ศูนย์ข่าวภาคใต้ - เพลิงไหม้โรงอบยางพาราเซาท์แลนด์ รับเบอร์ ยักษ์ใหญ่ส่งออกยางแผ่นรมควันเมืองยะลา ระดมรถนับสิบคันฉีดน้ำกว่า 5 ชั่วโมงจึงควบคุมเพลิงไว้ได้ เสียหายกว่า 5 ล้าน "ปู"สะดุ้งรีบต่อสายถามสาเหตุ ผู้ว่าฯยันไม่เกี่ยวโจรใต้ คาดเตาอบร้อนเกินขีดจำกัด แต่รอผลพิสูจน์หลักฐานยืนยันอีกครั้ง เผยปี 50 ถูกลอบวางเพลิงวอด 400 ล้านมาแล้ว
วานนี้ (21 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.ยะลา ว่าเมื่อเวลา 22.20 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ศูนย์วิทยุรับแจ้งเหตุสภ.เมือง รับแจ้งเหตุเพลิงโรงอบยางพารา โรงงาน เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ 1 ต.ท่าสาป โดยเปลวเพลิงกำลังลุกไหม้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมียางพาราเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จึงขอกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าระงับเหตุ
หลังรับแจ้ง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา พร้อมรถดับเพลิงไปยังที่เกิดเหตุ พบจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ตรงบริเวณตู้อบยางพารา พนักงานของโรงงานกำลังช่วยกันดับเพลิง และขนย้ายยางพาราแผ่นในตู้อบที่เหลือออกจากโรงอบ เจ้าหน้าที่ต้องขอกำลังรถดับเพลิงจากเทศบาลตำลสะเตงนอก เทศบาลตำบลลำใหม่ และเทศบาลตำบลพร่อน อ.เมือง และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าระดมฉีดน้ำบริเวณที่เกิดเหตุ
ต่อมา นายเดชรัฐ สิมสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และนายยู่สิน จิตภากร รองนายกเทศมนตรีนครยะลา เดินทางมาที่เกิดเหตุ และได้พบกับผู้จัดการบริษัทซึ่งกำลังให้พนักงานและลูกจ้างขนย้ายยางพาราแผ่นในตู้อบใกล้เคียงกับตู้ที่เกิดเพลิงไหม้ออกไปนอกพื้นที่
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลา 5 ชั่วโมง จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ในเวลา 03.30 น. ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าโครงสร้างของตู้อบรมควันเสียหาย 8 ตู้ จากทั้งหมดที่มีอยู่ 22 ตู้ โดยเสียหายอย่างหนัก 5 ตู้ ซึ่งแต่ละตู้อบรมยางบรรจุยางพาราแผ่นประมาณ 40 ตัน
เวลา 08.30 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายเดชรัฐได้ไปตรวจสอบความเสียหายที่โรงงานอีกครั้ง พร้อมให้กำลังใจผู้จัดการและคนงานของบริษัท โดยพบว่าคนงานได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายยางพาราแผ่นที่เหลือออกจากจุดที่เกิดเหตุหมดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องฉีดน้ำเลี้ยงเตาอบรมควัน ซึ่งยังมีควันคุกรุ่นอยู่บางส่วน
นายเดชรัฐ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์สอบถามถึงสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบร่องรอยการก่อวินาศกรรม หรือการลอบวางเพลิง อย่างไรก็ตามจะให้ตำรวจจากศูนย์พิสูจน์หลักฐานที่ 10 ยะลา ตรวจสอบหาสาเหตุอีกครั้ง สำหรับมาตรการการดูแลความปลอดภัยช่วงนี้ ทางทหารและตำรวจก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเข้มงวด เพราะสถานการณ์ระยะนี้ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากกลุ่มก่อเหตุรุนแรงเตรียมก่อเหตุหากมีโอกาส
"ทั้งนี้ พบว่าต้นเพลิงเกิดมาจากเตาอบตู้ที่ 13 ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากความร้อนภายในตัวของเตาอบเอง เพราะเตาเผาอยู่ใต้ตู้อบ อาจจะเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งไม่เหมือนกับเหตุเพลิงไหม้ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีการลอบวางเพลิงจากด้านนอก แล้วลุกลามเข้ามาภายใน แต่ครั้งนี้เพลิงลุกไหม้จากโรงรมควันที่ปิดมิดชิด ไม่สามารถเข้าไปวางเพลิงได้ ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบโครงสร้างแล้ว และเตือนพนักงานห้ามเข้าใกล้ที่เกิดเหตุ"
นายเดชรัฐ กล่าวว่า ห้องตู้อบรมควันที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักพร้อมยางพาราตู้ละ 40 ตัน รวม 5 ตู้ มูลค่า 5-6 ล้านบาท ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มาช่วยดับเพลิง โดยเฉพาะพนักงานบริษัทเองก็ช่วยกันเต็มที่ ทำให้เพลิงไม่ขยายวงมาก และสามารถดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว
"บริษัทแห่งนี้ดำเนินกิจการมานานกว่า 20 ปี คนงานกว่า 400 คน เป็นบริษัทส่งออกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกยางไปญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้มาแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 ความเสียหายกว่า 400 ล้านบาท แต่ครั้งนั้นเป็นการลอบวางเพลิงโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ"
วานนี้ (21 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.ยะลา ว่าเมื่อเวลา 22.20 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ศูนย์วิทยุรับแจ้งเหตุสภ.เมือง รับแจ้งเหตุเพลิงโรงอบยางพารา โรงงาน เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ 1 ต.ท่าสาป โดยเปลวเพลิงกำลังลุกไหม้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมียางพาราเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จึงขอกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าระงับเหตุ
หลังรับแจ้ง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา พร้อมรถดับเพลิงไปยังที่เกิดเหตุ พบจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ตรงบริเวณตู้อบยางพารา พนักงานของโรงงานกำลังช่วยกันดับเพลิง และขนย้ายยางพาราแผ่นในตู้อบที่เหลือออกจากโรงอบ เจ้าหน้าที่ต้องขอกำลังรถดับเพลิงจากเทศบาลตำลสะเตงนอก เทศบาลตำบลลำใหม่ และเทศบาลตำบลพร่อน อ.เมือง และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าระดมฉีดน้ำบริเวณที่เกิดเหตุ
ต่อมา นายเดชรัฐ สิมสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และนายยู่สิน จิตภากร รองนายกเทศมนตรีนครยะลา เดินทางมาที่เกิดเหตุ และได้พบกับผู้จัดการบริษัทซึ่งกำลังให้พนักงานและลูกจ้างขนย้ายยางพาราแผ่นในตู้อบใกล้เคียงกับตู้ที่เกิดเพลิงไหม้ออกไปนอกพื้นที่
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลา 5 ชั่วโมง จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ในเวลา 03.30 น. ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าโครงสร้างของตู้อบรมควันเสียหาย 8 ตู้ จากทั้งหมดที่มีอยู่ 22 ตู้ โดยเสียหายอย่างหนัก 5 ตู้ ซึ่งแต่ละตู้อบรมยางบรรจุยางพาราแผ่นประมาณ 40 ตัน
เวลา 08.30 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายเดชรัฐได้ไปตรวจสอบความเสียหายที่โรงงานอีกครั้ง พร้อมให้กำลังใจผู้จัดการและคนงานของบริษัท โดยพบว่าคนงานได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายยางพาราแผ่นที่เหลือออกจากจุดที่เกิดเหตุหมดแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องฉีดน้ำเลี้ยงเตาอบรมควัน ซึ่งยังมีควันคุกรุ่นอยู่บางส่วน
นายเดชรัฐ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์สอบถามถึงสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบร่องรอยการก่อวินาศกรรม หรือการลอบวางเพลิง อย่างไรก็ตามจะให้ตำรวจจากศูนย์พิสูจน์หลักฐานที่ 10 ยะลา ตรวจสอบหาสาเหตุอีกครั้ง สำหรับมาตรการการดูแลความปลอดภัยช่วงนี้ ทางทหารและตำรวจก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเข้มงวด เพราะสถานการณ์ระยะนี้ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากกลุ่มก่อเหตุรุนแรงเตรียมก่อเหตุหากมีโอกาส
"ทั้งนี้ พบว่าต้นเพลิงเกิดมาจากเตาอบตู้ที่ 13 ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากความร้อนภายในตัวของเตาอบเอง เพราะเตาเผาอยู่ใต้ตู้อบ อาจจะเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งไม่เหมือนกับเหตุเพลิงไหม้ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีการลอบวางเพลิงจากด้านนอก แล้วลุกลามเข้ามาภายใน แต่ครั้งนี้เพลิงลุกไหม้จากโรงรมควันที่ปิดมิดชิด ไม่สามารถเข้าไปวางเพลิงได้ ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบโครงสร้างแล้ว และเตือนพนักงานห้ามเข้าใกล้ที่เกิดเหตุ"
นายเดชรัฐ กล่าวว่า ห้องตู้อบรมควันที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักพร้อมยางพาราตู้ละ 40 ตัน รวม 5 ตู้ มูลค่า 5-6 ล้านบาท ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มาช่วยดับเพลิง โดยเฉพาะพนักงานบริษัทเองก็ช่วยกันเต็มที่ ทำให้เพลิงไม่ขยายวงมาก และสามารถดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว
"บริษัทแห่งนี้ดำเนินกิจการมานานกว่า 20 ปี คนงานกว่า 400 คน เป็นบริษัทส่งออกยางพาราที่ใหญ่ที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกยางไปญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้มาแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 ความเสียหายกว่า 400 ล้านบาท แต่ครั้งนั้นเป็นการลอบวางเพลิงโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ"