เอเจนซีส์ – เกิดเหตุอาคาร 8 ชั้นในบังคลาเทศที่มีทั้งโรงงานสิ่งทอและห้างสรรพสินค้าถล่ม เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย และคาดว่าตัวเลขอาจเพิ่มขึ้น ขณะที่จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่หลักพัน
มีเพียงชั้นล่างของอาคาร “รานา พลาซา” แห่งนี้ ซึ่งตั้งในเมืองซาวาร์ที่อยู่ติดกับกรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ ยังมีสภาพสมบูรณ์ตอนที่อาคารถล่มเมื่อเวลา 9.00 น. วันพุธ (24) ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเวลา 10.00 น. ในประเทศไทย)
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยนับร้อยพร้อมเครื่องตัดคอนกรีตและเครน รีบเร่งหาผู้รอดชีวิตในซากปูนและเหล็กกองพะเนินดูคล้ายสถานที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว
ร่างผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บถูกเคลื่อนย้ายออกจากซากอาคาร เจ้าหน้าที่ดับเพลิงผู้หนึ่งเผยว่า แม้รีบเร่งอย่างเต็มที่ แต่ภารกิจกู้ภัยอาจต้องใช้เวลาอีกหลายวัน
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอีกคนหนึ่งเผยว่า มีคนอยู่ในอาคารราว 2,000 คนตอนที่อาคารชั้นบนถล่มลงมา
แพทย์อาวุโสในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลอินัม ที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุ เผยว่า มีผู้เสียชีวิต 82 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานโรงงานสิ่งทอ และยอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บาดเจ็บจำนวนมากมีอาการสาหัส สำหรับผู้บาดเจ็บที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลแห่งนี้มีอย่างน้อย 1,000 ราย
โมฮัมหมัด อาซาดุสซามาน ผู้บัญชาการสถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ เผยว่า เจ้าของโรงงานเพิกเฉยต่อคำเตือนให้ห้ามพนักงานเข้าไปในอาคาร หลังจากมีการตรวจพบรอยร้าวในวันอังคาร (23) สอดคล้องกับที่พนักงานบางคนเล่าว่า อาคารดังกล่าวเริ่มร้าวตั้งแต่คืนวันอังคาร ทำให้คนงานพากันอพยพออกจากตึก แต่ก็ถูกผู้จัดการสั่งให้กลับเข้าทำงานต่อ หลังจากนั้นเพียงชั่วโมงเดียว อาคารก็ถล่มลงมา
สมาคมผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอบังคลาเทศ (บีจีเอ็มอีเอ) ระบุว่า โรงงานหลายแห่งที่อยู่บนอาคารดังกล่าวมีพนักงานมากกว่า 2,600 คน
มูฮุดดิน ข่าน รัฐมนตรีต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า อาคารแห่งนั้นละเมิดกฎหมายการก่อสร้างของประเทศ ทั้งนี้ เชื่อว่า ยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากจะยิ่งทำให้เกิดข้อกังขามากขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศนี้
บังคลาเทศนั้นเป็นผู้ผลิตสิ่งทออันดับ 2 ของโลก โดยรับจ้างผลิตให้แบรนด์ตะวันตก อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศนี้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีการประท้วงเรียกร้องขึ้นค่าแรงและปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานจากพนักงานอยู่เนืองๆ
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานสิ่งทอชานกรุงธากา มีผู้เสียชีวิต 111 คน และถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดของอุตสาหกรรมสิ่งทอบังคลาเทศ
สำหรับโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่บังคลาเทศกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากชาติตะวันตกให้ปรับปรุงสภาพภายในโรงงาน ตัวอย่างเช่นสหรัฐฯ ที่ขู่ยกเลิกมาตรการผ่อนปรนภาษีให้แก่ผลิตภัณฑ์บางอย่างของประเทศนี้
หนึ่งในโรงงานที่อยู่ในอาคารที่ถล่มคือ นิว เวฟ สไตล์ ที่ตามข้อมูลบนเว็บไซต์ระบุว่า ผลิตเสื้อผ้าป้อนแบรนด์แมงโก้จากสเปน, เบเนตองของอิตาลี และอีกมากมาย
เหตุอาคารถล่มในบังคลาเทศเกือบจะเรียกได้ว่าเกิดขึ้นเป็นปกติ เนื่องจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักละเมิดกฎหมายการก่อสร้าง หรือก่อสร้างโดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางการ
ปี 2005 มีผู้เสียชีวิตกว่า 70 รายจากเหตุโรงงานสิ่งทอสูงหลายชั้นถล่มในซาวาร์
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย เมื่อสะพานลอยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในเมืองจิตตะกองพังลงมา
มีเพียงชั้นล่างของอาคาร “รานา พลาซา” แห่งนี้ ซึ่งตั้งในเมืองซาวาร์ที่อยู่ติดกับกรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ ยังมีสภาพสมบูรณ์ตอนที่อาคารถล่มเมื่อเวลา 9.00 น. วันพุธ (24) ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเวลา 10.00 น. ในประเทศไทย)
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยนับร้อยพร้อมเครื่องตัดคอนกรีตและเครน รีบเร่งหาผู้รอดชีวิตในซากปูนและเหล็กกองพะเนินดูคล้ายสถานที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว
ร่างผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บถูกเคลื่อนย้ายออกจากซากอาคาร เจ้าหน้าที่ดับเพลิงผู้หนึ่งเผยว่า แม้รีบเร่งอย่างเต็มที่ แต่ภารกิจกู้ภัยอาจต้องใช้เวลาอีกหลายวัน
เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอีกคนหนึ่งเผยว่า มีคนอยู่ในอาคารราว 2,000 คนตอนที่อาคารชั้นบนถล่มลงมา
แพทย์อาวุโสในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลอินัม ที่อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุ เผยว่า มีผู้เสียชีวิต 82 คน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานโรงงานสิ่งทอ และยอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บาดเจ็บจำนวนมากมีอาการสาหัส สำหรับผู้บาดเจ็บที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลแห่งนี้มีอย่างน้อย 1,000 ราย
โมฮัมหมัด อาซาดุสซามาน ผู้บัญชาการสถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ เผยว่า เจ้าของโรงงานเพิกเฉยต่อคำเตือนให้ห้ามพนักงานเข้าไปในอาคาร หลังจากมีการตรวจพบรอยร้าวในวันอังคาร (23) สอดคล้องกับที่พนักงานบางคนเล่าว่า อาคารดังกล่าวเริ่มร้าวตั้งแต่คืนวันอังคาร ทำให้คนงานพากันอพยพออกจากตึก แต่ก็ถูกผู้จัดการสั่งให้กลับเข้าทำงานต่อ หลังจากนั้นเพียงชั่วโมงเดียว อาคารก็ถล่มลงมา
สมาคมผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอบังคลาเทศ (บีจีเอ็มอีเอ) ระบุว่า โรงงานหลายแห่งที่อยู่บนอาคารดังกล่าวมีพนักงานมากกว่า 2,600 คน
มูฮุดดิน ข่าน รัฐมนตรีต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า อาคารแห่งนั้นละเมิดกฎหมายการก่อสร้างของประเทศ ทั้งนี้ เชื่อว่า ยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากจะยิ่งทำให้เกิดข้อกังขามากขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศนี้
บังคลาเทศนั้นเป็นผู้ผลิตสิ่งทออันดับ 2 ของโลก โดยรับจ้างผลิตให้แบรนด์ตะวันตก อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศนี้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีการประท้วงเรียกร้องขึ้นค่าแรงและปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานจากพนักงานอยู่เนืองๆ
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานสิ่งทอชานกรุงธากา มีผู้เสียชีวิต 111 คน และถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดของอุตสาหกรรมสิ่งทอบังคลาเทศ
สำหรับโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นขณะที่บังคลาเทศกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากชาติตะวันตกให้ปรับปรุงสภาพภายในโรงงาน ตัวอย่างเช่นสหรัฐฯ ที่ขู่ยกเลิกมาตรการผ่อนปรนภาษีให้แก่ผลิตภัณฑ์บางอย่างของประเทศนี้
หนึ่งในโรงงานที่อยู่ในอาคารที่ถล่มคือ นิว เวฟ สไตล์ ที่ตามข้อมูลบนเว็บไซต์ระบุว่า ผลิตเสื้อผ้าป้อนแบรนด์แมงโก้จากสเปน, เบเนตองของอิตาลี และอีกมากมาย
เหตุอาคารถล่มในบังคลาเทศเกือบจะเรียกได้ว่าเกิดขึ้นเป็นปกติ เนื่องจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักละเมิดกฎหมายการก่อสร้าง หรือก่อสร้างโดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางการ
ปี 2005 มีผู้เสียชีวิตกว่า 70 รายจากเหตุโรงงานสิ่งทอสูงหลายชั้นถล่มในซาวาร์
เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย เมื่อสะพานลอยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในเมืองจิตตะกองพังลงมา