วิกฤตการณ์ความขัดแย้งเมื่อหลายปีก่อนนี้ที่ทวีความรุนแรงเป็นระลอกคลื่นนับแต่การรัฐประหาร 19/09/2549 เป็นต้นมา ได้ทำให้เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองที่คู่ขนานมากับการปฏิรูปประเทศไทย
ทว่าเทียบกันแล้วแม้กระแสการปฏิรูปการเมืองจะถูกขานรับจากสาธารณชนมากกว่าเพราะเข็ดขยาดกับการเมืองก่อนหน้านี้ที่ตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทน (Representative) ของตนเองเท่าใดนัก แต่แล้วก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงในด้านของความสัมพันธ์ทางอำนาจการเมืองมากเท่าใดด้วยประชาชนไม่มีพื้นที่ เวที หรือกลไกในเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมือง
ไม่เหมือนกับการปฏิรูปประเทศไทยที่เสมือนจะมีความก้าวหน้ากว่าเพราะมีประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในเชิงของกระบวนการ (Process) และประเด็น (Issue) แต่ถึงกระนั้นก็มีปัญหาเช่นเดียวกับการปฏิรูปการเมืองเพราะขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับการเสนอแนะ และขบวนการยังคงค่อนข้างจำกัดตัวเองอยู่กับการเคลื่อนไหวในการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในเชิงของประเด็นที่ตนเองทำงานมากกว่ามองในภาพรวมเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการรวมกันป็นขบวนการหรือเครือข่ายเชิงประเด็นตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค จนถึงชาติ หากก็ไม่สามารถนำพาประเด็นที่ตนเองเคลื่อนไหวเหล่านั้นไปสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเคลื่อนไหวในแต่ละขบวนการ รวมถึงขบวนการทางสังคมในภาพรวมยังคงมุ่งไปที่การทำงานเฉพาะประเด็นงานของตนเองมากกว่าจะร่วมกันเคลื่อนไหวในภาพรวมเพื่อสร้างเสริมสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติการไปพร้อมๆ กัน อันทำให้ยังแยกกันทำงานตามประเด็น ทั้งๆ ที่แต่ละประเด็นซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมต่อผู้คนในสังคมนั้นมีความสลับซับซ้อนและยึดโยงกันอย่างยากจะทำเฉพาะประเด็นของตนเองได้อีกต่อไป ถ้าปรารถนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค ในทางปฏิบัติมากกว่าจะเป็นแค่โวหารหรือวาทกรรมสำหรับสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมหรือสร้างคะแนนเสียงทางการเมืองของพรรคการเมือง
ด้วยเหตุนี้การสร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับการเชื่อมร้อยประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อพาประเทศไทยก้าวผ่านความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงทางการเมืองอันเนื่องมาจากความคิดความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและสุดขั้วในหลายกลุ่มก้อน ตลอดจนปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้รู้เท่าทันการค้าการลงทุนที่มีอำนาจเหนือรัฐชาติและเข้ามาจัดระเบียบกฎหมายและนโยบายสาธารณะของประเทศไทยให้สอดรับกับการขยายตัวของบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนโดยคำนึงถึงแต่ผลกำไรสูงสุดซึ่งมักได้มาจากการกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติของไทยไป
ในสถานการณ์ประเทศไทยและโลกที่สลับซับซ้อน ซึ่งซ้ำร้ายด้วยความเคลื่อนไหวรุนแรงทางการเมืองและสังคมซึ่งบานปลายมาจากความแตกแยกทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาเป็นระลอกคลื่นนับแต่การรัฐประหารเป็นต้นมาได้ทำให้การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมจำนวนหนึ่งซึ่งรวมถึงสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยถูกตั้งคำถามจำนวนมากทั้งในแง่ของความสำเร็จและล้มเหลว รวมถึงความเชื่อมโยงกับภาคการเมืองอีกด้วย จนนำไปสู่การตอบโต้ ต่อต้าน หรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างขาดเหตุผลรองรับ ทั้งๆ ที่อาจเห็นด้วยกับข้อเสนอหรือ ‘มติปฏิรูปประเทศไทย’ หลายข้อที่มาจากกระบวนการฉันทามติ (Consensus) ของสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยเพื่อแสวงหาทางออกจากความเหลื่อมล้ำที่สร้างความไม่เป็นธรรมทางสังคม และข้อเสนอเชิงนโยบายของคณะกรรมการปฏิรูปที่มาจากการทบทวนครวญคิดอย่างรอบคอบรอบด้านทางวิชาการโดยสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ทั้งนี้แน่นอนที่สุดว่า ‘การตอบโจทย์ประเทศไทย’ ในการสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่อาจทำได้ด้วยขบวนการทางสังคมหนึ่งใดหรือเวทีใดเวทีหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างจากการฝากความหวังไว้กับรัฐบาลหนึ่งใดหรือนักการเมืองคนหนึ่งคนใดที่ก็ทำไม่ได้เช่นกัน ด้วยเพราะการจะสถาปนาความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยโดยทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางสังคมลดลง โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มกุมทรัพยากรการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม-ธรรมชาติ กับกลุ่มที่เข้าไม่ถึงทรัพยากรเหล่านี้เพราะสิทธิเสรีภาพถูกลิดรอนละเมิดจากการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายและนโยบายสาธารณะต่างๆ โดยกลุ่มผู้มีอำนาจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพลังของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมระดับรากฐานทั้งโดยวิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นการ ‘ปฏิรูป’ หรือรวดเร็วแบบถอนรากถอนโคนอย่างการ ‘ปฏิวัติ’
เช่นนี้แล้วทิศทางการปฏิรูปประเทศไทยในการสร้างความป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมจึงถูก ริเริ่ม กำหนด และขับเคลื่อนโดยประชาชนเพื่อประชาชนมากกว่าจะมาจากฟากฝั่งผู้มีอำนาจที่จะยอมคายอำนาจและทรัพยากรออกมา เหมือนดังการปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนที่ภาคประชาสังคมเสนอให้ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่ต้องมีภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน หรือก้าวหน้าตามมูลค่าการถือครองที่ดิน หรือการใช้ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม เพราะจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนวงกว้างซึ่งเข้าไม่ถึงทรัพยากรที่ดินทั้งเพื่อทำมาหากินและอยู่อาศัย ในขณะที่สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยก็สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารที่ดินภาคประชาชนขึ้นมาเพื่อจะนำไปซื้อที่ดินนำมาจัดตั้งเป็นพื้นที่นำร่องของภาคประชาชนในการจัดการที่ดินและโฉนดชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ต่างจากภาครัฐซึ่งยังคงไม่มีความคืบหน้าในการปฏิรูปเรื่องที่ดินแต่อย่างใดไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านรัฐบาลชุดใด
ดังนั้น ในความสำเร็จของการปฏิรูปที่ดินจึงไม่อาจทำได้ภายใต้กรอบระยะเวลาอันสั้นซึ่งมักมองอย่างคาดคั้นผ่านแว่นสายตาแบบมุ่งความสำเร็จ (Success) หรือล้มเหลว (Failure) เป็นหลัก ด้วยที่แท้ต้องมองผ่านแว่นสายตาที่ให้ความสำคัญกับผลสะเทือน (Impact) ของการผลักดันขับเคลื่อนของขบวนการทางสังคมมากกว่า เนื่องมาจากว่ามีเหตุปัจจัยจำนวนมากมายในการจะบรรลุความสำเร็จเรื่องการปฏิรูปที่ดินซึ่งมุ่งหมายจะกระจายที่ดินจากการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มของผู้ถือครองที่ดินที่มีจำนวนน้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยจากภาครัฐในฐานะผู้คุมกฎหมายซึ่งต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองจากการคุ้มครองประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอำนาจมาทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่โดยการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น โดยการนำข้อเสนอของภาคประชาสังคมข้างต้นไปปฏิบัติ พร้อมกันกับสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารที่ดินของภาคประชาชน เพื่อจะกระจายที่ดินสู่มือประชาชนผู้ยากจนข้นแค้น
ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปและสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยในการ ‘ปฏิรูปประเทศไทย’ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมจึงเรียกร้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อจะขับเคลื่อนข้อเสนอระยะยาวสำหรับการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในอนาคต ถึงแม้ว่าอนาคตจะไม่มีพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะทัศนะเช่นนี้อีกต่อไป แต่ทว่าด้วยรากฐานการทำหน้าที่เป็นไกลไกกลางในการประสานงานระหว่างภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม-ประชาชน เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายสาธารณะที่เป็นธรรม เกื้อกูล และยั่งยืน รวมถึงการเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดวิวาทะระหว่างการทำงานเชิงประเด็นกับยุทธศาสตร์ของขบวนการทางสังคม จะทำให้ในที่สุดแล้วสามารถปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธเพราะเป็นกระบวนการปฏิรูปที่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรงจนไม่เหลือพื้นที่แก่ผู้ถูกทอนอำนาจที่เคยมีที่ปัจจุบันยังคงครองอำนาจนำในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอยู่
ทว่าเทียบกันแล้วแม้กระแสการปฏิรูปการเมืองจะถูกขานรับจากสาธารณชนมากกว่าเพราะเข็ดขยาดกับการเมืองก่อนหน้านี้ที่ตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทน (Representative) ของตนเองเท่าใดนัก แต่แล้วก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงในด้านของความสัมพันธ์ทางอำนาจการเมืองมากเท่าใดด้วยประชาชนไม่มีพื้นที่ เวที หรือกลไกในเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมือง
ไม่เหมือนกับการปฏิรูปประเทศไทยที่เสมือนจะมีความก้าวหน้ากว่าเพราะมีประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในเชิงของกระบวนการ (Process) และประเด็น (Issue) แต่ถึงกระนั้นก็มีปัญหาเช่นเดียวกับการปฏิรูปการเมืองเพราะขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับการเสนอแนะ และขบวนการยังคงค่อนข้างจำกัดตัวเองอยู่กับการเคลื่อนไหวในการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในเชิงของประเด็นที่ตนเองทำงานมากกว่ามองในภาพรวมเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการรวมกันป็นขบวนการหรือเครือข่ายเชิงประเด็นตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค จนถึงชาติ หากก็ไม่สามารถนำพาประเด็นที่ตนเองเคลื่อนไหวเหล่านั้นไปสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเคลื่อนไหวในแต่ละขบวนการ รวมถึงขบวนการทางสังคมในภาพรวมยังคงมุ่งไปที่การทำงานเฉพาะประเด็นงานของตนเองมากกว่าจะร่วมกันเคลื่อนไหวในภาพรวมเพื่อสร้างเสริมสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติการไปพร้อมๆ กัน อันทำให้ยังแยกกันทำงานตามประเด็น ทั้งๆ ที่แต่ละประเด็นซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมต่อผู้คนในสังคมนั้นมีความสลับซับซ้อนและยึดโยงกันอย่างยากจะทำเฉพาะประเด็นของตนเองได้อีกต่อไป ถ้าปรารถนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค ในทางปฏิบัติมากกว่าจะเป็นแค่โวหารหรือวาทกรรมสำหรับสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมหรือสร้างคะแนนเสียงทางการเมืองของพรรคการเมือง
ด้วยเหตุนี้การสร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับการเชื่อมร้อยประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพื่อพาประเทศไทยก้าวผ่านความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงทางการเมืองอันเนื่องมาจากความคิดความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและสุดขั้วในหลายกลุ่มก้อน ตลอดจนปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้รู้เท่าทันการค้าการลงทุนที่มีอำนาจเหนือรัฐชาติและเข้ามาจัดระเบียบกฎหมายและนโยบายสาธารณะของประเทศไทยให้สอดรับกับการขยายตัวของบรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนโดยคำนึงถึงแต่ผลกำไรสูงสุดซึ่งมักได้มาจากการกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติของไทยไป
ในสถานการณ์ประเทศไทยและโลกที่สลับซับซ้อน ซึ่งซ้ำร้ายด้วยความเคลื่อนไหวรุนแรงทางการเมืองและสังคมซึ่งบานปลายมาจากความแตกแยกทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาเป็นระลอกคลื่นนับแต่การรัฐประหารเป็นต้นมาได้ทำให้การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมจำนวนหนึ่งซึ่งรวมถึงสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยถูกตั้งคำถามจำนวนมากทั้งในแง่ของความสำเร็จและล้มเหลว รวมถึงความเชื่อมโยงกับภาคการเมืองอีกด้วย จนนำไปสู่การตอบโต้ ต่อต้าน หรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างขาดเหตุผลรองรับ ทั้งๆ ที่อาจเห็นด้วยกับข้อเสนอหรือ ‘มติปฏิรูปประเทศไทย’ หลายข้อที่มาจากกระบวนการฉันทามติ (Consensus) ของสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยเพื่อแสวงหาทางออกจากความเหลื่อมล้ำที่สร้างความไม่เป็นธรรมทางสังคม และข้อเสนอเชิงนโยบายของคณะกรรมการปฏิรูปที่มาจากการทบทวนครวญคิดอย่างรอบคอบรอบด้านทางวิชาการโดยสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ทั้งนี้แน่นอนที่สุดว่า ‘การตอบโจทย์ประเทศไทย’ ในการสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่อาจทำได้ด้วยขบวนการทางสังคมหนึ่งใดหรือเวทีใดเวทีหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างจากการฝากความหวังไว้กับรัฐบาลหนึ่งใดหรือนักการเมืองคนหนึ่งคนใดที่ก็ทำไม่ได้เช่นกัน ด้วยเพราะการจะสถาปนาความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยโดยทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางสังคมลดลง โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มกุมทรัพยากรการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม-ธรรมชาติ กับกลุ่มที่เข้าไม่ถึงทรัพยากรเหล่านี้เพราะสิทธิเสรีภาพถูกลิดรอนละเมิดจากการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายและนโยบายสาธารณะต่างๆ โดยกลุ่มผู้มีอำนาจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพลังของประชาชนในการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมระดับรากฐานทั้งโดยวิธีการแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นการ ‘ปฏิรูป’ หรือรวดเร็วแบบถอนรากถอนโคนอย่างการ ‘ปฏิวัติ’
เช่นนี้แล้วทิศทางการปฏิรูปประเทศไทยในการสร้างความป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมจึงถูก ริเริ่ม กำหนด และขับเคลื่อนโดยประชาชนเพื่อประชาชนมากกว่าจะมาจากฟากฝั่งผู้มีอำนาจที่จะยอมคายอำนาจและทรัพยากรออกมา เหมือนดังการปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนที่ภาคประชาสังคมเสนอให้ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่ต้องมีภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน หรือก้าวหน้าตามมูลค่าการถือครองที่ดิน หรือการใช้ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม เพราะจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนวงกว้างซึ่งเข้าไม่ถึงทรัพยากรที่ดินทั้งเพื่อทำมาหากินและอยู่อาศัย ในขณะที่สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยก็สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารที่ดินภาคประชาชนขึ้นมาเพื่อจะนำไปซื้อที่ดินนำมาจัดตั้งเป็นพื้นที่นำร่องของภาคประชาชนในการจัดการที่ดินและโฉนดชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ต่างจากภาครัฐซึ่งยังคงไม่มีความคืบหน้าในการปฏิรูปเรื่องที่ดินแต่อย่างใดไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านรัฐบาลชุดใด
ดังนั้น ในความสำเร็จของการปฏิรูปที่ดินจึงไม่อาจทำได้ภายใต้กรอบระยะเวลาอันสั้นซึ่งมักมองอย่างคาดคั้นผ่านแว่นสายตาแบบมุ่งความสำเร็จ (Success) หรือล้มเหลว (Failure) เป็นหลัก ด้วยที่แท้ต้องมองผ่านแว่นสายตาที่ให้ความสำคัญกับผลสะเทือน (Impact) ของการผลักดันขับเคลื่อนของขบวนการทางสังคมมากกว่า เนื่องมาจากว่ามีเหตุปัจจัยจำนวนมากมายในการจะบรรลุความสำเร็จเรื่องการปฏิรูปที่ดินซึ่งมุ่งหมายจะกระจายที่ดินจากการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มของผู้ถือครองที่ดินที่มีจำนวนน้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยจากภาครัฐในฐานะผู้คุมกฎหมายซึ่งต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองจากการคุ้มครองประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอำนาจมาทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่โดยการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น โดยการนำข้อเสนอของภาคประชาสังคมข้างต้นไปปฏิบัติ พร้อมกันกับสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารที่ดินของภาคประชาชน เพื่อจะกระจายที่ดินสู่มือประชาชนผู้ยากจนข้นแค้น
ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปและสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยในการ ‘ปฏิรูปประเทศไทย’ เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมจึงเรียกร้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อจะขับเคลื่อนข้อเสนอระยะยาวสำหรับการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในอนาคต ถึงแม้ว่าอนาคตจะไม่มีพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะทัศนะเช่นนี้อีกต่อไป แต่ทว่าด้วยรากฐานการทำหน้าที่เป็นไกลไกกลางในการประสานงานระหว่างภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม-ประชาชน เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายสาธารณะที่เป็นธรรม เกื้อกูล และยั่งยืน รวมถึงการเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดวิวาทะระหว่างการทำงานเชิงประเด็นกับยุทธศาสตร์ของขบวนการทางสังคม จะทำให้ในที่สุดแล้วสามารถปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธเพราะเป็นกระบวนการปฏิรูปที่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรงจนไม่เหลือพื้นที่แก่ผู้ถูกทอนอำนาจที่เคยมีที่ปัจจุบันยังคงครองอำนาจนำในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอยู่