ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ วันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 16.00 น. จะกรมราชทัณฑ์เชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีถอดตรวนผู้ต้องขัง ที่เรือนจำกลางบางขวาง จ.นนทบุรี ตามนโยบายของรัฐบาลที่เห็นความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขัง เบื้องต้นกรมราชทัณฑ์นำร่องถอดตรวนผู้ต้องขังโทษสูงสุดหรือโทษประหารชีวิต ที่โดยปกติแล้วจะต้องใส่ตรวนตลอดเวลาในการใช้ชีวิตในเรือนจำ แต่หลังจากนี้ไม่ต้องใส่ตรวน ระหว่างคุมขังในเรือนจำ แต่ยังคงต้องใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการในการเดินทางไปขึ้นศาล เนื่องจากทางกรมราชทัณฑ์ยังไม่สามารถจัดซื้อเครื่องมือที่เหมาะสมตามหลักสากลได้
สำหรับจำนวนผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำและต้องใส่ตรวนส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดต้องโทษตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต มีกว่า 800 คน แต่ครั้งนี้จะนำร่องถอดตรวนก่อนประมาณ 500 คน เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมดี ทั้งนี้พิธีการในวันที่ 15 พฤษภาคม กรมราชทัณฑ์จะนำเสนอวิวัฒนาการของตรวน ที่ถูกนำมาใช้ในงานราชทัณฑ์
รวมทั้งเรื่องราวการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขัง ที่ต้องอยู่ร่วมกับตรวนใส่ข้อเท้า เช่น วิธีการใส่การเกงทั้งที่ตรวนจะติดอยู่ที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง หรือการดูแลรักษา ทำความสะอาดตรวนŽ พ.ต.อ.สุชาติกล่าว และว่า การถอนตรวนจะเป็นนโยบายต่อเนื่องขยายไปในทุกเรือนจำ ตอนนี้หลายเรือนจำอาจจะยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการควบคุมผู้ต้องหาหากถอดตรวน แต่ต้องมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าพร้อมเข้าโครงการได้เมื่อใด กรมราชทัณฑ์ยุคนี้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ทั้งด้านความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขัง เช่น มีรถพาไปศาลติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องเบียดกันจนร้อน รวมถึงการถอดตรวนครั้งนี้ด้วย
สำหรับผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิโครงการถอดตรวนนำร่อง มีหลายคนที่เป็นที่รู้จัก เช่น พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋ง ผู้ต้องหาคดีฆ่าผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายวิศิษฐ์ พึ่งรัศมี อดีตข้าราชการป่าไม้ ซึ่งเป็นผู้กว้างขวางทางภาคเหนือ จำเลยในฐานความผิดสั่งการผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน กรณีใช้ลูกน้องยิงนายเกษม ทองวงษ์ษา พ่อค้าขายเครื่องดื่มตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2539 แต่ลูกน้องยิงผิดตัว นายสุขุม เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ผู้ต้องขังคดีอุ้มฆ่าตระกูลศรีธนะขัณฑ์ และอีกหลายคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนอให้กรมราชทัณฑ์ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการตีตรวนผู้ต้องขังทั้งคดีการเมืองและคดีอาญา เนื่องจากเห็นว่าในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2497 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่เป็นบุคคลที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิต หรือร่างกายของตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลวิกลจริต บุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนีการควบคุม ขณะเดียวกันยังไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของสหประชาชาติ เรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย แต่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องหา เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สำหรับจำนวนผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำและต้องใส่ตรวนส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดต้องโทษตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต มีกว่า 800 คน แต่ครั้งนี้จะนำร่องถอดตรวนก่อนประมาณ 500 คน เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมดี ทั้งนี้พิธีการในวันที่ 15 พฤษภาคม กรมราชทัณฑ์จะนำเสนอวิวัฒนาการของตรวน ที่ถูกนำมาใช้ในงานราชทัณฑ์
รวมทั้งเรื่องราวการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขัง ที่ต้องอยู่ร่วมกับตรวนใส่ข้อเท้า เช่น วิธีการใส่การเกงทั้งที่ตรวนจะติดอยู่ที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง หรือการดูแลรักษา ทำความสะอาดตรวนŽ พ.ต.อ.สุชาติกล่าว และว่า การถอนตรวนจะเป็นนโยบายต่อเนื่องขยายไปในทุกเรือนจำ ตอนนี้หลายเรือนจำอาจจะยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการควบคุมผู้ต้องหาหากถอดตรวน แต่ต้องมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าพร้อมเข้าโครงการได้เมื่อใด กรมราชทัณฑ์ยุคนี้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ทั้งด้านความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขัง เช่น มีรถพาไปศาลติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องเบียดกันจนร้อน รวมถึงการถอดตรวนครั้งนี้ด้วย
สำหรับผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิโครงการถอดตรวนนำร่อง มีหลายคนที่เป็นที่รู้จัก เช่น พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋ง ผู้ต้องหาคดีฆ่าผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายวิศิษฐ์ พึ่งรัศมี อดีตข้าราชการป่าไม้ ซึ่งเป็นผู้กว้างขวางทางภาคเหนือ จำเลยในฐานความผิดสั่งการผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน กรณีใช้ลูกน้องยิงนายเกษม ทองวงษ์ษา พ่อค้าขายเครื่องดื่มตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2539 แต่ลูกน้องยิงผิดตัว นายสุขุม เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ผู้ต้องขังคดีอุ้มฆ่าตระกูลศรีธนะขัณฑ์ และอีกหลายคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนอให้กรมราชทัณฑ์ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติในการตีตรวนผู้ต้องขังทั้งคดีการเมืองและคดีอาญา เนื่องจากเห็นว่าในมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2497 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่เป็นบุคคลที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิต หรือร่างกายของตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลวิกลจริต บุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนีการควบคุม ขณะเดียวกันยังไม่สอดคล้องตามมาตรฐานของสหประชาชาติ เรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย แต่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องหา เพื่อสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ