ASTVผู้จัดการรายวัน-“แดง กวป.” ปิดจ๊อบม็อบหางอึ่ง โวมาเป็นแสน แต่เอาเข้าจริงเหลือแค่หยิบมือ ขนขบวนเดินหน้ามุ่งสู่รัฐสภายื่น 1 แสนชื่อถอดถอน 5 ตุลาการ ยังปากกล้า ไม่รอผ่านขั้นตอน เพราะช้าเกินไป ลั่นวิ่งแจ้งความ และจะยกระดับชุมนุมไล่ "ธาริต"จัดให้อีก สั่งประธานวุฒิสภาแจงกรณี "ชัช ชลธร"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (8 พ.ค.) กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่ชุมนุมอยู่ที่หน้าบริเวณสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมานานกว่า 16 วัน ได้เคลื่อนขบวนมวลชน โดยใช้รถบัส รถยนต์ รถกะบะ รถจักรยานยนต์ ออกจากหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปยังรัฐสภา เพื่อยื่นรายชื่อประชาชน 1 แสนคนถอดถอน 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ นาย จรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทจาร นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายนุรักษ์ มาประณีต และนายเฉลิมพล เอกอุรุ ออกจากตำแหน่ง โดยได้ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ซึ่งทำให้ช่วงเช้าสภาพการจราจรติดขัดอย่างมาก
ทั้งนี้ ตามที่ กวป. ได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะมีคนมาร่วมชุมนุมประมาณหลักแสนคน แต่พอถึงเวลาจริง มีคนมาเข้าร่วมจำนวนน้อยมาก
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางมาปฏิบัติของพนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานฯ จึงได้ประกาศให้เจ้าหน้าที่งดเดินทางมาทำงาน ขณะที่ช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มทยอยเก็บของ เพื่อกลับหน่วยงานต้นสังกัด อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ชุมนุมเดินทางกลับมายังหน้าศาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนหนึ่งได้กลับมาปฏิเสธหน้าที่เช่นเดิม
****ถึงรัฐสภายื่นถอดถอน 5ตุลาการ
ที่หน้ารัฐสภา กวป. ได้เข้าพบเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอทราบขั้นตอนในการยื่นถอดถอนตุลาการ โดยทางเลขาธิการวุฒิสภา แจ้งว่า อันดับแรกต้องมีคนเข้ามาแจ้งเรื่องร้องทุกข์ก่อน จากนั้นให้ไปรวมรวมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอย่างน้อย 100 คน แล้วกลับมายื่นอีกครั้งภายใน 180 วัน ซึ่งหลังจากนี้ ทางวุฒิสภาจะมีการตรวจสอบรายชื่อและความถูกต้อง ก่อนจะยื่นไปทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อพิจารณา ก่อนที่ ป.ป.ช. จะส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภาอีกครั้ง และเข้าสู่การพิจารณาของส.ว. เพื่อดำเนินการถอดถอนต่อไป
ภายหลังการหารือ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำกวป. มีความกังวลว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะมีความล่าช้า และไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า แกนนำกลุ่ม กวป. จะไม่ใช้ช่องทางดังกล่าว แต่จะใช้วิธีการแจ้งความ หรือยกระดับการชุมนุม เพื่อกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ลาออกไปเอง
ทั้งนี้ ได้ยื่นหนังสือจำนวน 2 ฉบับต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 โดยฉบับแรกเป็นจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ส่วนหนังสือฉบับที่ 2 เป็นหนังสือแสดงเจตจำนงเป็นผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ได้ไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 5 คน ซึ่งขณะนี้มีผู้ร่วมเข้าชื่อแล้วกว่า 50,000 คน ซึ่งภาย15 วัน จะคัดกรองและนำมายื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเข้าขบวนการถอดถอนต่อไป
ขณะที่นายเจริญ กล่าวว่า ขอตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นการยื่นถอดถอนการทำหน้าที่ประพฤติมิชอบ ต้องเป็นกระบวนการของวุฒิสภาทำหน้าที่ต่อไป
เมื่อถามว่า สาเหตุที่มีการเลิกชุมนุม เพราะจำนวนเคลื่อนไหวไม่ถึง 1 แสนคน หรือไม่ นายเจริญ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่คิดว่าอาจเป็นเพราะได้ยื่นถอดถอนตุลาการตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว
นายเจริญได้กล่าวกับแกนนำว่า ขณะนี้สังคมมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์การชุมนุม ตนขอร้องให้ยุติการชุมนุมได้แล้ว ขณะนี้อากาศร้อน สภาก็ร้อน อย่าให้ร้อนไปมากกว่านี้เลย
อย่างไรก็ตาม กวป. ยังได้เดินทางไปยื่นหนังสือฉบับเดียวกัน ต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนกลับไปรวมตัวกับผู้ชุมนุมที่ปักหลักอยู่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหารือและกำหนดท่าที ก่อนประกาศยุติการชุมนุม
** "ธาริต"จัดให้สั่งปธ.วุฒิแจงเรื่อง "ชัช ชลธร"
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา ยื่นหนังสือขอให้ดีเอสไอสืบสวนการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัช ชลวร เข้าข่ายความผิดแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่ว่า ดีเอสไอได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อสอบถามความชัดเจนถึงการโปรดเกล้าฯ ให้นายชัช พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญแทน โดยที่ไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้นายชัช เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สามารถดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อีกหรือไม่
ทั้งนี้ หนังสือระบุให้ประธานวุฒิสภาตอบกลับภายใน 30 วัน หากประธานวุฒิสภายืนยันว่า นายชัชยังสามารถดำรงตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง ดีเอสไอจะสั่งยุติเรื่อง และงดการสืบสวน แต่ถ้าประธานวุฒิยืนยันว่า ความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัชสิ้นสุดลงไปด้วย ดีเอสไอก็จะพิจารณาดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอพบข้อมูลว่าในขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ มีปัญหามาก โดยการประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสำนักราชเลขาธิการมีการถกเถียงกันถึงเรื่องการสลับตำแหน่ง ซึ่งไม่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าสามารถทำได้หรือไม่
**ผบ.ทบ.รับกังวลสารพัดม็อบ
ที่กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าจะเกิดการปะทะกัน เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าทุกคนรู้สึกกังวล ตนก็รู้สึกกังวลเช่นกัน ทุกฝ่ายต้องพยายามอยู่ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในเรื่องประชาธิปไตยก็ทำกันไป แต่อย่าให้ปะทะกัน ส่วนเรื่องผิดหรือถูกก็ต้องไปว่ากันในกระบวนการยุติธรรม
**“มาร์ค”ดักคออย่าอ้าง “แดงเทียม”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และมีหน้าที่ปกป้องตุลาการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ส่วนเรื่องมือที่สามก็เป็นความรับผิดชอบที่รัฐบาลต้องดูแล การจะอ้างว่าเป็นเรื่องของแดงเทียมนั้น ที่ผ่านมา จะเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่จริงในหลายเรื่อง แม้พรรคเพื่อไทยจะบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงนั้น ไม่ทราบว่าจะพูดจริงหรือไม่ เพราะสิ่งที่คนเสื้อแดงเคลื่อนไหวอยู่สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย เพียงแต่แยกกันเดิน แต่วันไหนที่มีปัญหากันก็บอกว่าไม่เกี่ยวกัน แต่สังคมมองออก จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวของกลุ่มมวลชนทุกครั้ง เพราะแม้กระทั่งเวลาที่มีการทำผิดกฎหมาย ก็ไม่เคยได้ยินการห้ามปรามมาจากพรรคเพื่อไทยและคนในรัฐบาลเลย
** ฉะแผนเพื่อไทยวางเกมรวมอำนาจ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นความพยายามที่จะยกระดับและขยายผลที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันศาล เริ่มต้นจากศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งกรณีมติไฟเขียวของพรรคเพื่อไทยที่ไม่ให้ส.ส.เข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่มีคนยื่นว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีนี้ แม้ ส.ส. รวมถึง ส.ว. บางส่วนจะไม่ชี้แจงต่อศาล แต่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถดำเนินการต่อได้ เพราะศาลใช้ระบบการไต่สวนทั้งในส่วนของพยานและหลักฐานในการหาข้อมูลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด เพราะเขาคงจะคาดหรือเล็งเห็นผลตามแผนที่วางไว้แล้วว่า เมื่อผลวินิจฉัยของศาลออกมา เขาก็จะใช้จุดนี้ไปกดดัน ขยายผลเพื่อปลุกปั่นมวลชนเสื้อแดงของเขาต่อไปว่าศาลมัดมือชก โดยบิดเบือนใส่ร้ายศาลว่ามีที่มาไม่ชอบต่างๆ นานา ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มีที่มาถูกต้องผ่านการโปรดเกล้าฯ ตามกรอบกฏหมายทุกอย่าง คือ ทำทุกอย่างเพื่อลดความน่าเชื่อถือของระบบศาล
"การชุมนุมโดยอ้างว่าที่มาของศาลไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมีเป้าหมายเพื่อทำลายศาลเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป คือ ศาลปกครองและผู้พิพากษาศาล เพราะที่ผ่านมา สามอำนาจหลักของระบบการปกครองไทย คือ บริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ต่างตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างกัน แต่บังเอิญประเทศไทยนักการเมืองมันทุจริตคอร์รัปชั่นเก่งมาก ฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ ซึ่งยึดโยงมีที่มาเกื้อกูลกัน ก็หันมาใช้อำนาจเอื้อแก่กันและกัน จนมีการปฏิรูปการเมือง มีการตั้งองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐมากขึ้น วันนี้เห็นแล้วว่าทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดินต่างๆ เป็นก้างขวางคอ จึงต้องจัดการกับองค์กรเหล่านี้ ซึ่งนับเป็นการใส่เกียร์ 5 ถอยหลังลงคลองของการเมืองไทย เพราะในการปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง คณะผู้ก่อการจะล้มล้างแค่อำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่เคยก้าวล่วงล้มอำนาจศาลหรือระบบตุลาการเลย เพราะเหตุผลเพื่อให้ศาลรักษาความสงบในสังคม ในชาติบ้านเมือง แต่ครั้งนี้ เขารุกที่ระบบศาลเป็นหลัก เพื่อรวบอำนาจศาล"
ส่วนที่ตนระบุว่าศาลอาญาก็อยู่ในข่ายถูกทำลายความน่าเชื่อถือ เพราะกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลสั่งจำคุก หากศาลสั่งจำคุกยาวตามระยะเวลาในการพิจารณาคดี ซึ่งคาดว่คดีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี เขาก็สามารถใช้จุดนี้มาปลุกปั่นมวลชนให้เบนเป้ามาที่ศาลอาญาได้ ยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการทำลายความน่าเชื่อถือองค์กรตุลาการศาลทั้งระบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการผดุงรักษาระบบคุณธรรม หรือรักษาอำนาจนิติธรรมของผู้ใช้อำนาจนี้ ตุลาการศาลหรือผู้พิพากษาศาลในศาลต่างๆ ควรต้องจับมือคนในศาลต้องไปแจ้งความรักษาสิทธิ์ ข้าราชการ ตำรวจต้องทำหน้าที่ ไม่ใช่นิ่งเฉยเมื่อผู้พิพากษาไปแจ้งความ เพราะเป็นด่านสุดท้ายที่จะรักษาความเป็นธรรมในสังคมนี้ได้ ไม่เช่นนั้น หากศาลถูกเปลี่ยนแปลงไป มันจะวุ่นวายจากการถูกแทรกแซง จึงไม่แปลกที่มีการระดมคนมากดดันศาล ที่กล้าประกาศต้องเกินแสน มีท้าทายไม่ถึงแสนยุติ เพราะได้คนในรัฐบาลให้ท้าย และรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ลืมง่าย ขี้สงสาร ตกอยู่ในความหวาดกลัว และเป็นไทยเฉย ไม่ใส่ใจสังคม เหมือนคำกล่าวที่ว่า สังคมจะไม่วิบัติเพราะคนชั่ว แต่จะวิบัติเพราะคนดีอยู่เฉย ที่อัลเบิร์ต ไอสไตล์ พูดไว้ นี่เป็นของจริง
** ปลุกไมขึ้นหากรัฐบาลไม่หลิ่วตา
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การชุมนุมและการเคลื่อนไหวของ กวป. ครั้งนี้จะไม่สำเร็จ หากรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุน แกล้งหลิ่วตาข้างหนึ่งเพื่อให้ กวป.ทำหน้าที่เป็นม็อบผิดกฎหมายของรัฐบาล เพื่อกดดันตุลาการ และหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล ทำให้ประเทศมีลักษณะที่แปลก และมีที่เดียวในโลกที่รัฐบาลมีม็อบของตัวเอง เพื่อกดดันการทำงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้เดินตามฝ่ายบริหาร และสร้างความลำบากให้ประชาชน โดยที่รัฐบาลให้ท้าย ทั้งที่การแสดงออกในลักษณะนี้ควรจะเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เริ่มจะทนไม่ได้ที่รัฐบาลมีม๊อบอันธพาลของตนเอง ไว้คอยข่มขู่ คุกคาม สิทธิของคนอื่น
"การชุมนุมของ กวป. ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ที่ไม่เคยมีการประกาศจับตัวตุลาการ แต่รัฐบาลกลับประกาศใช้พ.ร.บ.มั่นคงเพื่อควบคุมการชุมนุม แต่การชุมนุมของ กวป. ที่มีการประกาศจับตัวตุลาการ ประกาศเคลื่อนการชุมนุมชัดเจน แต่รัฐบาลกลับไม่สนใจ และยังสนับสนุนให้มีการชุมนุมอีก"
**ซัดเพื่อไทยรู้เห็นเป็นใจม๊อบไล่ศาล
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ขบวนการคุกคามศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เป็นขบวนการที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยรู้เห็นเป็นใจ และกลุ่ม กวป. เป็นแค่แกนนำหางแถวที่ถูกส่งมาโยนหินถามทางเช็กกระแสฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้หวังแตกหักอะไร การเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพียงเพื่อส่งสัญญานถึงมวลชนคนเสื้อแดงให้เตรียมพร้อมเคลื่อนไหวใหญ่เวลาอันใกล้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขบวนการนี้จะเปิดตัวและกลับมาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยอมรับว่า ครั้งนี้เป็นสงครามชิงแดนอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับตุลาการ รัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตระหนักดีว่า ถ้าจัดการยุบ หรือยึดศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ จะทำให้แผนผูกขาดอำนาจและกินรวบประเทศไทยถูกแช่แข็ง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีทางเลือกและไม่มีทางถอยอย่างแน่นอน ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญต้องยืนหยัดและชูธงตุลาการภิวัฒน์ และยืนยันคำวินิจฉัยที่จะนำการเมืองออกจากการผูกขาดของคนเดียว ด้วยสันติวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง
**พรรคร่วม-ส.ว.กินข้าวกำหนดท่าที
ที่พรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว. ทยอยเดินทางมารับประทานอาหารกลางวัน ตามคำเชิญของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อาทิ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา นางสุกุมล คุณปลื้ม ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารกลางวัน ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (8 พ.ค.) กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่ชุมนุมอยู่ที่หน้าบริเวณสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมานานกว่า 16 วัน ได้เคลื่อนขบวนมวลชน โดยใช้รถบัส รถยนต์ รถกะบะ รถจักรยานยนต์ ออกจากหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปยังรัฐสภา เพื่อยื่นรายชื่อประชาชน 1 แสนคนถอดถอน 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ นาย จรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทจาร นายสุพจน์ ไข่มุกด์ นายนุรักษ์ มาประณีต และนายเฉลิมพล เอกอุรุ ออกจากตำแหน่ง โดยได้ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ซึ่งทำให้ช่วงเช้าสภาพการจราจรติดขัดอย่างมาก
ทั้งนี้ ตามที่ กวป. ได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะมีคนมาร่วมชุมนุมประมาณหลักแสนคน แต่พอถึงเวลาจริง มีคนมาเข้าร่วมจำนวนน้อยมาก
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางมาปฏิบัติของพนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานฯ จึงได้ประกาศให้เจ้าหน้าที่งดเดินทางมาทำงาน ขณะที่ช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มทยอยเก็บของ เพื่อกลับหน่วยงานต้นสังกัด อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ชุมนุมเดินทางกลับมายังหน้าศาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนหนึ่งได้กลับมาปฏิเสธหน้าที่เช่นเดิม
****ถึงรัฐสภายื่นถอดถอน 5ตุลาการ
ที่หน้ารัฐสภา กวป. ได้เข้าพบเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอทราบขั้นตอนในการยื่นถอดถอนตุลาการ โดยทางเลขาธิการวุฒิสภา แจ้งว่า อันดับแรกต้องมีคนเข้ามาแจ้งเรื่องร้องทุกข์ก่อน จากนั้นให้ไปรวมรวมรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอย่างน้อย 100 คน แล้วกลับมายื่นอีกครั้งภายใน 180 วัน ซึ่งหลังจากนี้ ทางวุฒิสภาจะมีการตรวจสอบรายชื่อและความถูกต้อง ก่อนจะยื่นไปทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อพิจารณา ก่อนที่ ป.ป.ช. จะส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภาอีกครั้ง และเข้าสู่การพิจารณาของส.ว. เพื่อดำเนินการถอดถอนต่อไป
ภายหลังการหารือ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำกวป. มีความกังวลว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะมีความล่าช้า และไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า แกนนำกลุ่ม กวป. จะไม่ใช้ช่องทางดังกล่าว แต่จะใช้วิธีการแจ้งความ หรือยกระดับการชุมนุม เพื่อกดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ลาออกไปเอง
ทั้งนี้ ได้ยื่นหนังสือจำนวน 2 ฉบับต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 โดยฉบับแรกเป็นจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ส่วนหนังสือฉบับที่ 2 เป็นหนังสือแสดงเจตจำนงเป็นผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ได้ไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 5 คน ซึ่งขณะนี้มีผู้ร่วมเข้าชื่อแล้วกว่า 50,000 คน ซึ่งภาย15 วัน จะคัดกรองและนำมายื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเข้าขบวนการถอดถอนต่อไป
ขณะที่นายเจริญ กล่าวว่า ขอตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นการยื่นถอดถอนการทำหน้าที่ประพฤติมิชอบ ต้องเป็นกระบวนการของวุฒิสภาทำหน้าที่ต่อไป
เมื่อถามว่า สาเหตุที่มีการเลิกชุมนุม เพราะจำนวนเคลื่อนไหวไม่ถึง 1 แสนคน หรือไม่ นายเจริญ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่คิดว่าอาจเป็นเพราะได้ยื่นถอดถอนตุลาการตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว
นายเจริญได้กล่าวกับแกนนำว่า ขณะนี้สังคมมีความกังวลในเรื่องสถานการณ์การชุมนุม ตนขอร้องให้ยุติการชุมนุมได้แล้ว ขณะนี้อากาศร้อน สภาก็ร้อน อย่าให้ร้อนไปมากกว่านี้เลย
อย่างไรก็ตาม กวป. ยังได้เดินทางไปยื่นหนังสือฉบับเดียวกัน ต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนกลับไปรวมตัวกับผู้ชุมนุมที่ปักหลักอยู่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหารือและกำหนดท่าที ก่อนประกาศยุติการชุมนุม
** "ธาริต"จัดให้สั่งปธ.วุฒิแจงเรื่อง "ชัช ชลธร"
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว.สรรหา ยื่นหนังสือขอให้ดีเอสไอสืบสวนการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัช ชลวร เข้าข่ายความผิดแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่ว่า ดีเอสไอได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อสอบถามความชัดเจนถึงการโปรดเกล้าฯ ให้นายชัช พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญแทน โดยที่ไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้นายชัช เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สามารถดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อีกหรือไม่
ทั้งนี้ หนังสือระบุให้ประธานวุฒิสภาตอบกลับภายใน 30 วัน หากประธานวุฒิสภายืนยันว่า นายชัชยังสามารถดำรงตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง ดีเอสไอจะสั่งยุติเรื่อง และงดการสืบสวน แต่ถ้าประธานวุฒิยืนยันว่า ความเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของนายชัชสิ้นสุดลงไปด้วย ดีเอสไอก็จะพิจารณาดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอพบข้อมูลว่าในขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ มีปัญหามาก โดยการประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสำนักราชเลขาธิการมีการถกเถียงกันถึงเรื่องการสลับตำแหน่ง ซึ่งไม่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าสามารถทำได้หรือไม่
**ผบ.ทบ.รับกังวลสารพัดม็อบ
ที่กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าจะเกิดการปะทะกัน เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าทุกคนรู้สึกกังวล ตนก็รู้สึกกังวลเช่นกัน ทุกฝ่ายต้องพยายามอยู่ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในเรื่องประชาธิปไตยก็ทำกันไป แต่อย่าให้ปะทะกัน ส่วนเรื่องผิดหรือถูกก็ต้องไปว่ากันในกระบวนการยุติธรรม
**“มาร์ค”ดักคออย่าอ้าง “แดงเทียม”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และมีหน้าที่ปกป้องตุลาการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ส่วนเรื่องมือที่สามก็เป็นความรับผิดชอบที่รัฐบาลต้องดูแล การจะอ้างว่าเป็นเรื่องของแดงเทียมนั้น ที่ผ่านมา จะเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่จริงในหลายเรื่อง แม้พรรคเพื่อไทยจะบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงนั้น ไม่ทราบว่าจะพูดจริงหรือไม่ เพราะสิ่งที่คนเสื้อแดงเคลื่อนไหวอยู่สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย เพียงแต่แยกกันเดิน แต่วันไหนที่มีปัญหากันก็บอกว่าไม่เกี่ยวกัน แต่สังคมมองออก จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวของกลุ่มมวลชนทุกครั้ง เพราะแม้กระทั่งเวลาที่มีการทำผิดกฎหมาย ก็ไม่เคยได้ยินการห้ามปรามมาจากพรรคเพื่อไทยและคนในรัฐบาลเลย
** ฉะแผนเพื่อไทยวางเกมรวมอำนาจ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นความพยายามที่จะยกระดับและขยายผลที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันศาล เริ่มต้นจากศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งกรณีมติไฟเขียวของพรรคเพื่อไทยที่ไม่ให้ส.ส.เข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่มีคนยื่นว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีนี้ แม้ ส.ส. รวมถึง ส.ว. บางส่วนจะไม่ชี้แจงต่อศาล แต่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถดำเนินการต่อได้ เพราะศาลใช้ระบบการไต่สวนทั้งในส่วนของพยานและหลักฐานในการหาข้อมูลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด เพราะเขาคงจะคาดหรือเล็งเห็นผลตามแผนที่วางไว้แล้วว่า เมื่อผลวินิจฉัยของศาลออกมา เขาก็จะใช้จุดนี้ไปกดดัน ขยายผลเพื่อปลุกปั่นมวลชนเสื้อแดงของเขาต่อไปว่าศาลมัดมือชก โดยบิดเบือนใส่ร้ายศาลว่ามีที่มาไม่ชอบต่างๆ นานา ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มีที่มาถูกต้องผ่านการโปรดเกล้าฯ ตามกรอบกฏหมายทุกอย่าง คือ ทำทุกอย่างเพื่อลดความน่าเชื่อถือของระบบศาล
"การชุมนุมโดยอ้างว่าที่มาของศาลไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมีเป้าหมายเพื่อทำลายศาลเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป คือ ศาลปกครองและผู้พิพากษาศาล เพราะที่ผ่านมา สามอำนาจหลักของระบบการปกครองไทย คือ บริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ต่างตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างกัน แต่บังเอิญประเทศไทยนักการเมืองมันทุจริตคอร์รัปชั่นเก่งมาก ฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ ซึ่งยึดโยงมีที่มาเกื้อกูลกัน ก็หันมาใช้อำนาจเอื้อแก่กันและกัน จนมีการปฏิรูปการเมือง มีการตั้งองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐมากขึ้น วันนี้เห็นแล้วว่าทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดินต่างๆ เป็นก้างขวางคอ จึงต้องจัดการกับองค์กรเหล่านี้ ซึ่งนับเป็นการใส่เกียร์ 5 ถอยหลังลงคลองของการเมืองไทย เพราะในการปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง คณะผู้ก่อการจะล้มล้างแค่อำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่เคยก้าวล่วงล้มอำนาจศาลหรือระบบตุลาการเลย เพราะเหตุผลเพื่อให้ศาลรักษาความสงบในสังคม ในชาติบ้านเมือง แต่ครั้งนี้ เขารุกที่ระบบศาลเป็นหลัก เพื่อรวบอำนาจศาล"
ส่วนที่ตนระบุว่าศาลอาญาก็อยู่ในข่ายถูกทำลายความน่าเชื่อถือ เพราะกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ถูกศาลสั่งจำคุก หากศาลสั่งจำคุกยาวตามระยะเวลาในการพิจารณาคดี ซึ่งคาดว่คดีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี เขาก็สามารถใช้จุดนี้มาปลุกปั่นมวลชนให้เบนเป้ามาที่ศาลอาญาได้ ยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการทำลายความน่าเชื่อถือองค์กรตุลาการศาลทั้งระบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการผดุงรักษาระบบคุณธรรม หรือรักษาอำนาจนิติธรรมของผู้ใช้อำนาจนี้ ตุลาการศาลหรือผู้พิพากษาศาลในศาลต่างๆ ควรต้องจับมือคนในศาลต้องไปแจ้งความรักษาสิทธิ์ ข้าราชการ ตำรวจต้องทำหน้าที่ ไม่ใช่นิ่งเฉยเมื่อผู้พิพากษาไปแจ้งความ เพราะเป็นด่านสุดท้ายที่จะรักษาความเป็นธรรมในสังคมนี้ได้ ไม่เช่นนั้น หากศาลถูกเปลี่ยนแปลงไป มันจะวุ่นวายจากการถูกแทรกแซง จึงไม่แปลกที่มีการระดมคนมากดดันศาล ที่กล้าประกาศต้องเกินแสน มีท้าทายไม่ถึงแสนยุติ เพราะได้คนในรัฐบาลให้ท้าย และรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ลืมง่าย ขี้สงสาร ตกอยู่ในความหวาดกลัว และเป็นไทยเฉย ไม่ใส่ใจสังคม เหมือนคำกล่าวที่ว่า สังคมจะไม่วิบัติเพราะคนชั่ว แต่จะวิบัติเพราะคนดีอยู่เฉย ที่อัลเบิร์ต ไอสไตล์ พูดไว้ นี่เป็นของจริง
** ปลุกไมขึ้นหากรัฐบาลไม่หลิ่วตา
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การชุมนุมและการเคลื่อนไหวของ กวป. ครั้งนี้จะไม่สำเร็จ หากรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุน แกล้งหลิ่วตาข้างหนึ่งเพื่อให้ กวป.ทำหน้าที่เป็นม็อบผิดกฎหมายของรัฐบาล เพื่อกดดันตุลาการ และหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล ทำให้ประเทศมีลักษณะที่แปลก และมีที่เดียวในโลกที่รัฐบาลมีม็อบของตัวเอง เพื่อกดดันการทำงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้เดินตามฝ่ายบริหาร และสร้างความลำบากให้ประชาชน โดยที่รัฐบาลให้ท้าย ทั้งที่การแสดงออกในลักษณะนี้ควรจะเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เริ่มจะทนไม่ได้ที่รัฐบาลมีม๊อบอันธพาลของตนเอง ไว้คอยข่มขู่ คุกคาม สิทธิของคนอื่น
"การชุมนุมของ กวป. ได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ที่ไม่เคยมีการประกาศจับตัวตุลาการ แต่รัฐบาลกลับประกาศใช้พ.ร.บ.มั่นคงเพื่อควบคุมการชุมนุม แต่การชุมนุมของ กวป. ที่มีการประกาศจับตัวตุลาการ ประกาศเคลื่อนการชุมนุมชัดเจน แต่รัฐบาลกลับไม่สนใจ และยังสนับสนุนให้มีการชุมนุมอีก"
**ซัดเพื่อไทยรู้เห็นเป็นใจม๊อบไล่ศาล
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ขบวนการคุกคามศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เป็นขบวนการที่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยรู้เห็นเป็นใจ และกลุ่ม กวป. เป็นแค่แกนนำหางแถวที่ถูกส่งมาโยนหินถามทางเช็กกระแสฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้หวังแตกหักอะไร การเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพียงเพื่อส่งสัญญานถึงมวลชนคนเสื้อแดงให้เตรียมพร้อมเคลื่อนไหวใหญ่เวลาอันใกล้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขบวนการนี้จะเปิดตัวและกลับมาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยอมรับว่า ครั้งนี้เป็นสงครามชิงแดนอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับตุลาการ รัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตระหนักดีว่า ถ้าจัดการยุบ หรือยึดศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ จะทำให้แผนผูกขาดอำนาจและกินรวบประเทศไทยถูกแช่แข็ง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีทางเลือกและไม่มีทางถอยอย่างแน่นอน ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญต้องยืนหยัดและชูธงตุลาการภิวัฒน์ และยืนยันคำวินิจฉัยที่จะนำการเมืองออกจากการผูกขาดของคนเดียว ด้วยสันติวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง
**พรรคร่วม-ส.ว.กินข้าวกำหนดท่าที
ที่พรรคเพื่อไทย แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว. ทยอยเดินทางมารับประทานอาหารกลางวัน ตามคำเชิญของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อาทิ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา นางสุกุมล คุณปลื้ม ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังชล อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารกลางวัน ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์