วานนี้ (15 พ.ค.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือกลุ่มพีมูฟ ที่ชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ได้เคลื่อนตัวมายังบริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ ด้านประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแถลงจุดยืนหลังจากที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้นำข้อเรียกร้องเร่งด่วน 4 ด้านของกลุ่มพีมูฟ เข้าพิจารณา ได้แก่ 1. การคุ้มครองพื้นที่ด้วยการออกโฉนดที่ดินชุมชน 2 . ปัญหาเรื่องเขื่อนปากมูล 3. การออก พ.ร.บ ควบคุมอาคาร 4. เรื่องธนาคารที่ดิน
ดังนั้นขปส. จึงมีข้อเสนอคือ หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามข้อเสนอเร่งด่วน ทางกลุ่มจะยังคงปักหลักชุมนุมต่อไป จนกว่ากระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาลจะเป็นไปตามทุกขั้นตอนที่ได้ตกลงไว้ และขอให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อสัญญาประชาคมที่ตกลงไว้ในการแก้ปัญหาคนจน รวมถึงขปส.ขอเรียกร้องให้สังคม สาธารณะชนทุกภาคส่วนร่วมสนุบสนุนกระบวนการเจรจาของขปส.กับรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
ต่อมาเวลา 13.00 น. นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย พร้อมคณะได้เข้ารับฟังปัญหาของกลุ่ม ขปส. โดยมีนายประยงค์ ดอกลำไย แกนนำขปส.และแนวร่วม ขปส.ร่วมพูดคุยถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยนายประชาให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมหารือว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเสนอปัญหาที่เดือดร้อนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่ดินใน 3 ประเด็น คือ 1. เรื่องที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยหรือโฉนดชุมชน รวม 16 ชุมชน 2. การขอเข้าไปมีสิทธิในที่ดินของรัฐตาม มาตรา 12 และ มาตรา 9 ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติการสัมปทานไว้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่สามารถใช้สิทธิในการสัมปทานได้ จึงเสนอให้รัฐบาลหาหนทางในการแก้ไขระเบียบ หรือผ่อนปรนในเรื่องดังกล่าวและ 3. การเพิกถอนที่ดินที่ซ้ำซ้อนของรัฐ เอกชน และกลุ่มที่ได้โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิโดยมิชอบ ซึ่งนายประชา เห็นว่าในทุกข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุม ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางที่สามารถเดินหน้าได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะเรื่องธนาคารที่ดิน ที่ขณะนี้เหลือเพียงการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งยืนยันจะเดินหน้าต่อไป
นายประชา กล่าวว่าจะนำข้อเสนอทุกเรื่องที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุม เข้าสู่การประชุมของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 17 พ.ค. เวลา 13.30 น. ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาของม็อบปากมูล จะประสานงานไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดูแลเรื่องดังกล่าวให้เร่งแก้ไขปัญหา ส่วนที่ประชาชนมีปัญหาในคดีการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นอัยการจะติดต่อผู้ว่าราชการในแต่ละพื้นที่ให้ชะลอพร้อมทั้งทบทวนการพิสูจน์ใหม่ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมกันนี้จะนำเรื่องทั้งหมดไปรายงานต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของกลุ่มขปส. เพื่อรับทราบในรายละเอียด นอกจากนี้จะมีการประสานไปยังตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้รับทราบความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าหากรัฐบาลหมดวาระแล้ว การดำเนินการแก้ไขปัญหาจะยังคงเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง
ด้าน นายประยงค์ กล่าวว่า การที่นายประชา มารับฟังข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีทางออก ส่วนที่นายประชา เสนอให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับ และรอฟังความคืบหน้านั้น คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านรัฐบาลก็เคยรับปากมาแล้วถึง 8 ครั้ง โดยผู้ชุมนุมจะยังคงปักหลักติดตามความคืบหน้าของที่ประชุมคณะอนุกรรมการทั้ง 10 ชุด จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และจะรอฟังความชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธานในวันที่ 28 พ.ค. หากไม่มีความชัดเจนจะมีการยกระดับการชุมนุมเรียกร้องให้นายกฯ มานั่งเป็นประธานเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เนื่องจากไม่สามารถที่จะมอบหมายให้บุคคลอื่นมาดำเนินการได้แล้ว เพราะแม้แต่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทย ก็ยังทำงานล้มเหลว
** โยนจัดเงินเพิ่มอปท.ให้กมธ.งบฯ 57
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกาศจะกลับมารวมตัวอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค.นี้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนจัดสรรรายได้ให้แก่อปท. ปีงบประมาณปี 2557 จากร้อยละ 27.28 ของรายได้สุทธิรัฐบาล เป็นร้อยละ 30 ว่า เมื่อวันอังคารที่
14 พ.ค. ได้มีการหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และฟังข้อสรุปจากคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลไม่ได้คิดจะหลีกเลี่ยงการพูดคุย แต่เนื่องจากการหารือใช้ระยะเวลากว่า 30 นาที กลุ่มตัวแทนผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับไปก่อน แต่ได้มีการทำร่างหนังสือชี้แจงต่อข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
"ก่อน 28 พ.ค.นี้ ที่จะเดินทางมาชุมนุม จะมีการเชิญตัวแทนอปท. มาหารือสัปดาห์นี้ เพื่อดูว่าจะเกิดความเข้าใจกันมากน้อยแค่ไหน ตกลงกันได้หรือไม่ จากนั้นจึงสรุป และทำเป็นหนังสือชี้แจงไปยังอปท.ทั่วประเทศ การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ได้ผ่านครม. ตอนนี้เข้าสู่กระบวนของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ต้องไปในขั้นตอนของการแปรญัตติ ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เป็นหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ก็จะต้องชี้แจงผู้นำท้องถิ่นเข้าใจ เพราะท้องถิ่นบอกว่าได้ส่งเรื่องนี้เข้ามาก่อนที่ ครม.จะเห็นชอบ แต่เมื่อไปตรวจแล้ว พบว่าส่งกระชั้นชิดไป จึงไม่ทันการ” นายจารุพงศ์ กล่าว
** "เหลิม"กระตุ้นผู้ว่าฯมีส่วนร่วมแก้ปัญหาม็อบ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ระบุถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมหลายกลุ่มในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อรัฐบาลได้ว่า ตนนั้นเป็นรองนายกฯ จับฉ่าย ไม่ได้ดูแลความมั่นคง ท่านนายกฯ ใช้ก็ทำ เมื่อถามว่าไม่อยากดูด้านความมั่นคงหรือ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เอา กลัวถูกย้าย รองนายกฯ ด้านความมั่นคงเปลี่ยนบ่อย แต่รองนายกฯจับฉ่าย อยู่ได้นาน
ทั้งนี้ ตนได้คุยกับ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯสมช. ท่านพูดถูก เพราะรัฐบาลมีหน้าที่แก้ปัญหา และตนจะทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอยู่เฉยอย่างนี้ไม่ได้ ผู้ว่าฯต้องดำเนินการเบื้องต้น และตนจะนำรายละเอียดของผู้ที่เดือดร้อนไปให้ผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เช่น กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ( พีมูฟ ) บ้านอยู่ไหน เดือดร้อนเรื่องอะไร อะไรคือข้อเท็จจริงและปัญหา ผู้ว่าฯ ต้องสรุปเบื้องต้น
“ไปดู 7 เดือน เรคคอร์ดที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรมว.มหาดไทย ไม่มีอย่างนี้หรอก ผมถูกพรรคประชาธิปัตย์ด่าว่า บ้าอำนาจ ผมเชิญผู้ว่าฯ วันละคนมาพบผม เพื่อคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เขาก็ลงไปทำ เขาอาจจะไม่ขี้เกียจ แต่ไม่ได้รับมอบหมาย ตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าภาพ ทุกภาคส่วนฟังผู้ว่าฯหมด”รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หลังจากทำหนังสือนโยบายถึงผู้ว่าฯแล้ว ม็อบจะลดลงหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่นโยบายของตน แต่เป็นโยบายรัฐบาล ส่วนกรณีที่นัดกลุ่มพีมูฟ มาคุยอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค. นี้ ก็จะมีการประชุม และตนแก้ปัญหาไปได้เยอะแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ ต้องสรุปเรื่องขึ้นมาให้ก่อน หากไม่ทันก็รอบหน้า แต่ในเบื้องต้นต้องมี เพราะผู้ว่าฯ รู้ดีที่สุด ทั้งนี้เรื่องปัญหาพื้นที่ทำกินผิดกฎหมายทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรให้ถูก ก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ ใช้นิติศาสตร์ ไม่ได้
ดังนั้นขปส. จึงมีข้อเสนอคือ หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามข้อเสนอเร่งด่วน ทางกลุ่มจะยังคงปักหลักชุมนุมต่อไป จนกว่ากระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาลจะเป็นไปตามทุกขั้นตอนที่ได้ตกลงไว้ และขอให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อสัญญาประชาคมที่ตกลงไว้ในการแก้ปัญหาคนจน รวมถึงขปส.ขอเรียกร้องให้สังคม สาธารณะชนทุกภาคส่วนร่วมสนุบสนุนกระบวนการเจรจาของขปส.กับรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
ต่อมาเวลา 13.00 น. นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย พร้อมคณะได้เข้ารับฟังปัญหาของกลุ่ม ขปส. โดยมีนายประยงค์ ดอกลำไย แกนนำขปส.และแนวร่วม ขปส.ร่วมพูดคุยถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยนายประชาให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมหารือว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเสนอปัญหาที่เดือดร้อนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่ดินใน 3 ประเด็น คือ 1. เรื่องที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยหรือโฉนดชุมชน รวม 16 ชุมชน 2. การขอเข้าไปมีสิทธิในที่ดินของรัฐตาม มาตรา 12 และ มาตรา 9 ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติการสัมปทานไว้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่สามารถใช้สิทธิในการสัมปทานได้ จึงเสนอให้รัฐบาลหาหนทางในการแก้ไขระเบียบ หรือผ่อนปรนในเรื่องดังกล่าวและ 3. การเพิกถอนที่ดินที่ซ้ำซ้อนของรัฐ เอกชน และกลุ่มที่ได้โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิโดยมิชอบ ซึ่งนายประชา เห็นว่าในทุกข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุม ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางที่สามารถเดินหน้าได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะเรื่องธนาคารที่ดิน ที่ขณะนี้เหลือเพียงการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งยืนยันจะเดินหน้าต่อไป
นายประชา กล่าวว่าจะนำข้อเสนอทุกเรื่องที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุม เข้าสู่การประชุมของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 17 พ.ค. เวลา 13.30 น. ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาของม็อบปากมูล จะประสานงานไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดูแลเรื่องดังกล่าวให้เร่งแก้ไขปัญหา ส่วนที่ประชาชนมีปัญหาในคดีการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นอัยการจะติดต่อผู้ว่าราชการในแต่ละพื้นที่ให้ชะลอพร้อมทั้งทบทวนการพิสูจน์ใหม่ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน พร้อมกันนี้จะนำเรื่องทั้งหมดไปรายงานต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของกลุ่มขปส. เพื่อรับทราบในรายละเอียด นอกจากนี้จะมีการประสานไปยังตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้รับทราบความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าหากรัฐบาลหมดวาระแล้ว การดำเนินการแก้ไขปัญหาจะยังคงเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง
ด้าน นายประยงค์ กล่าวว่า การที่นายประชา มารับฟังข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าจะมีทางออก ส่วนที่นายประชา เสนอให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับ และรอฟังความคืบหน้านั้น คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านรัฐบาลก็เคยรับปากมาแล้วถึง 8 ครั้ง โดยผู้ชุมนุมจะยังคงปักหลักติดตามความคืบหน้าของที่ประชุมคณะอนุกรรมการทั้ง 10 ชุด จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และจะรอฟังความชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นประธานในวันที่ 28 พ.ค. หากไม่มีความชัดเจนจะมีการยกระดับการชุมนุมเรียกร้องให้นายกฯ มานั่งเป็นประธานเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เนื่องจากไม่สามารถที่จะมอบหมายให้บุคคลอื่นมาดำเนินการได้แล้ว เพราะแม้แต่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทย ก็ยังทำงานล้มเหลว
** โยนจัดเงินเพิ่มอปท.ให้กมธ.งบฯ 57
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกาศจะกลับมารวมตัวอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค.นี้เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนจัดสรรรายได้ให้แก่อปท. ปีงบประมาณปี 2557 จากร้อยละ 27.28 ของรายได้สุทธิรัฐบาล เป็นร้อยละ 30 ว่า เมื่อวันอังคารที่
14 พ.ค. ได้มีการหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และฟังข้อสรุปจากคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลไม่ได้คิดจะหลีกเลี่ยงการพูดคุย แต่เนื่องจากการหารือใช้ระยะเวลากว่า 30 นาที กลุ่มตัวแทนผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับไปก่อน แต่ได้มีการทำร่างหนังสือชี้แจงต่อข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
"ก่อน 28 พ.ค.นี้ ที่จะเดินทางมาชุมนุม จะมีการเชิญตัวแทนอปท. มาหารือสัปดาห์นี้ เพื่อดูว่าจะเกิดความเข้าใจกันมากน้อยแค่ไหน ตกลงกันได้หรือไม่ จากนั้นจึงสรุป และทำเป็นหนังสือชี้แจงไปยังอปท.ทั่วประเทศ การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ได้ผ่านครม. ตอนนี้เข้าสู่กระบวนของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ต้องไปในขั้นตอนของการแปรญัตติ ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เป็นหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ก็จะต้องชี้แจงผู้นำท้องถิ่นเข้าใจ เพราะท้องถิ่นบอกว่าได้ส่งเรื่องนี้เข้ามาก่อนที่ ครม.จะเห็นชอบ แต่เมื่อไปตรวจแล้ว พบว่าส่งกระชั้นชิดไป จึงไม่ทันการ” นายจารุพงศ์ กล่าว
** "เหลิม"กระตุ้นผู้ว่าฯมีส่วนร่วมแก้ปัญหาม็อบ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ระบุถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมหลายกลุ่มในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อรัฐบาลได้ว่า ตนนั้นเป็นรองนายกฯ จับฉ่าย ไม่ได้ดูแลความมั่นคง ท่านนายกฯ ใช้ก็ทำ เมื่อถามว่าไม่อยากดูด้านความมั่นคงหรือ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่เอา กลัวถูกย้าย รองนายกฯ ด้านความมั่นคงเปลี่ยนบ่อย แต่รองนายกฯจับฉ่าย อยู่ได้นาน
ทั้งนี้ ตนได้คุยกับ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯสมช. ท่านพูดถูก เพราะรัฐบาลมีหน้าที่แก้ปัญหา และตนจะทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอยู่เฉยอย่างนี้ไม่ได้ ผู้ว่าฯต้องดำเนินการเบื้องต้น และตนจะนำรายละเอียดของผู้ที่เดือดร้อนไปให้ผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เช่น กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ( พีมูฟ ) บ้านอยู่ไหน เดือดร้อนเรื่องอะไร อะไรคือข้อเท็จจริงและปัญหา ผู้ว่าฯ ต้องสรุปเบื้องต้น
“ไปดู 7 เดือน เรคคอร์ดที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรมว.มหาดไทย ไม่มีอย่างนี้หรอก ผมถูกพรรคประชาธิปัตย์ด่าว่า บ้าอำนาจ ผมเชิญผู้ว่าฯ วันละคนมาพบผม เพื่อคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เขาก็ลงไปทำ เขาอาจจะไม่ขี้เกียจ แต่ไม่ได้รับมอบหมาย ตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าภาพ ทุกภาคส่วนฟังผู้ว่าฯหมด”รองนายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า หลังจากทำหนังสือนโยบายถึงผู้ว่าฯแล้ว ม็อบจะลดลงหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่นโยบายของตน แต่เป็นโยบายรัฐบาล ส่วนกรณีที่นัดกลุ่มพีมูฟ มาคุยอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค. นี้ ก็จะมีการประชุม และตนแก้ปัญหาไปได้เยอะแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ ต้องสรุปเรื่องขึ้นมาให้ก่อน หากไม่ทันก็รอบหน้า แต่ในเบื้องต้นต้องมี เพราะผู้ว่าฯ รู้ดีที่สุด ทั้งนี้เรื่องปัญหาพื้นที่ทำกินผิดกฎหมายทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรให้ถูก ก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ ใช้นิติศาสตร์ ไม่ได้