ASTVผู้จัดการรายวัน-ปิดศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์56 สรุปยอดรวม 7 วันอันตราย เสียชีวิต 321ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 ราย ขณะที่บาดเจ็บรวมกว่า 3,040 คน "ประจวบฯ"ครองแชมป์ตายสูงสุด "เชียงใหม่"เจ็บมากสุด
วานนี้ (18 เม.ย.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เม.ย.56 ซึ่งเป็นวันที่สุดท้ายของการรณรงค์ “สงกรานต์เป็นสุข ทุกคนปลอดภัย ร่วมใจรักษาวัฒนธรรม” เกิดอุบัติเหตุ 247 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 257 ครั้ง) ลดลง 10 ครั้ง ร้อยละ 3.89 ผู้เสียชีวิต 36 ราย (ปี 2555 เสียชีวิต 38 ราย) ลดลง 2 ราย ร้อยละ 5.26 ผู้บาดเจ็บ 257 คน (ปี 2555 บาดเจ็บ 261 คน) ลดลง 4 คน ร้อยละ 1.53 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ (13 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ ลำปาง และอำนาจเจริญ (3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (15 คน)
เมื่อสรุปรวม 7 วัน (วันที่ 11 - 17 เมษายน 2556) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,828 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 3,129 ครั้ง) ลดลง 301 ครั้ง ร้อยละ 9.62 ผู้เสียชีวิตรวม 321 ราย (ปี 2555 เสียชีวิต 320 ราย) เพิ่มขึ้น 1 ราย ร้อยละ 0.31 ผู้บาดเจ็บรวม 3,040 คน (ปี 2555 บาดเจ็บ 3,320 คน ) ลดลง 280 คน ร้อยละ 8.43 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 39.11 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 23.59 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.71 รถปิคอัพ ร้อยละ 11.80
สำหรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.60 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.92 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.87 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.67 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 33.03 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 56.70 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,354 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 69,369 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 4,686,962 คัน โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 232,600 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 222,601 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ ตราด ปัตตานี ภูเก็ต และระนอง อำเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 673 อำเภอ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (104 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (110 คน)
จากสถิติอุบัติเหตทางถนน พบว่า จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุและผู้จำนวนผู้บาดเจ็บลดลง แต่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถือว่าน่าพอใจ โดยมาตรการเข้มงวดนี้ได้เดินมาถูกทางแล้ว ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจะได้นำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนมาวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และกำหนดแนวทางการป้องกัน พร้อมทั้งผลักดันกลไกการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับมาตรการทางสังคมให้เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะด้านวินัยจราจร.
วานนี้ (18 เม.ย.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เม.ย.56 ซึ่งเป็นวันที่สุดท้ายของการรณรงค์ “สงกรานต์เป็นสุข ทุกคนปลอดภัย ร่วมใจรักษาวัฒนธรรม” เกิดอุบัติเหตุ 247 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 257 ครั้ง) ลดลง 10 ครั้ง ร้อยละ 3.89 ผู้เสียชีวิต 36 ราย (ปี 2555 เสียชีวิต 38 ราย) ลดลง 2 ราย ร้อยละ 5.26 ผู้บาดเจ็บ 257 คน (ปี 2555 บาดเจ็บ 261 คน) ลดลง 4 คน ร้อยละ 1.53 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ (13 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ ลำปาง และอำนาจเจริญ (3 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (15 คน)
เมื่อสรุปรวม 7 วัน (วันที่ 11 - 17 เมษายน 2556) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,828 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 3,129 ครั้ง) ลดลง 301 ครั้ง ร้อยละ 9.62 ผู้เสียชีวิตรวม 321 ราย (ปี 2555 เสียชีวิต 320 ราย) เพิ่มขึ้น 1 ราย ร้อยละ 0.31 ผู้บาดเจ็บรวม 3,040 คน (ปี 2555 บาดเจ็บ 3,320 คน ) ลดลง 280 คน ร้อยละ 8.43 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 39.11 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 23.59 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.71 รถปิคอัพ ร้อยละ 11.80
สำหรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.60 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.92 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.87 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.67 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 33.03 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 56.70 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,354 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 69,369 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 4,686,962 คัน โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 232,600 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 222,601 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ ตราด ปัตตานี ภูเก็ต และระนอง อำเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 673 อำเภอ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (104 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (110 คน)
จากสถิติอุบัติเหตทางถนน พบว่า จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุและผู้จำนวนผู้บาดเจ็บลดลง แต่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถือว่าน่าพอใจ โดยมาตรการเข้มงวดนี้ได้เดินมาถูกทางแล้ว ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจะได้นำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนมาวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และกำหนดแนวทางการป้องกัน พร้อมทั้งผลักดันกลไกการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับมาตรการทางสังคมให้เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะด้านวินัยจราจร.