนักงานจาก 65 เป็น 66 ปี ส่วนกรีซประการลดพนักงานของรัฐลง 15,000 คน เนื่องจากเรื่องของกรีซมีบางด้านคล้ายของไทยทำให้น่าสนใจมากกว่าจึงของนำมาเล่า
ในเวลาไล่เลี่ยกัน นอกจากเรื่องการปลดพนักงานของรัฐแล้ว กรีซยังมีเรื่องเกี่ยวกับหัวหน้าคนงานชาวกรีซสามคนยิงปืนลูกซองเข้าใส่กลุ่มพนักงานเก็บผลไม้ในไร่สตรอเบอร์รี่อีกด้วย คนงานเหล่านั้นส่วนใหญ่ไปจากบังกลาเทศซึ่งรวมตัวกันกดดันให้นายจ้างจ่ายค่าแรงที่ค้างอยู่ คนงานราว 30 คนถูกลูกปืน ส่วนนายจ้างและหัวหน้าคนงานถูกจับไปดำเนินคดี
การปลดพนักงานของรัฐมีความจำเป็นเพราะรัฐมีพนักงานมากเกินไปจากการใช้นโยบายแนวประชานิยมอย่างต่อเนื่องมานาน นั่นคือ นักการเมืองโดยเฉพาะในฝ่ายรัฐบาลแสวงหาความนิยมผ่านการสนับสนุนให้รัฐบาลรับพนักงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจ่ายเงินเดือนสูงและให้สวัสดิการดีจึงมีชาวกรีซจำนวนมากอยากได้งานนั้น เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานมีส่วนทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูงมากซึ่งต้องปิดด้วยการกู้ยืมเพิ่มขึ้น เมื่อปีที่กรีซล้มละลายและไปขอกู้เงินจากไอเอ็มเอฟและธนาคารกลางยุโรป รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูงถึงเกือบ 13 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) และตอนนี้เป็นหนี้สูงถึง 170 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี
อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ข้อตกลงของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรห้ามสมาชิกขาดดุลงบประมาณเกิดปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่รัฐบาลกรีซใช้วิธีตกแต่งบัญชีตามข้อแนะนำของธนาคารขนาดยักษ์แห่งหนึ่งซึ่งขาดจรรยาบรรอย่างร้ายแรง ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การสมรู้ร่วมกันทำชั่วระหว่างนักการเมืองเลวกับธนาคารทรามทำให้ประเทศล้มละลายได้ไม่ยากเลย
ตัวเลขเหล่านั้นทำให้ผู้เชี่ยวชาญมักมองว่า ไทยจะไม่เป็นเหมือนกรีซ ผู้เชี่ยวชาญมองเช่นนั้นเพราะรัฐบาลไทยขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยราว 1 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในช่วงสามปีที่ผ่านมา และตอนนี้รัฐบาลมีภาระหนี้สินอยู่เพียงประมาณ 44 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี กระนั้นก็ตาม มีผู้แย้งว่าไทยจะใช้เกณฑ์ที่ต่างประเทศใช้วัดภาระหนี้สินไม่ได้เนื่องจากไทยมีกำลังจ่ายน้อยกว่า นั่นคือ ไทยเก็บภาษีได้ราว 17 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ในขณะที่ประเทศอื่นเก็บได้สูงกว่ามาก โดยเฉพาะประเทศก้าวหน้าทั้งหลายที่ใช้เกณฑ์ดังกล่าว กรีซเก็บภาษีได้เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีซึ่งนับว่าอยู่ในระดับต่ำเสียด้วยซ้ำโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ให้รัฐสวัสดิการสูงและเก็บภาษีในอัตรา 40-50 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ฉะนั้น ไทยจะต้องคิดให้หนักในด้านการจะกู้มาเพิ่มอีก 2.2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานรวมทั้งรถไฟความเร็วสูงที่อาจขาดทุนมหาศาลนอกเหนือจากจำนวน 3.5 แสนล้านบาทที่กู้มาใช้ในโครงการบริหารจัดการน้ำ
ทางด้านการยิงคนงานเก็บสตรอเบอร์รี่ ที่มาของเรื่องคือชาวกรีซไม่ต้องการทำงานจำพวกใช้แรงงาน พวกเขาต้องการทำงานในสำนักงานเท่านั้น ถ้าได้เป็นพนักงานของรัฐก็ยิ่งชอบเพราะเงินเดือนดีและมีทั้งสวัสดิการและความมั่นคงสูง ฉะนั้น เมื่อเจ้าของไร่หาจ้างชาวกรีซไม่ได้ พวกเขาจึงไปจ้างคนงานจากต่างประเทศด้วยค่าแรงราว 750-1,000 บาทต่อวัน ชาวกรีซปฏิเสธที่จะทำงานนั้นทั้งที่ประเทศมีคนว่างงานสูงมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนในวัยทำงาน การปฏิเสธที่จะทำงานหมายถึงการไม่มีผลผลิต แต่แน่ละ คนเหล่านั้นยังต้องการบริโภค ดังเป็นที่ทราบกันดี การบริโภคโดยไม่มีการผลิตเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในระดับบุคคลและในระดับประเทศ
ชาวไทยไม่ต่างกับชาวกรีซในด้านที่รังเกียจงานจำพวกใช้แรงงานและต้องการทำงานในสำนักงาน ยิ่งเป็นงานราชการยิ่งชอบ ทัศนคติแนวนี้เป็นที่มาเบื้องต้นของปรากฏการณ์หลายอย่างรวมทั้งการจ้างแรงงานนับล้านคนจากประเทศเพื่อนบ้านและระบบการศึกษาซึ่งกำลังประสบปัญหาร้ายแรงมาก
เมื่อพูดเช่นนี้ มักมีผู้แย้งว่าเมืองไทยขาดแรงงานจึงต้องจ้างแรงงานต่างชาติ แต่นั่นไม่เป็นความจริงเสมอไปเพราะคนไทยอีกจำนวนมากทำงานไม่เต็มที่ เรื่องนี้มีให้ดูอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะจำพวกเร่ขายของในที่ต่างๆ รวมทั้งตามตลาดนัด บนทางเท้า ตามหน้าศูนย์การค้า บนสะพานข้ามถนน บนทางเดินลอยฟ้า เช่น ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิซึ่งแทบจะหาทางเดินไม่ได้ในบางเวลา พวกเร่ขายของเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีการศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้เขามองว่างานใช้แรงงานต่ำกว่าสถานะของตน ส่วนคนที่ไม่มีการศึกษาสูงขนาดนั้นก็ยังมองว่างานใช้แรงงานเป็นงานชั้นต่ำ
ทัศนคติเช่นนั้นเป็นปัจจับพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางการศึกษาที่มีการกวดวิชาอย่างแพร่หลายและมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นทั่วทุกหัวระแหง การกวดวิชามุ่งไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผู้เข้ากวดวิชายังไม่มีรายได้แต่ต้องใช้เงิน นั่นคือการบริโภคที่ไม่มีการผลิตชนิดหนึ่ง ส่วนการเรียนให้ได้ปริญญาเกิดจากความหวังว่ามันจะเป็นใบเบิกทางไปสู่งานจำพวกในสำนักงาน หรืองานราชการ มหาวิทยาลัยจึงเกิดขึ้นมาสนองความต้องการนั้น
ผู้เรียนจำนวนมากเรียนจบปริญญาตรีแล้วไม่มีงานทำจึงมุ่งไปทำปริญญาโทต่อส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งแข่งขันกันเปิดหลักสูตรปริญญาโทซึ่งเรียนกันแบบห้องละนับร้อยคนและอาจารย์วนเวียนไปสอนตามที่ต่างๆ อย่างฉาบฉวย คุณภาพของการศึกษาจะเป็นอย่างไรไม่ค่อยได้รับการใส่ใจยังผลให้เกิดภาวะจำพวก “จ่ายครบ จบแน่นอน” ร้ายยิ่งกว่านั้น ยังมีการจ้างเขียนรายงานและวิทยานิพนธ์อีกด้วย สาเหตุแนวนี้ที่ทำให้เมืองไทยมีมือกฎหมายชั้นดุษฎีบัณฑิตที่ให้เหตุผลว่า นักโทษหนีคดีมิได้ทำผิดกฎหมาย หากทำสิ่งที่กฎหมายไม่อนุญาต หรืออะไรเทือกนั้นอันเป็นสิ่งน่าอดสูสุดๆ
การมีนักศึกษาและผู้จบปริญญาและไม่จบปริญญามากมายที่ไม่มีงานทำ ปฏิเสธที่จะทำงาน หรือทำงานจำพวกไม่เต็มเวลาหมายความว่าการศึกษาเป็นความสูญเปล่าเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาไม่มีการผลิต หรือผลิตน้อย แต่ยังบริโภคเช่นเดิม จะสังเกตได้ว่าทุกคนมักแต่งกายทันสมัย อยู่ในห้างร้านชั้นมีราคา ใช้โทรศัพท์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แบบล่าสุดและดูจะพูดโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา
การเป็นหนี้สิน หรือขายไร่ขายนาเพื่อเอาเงินมาสนับสนุนการศึกษาแบบสูญเปล่าและวิถีชีวิตแบบหยิบโหย่งนั้นคือต้นตอของปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งผู้บริหารประเทศจะต้องมองให้ทะลุว่ามันจะทำไทยให้เหมือนกรีซในวันหนึ่งข้างหน้า แต่ ณ วันนี้ไม่เห็นมีใครในรัฐบาล หรือระดับผู้นำประเทศตระหนักถึงปัญหาส่งผลให้เมืองไทยคล้ายคนตาบอดซึ่งกำลังเดินทางไปตกเหว