“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว”
“ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว” นี่คือคำถามและคำตอบระหว่างพระพุทธองค์กับพระภิกษุที่ชื่อว่า กิมพิละ
โดยนัยแห่งคำถามและคำตอบนี้ ทำให้ชาวพุทธทราบว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมคำสอนของพระองค์จะอยู่ได้นานหรือไม่ได้นานขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือการกระทำของพุทธบริษัท 4 คือ
1. ภิกษุ อันได้แก่นักบวชชาย มีศีล 227 ข้อเป็นวัตรปฏิบัติ
2. ภิกษุณี คือ นักบวชหญิง มีศีล 311 ข้อเป็นวัตรปฏิบัติ และจะต้องอุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ จึงจะเป็นนางภิกษุณีโดยสมบูรณ์
3. อุบาสก คฤหัสถ์ผู้ชาย ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และสมาทานอุโบสถศีล หรือศีล 8 เป็นประจำหรืออย่างน้อยทุกวันขึ้น และแรม 15 ค่ำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วันพระใหญ่
4. อุบาสิกา คฤหัสถ์ผู้หญิง เข้าถึงพระรัตนตรัย และมีข้อวัตรปฏิบัติในทำนองเดียวกับอุบาสก
พุทธบริษัท 4 ประเภทที่ว่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าวันใดไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ (พระสงฆ์ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นอริยะ 4 คู่ และถ้านับเป็นรายบุคคลจะมีจำนวน 8 ดังที่ปรากฏในบทสังฆคุณที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า สุปฏิปันโน และจบลงด้วยคำว่า โลกัสสาติ
พระธรรม หมายถึง คำสอน ในที่นี้น่าจะหมายรวมถึงพระวินัยอยู่ด้วย
การศึกษา หมายถึง การศึกษา 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา หรือที่เรียกว่า ไตรสิกขา และสุดท้ายไม่เคารพกันและกันในกลุ่มเดียวกัน
ในทางกลับกัน ถ้าพุทธบริษัท 4 เคารพยำเกรงในพระศาสดา เป็นต้น พระสัทธรรมก็ตั้งอยู่ได้นาน
ในปัจจุบันถ้านำพุทธพจน์ดังกล่าวมาเป็นดัชนีชี้วัด ก็จะพบว่าพระพุทธศาสฯากำลังตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอย เนื่องจากพุทธบริษัท 4 โดยเฉพาะพระภิกษุมีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา คือ พระธรรมวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งให้เป็นศาสดาแทนหลังจากพระองค์ล่วงลับไปแล้ว จากพระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ว่า
ดูก่อนอานนท์ พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอันใด พระธรรมวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแทน เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว(โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.)
ดังนั้น เมื่อภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยในส่วนที่เป็นข้อห้าม หรือทำในส่วนที่เป็นข้ออนุญาต แต่ไม่เป็นไปตามที่ทรงอนุญาตไว้ ก็ถือได้ว่าไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา และเป็นเหตุให้ศาสฯาเสื่อม ในทำนองเดียวกับคำพังเพยที่ว่า สนิมเหล็กเกิดจากเหล็ก และกัดกินเหล็ก ทั้งนี้จะเห็นได้จากพฤติกรรมของพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัย มีตั้งแต่เสพและขายยาเสพติด ไปจนถึงอวดอุตริมนุสธรรม และประจบคฤหัสถ์เพื่อหวังลาภสักการะ ที่ปรากฏให้เห็นอย่างดาษดื่นทั้งในหมู่ภิกษุชั้นผู้น้อยไปถึงพระผู้ใหญ่บางราย
แต่ที่เกิดขึ้นและกลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วในขณะนี้ เห็นจะได้แก่กรณีที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ได้แต่งตั้งพระพายัพซึ่งเป็นน้องชายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเป็นพี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งบวชได้ไม่กี่วันให้ดำรงตำแหน่งพระครูปลัดฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งฐานานุกรมของพระคุณเจ้าสมเด็จพระธีรญาณมุนีเอง และในทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไปได้มีเสียงวิพากษ์วิจาณ์ในทางลบว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมในแง่พระวินัย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเสียงจากฝ่ายที่เห็นด้วยได้ออกมาแสดงความเห็นว่าไม่ผิด โดยอ้างว่าสามารถแต่งตั้งได้
ในบรรดาผู้เห็นด้วย ยังมีพระระดับราชาคณะบางรูปถึงกับออกมาพูดว่า เวลานี้การนับพรรษาไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
จากการที่มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยนี้เอง ถือได้ว่าเรื่องนี้ได้ทำให้ชาวพุทธแตกแยกกันเอง จึงกลายเป็นว่าเรื่องนี้ทำให้คนไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นอีกเรื่องหนึ่งนอกเหนือจากความแตกแยกทางการเมืองซึ่งมีมาก่อนหน้านี้แล้ว
ถ้ามองเรื่องนี้ โดยนำพระวินัยมาใช้ในการชี้ขาด จะถือว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากน้อยประการใด
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนขอให้มองเรื่องนี้ออกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. ประเด็นทางกฎหมาย การแต่งตั้งนี้ถือว่าทำได้ตามสิทธิ เพราะเป็นฐานานุกรมของผู้แต่งตั้งจึงสามารถแต่งตั้งใครก็ได้
2. ประเด็นทางพระวินัย ถ้ามองโดยนำเอาเรื่องพรรษามาเป็นตัวตั้ง และนำเอากรณีการที่อุปัชฌาย์ อาจารย์จะให้นิสสัยแก่สิทธิวิหาริก และอันเตวาสิก คือไม่ต้องอยู่ในความควบคุมดูแล เพราะมีพรรษาและความฉลาดรอบรู้ในเรื่องพระวินัย เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่นได้ก็ต่อเมื่อมีพรรษา 5 ขึ้นไป
นอกจากนี้ ในการที่สงฆ์จะสมมติแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดให้รับตำแหน่งเพื่อทำกิจของสงฆ์ ก็จะต้องมีพรรษา 6 ขึ้นไป และมีความรอบรู้ในเรื่องพระธรรมวินัยดีพอแล้วเท่านั้น
ดังนั้น ถ้ายึดถือและนำเอาเรื่องนี้มาใช้โดยอนุโลม โดยยึดมหาปเทส 4 คือ
1. สิ่งใดไม่ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดมิได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นก็ไม่ควร
ถ้านำเรื่องนี้มาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลัก 4 ประการนี้ การแต่งตั้งพระครูปลัดในครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายข้อที่ 1 คือในพุทธกาลไม่เคยมีเรื่องการแต่งตั้งในลักษณะนี้ จึงไม่มีข้อห้ามตามวินัย แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเพื่อทำกิจสงฆ์ ไม่ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรือคณะวินัยสงฆ์ หรือตำแหน่งอื่นใดล้วนแต่ต้องถือเรื่องพรรษา และความรอบรู้พระวินัยทั้งสิ้น
“ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว” นี่คือคำถามและคำตอบระหว่างพระพุทธองค์กับพระภิกษุที่ชื่อว่า กิมพิละ
โดยนัยแห่งคำถามและคำตอบนี้ ทำให้ชาวพุทธทราบว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมคำสอนของพระองค์จะอยู่ได้นานหรือไม่ได้นานขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือการกระทำของพุทธบริษัท 4 คือ
1. ภิกษุ อันได้แก่นักบวชชาย มีศีล 227 ข้อเป็นวัตรปฏิบัติ
2. ภิกษุณี คือ นักบวชหญิง มีศีล 311 ข้อเป็นวัตรปฏิบัติ และจะต้องอุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ จึงจะเป็นนางภิกษุณีโดยสมบูรณ์
3. อุบาสก คฤหัสถ์ผู้ชาย ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และสมาทานอุโบสถศีล หรือศีล 8 เป็นประจำหรืออย่างน้อยทุกวันขึ้น และแรม 15 ค่ำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วันพระใหญ่
4. อุบาสิกา คฤหัสถ์ผู้หญิง เข้าถึงพระรัตนตรัย และมีข้อวัตรปฏิบัติในทำนองเดียวกับอุบาสก
พุทธบริษัท 4 ประเภทที่ว่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าวันใดไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ (พระสงฆ์ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นอริยะ 4 คู่ และถ้านับเป็นรายบุคคลจะมีจำนวน 8 ดังที่ปรากฏในบทสังฆคุณที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า สุปฏิปันโน และจบลงด้วยคำว่า โลกัสสาติ
พระธรรม หมายถึง คำสอน ในที่นี้น่าจะหมายรวมถึงพระวินัยอยู่ด้วย
การศึกษา หมายถึง การศึกษา 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา หรือที่เรียกว่า ไตรสิกขา และสุดท้ายไม่เคารพกันและกันในกลุ่มเดียวกัน
ในทางกลับกัน ถ้าพุทธบริษัท 4 เคารพยำเกรงในพระศาสดา เป็นต้น พระสัทธรรมก็ตั้งอยู่ได้นาน
ในปัจจุบันถ้านำพุทธพจน์ดังกล่าวมาเป็นดัชนีชี้วัด ก็จะพบว่าพระพุทธศาสฯากำลังตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอย เนื่องจากพุทธบริษัท 4 โดยเฉพาะพระภิกษุมีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่าไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา คือ พระธรรมวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แต่งตั้งให้เป็นศาสดาแทนหลังจากพระองค์ล่วงลับไปแล้ว จากพระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ว่า
ดูก่อนอานนท์ พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอันใด พระธรรมวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแทน เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว(โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา.)
ดังนั้น เมื่อภิกษุล่วงละเมิดพระวินัยในส่วนที่เป็นข้อห้าม หรือทำในส่วนที่เป็นข้ออนุญาต แต่ไม่เป็นไปตามที่ทรงอนุญาตไว้ ก็ถือได้ว่าไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา และเป็นเหตุให้ศาสฯาเสื่อม ในทำนองเดียวกับคำพังเพยที่ว่า สนิมเหล็กเกิดจากเหล็ก และกัดกินเหล็ก ทั้งนี้จะเห็นได้จากพฤติกรรมของพระภิกษุที่กระทำผิดพระวินัย มีตั้งแต่เสพและขายยาเสพติด ไปจนถึงอวดอุตริมนุสธรรม และประจบคฤหัสถ์เพื่อหวังลาภสักการะ ที่ปรากฏให้เห็นอย่างดาษดื่นทั้งในหมู่ภิกษุชั้นผู้น้อยไปถึงพระผู้ใหญ่บางราย
แต่ที่เกิดขึ้นและกลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วในขณะนี้ เห็นจะได้แก่กรณีที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ได้แต่งตั้งพระพายัพซึ่งเป็นน้องชายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเป็นพี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งบวชได้ไม่กี่วันให้ดำรงตำแหน่งพระครูปลัดฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งฐานานุกรมของพระคุณเจ้าสมเด็จพระธีรญาณมุนีเอง และในทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไปได้มีเสียงวิพากษ์วิจาณ์ในทางลบว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมในแง่พระวินัย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเสียงจากฝ่ายที่เห็นด้วยได้ออกมาแสดงความเห็นว่าไม่ผิด โดยอ้างว่าสามารถแต่งตั้งได้
ในบรรดาผู้เห็นด้วย ยังมีพระระดับราชาคณะบางรูปถึงกับออกมาพูดว่า เวลานี้การนับพรรษาไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
จากการที่มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยนี้เอง ถือได้ว่าเรื่องนี้ได้ทำให้ชาวพุทธแตกแยกกันเอง จึงกลายเป็นว่าเรื่องนี้ทำให้คนไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นอีกเรื่องหนึ่งนอกเหนือจากความแตกแยกทางการเมืองซึ่งมีมาก่อนหน้านี้แล้ว
ถ้ามองเรื่องนี้ โดยนำพระวินัยมาใช้ในการชี้ขาด จะถือว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากน้อยประการใด
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนขอให้มองเรื่องนี้ออกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. ประเด็นทางกฎหมาย การแต่งตั้งนี้ถือว่าทำได้ตามสิทธิ เพราะเป็นฐานานุกรมของผู้แต่งตั้งจึงสามารถแต่งตั้งใครก็ได้
2. ประเด็นทางพระวินัย ถ้ามองโดยนำเอาเรื่องพรรษามาเป็นตัวตั้ง และนำเอากรณีการที่อุปัชฌาย์ อาจารย์จะให้นิสสัยแก่สิทธิวิหาริก และอันเตวาสิก คือไม่ต้องอยู่ในความควบคุมดูแล เพราะมีพรรษาและความฉลาดรอบรู้ในเรื่องพระวินัย เป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่นได้ก็ต่อเมื่อมีพรรษา 5 ขึ้นไป
นอกจากนี้ ในการที่สงฆ์จะสมมติแต่งตั้งพระภิกษุรูปใดให้รับตำแหน่งเพื่อทำกิจของสงฆ์ ก็จะต้องมีพรรษา 6 ขึ้นไป และมีความรอบรู้ในเรื่องพระธรรมวินัยดีพอแล้วเท่านั้น
ดังนั้น ถ้ายึดถือและนำเอาเรื่องนี้มาใช้โดยอนุโลม โดยยึดมหาปเทส 4 คือ
1. สิ่งใดไม่ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดมิได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นก็ไม่ควร
ถ้านำเรื่องนี้มาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลัก 4 ประการนี้ การแต่งตั้งพระครูปลัดในครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายข้อที่ 1 คือในพุทธกาลไม่เคยมีเรื่องการแต่งตั้งในลักษณะนี้ จึงไม่มีข้อห้ามตามวินัย แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเพื่อทำกิจสงฆ์ ไม่ว่าเป็นอุปัชฌาย์หรือคณะวินัยสงฆ์ หรือตำแหน่งอื่นใดล้วนแต่ต้องถือเรื่องพรรษา และความรอบรู้พระวินัยทั้งสิ้น