ASTVผู้จัดการรายวัน - เอสซีจีจับมือยักษ์ใมหญ่กระเบื้อยุโรป ฟอริม ทำตลาดร่วมกันทั่วโลก หวังยกระดับขึ้นสู่แบรนด์ชั้นนำของโลกพร้อมติด 1 ใน 5 แบรนด์ของโลกในเชิงมูลค่า ล่าสุดร่วมพัฒนากระเบื้องหรู “คอตโต้ อิตาเลีย” พร้อมขน 2 แบรนด์ดังทำตลาดในไทยและอาเซียน ระบุหากซื้อธุรกิจกระเบื้องในเวียดนามสำเร็จขึ้นแท่นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลก แถมติด อันดับ 1 ใน 5 เชิงมูลค่าเร็วขึ้นa
นายอนุวัตร เฉลิมไชย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแบรนด์ บริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เปิดเผยว่า เอสซีจีจับมือฟลอริม กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องรายใหญ่ของโลกจากประเทศอิตาลีในการทำการตลาดร่วมกัน โดยฟอริมสนใจที่จะเข้ามาทำการตลาดในภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่เอสซีจี ต้องการขยายตลาดในยุโรปและอเมริกา รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น
สำหรับการร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการทำตลาดตลาดร่วมกันเท่านั้น ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ในอนาคตอาจรวมถึงการใช้ฐานการผลิตของกันและกันเพื่อลดขั้นตอนการขนส่ง เช่นกรณีที่คอตโต้มียอดขายในอเมริกามากพอ อาจจ้างให้ฟอริมผลิตให้ ในทางกลับกันหากฟอริมมียอดขายในเอเชียมากพอก็อาจจ้างเอสซีจีผลิตให้
ในเบื้องต้นฟอริมจะร่วมกับคอตโต้ทำตลาดในไทยก่อน หลังจากนั้นในปีหน้าจะขยายต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน โดยคอตโต้จะเลือกผลิตภัณฑ์ในเครือฟอริม ที่มีความโดดเด่นเข้ามาทำตลาดในไทยและอาเซียน โดยคัดเลือกมา 2 แบรนด์ คือ ฟลอเกรซ และเร็กซ์
นอกจากนี้ยังได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ภายใต้แบรนด์ “คอตโต้ อิตาเลีย” ปัจจุบันออกแบบมาแล้ว 1 คลอเลคชั่น และในช่วงกลางปีจะออกมาอีก 4-5 คอลเลคชั่น โดยในปีแรกตั้งเป้ายอดขายในแบรนด์คอตโต้ อิตาเลีย ประมาณ 200 ล้านบาท
นายอนุวัตร กล่าวต่อว่า เอสซีจีเป็นพันธมิตรกับฟอริมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเอสซีจีเข้าไปถือหุ้น 10% ในฟอริมตั้งแต่ปี 1991 เพื่ออาศัยความเครือข่ายของบริษัทดังกล่าวดันแบรนด์คอตโต้บุกตลาดโซนอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่ฟลอริม กรุ๊ปมีความแข็งแกร่งมาก โดยปัจจุบันฟอริมถือเป็นผู้ผลิตกระเบื้องในเชิงปริมาณเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งผลให้ปัจจุบันอเมริกากลายเป็นตลาดหลักการส่งออกของคอตโต้ สัดส่วนมากถึง 40% ของยอดส่งออกทั้งหมด และทำให้แบรนด์คอตโต้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น
“จากวิสัยทัศน์ของเอสซีจี ที่ต้องการก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของตลาดกระเบื้องโลก ในเชิงมูลค่า ภายใน 5 ปีนับจากปี 2556-2560 ซึ่งปัจจุบันเอสซีจีถือว่าอยู่ในอันดับที่ 6-7 โดยห่างจากอันดับ 5 เพียง 100 ล้านยูโรหากเอวซีจี ประสบความสำเร็จในการซื้อธุรกิจและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท Prime Group Joint Stock Company หรือ Prime Group สำเร็จก็จะทำให้เอสซีจีกลายเป็นผู้ผลิตกระเบื้องที่มีกำลังการผลิตเป็นอันดับ 1 ของโลกและจะทำให้เอสซีจี ติด 1 ใน 5 ของโลกเร็วขึ้นกว่าที่วางแผนเอาไว้” นายอนุวัตร กล่าว
สำหรับฐานการผลิตกระเบื้องของเครือเอสซีจีในไทยมีด้วยกัน 4 โรงงาน คือ คอตโต้ โสสุโก้ ไทยเซรามิค และไทยเยอรมัน รวมกำลังการผลิต 108 ล้านตร.ม. ส่วนโรงงานกระเบื้องที่กลุ่มเอสซีจีเพิ่งซื้อกิจการในฟิลิปปินส์ มีกำลังผลิต 12 ล้านตร.ม. อินโดนีเซีย 27 ล้านตร.ม. และอยู่ระหว่างเจรจาซื้อโรงงานกระเบื้องที่เวียดนาม กำลังการผลิตกว่า 75 ล้านตร.ม. ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้เอสซีจีมีกำลังผลิตกระเบื้องทั่วโลก 222 ล้านตร.ม. ถือว่ามีกำลังการผลิตกระเบื้องมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่วนในเชิงมูลค่า ยังอยู่อันดับ 6-7 ของโลก ตั้งเป้าในอีก 4 ปีจะต้องติด 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งปัจจุบันมียอดขายห่างจากอันดับ 5 เพียง 100 ล้านยูโรเท่านั้น
ส่วนแนวโน้มความต้องการกระเบื้องระดับไอเอนด์ในไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะปีนี้เทรนด์ที่อยู่อาศัยระดับบนมาแรง จะยิ่งทำให้สินค้ากลุ่มนี้ได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนภาพรวมความต้องการใช้กระเบื้องปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 170 ล้านตร.ม. เติบโต 10% ปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% ส่วนยอดขายคอตโต้ กลุ่มกระเบื้องในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท
นายอนุวัตร เฉลิมไชย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแบรนด์ บริษัท เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เปิดเผยว่า เอสซีจีจับมือฟลอริม กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องรายใหญ่ของโลกจากประเทศอิตาลีในการทำการตลาดร่วมกัน โดยฟอริมสนใจที่จะเข้ามาทำการตลาดในภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่เอสซีจี ต้องการขยายตลาดในยุโรปและอเมริกา รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น
สำหรับการร่วมเป็นพันธมิตรดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการทำตลาดตลาดร่วมกันเท่านั้น ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ในอนาคตอาจรวมถึงการใช้ฐานการผลิตของกันและกันเพื่อลดขั้นตอนการขนส่ง เช่นกรณีที่คอตโต้มียอดขายในอเมริกามากพอ อาจจ้างให้ฟอริมผลิตให้ ในทางกลับกันหากฟอริมมียอดขายในเอเชียมากพอก็อาจจ้างเอสซีจีผลิตให้
ในเบื้องต้นฟอริมจะร่วมกับคอตโต้ทำตลาดในไทยก่อน หลังจากนั้นในปีหน้าจะขยายต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน โดยคอตโต้จะเลือกผลิตภัณฑ์ในเครือฟอริม ที่มีความโดดเด่นเข้ามาทำตลาดในไทยและอาเซียน โดยคัดเลือกมา 2 แบรนด์ คือ ฟลอเกรซ และเร็กซ์
นอกจากนี้ยังได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ภายใต้แบรนด์ “คอตโต้ อิตาเลีย” ปัจจุบันออกแบบมาแล้ว 1 คลอเลคชั่น และในช่วงกลางปีจะออกมาอีก 4-5 คอลเลคชั่น โดยในปีแรกตั้งเป้ายอดขายในแบรนด์คอตโต้ อิตาเลีย ประมาณ 200 ล้านบาท
นายอนุวัตร กล่าวต่อว่า เอสซีจีเป็นพันธมิตรกับฟอริมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเอสซีจีเข้าไปถือหุ้น 10% ในฟอริมตั้งแต่ปี 1991 เพื่ออาศัยความเครือข่ายของบริษัทดังกล่าวดันแบรนด์คอตโต้บุกตลาดโซนอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่ฟลอริม กรุ๊ปมีความแข็งแกร่งมาก โดยปัจจุบันฟอริมถือเป็นผู้ผลิตกระเบื้องในเชิงปริมาณเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งผลให้ปัจจุบันอเมริกากลายเป็นตลาดหลักการส่งออกของคอตโต้ สัดส่วนมากถึง 40% ของยอดส่งออกทั้งหมด และทำให้แบรนด์คอตโต้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น
“จากวิสัยทัศน์ของเอสซีจี ที่ต้องการก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ใน 5 ของตลาดกระเบื้องโลก ในเชิงมูลค่า ภายใน 5 ปีนับจากปี 2556-2560 ซึ่งปัจจุบันเอสซีจีถือว่าอยู่ในอันดับที่ 6-7 โดยห่างจากอันดับ 5 เพียง 100 ล้านยูโรหากเอวซีจี ประสบความสำเร็จในการซื้อธุรกิจและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท Prime Group Joint Stock Company หรือ Prime Group สำเร็จก็จะทำให้เอสซีจีกลายเป็นผู้ผลิตกระเบื้องที่มีกำลังการผลิตเป็นอันดับ 1 ของโลกและจะทำให้เอสซีจี ติด 1 ใน 5 ของโลกเร็วขึ้นกว่าที่วางแผนเอาไว้” นายอนุวัตร กล่าว
สำหรับฐานการผลิตกระเบื้องของเครือเอสซีจีในไทยมีด้วยกัน 4 โรงงาน คือ คอตโต้ โสสุโก้ ไทยเซรามิค และไทยเยอรมัน รวมกำลังการผลิต 108 ล้านตร.ม. ส่วนโรงงานกระเบื้องที่กลุ่มเอสซีจีเพิ่งซื้อกิจการในฟิลิปปินส์ มีกำลังผลิต 12 ล้านตร.ม. อินโดนีเซีย 27 ล้านตร.ม. และอยู่ระหว่างเจรจาซื้อโรงงานกระเบื้องที่เวียดนาม กำลังการผลิตกว่า 75 ล้านตร.ม. ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้เอสซีจีมีกำลังผลิตกระเบื้องทั่วโลก 222 ล้านตร.ม. ถือว่ามีกำลังการผลิตกระเบื้องมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่วนในเชิงมูลค่า ยังอยู่อันดับ 6-7 ของโลก ตั้งเป้าในอีก 4 ปีจะต้องติด 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งปัจจุบันมียอดขายห่างจากอันดับ 5 เพียง 100 ล้านยูโรเท่านั้น
ส่วนแนวโน้มความต้องการกระเบื้องระดับไอเอนด์ในไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะปีนี้เทรนด์ที่อยู่อาศัยระดับบนมาแรง จะยิ่งทำให้สินค้ากลุ่มนี้ได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนภาพรวมความต้องการใช้กระเบื้องปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 170 ล้านตร.ม. เติบโต 10% ปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% ส่วนยอดขายคอตโต้ กลุ่มกระเบื้องในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท