น.พ.วรงค์ เดชกิจวกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ประกาศว่า จะทำข้าวถุงราคาถูก ร้านถูกใจ สัปดาห์ละ 5 แสนถุง ถุงละ 70 บาท ฟังผิวเผินแล้วดูดี แต่ขอเตือนว่า อย่ารีบไปดำเนินการ เพราะคณะอนุกรรมการระบายข้าวได้เคยมีมติในการให้องค์การคลังสินค้าไปดำเนินการหาผู้ปรับปรุงข้าวถุง เดือนละ 3 แสนตัน หรือ 60 ล้านถุง โดยมีผลตั้งแต่เดือนม.ค. -มิ.ย.ปีนี้ จึงอยากถามว่า ข้าวเหล่านี้หายไปไหนหมด เพราะเท่าที่คุยกับผู้ประกอบการทราบว่า การบริโภคข้าวถุง ถุงละ 5 ก.ก. ทั้งประเทศจะอยู่ที่ 100 ล้านถุงต่อปี ดังนั้นไม่จำเป็นต้องไปทำเพิ่ม เพียงแต่หาของเก่าให้เจอว่าไปอยู่ที่ไหน
นอกจากนี้ ยังพบว่าข้อมูลข้าวนาปี สิ้นสุดโครงการ 31 มี.ค. มีตัวเลขรับจำนำประมาณ 13 ล้านตันเศษๆ แต่ตอนนี้กลับทะลุถึง 16 ล้านตัน ซึ่งสูงขึ้นมาถึง 3 ล้านตัน ในช่วงเดือนเศษ นี่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลขายข้าวไปไหนไม่ได้ ส่วนหนึ่งถูกหมุนเวียนกลับเข้าสู่โครงการรับจำนำ ดังนั้นเชื่อว่า ข้าวนาปรังที่เดิมคาดการณ์ไว้ 7 ล้านตัน หากรัฐบาลยังระบายข้าวในรูปแบบนี้ เกิดการวนข้าวในประเทศ สุดท้ายก็วนกลับเข้าโครงการรับจำนำเหมือนเดิม ดังนั้น นาปรัง เชื่อว่าเกิน 7 ล้านตัน
น.พ.วรงค์ กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่ จ.ยโสธร อุบลราชธานี พะเยา เชียงราย พบว่า นโยบายที่ให้ชาวนาต้องนำข้าว มาเข้าโครงการด้วยตัวเองนั้น เป็นนโยบายสนับสนุนพ่อค้า ทำลายชาวนา เพราะเดิมชาวนารายย่อยที่มีข้าวไม่เยอะ เข้าโครงการ ผ่านกลุ่มชาวนา หรือ สหกรณ์ ไปจำนำแทน ยิ่งการที่รัฐบาล ลดพื้นที่รับจำนำ จึงถูกพ่อค้าคนกลางมาเร่ซื้อในราคาถูกๆ ถึงบ้าน เป็นราคาเงินสด และพ่อค้าคนกลาง ซื้อสิทธิใบเกษตร และพ่อค้าคนกลาง ก็เอาข้าวเข้าสู่โครงการแทนชาวนา
น.พ.วรงค์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลโทษว่าส่งออกข้าวไม่ได้ เพราะค่าเงินบาทแข็งนั้น เป็นเพียงแค่นำเรื่องค่าเงินมาเป็นแพะ เพราะข้อเท็จจริงแล้วการส่งออกไม่ได้มาจากผลพวงของนโยบาย เพราะค่าเงินบาทแข็ง เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือน สองเดือน ที่ผ่านมา แต่ปีที่แล้วตัวเลขการส่งออกเฉพาะข้าว ติดลบถึง 37 % ปี 2555 ไทยส่งออกข้าว 6.9 ล้านตัน แต่ปีก่อนในช่วงที่ยังเป็นนโยบายประกันรายได้ ส่งออก 10.6 ล้านตัน
ทั้งนี้ จากตัวเลขรายงานอย่างเป็นทางการในสื่อต่างประเทศ เพราะภายในประเทศมีการปิดข้อมูล โดยพบว่า ในปี 2555 ไทยส่งออกข้าว 1.68 ล้านตัน แต่ปี 2556 ตัวเลขส่งออกเหลือแค่ 796,304 ตัน ลดลงในภาพรวม 53 % ยิ่งหากพิจารณาเฉพาะในส่วนของ ข้าวขาว 5 % ปีนี้ส่งออก 303,264 ตัน เทียบกับปีก่อน 1.2 ล้านตัน ลดลง 75 %
น.พ.วรงค์ กล่าวว่า ความผิดพลาดในนโยบาย ของรัฐบาล กลับทำให้ ผู้ส่งออกข้าวประเทศอื่นได้ประโยชน์ ทั้ง เวียดนาม ที่ช่วงม.ค.-เม.ย. ปีนี้ ส่งออกเพิ่ม 22 % กัมพูชา ส่งออกเดิม 130 % ที่สำคัญ ไทยยังเป็นผู้นำเข้าข้าวจากกัมพูชา ติดหนึ่งใน 5 ประเทศ ที่นำเข้าข้าวมาที่สุด ทั้งที่ไทยยังส่งออกข้าวไม่ได้ และพม่าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 280 %
นอกจากนี้ ยังพบว่าข้อมูลข้าวนาปี สิ้นสุดโครงการ 31 มี.ค. มีตัวเลขรับจำนำประมาณ 13 ล้านตันเศษๆ แต่ตอนนี้กลับทะลุถึง 16 ล้านตัน ซึ่งสูงขึ้นมาถึง 3 ล้านตัน ในช่วงเดือนเศษ นี่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลขายข้าวไปไหนไม่ได้ ส่วนหนึ่งถูกหมุนเวียนกลับเข้าสู่โครงการรับจำนำ ดังนั้นเชื่อว่า ข้าวนาปรังที่เดิมคาดการณ์ไว้ 7 ล้านตัน หากรัฐบาลยังระบายข้าวในรูปแบบนี้ เกิดการวนข้าวในประเทศ สุดท้ายก็วนกลับเข้าโครงการรับจำนำเหมือนเดิม ดังนั้น นาปรัง เชื่อว่าเกิน 7 ล้านตัน
น.พ.วรงค์ กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่ จ.ยโสธร อุบลราชธานี พะเยา เชียงราย พบว่า นโยบายที่ให้ชาวนาต้องนำข้าว มาเข้าโครงการด้วยตัวเองนั้น เป็นนโยบายสนับสนุนพ่อค้า ทำลายชาวนา เพราะเดิมชาวนารายย่อยที่มีข้าวไม่เยอะ เข้าโครงการ ผ่านกลุ่มชาวนา หรือ สหกรณ์ ไปจำนำแทน ยิ่งการที่รัฐบาล ลดพื้นที่รับจำนำ จึงถูกพ่อค้าคนกลางมาเร่ซื้อในราคาถูกๆ ถึงบ้าน เป็นราคาเงินสด และพ่อค้าคนกลาง ซื้อสิทธิใบเกษตร และพ่อค้าคนกลาง ก็เอาข้าวเข้าสู่โครงการแทนชาวนา
น.พ.วรงค์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลโทษว่าส่งออกข้าวไม่ได้ เพราะค่าเงินบาทแข็งนั้น เป็นเพียงแค่นำเรื่องค่าเงินมาเป็นแพะ เพราะข้อเท็จจริงแล้วการส่งออกไม่ได้มาจากผลพวงของนโยบาย เพราะค่าเงินบาทแข็ง เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือน สองเดือน ที่ผ่านมา แต่ปีที่แล้วตัวเลขการส่งออกเฉพาะข้าว ติดลบถึง 37 % ปี 2555 ไทยส่งออกข้าว 6.9 ล้านตัน แต่ปีก่อนในช่วงที่ยังเป็นนโยบายประกันรายได้ ส่งออก 10.6 ล้านตัน
ทั้งนี้ จากตัวเลขรายงานอย่างเป็นทางการในสื่อต่างประเทศ เพราะภายในประเทศมีการปิดข้อมูล โดยพบว่า ในปี 2555 ไทยส่งออกข้าว 1.68 ล้านตัน แต่ปี 2556 ตัวเลขส่งออกเหลือแค่ 796,304 ตัน ลดลงในภาพรวม 53 % ยิ่งหากพิจารณาเฉพาะในส่วนของ ข้าวขาว 5 % ปีนี้ส่งออก 303,264 ตัน เทียบกับปีก่อน 1.2 ล้านตัน ลดลง 75 %
น.พ.วรงค์ กล่าวว่า ความผิดพลาดในนโยบาย ของรัฐบาล กลับทำให้ ผู้ส่งออกข้าวประเทศอื่นได้ประโยชน์ ทั้ง เวียดนาม ที่ช่วงม.ค.-เม.ย. ปีนี้ ส่งออกเพิ่ม 22 % กัมพูชา ส่งออกเดิม 130 % ที่สำคัญ ไทยยังเป็นผู้นำเข้าข้าวจากกัมพูชา ติดหนึ่งใน 5 ประเทศ ที่นำเข้าข้าวมาที่สุด ทั้งที่ไทยยังส่งออกข้าวไม่ได้ และพม่าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 280 %