นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับราคาข้าวเปลือกและราคาข้าวสาร ว่า มีความผิดปกติเนื่องจากราคาใกล้เคียงกัน โดยรัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกเกวียนละ 1.5 หมื่นบาท ถ้าสีเป็นข้าวสารต้นทุนจะประมาณ 2.3 หมื่นบาท เมื่อไปดูราคาข้าวย้อนหลัง 1 ปี มีความผันแปรในช่วง 1-2 เดือนจนน่าตกใจ คือมีนาคมและเมษายน ที่ราคาข้าวสารตกลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันราคาข้าวสาร อยู่ที่ตันละประมาณ 1.5 หมื่นบาทเศษ ซึ่งในส่วนนี้เป็นราคาปลายทางแล้ว แต่ถ้าคิดว่ารัฐบาลขายจากต้นทาง อาจจะขายเพียงแต่ 8 พันบาท เท่ากับรัฐบาลน่าจะขาดทุนถึง 1.5 หมื่นบาทต่อตัน เป็นสิ่งสะท้อนว่า ข้าวที่รัฐบาลเร่งระบายมีการขายในราคาถูกมาก เพื่อเอาเงินมาโปะในโครงการรับจำนำข้าว สิ่งเหล่านี้ทำให้รัฐบาลชักหน้าไม่ถึงหลัง และเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นด้วย และตนเชื่อว่าในปีหน้า รัฐบาลจะไม่มีเงินจ่ายในโครงการนี้ เนื่องจากหมุนเงินไม่ทันเพราะมไ่สามารถระบายข้าวออกนอกประเทศได้ เนื่องจากประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็งและเวียดนามึ่งเป็นประเทศคู่แข่งยังกดราคาขายลงทำให้ราคาต่ำกว่าไทยถึงเกือบ 200 เหรียญ
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ข้าวที่รัฐบาลรับจำนำไว้ไม่ได้ส่งออกไปนอกประเทศ เพราะตัวเลขการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย. ติดลบ 30 % ดังนั้นข้าวที่รัฐบาลระบายออกมาจึงวนเวียนอยู่ในประเทศ และมีข้าวค้างส่งเข้าโกดังของรัฐบาล ยังสูงถึง 2.34 ล้านตัน ซึ่งเชื่อข้าวที่ค้างในโกดังน่าจะมีกระบวนการสวมสิทธิชาวนาเพื่อเข้าสู่โครงการรับจำนำอีกรอบ เพราะเดิมมีการระบุว่าจะมีข้าวนาปี 15 ล้านตัน แต่ที่นำมาจำนำจริงในเดือนมี.ค. ประมาณ 13 ล้านตัน ซึ่งในช่วงนี้ข้าวนาปีจะต้องหมดไปแล้ว แต่กลับมีข่าวว่ายังมีนาปีค้างอยู่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำส่วนต่างสองล้านตันนั้น มาสวมสิทธิชาวนา ในขณะที่ข้าวนาปรังเดิมบอกว่ามีปัญภาภัยแล้งจะมีผลผลิตแค่ 7 ล้านตัน แต่ตอนนี้บอกว่าจะมีผลผลิตเพิ่ม 9 ล้านตัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสวมสิทธิในส่วนตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
นพ.วรงค์ ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้สิ้นเดือนเมษายนนี้ ให้อำนาจการตรวจมาตรฐานสินค้า ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก เป็นของสำนักงานมาตรฐานสินค้า กระทรวงพาณิชย์ แทนที่จะเป็นการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เนื่องจากจะทำให้การตรวจสอบตัวเลขการส่งออกข้าวออกนอกประเทศทำได้ยากขึ้น เพราะตัวเลขจะอยู่ที่รัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่รัฐบาลก็ปิดบังในเรื่องนี้มาโดยตลอด
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะมีปัญหาเรื่องมาตรฐานข้าวด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีข้าวของคนใกล้ชิดรัฐบาลที่ไม่ผ่านการตรวจมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าวของสภาหอการค้าฯ แต่มีผู้ใหญ่ในกระทรวงพาณิชย์โทรศัพท์มาขอให้ผ่าน โดยทางสภาหอการค้าฯขอให้ทำหนังสือมาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงให้ผ่านไป ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระทรวงพาณิชย์รวบอำนาจในส่วนนี้ไปดำเนินการเอง
**รัฐบาลไม่สนเดินหน้ารับจำนำต่อ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมลักษณ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาลผลิต 2555/2556 รอบแรก ครั้งแรก ครั้งที่ 1 หรือข้าวนาปีว่า มีปริมาณ 13.6 ล้านตัน มีโรงสีที่เปิดจุดรับจำนำ 1,414 แห่ง แบ่งเป็นโรงสีในพื้นที่ 852 แห่ง และจุดรับจำนำนอกพื้นที่อีก 562 แห่ง
ส่วนรอบที่ 2 หรือข้าวนาปรัง ขณะนี้มีปริมาณข้าวเข้าสู่โครงการ 1.6 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์คาดว่า จะมีปริมาณ 7 ล้านตัน มีโรงสีในพื้นที่ 585 ราย นอกพื้นที่ 56 ราย ผลผลิตที่เข้าโครงการรอบสองนี้ ส่วนใหญ่มาจากภาคกลาง
สำหรับปัญหาการออกใบรับรองเกษตรกรที่ล่าช้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งออกใบรับรอง และขยายจุดรับจำนำข้าวให้มีเพียงพอกับความต้องการ เกษตรกรที่นำข้าวมาจำนำและมีผลผลิตไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อได้รับใบประทวนแล้ว สามารถนำไปรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ภายใน 3 วัน แต่หากเกิน 500,000 บาท หรือ ร้อยละ 20 ของผลผลิต ต้องตรวจอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการทุจริต และยืนยันว่า มีเงินหมุนเวียนเพียงพอในการรับจำนำฤดูกาลนี้
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ข้าวที่รัฐบาลรับจำนำไว้ไม่ได้ส่งออกไปนอกประเทศ เพราะตัวเลขการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย. ติดลบ 30 % ดังนั้นข้าวที่รัฐบาลระบายออกมาจึงวนเวียนอยู่ในประเทศ และมีข้าวค้างส่งเข้าโกดังของรัฐบาล ยังสูงถึง 2.34 ล้านตัน ซึ่งเชื่อข้าวที่ค้างในโกดังน่าจะมีกระบวนการสวมสิทธิชาวนาเพื่อเข้าสู่โครงการรับจำนำอีกรอบ เพราะเดิมมีการระบุว่าจะมีข้าวนาปี 15 ล้านตัน แต่ที่นำมาจำนำจริงในเดือนมี.ค. ประมาณ 13 ล้านตัน ซึ่งในช่วงนี้ข้าวนาปีจะต้องหมดไปแล้ว แต่กลับมีข่าวว่ายังมีนาปีค้างอยู่ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำส่วนต่างสองล้านตันนั้น มาสวมสิทธิชาวนา ในขณะที่ข้าวนาปรังเดิมบอกว่ามีปัญภาภัยแล้งจะมีผลผลิตแค่ 7 ล้านตัน แต่ตอนนี้บอกว่าจะมีผลผลิตเพิ่ม 9 ล้านตัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสวมสิทธิในส่วนตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
นพ.วรงค์ ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้สิ้นเดือนเมษายนนี้ ให้อำนาจการตรวจมาตรฐานสินค้า ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก เป็นของสำนักงานมาตรฐานสินค้า กระทรวงพาณิชย์ แทนที่จะเป็นการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เนื่องจากจะทำให้การตรวจสอบตัวเลขการส่งออกข้าวออกนอกประเทศทำได้ยากขึ้น เพราะตัวเลขจะอยู่ที่รัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่รัฐบาลก็ปิดบังในเรื่องนี้มาโดยตลอด
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะมีปัญหาเรื่องมาตรฐานข้าวด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีข้าวของคนใกล้ชิดรัฐบาลที่ไม่ผ่านการตรวจมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าวของสภาหอการค้าฯ แต่มีผู้ใหญ่ในกระทรวงพาณิชย์โทรศัพท์มาขอให้ผ่าน โดยทางสภาหอการค้าฯขอให้ทำหนังสือมาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงให้ผ่านไป ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระทรวงพาณิชย์รวบอำนาจในส่วนนี้ไปดำเนินการเอง
**รัฐบาลไม่สนเดินหน้ารับจำนำต่อ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมลักษณ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาลผลิต 2555/2556 รอบแรก ครั้งแรก ครั้งที่ 1 หรือข้าวนาปีว่า มีปริมาณ 13.6 ล้านตัน มีโรงสีที่เปิดจุดรับจำนำ 1,414 แห่ง แบ่งเป็นโรงสีในพื้นที่ 852 แห่ง และจุดรับจำนำนอกพื้นที่อีก 562 แห่ง
ส่วนรอบที่ 2 หรือข้าวนาปรัง ขณะนี้มีปริมาณข้าวเข้าสู่โครงการ 1.6 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์คาดว่า จะมีปริมาณ 7 ล้านตัน มีโรงสีในพื้นที่ 585 ราย นอกพื้นที่ 56 ราย ผลผลิตที่เข้าโครงการรอบสองนี้ ส่วนใหญ่มาจากภาคกลาง
สำหรับปัญหาการออกใบรับรองเกษตรกรที่ล่าช้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งออกใบรับรอง และขยายจุดรับจำนำข้าวให้มีเพียงพอกับความต้องการ เกษตรกรที่นำข้าวมาจำนำและมีผลผลิตไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อได้รับใบประทวนแล้ว สามารถนำไปรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ภายใน 3 วัน แต่หากเกิน 500,000 บาท หรือ ร้อยละ 20 ของผลผลิต ต้องตรวจอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการทุจริต และยืนยันว่า มีเงินหมุนเวียนเพียงพอในการรับจำนำฤดูกาลนี้