น่าตระหนกมิใช่น้อยในฉับพลันที่ “สำนักงานสถิติแห่งชาติ” เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี 2555 ว่า คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านหนังสือน้อยลงจนเหลือเพียงวันละ 31 นาที !
เพราะผลสำรวจดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็น “ข้อมูลเชิงลบ” ต่อความพยายามในการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองหนังสือโลก” เท่านั้น แต่ในอีกมิติหนึ่งยังสื่อถึง “ความอยู่รอด” ของ “ธุรกิจหนังสือเล่ม” ด้วยว่าจะอยู่อย่างไรให้ “รุ่ง” และ “รอด” ในยุคเฟื่องฟูของเทคโนโลยีการสื่อสารด้านต่างๆ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ภาพรวมของธุรกิจหนังสือเล่มถือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและบันเทิง แบ่งแยกได้เป็น 2 ส่วนคือ “แบบเรียน คู่มือ วิชาการ” ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ในความต้องการของตลาด เนื่องจากลูกค้ามีปริมาณการสั่งซื้อและการใช้หนังสือหมวดนี้อย่างสม่ำเสมอ แต่มีอุปสรรคที่ไม่สามารถเพิ่มราคาต่อปกได้ เนื่องจากจำนวนการสั่งซื้อ หรือการใช้งานมีการขยายตัวไม่มากนัก ขณะเดียวกันหน่วยงานต้นสังกัดก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการสั่งซื้อ
อีกส่วนหนึ่งคือ “หนังสือเล่ม” ซึ่งถือว่ามีปัญหาครอบคลุมรอบด้านตั้งแต่ต้นน้ำคือต้นทุนการผลิตจนถึงปลายน้ำคือการผลิต ดังที่ “วรพันธ์ โลกิตสถาพร” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า การเพิ่มขึ้นของราคากระดาษในปีที่ผ่านมาที่ยังคงทะยอยขึ้นเป็นช่วงๆ รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยส่วนที่กระทบหนักที่สุดคือปลายน้ำ ตั้งแต่กระบวนการขนส่งไปยังร้านหนังสือ การจัดจำหน่ายและร้านหนังสือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เห็นแนวโน้มของการขึ้นราคาของหนังสือไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพื่อชดเชยต้นทุนแฝงต่างๆ และความอยู่รอดของทั้งกระบวนการ (Supply Chain)
“ปัจจัยสำคัญคือผู้บริโภคมีกำลังซื้อสินค้าอื่นนอกจากสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตลดน้อยลง โดยเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าเพื่อความบันเทิงมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เช่น การเลือกซื้อหนังสือจากค่ายหนังสือที่โดดเด่นตรงใจเท่านั้น การซื้อต่อครั้งที่ลดลง รวมถึงการเลือกซื้อที่ใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น ทำให้ทั้งสำนักพิมพ์และร้านหนังสือต้องทำการปรับตัวเองด้วยการผลิตสินค้าให้ตรงใจและขยายฐานจำนวนผู้อ่านให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้มากนัก”
ตั้งเป้าปี 56 ตลาดโต
ทะลุ 2.4 หมื่นล้าน
จากภาพรวมของธุรกิจหนังสือเล่มในปี 2555 พบว่ามีมูลค่าตลาดประมาณ 22,600 ล้านบาท หรือมีอัตราขยายตัวขึ้นเพียง 5-6 % สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯจึงตั้งเป้าหมายว่าในปี 2556 จะร่วมกับทุกภาคส่วนผลักดันให้ธุรกิจหนังสือเล่มกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 7% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 24,200 ล้านบาท
สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจหนังสือเล่มสามารถจำแนกออกตามขนาดกลุ่มสำนักพิมพ์คือ “กลุ่มผู้นำตลาด” หมายถึงสำนักพิมพ์ที่มีรายได้สำหรับธุรกิจหนังสือมากกว่า 315 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 35.49% “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่” มีรายได้ตั้งแต่ 115 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 315 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 34.54% “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดกลาง” มีรายได้ตั้งแต่ 35 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 115 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 16.09% และ “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก” มีรายได้ต่ำกว่า 35 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งทางการตลาด13.88%
ปัจจุบันแม้จะมีสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีอันต้องล้มเลิกธุรกิจเป็นจำนวนไม่น้อย หรือแม้แต่สำนักพิมพ์บางแห่งที่เป็นกลุ่มผู้นำตลาดแต่มีผลกำไรต่ำกว่า 10% ก็ต้องปรับระดับลงมาเป็นสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันสำนักพิมพ์ขนาดเล็กก็สามารถขยับไปเป็นสำนักพิมพ์ขนาดกลางได้อย่างมั่นคงหลายแห่ง รวมไปถึงสำนักพิมพ์ขนาดกลางที่สามารถขยับขึ้นเป็นสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เนื่องเพราะสามารถปรับตัวและสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวได้นั่นเอง
ทางรอดธุรกิจหนังสือเล่ม
เลิกผลิตตามแนวถนัด !
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาในภาพรวมของธุรกิจหนังสือในปี 2555 ต่อเนื่องมายังปี 2556 ตามทรรศนะของ “วรพันธ์ โลกิตสถาพร” คือ “ภาพการล้มหายตายจากของสำนักพิมพ์ขนาดเล็กมากกว่า 60 แห่ง” เขาบอกว่า
“ธุรกิจหนังสือเล่มถือว่ามีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าธุรกิจหนังสือเล่มยังสามารถเติบโตได้หากผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ตลาดและหาช่องว่างของตลาดที่ยังมีอยู่มากมาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด”
สอดรับกับความเห็นของ “ศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์” กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ซึ่งย้ำชัดว่า
“สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยไม่ปล่อยให้หนังสือเป็นไปตามธรรมชาติดังที่เคยเป็น กล่าวคือต้องเลิกผลิตหนังสือตามแนวที่ตนถนัด แต่ต้องเร่งสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ด้วยการหันมาผลิตหนังสือให้ตรงกับแนวทางการตลาดและมีความแม่นยำในการทำหนังสือมากยิ่งขึ้น”
นิยายรัก - แฟนตาซี - How To
อนาคตดีเน้นเจาะกลุ่ม 12-20 ปี
สำหรับหมวดสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุดในตลาดปัจจุบันคือ “หนังสือนวนิยายรัก” ทั้งวัยใสและผู้ใหญ่ รวมถึง “หนังสือแนวแฟนตาซี” ซึ่งมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ เข้ามาผลิตจำนวนหนังสือในตลาดนี้มากขึ้น ส่วนหนังสือประเภทLite Novel, Inspiration รวมถึง How Toเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุนต่างๆ ยังคงมีการขยับตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ “หนังสือการ์ตูนความรู้” แม้ตลาดจะดูไม่ขยับมากนักแต่คาดว่าในปี 2556 จะมีผู้ผลิตรายใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นตลาดให้มีการขยายตัวได้อีกครั้งเพราะเป็นตลาดที่ยังสามารถสร้างฐานการอ่านได้อีกจำนวนมาก
ส่วนกระแสตลาดหนังสือที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงคือ หนังสือที่เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านวัย 12-20 ปีซึ่งแม้ปัจจุบันสัดส่วนกลุ่มผู้อ่านที่เป็นผู้หญิงจะมีสูงถึง 70% ขณะที่กลุ่มผู้อ่านผู้ชายมีเพียง 30% แต่แนวโน้มของกลุ่มผู้อ่านผู้ชายกลับมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่ผู้ผลิตควรพิจารณาหาช่องทางในการเจาะตลาดกลุ่มนี้ให้มากขึ้น
แนะเร่งสร้างแบรนด์
ผ่าน Social Media
นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ให้ความเห็นเสริมเกี่ยวกับตลาดหนังสือเล่มในปัจจุบันว่า สำนักพิมพ์ที่มีการปรับตัวในส่วนของการทำหนังสือให้ตรงแนวกับทางการตลาดและมีความแม่นยำในการทำหนังสือมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์ทางการการตลาดและการสร้างแบรนด์มากยิ่งขึ้น ย่อมสะท้อนออกมาจากจำนวนหนังสือที่ผลิตออกมาเพิ่มมากขึ้นและเป็นแนวที่ตลาดต้องการไม่ใช่แนวที่สำนักพิมพ์ถนัด รวมทั้งเป็นการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวเท่านั้น
เช่นเดียวกับที่ “ศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์” เห็นว่าการสร้างสร้างแบรนด์ของสำนักพิมพ์เป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรเน้นการสร้างแบรนด์ผ่าน Social Media ให้เกิดผลโดยเร็วที่สุด เนื่องเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารด้านต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือและระบบ Social Media ถือเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อหนังสือเล่มที่สำนักพิมพ์จำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โดยเร็วที่สุดและควรเริ่มนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดการภายในสำนักพิมพ์
“ขณะเดียวกันยังมีความเป็นไปได้ว่าในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสารยังอาจจำเป็นต้องปิดตายภายใน 2 ปี ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ อันเนื่องมาจากความรวดเร็วของเทคโนโลยีต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร หรือแม้แต่การรายงานผลการแข่งขันกีฬา”
ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์จึงจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการนำ Social Media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำแฟนเพจในเฟซบุค การติดต่อกับกลุ่มลูกค้าผ่านเทคโนโลยีไลน์ ทวิตเตอร์ และอื่นๆ รวมไปถึงการหันมาดำเนินธุรกิจในลักษณะชอปปิ้งออนไลน์เพื่อผลิตหนังสือในรูปแบบของ Print on Demand Support เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต
ย้ำ e-Book ไม่มีผลกระทบ
เหตุทำตลาดได้เพียง 0.01%
การไหลบ่าของเทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าว รวมทั้งกระแสของ e-Book ที่กำลังมาแรงจนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า e-Book จะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายธุรกิจหนังสือแบบดั้งเดิม หรือหนังสือเล่มนั้น “ถนัด ไทยปิ่นณรงค์” กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ให้ความเห็นว่า ช่วงเวลานี้ถือเป็น “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” ในการทดลองตลาดและเทคโนโลยีของ e-Book เท่านั้น โดยเฉพาะในส่วนของตลาดประเทศไทยพบว่ามีหนังสือที่ทำการขายบน e-Book อย่างจริงจังเพียง 0.01% เท่านั้น ในขณะที่ในปี 2555 มีหนังสือใหม่ออกสู่ตลาดประมาณ 15,000 เล่ม หรือวันละประมาณ 40 เล่ม ทำให้เชื่อได้ว่า e-Book จะเป็นเพียงตัวเสริมทางด้าน Media การอ่านเท่านั้น และยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถทดแทนหนังสือเล่มได้อย่างน้อยภายใน 5 ปี
“จากการประเมินสถานการณ์ขณะนี้ e-Book ยังไม่ใช่ตัวคุกคามธุรกิจหนังสือดั้งเดิมอย่างแท้จริงและไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจหนังสือล้มหาย แต่สื่อดิจิทัลอื่นๆ ต่างหากที่จะทำให้คนสนใจหนังสือน้อยลง ในทางตรงกันข้าม e-Book กลับถือเป็น Marketing Tool ที่ดีและมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ผู้อ่านรับรู้ความเคลื่อนไหวของหนังสือใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและส่งผลให้ตลาดหนังสือเล่มเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย
คำตอบของการอยู่รอดในอนาคตที่สำนักพิมพ์ต้องคิดคือนิยามตัวเองใหม่ที่ต้องเป็นมากกว่าหนังสือ หรือ “Beyond Book” นั่นเอง
เพราะผลสำรวจดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็น “ข้อมูลเชิงลบ” ต่อความพยายามในการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองหนังสือโลก” เท่านั้น แต่ในอีกมิติหนึ่งยังสื่อถึง “ความอยู่รอด” ของ “ธุรกิจหนังสือเล่ม” ด้วยว่าจะอยู่อย่างไรให้ “รุ่ง” และ “รอด” ในยุคเฟื่องฟูของเทคโนโลยีการสื่อสารด้านต่างๆ ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ภาพรวมของธุรกิจหนังสือเล่มถือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและบันเทิง แบ่งแยกได้เป็น 2 ส่วนคือ “แบบเรียน คู่มือ วิชาการ” ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ในความต้องการของตลาด เนื่องจากลูกค้ามีปริมาณการสั่งซื้อและการใช้หนังสือหมวดนี้อย่างสม่ำเสมอ แต่มีอุปสรรคที่ไม่สามารถเพิ่มราคาต่อปกได้ เนื่องจากจำนวนการสั่งซื้อ หรือการใช้งานมีการขยายตัวไม่มากนัก ขณะเดียวกันหน่วยงานต้นสังกัดก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการสั่งซื้อ
อีกส่วนหนึ่งคือ “หนังสือเล่ม” ซึ่งถือว่ามีปัญหาครอบคลุมรอบด้านตั้งแต่ต้นน้ำคือต้นทุนการผลิตจนถึงปลายน้ำคือการผลิต ดังที่ “วรพันธ์ โลกิตสถาพร” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า การเพิ่มขึ้นของราคากระดาษในปีที่ผ่านมาที่ยังคงทะยอยขึ้นเป็นช่วงๆ รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยส่วนที่กระทบหนักที่สุดคือปลายน้ำ ตั้งแต่กระบวนการขนส่งไปยังร้านหนังสือ การจัดจำหน่ายและร้านหนังสือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เห็นแนวโน้มของการขึ้นราคาของหนังสือไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพื่อชดเชยต้นทุนแฝงต่างๆ และความอยู่รอดของทั้งกระบวนการ (Supply Chain)
“ปัจจัยสำคัญคือผู้บริโภคมีกำลังซื้อสินค้าอื่นนอกจากสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตลดน้อยลง โดยเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าเพื่อความบันเทิงมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เช่น การเลือกซื้อหนังสือจากค่ายหนังสือที่โดดเด่นตรงใจเท่านั้น การซื้อต่อครั้งที่ลดลง รวมถึงการเลือกซื้อที่ใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น ทำให้ทั้งสำนักพิมพ์และร้านหนังสือต้องทำการปรับตัวเองด้วยการผลิตสินค้าให้ตรงใจและขยายฐานจำนวนผู้อ่านให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้มากนัก”
ตั้งเป้าปี 56 ตลาดโต
ทะลุ 2.4 หมื่นล้าน
จากภาพรวมของธุรกิจหนังสือเล่มในปี 2555 พบว่ามีมูลค่าตลาดประมาณ 22,600 ล้านบาท หรือมีอัตราขยายตัวขึ้นเพียง 5-6 % สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯจึงตั้งเป้าหมายว่าในปี 2556 จะร่วมกับทุกภาคส่วนผลักดันให้ธุรกิจหนังสือเล่มกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 7% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 24,200 ล้านบาท
สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจหนังสือเล่มสามารถจำแนกออกตามขนาดกลุ่มสำนักพิมพ์คือ “กลุ่มผู้นำตลาด” หมายถึงสำนักพิมพ์ที่มีรายได้สำหรับธุรกิจหนังสือมากกว่า 315 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 35.49% “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่” มีรายได้ตั้งแต่ 115 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 315 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 34.54% “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดกลาง” มีรายได้ตั้งแต่ 35 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 115 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งการตลาด 16.09% และ “กลุ่มสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก” มีรายได้ต่ำกว่า 35 ล้านบาทต่อปี มีส่วนแบ่งทางการตลาด13.88%
ปัจจุบันแม้จะมีสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีอันต้องล้มเลิกธุรกิจเป็นจำนวนไม่น้อย หรือแม้แต่สำนักพิมพ์บางแห่งที่เป็นกลุ่มผู้นำตลาดแต่มีผลกำไรต่ำกว่า 10% ก็ต้องปรับระดับลงมาเป็นสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันสำนักพิมพ์ขนาดเล็กก็สามารถขยับไปเป็นสำนักพิมพ์ขนาดกลางได้อย่างมั่นคงหลายแห่ง รวมไปถึงสำนักพิมพ์ขนาดกลางที่สามารถขยับขึ้นเป็นสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เนื่องเพราะสามารถปรับตัวและสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวได้นั่นเอง
ทางรอดธุรกิจหนังสือเล่ม
เลิกผลิตตามแนวถนัด !
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาในภาพรวมของธุรกิจหนังสือในปี 2555 ต่อเนื่องมายังปี 2556 ตามทรรศนะของ “วรพันธ์ โลกิตสถาพร” คือ “ภาพการล้มหายตายจากของสำนักพิมพ์ขนาดเล็กมากกว่า 60 แห่ง” เขาบอกว่า
“ธุรกิจหนังสือเล่มถือว่ามีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้เข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าธุรกิจหนังสือเล่มยังสามารถเติบโตได้หากผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ตลาดและหาช่องว่างของตลาดที่ยังมีอยู่มากมาสร้างสรรค์ผลงานเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด”
สอดรับกับความเห็นของ “ศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์” กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ซึ่งย้ำชัดว่า
“สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยไม่ปล่อยให้หนังสือเป็นไปตามธรรมชาติดังที่เคยเป็น กล่าวคือต้องเลิกผลิตหนังสือตามแนวที่ตนถนัด แต่ต้องเร่งสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ด้วยการหันมาผลิตหนังสือให้ตรงกับแนวทางการตลาดและมีความแม่นยำในการทำหนังสือมากยิ่งขึ้น”
นิยายรัก - แฟนตาซี - How To
อนาคตดีเน้นเจาะกลุ่ม 12-20 ปี
สำหรับหมวดสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุดในตลาดปัจจุบันคือ “หนังสือนวนิยายรัก” ทั้งวัยใสและผู้ใหญ่ รวมถึง “หนังสือแนวแฟนตาซี” ซึ่งมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ เข้ามาผลิตจำนวนหนังสือในตลาดนี้มากขึ้น ส่วนหนังสือประเภทLite Novel, Inspiration รวมถึง How Toเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุนต่างๆ ยังคงมีการขยับตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ “หนังสือการ์ตูนความรู้” แม้ตลาดจะดูไม่ขยับมากนักแต่คาดว่าในปี 2556 จะมีผู้ผลิตรายใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นตลาดให้มีการขยายตัวได้อีกครั้งเพราะเป็นตลาดที่ยังสามารถสร้างฐานการอ่านได้อีกจำนวนมาก
ส่วนกระแสตลาดหนังสือที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงคือ หนังสือที่เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านวัย 12-20 ปีซึ่งแม้ปัจจุบันสัดส่วนกลุ่มผู้อ่านที่เป็นผู้หญิงจะมีสูงถึง 70% ขณะที่กลุ่มผู้อ่านผู้ชายมีเพียง 30% แต่แนวโน้มของกลุ่มผู้อ่านผู้ชายกลับมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่ผู้ผลิตควรพิจารณาหาช่องทางในการเจาะตลาดกลุ่มนี้ให้มากขึ้น
แนะเร่งสร้างแบรนด์
ผ่าน Social Media
นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ให้ความเห็นเสริมเกี่ยวกับตลาดหนังสือเล่มในปัจจุบันว่า สำนักพิมพ์ที่มีการปรับตัวในส่วนของการทำหนังสือให้ตรงแนวกับทางการตลาดและมีความแม่นยำในการทำหนังสือมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์ทางการการตลาดและการสร้างแบรนด์มากยิ่งขึ้น ย่อมสะท้อนออกมาจากจำนวนหนังสือที่ผลิตออกมาเพิ่มมากขึ้นและเป็นแนวที่ตลาดต้องการไม่ใช่แนวที่สำนักพิมพ์ถนัด รวมทั้งเป็นการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวเท่านั้น
เช่นเดียวกับที่ “ศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์” เห็นว่าการสร้างสร้างแบรนด์ของสำนักพิมพ์เป็นเรื่องสำคัญ แต่ควรเน้นการสร้างแบรนด์ผ่าน Social Media ให้เกิดผลโดยเร็วที่สุด เนื่องเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารด้านต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือและระบบ Social Media ถือเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อหนังสือเล่มที่สำนักพิมพ์จำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โดยเร็วที่สุดและควรเริ่มนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดการภายในสำนักพิมพ์
“ขณะเดียวกันยังมีความเป็นไปได้ว่าในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสารยังอาจจำเป็นต้องปิดตายภายใน 2 ปี ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ อันเนื่องมาจากความรวดเร็วของเทคโนโลยีต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร หรือแม้แต่การรายงานผลการแข่งขันกีฬา”
ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์จึงจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการนำ Social Media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำแฟนเพจในเฟซบุค การติดต่อกับกลุ่มลูกค้าผ่านเทคโนโลยีไลน์ ทวิตเตอร์ และอื่นๆ รวมไปถึงการหันมาดำเนินธุรกิจในลักษณะชอปปิ้งออนไลน์เพื่อผลิตหนังสือในรูปแบบของ Print on Demand Support เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต
ย้ำ e-Book ไม่มีผลกระทบ
เหตุทำตลาดได้เพียง 0.01%
การไหลบ่าของเทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าว รวมทั้งกระแสของ e-Book ที่กำลังมาแรงจนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่า e-Book จะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายธุรกิจหนังสือแบบดั้งเดิม หรือหนังสือเล่มนั้น “ถนัด ไทยปิ่นณรงค์” กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ให้ความเห็นว่า ช่วงเวลานี้ถือเป็น “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” ในการทดลองตลาดและเทคโนโลยีของ e-Book เท่านั้น โดยเฉพาะในส่วนของตลาดประเทศไทยพบว่ามีหนังสือที่ทำการขายบน e-Book อย่างจริงจังเพียง 0.01% เท่านั้น ในขณะที่ในปี 2555 มีหนังสือใหม่ออกสู่ตลาดประมาณ 15,000 เล่ม หรือวันละประมาณ 40 เล่ม ทำให้เชื่อได้ว่า e-Book จะเป็นเพียงตัวเสริมทางด้าน Media การอ่านเท่านั้น และยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถทดแทนหนังสือเล่มได้อย่างน้อยภายใน 5 ปี
“จากการประเมินสถานการณ์ขณะนี้ e-Book ยังไม่ใช่ตัวคุกคามธุรกิจหนังสือดั้งเดิมอย่างแท้จริงและไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจหนังสือล้มหาย แต่สื่อดิจิทัลอื่นๆ ต่างหากที่จะทำให้คนสนใจหนังสือน้อยลง ในทางตรงกันข้าม e-Book กลับถือเป็น Marketing Tool ที่ดีและมีประสิทธิภาพที่จะทำให้ผู้อ่านรับรู้ความเคลื่อนไหวของหนังสือใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและส่งผลให้ตลาดหนังสือเล่มเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย
คำตอบของการอยู่รอดในอนาคตที่สำนักพิมพ์ต้องคิดคือนิยามตัวเองใหม่ที่ต้องเป็นมากกว่าหนังสือ หรือ “Beyond Book” นั่นเอง