วานนี้(9 เม.ย.56) เวลา 08.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางลงตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงที่สนามฝึกยิงปืนใหญ่รถถัง อ.วังเขียว จ.นครราชสีมาว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการฝึกของกองทัพภาคที่ 2 ในการดำเนินกลยุทธ์ ในการปฏิบัติต่อที่หมาย การใช้กำลัง ทั้งภาคพื้นดินและการต่อสู้อากาศยาน ซึ่งเป็นการฝึกมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
"วันนี้ผมไปให้กำลังใจลูกน้องในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 อย่านำผมไปรบกับใคร ผมลงไปเดี๋ยวจะหาว่าไปท้าทายกับใครอีก แต่ที่ไปเพื่อฝึกลูกน้องให้เข้มแข็ง ส่วนที่มีการนำเสนอข่าวว่า ไปขัดขวางและสกัดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะเดินทางเข้าพื้นที่เขาพระวิหารนั้น เป็นการใช้คำที่รุนแรง ผมเพียงสั่งการให้กองทัพภาคที่ 2 ไปชี้แจงกับประชาชนว่า อย่าขึ้นไปเพราะเขาประกาศว่าขึ้นไปแล้วจะไม่ลงมา ถามว่า หากเกิดอะไรขึ้นไปแล้วพวกเขาจะได้รับอันตรายหรือไม่หรือ จะไปต่อสู้กับกองกำลังที่มีอาวุธก็ไม่ได้ หากเกิดเหตุการณ์บาดเจ็บสูญเสียก็โทษเจ้าหน้าที่และเราจะเสียใจ ทั้งนี้ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตามอย่างตามกฏหมาย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ทั้งนี้ เป็นการฝึกในการดำเนินกลยุทธ์ ในการปฏิบัติต่อที่หมาย การใช้กำลัง ทั้งภาคพื้นดินและการต่อสู้อากาศยาน เป็นการฝึกซ้อมตามแผนป้องกันประเทศด้านตะวันออก และแผนเผชิญเหตุในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการดำเนินการกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ประกอบด้วยเหล่าทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารช่าง ทหารสื่อสาร โดยมีการฝึกโจมตีทางอากาศ ด้วย ฮ.โจมตี แบบ Cobra จำนวน 2 ลำ การฝึกปฏิบัติการการต่อสู้ ของรถถัง M 48 A 5 ของกองพันทหารม้าที่ 21 (ม.พัน 21) ปืนใหญ่ 155 มม. และปืนใหญ่ 105 มม.
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนคณะดำเนินการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารฝ่ายไทย แถลงถึงการเตรียมความพร้อมให้การทางวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในคดีที่กัมพูชายื่นขอตีความคำตัดสินปี 2505 ในระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.นี้ว่า ได้วางกรอบแนวทางการต่อสู้คดีไว้ทั้งหมด 4 ข้อ ประกอบด้วย
1. การยืนยันว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาไม่ใช่คำขอตีความคำตัดสินเดิม แต่เป็นคำฟ้องคดีใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว ดังนั้นศาลโลกจึงไม่มีอำนาจตีความ แต่ที่ฝ่ายไทยจำเป็นต้องเข้าให้การในศาลโลกก็เพื่อไม่ให้ศาลโลกฟังความจากกัมพูชาฝ่ายเดียว
2. ที่ผ่านมาฝ่ายไทยและกัมพูชาไม่เคยมีข้อขัดแย้งเรื่องพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณรอบปราสาทประวิหาร ดังนั้นศาลโลกจึงไม่ต้องตีความ
3. การชี้ให้ศาลเห็นว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาเป็นเรื่องเดิมที่ศาลเคยปฏิเสธมาแล้วในการตัดสินเมื่อปี 2505 ทั้งในเรื่องเขตแดนและแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นเหมือนการอุทธรณ์แฝงมาในรูปของการขอตีความ
4.การอ้างสิทธิทับซ้อนบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชา ไม่มีความเชื่อมโยงกับคดี เพราะเป็นเรื่องที่เกิดใหม่ภายหลังจากการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา ซึ่งควรที่จะใช้ช่องทางดำเนินการภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกปี พ.ศ. 2543 หรือเอ็มโอยู 2543
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายละเอียดถ้อยแถลง รวมไปถึงเอกสารอ้างอิงนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากทางศาลโลกได้กำชับไว้ เพราะถือเป็นมารยาททางการทูต ซึ่งทั้งหมดจะถูกเปิดเผยในวันที่ 15 เม.ย.นี้ ตนจะเป็นผู้สรุปสถานการณ์ของแต่ละวันถ่ายทอดมายังประเทศไทยเวลาประมาณ 23.30 น.ตามเวลาประเทศไทยอีกด้วย
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงด้านกฎหมาย กล่าวว่า ปกติศาลโลกจะมีการถ่ายทอดสดการให้การทางวาจาอยู่แล้ว ที่ http://www.icj-cij.org/homepage
นอกจากนี้ ศาลยังจะมีการเผยแพร่คำแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายผ่านทางเว็บไซต์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ http://webtv.un.org ในส่วนของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงต่างประเทศ ได้จัดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลแปลแล้วเป็นภาษาไทยได้ที่ http://www.phraviharn.org
นอกจากนี้ ยังจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 รวมทั้ง ยังมีสถานีวิทยุสราญรมย์ที่ AM1575
ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ข่าวที่กระทรวงต่างประเทศในระหว่างวันที่ 14–19 เม.ย. ส่วนการเผยแพร่สำนวนคดีทางศาลโลกจะอนุญาตให้มีการเผยแพร่เอกสารผ่านทางเว็บไซต์ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ฝ่ายไทยนั้น ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยเวลา 15.00 น.
"วันนี้ผมไปให้กำลังใจลูกน้องในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 อย่านำผมไปรบกับใคร ผมลงไปเดี๋ยวจะหาว่าไปท้าทายกับใครอีก แต่ที่ไปเพื่อฝึกลูกน้องให้เข้มแข็ง ส่วนที่มีการนำเสนอข่าวว่า ไปขัดขวางและสกัดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะเดินทางเข้าพื้นที่เขาพระวิหารนั้น เป็นการใช้คำที่รุนแรง ผมเพียงสั่งการให้กองทัพภาคที่ 2 ไปชี้แจงกับประชาชนว่า อย่าขึ้นไปเพราะเขาประกาศว่าขึ้นไปแล้วจะไม่ลงมา ถามว่า หากเกิดอะไรขึ้นไปแล้วพวกเขาจะได้รับอันตรายหรือไม่หรือ จะไปต่อสู้กับกองกำลังที่มีอาวุธก็ไม่ได้ หากเกิดเหตุการณ์บาดเจ็บสูญเสียก็โทษเจ้าหน้าที่และเราจะเสียใจ ทั้งนี้ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำตามอย่างตามกฏหมาย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ทั้งนี้ เป็นการฝึกในการดำเนินกลยุทธ์ ในการปฏิบัติต่อที่หมาย การใช้กำลัง ทั้งภาคพื้นดินและการต่อสู้อากาศยาน เป็นการฝึกซ้อมตามแผนป้องกันประเทศด้านตะวันออก และแผนเผชิญเหตุในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการดำเนินการกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ประกอบด้วยเหล่าทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารช่าง ทหารสื่อสาร โดยมีการฝึกโจมตีทางอากาศ ด้วย ฮ.โจมตี แบบ Cobra จำนวน 2 ลำ การฝึกปฏิบัติการการต่อสู้ ของรถถัง M 48 A 5 ของกองพันทหารม้าที่ 21 (ม.พัน 21) ปืนใหญ่ 155 มม. และปืนใหญ่ 105 มม.
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนคณะดำเนินการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารฝ่ายไทย แถลงถึงการเตรียมความพร้อมให้การทางวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในคดีที่กัมพูชายื่นขอตีความคำตัดสินปี 2505 ในระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.นี้ว่า ได้วางกรอบแนวทางการต่อสู้คดีไว้ทั้งหมด 4 ข้อ ประกอบด้วย
1. การยืนยันว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาไม่ใช่คำขอตีความคำตัดสินเดิม แต่เป็นคำฟ้องคดีใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว ดังนั้นศาลโลกจึงไม่มีอำนาจตีความ แต่ที่ฝ่ายไทยจำเป็นต้องเข้าให้การในศาลโลกก็เพื่อไม่ให้ศาลโลกฟังความจากกัมพูชาฝ่ายเดียว
2. ที่ผ่านมาฝ่ายไทยและกัมพูชาไม่เคยมีข้อขัดแย้งเรื่องพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณรอบปราสาทประวิหาร ดังนั้นศาลโลกจึงไม่ต้องตีความ
3. การชี้ให้ศาลเห็นว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาเป็นเรื่องเดิมที่ศาลเคยปฏิเสธมาแล้วในการตัดสินเมื่อปี 2505 ทั้งในเรื่องเขตแดนและแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นเหมือนการอุทธรณ์แฝงมาในรูปของการขอตีความ
4.การอ้างสิทธิทับซ้อนบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชา ไม่มีความเชื่อมโยงกับคดี เพราะเป็นเรื่องที่เกิดใหม่ภายหลังจากการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา ซึ่งควรที่จะใช้ช่องทางดำเนินการภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกปี พ.ศ. 2543 หรือเอ็มโอยู 2543
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายละเอียดถ้อยแถลง รวมไปถึงเอกสารอ้างอิงนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากทางศาลโลกได้กำชับไว้ เพราะถือเป็นมารยาททางการทูต ซึ่งทั้งหมดจะถูกเปิดเผยในวันที่ 15 เม.ย.นี้ ตนจะเป็นผู้สรุปสถานการณ์ของแต่ละวันถ่ายทอดมายังประเทศไทยเวลาประมาณ 23.30 น.ตามเวลาประเทศไทยอีกด้วย
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงด้านกฎหมาย กล่าวว่า ปกติศาลโลกจะมีการถ่ายทอดสดการให้การทางวาจาอยู่แล้ว ที่ http://www.icj-cij.org/homepage
นอกจากนี้ ศาลยังจะมีการเผยแพร่คำแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายผ่านทางเว็บไซต์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ http://webtv.un.org ในส่วนของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงต่างประเทศ ได้จัดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลแปลแล้วเป็นภาษาไทยได้ที่ http://www.phraviharn.org
นอกจากนี้ ยังจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 รวมทั้ง ยังมีสถานีวิทยุสราญรมย์ที่ AM1575
ทั้งนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ข่าวที่กระทรวงต่างประเทศในระหว่างวันที่ 14–19 เม.ย. ส่วนการเผยแพร่สำนวนคดีทางศาลโลกจะอนุญาตให้มีการเผยแพร่เอกสารผ่านทางเว็บไซต์ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ฝ่ายไทยนั้น ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยเวลา 15.00 น.