**สองสัปดาห์ต่อจากนี้ ถือว่าเข้าโค้งสุดท้ายแล้ว สำหรับศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เคยตั้งการ์ดดูเชิงกันไปมาของพรรคการเมือง-ผู้สมัครแต่ละคน ถึงตอนนี้ขืนมัวแต่คุมเชิงกันอยู่ ได้น้ำตาร่วงแน่ 3 มีนาคม นี้
นับจากนี้ การหาเสียงจะเข้มข้นจากก่อนหน้านี้แน่นอน โดยเฉพาะจากสองพรรคใหญ่-สองผู้สมัครตัวเต็ง คือพรรคเพื่อไทย-พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เจ้าของเก้าอี้จากพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนผู้สมัครอิสระคนอื่นๆ ถึงนาทีนี้ แม้ยังหวังลุ้น แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ยากแล้วจะกวดได้ทัน แต่หากยังไม่หมดกำลังใจ ก็ขอให้สู้ต่อไป
ด้วยระยะเวลาที่งวดเข้ามาทุกที เลยได้เห็นแกนนำเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ รวมถึงทีมยุทธศาสตร์วางแผนหาเสียง ต้องงัดทุกกลยุทธ์มาใช้ ไม่มีเม้มหรือกั๊กกันอีกแล้ว เพราะรู้ดีว่า ขืนมัวแต่ท่ามากจะไม่ทันการณ์
เนื่องจากช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายนี้ จะเป็นช่วงที่คนกรุงเทพมหานคร ที่ก่อนหน้านี้อยู่ในระหว่างการรอตัดสินใจว่าจะเลือกใคร จะเริ่มหาข้อมูลผู้สมัครแต่ละคนแล้วว่ามีวิสัยทัศน์ และนโยบายการทำงานอย่างไร ก็มีทั้งการหาข้อมูลจากสื่อมวลชน หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนๆในที่ทำงาน ว่าควรเลือกคนไหน ไม่ควรเลือกคนไหน เพราะอะไร จากนั้นก็จะนำข้อมูลต่างๆ มาเปรียบเทียบความโดดเด่นของนโยบายที่แต่ละคนเสนอแล้วว่าของผู้สมัครพรรคไหน หรือผู้สมัครคนไหนมีความเป็นไปได้ในการทำงานมากกว่ากัน
และจุดสำคัญก็จะมีการตรวจสอบย้ำด้วยตัวเองอีกครั้งในรูปแบบต่างๆ อาทิ การไปฟังการปราศรัยใหญ่-ปราศรัยย่อย ของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครแต่ละคนด้วยตัวเอง เพื่อฟังนโยบายการหาเสียงและสิ่งที่ผู้สมัครแต่ละคนปราศรัย ด้วยเหตุนี้ การปราศรัยของผู้สมัครแต่ละคนในช่วงหลัง จะเห็นได้ว่ามีคนกรุงเทพฯ ที่ไม่ใช่พวกจัดตั้งไปร่วมฟังการปราศรัยมากขึ้นกว่าช่วงแรกอย่างเห็นได้ชัด
ช่วงเข้าโค้งสุดท้ายนี้ จึงเป็นห้วงที่ตัวเลขคนกรุงเทพฯ ซึ่งไม่ใช่พวกแฟนคลับของพรรคหรือผู้สมัครคนไหน ก่อนหน้านี้ คนเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกใคร มีสัดส่วนสูงถึงระดับเกือบ 40 เปอร์เซนต์ จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ เพราะจะเริ่มมีตัวเลือกในใจแล้ว แต่จะเด็ดขาดไปเลยว่า จะเลือกใคร ส่วนใหญ่จะอยู่ใน 3-4 วันสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้ง
เรื่องพวกนี้ คนที่ลงเลือกตั้งโดยเฉพาะสองพรรคมากประสบการณ์ ประชาธิปัตย์และเพื่อไทย ก็รู้ดี ด้วยเหตุนี้ สองพรรคใหญ่ จึงให้ความสำคัญอย่างมากกับแผนการหาเสียงช่วงนี้ ชนิดพลาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะโอกาสจะพลิกผันยังมีอยู่ แม้ผลโพลพล.ต.อ.พงศพัศ จะนำก็ตาม
อย่างแผนหลักๆ ของประชาธิปัตย์ เวลานี้มุ่งไปที่การพยายามทำให้กลุ่มคนกรุงเทพมหานคร ที่เคยเลือก อภิรักษ์ โกษะโยธิน และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สามครั้งก่อนหน้านี้ ที่อยู่ในระดับ 9 แสนคะแนนบวก ต้องออกมาใช้สิทธิ์ และเลือกประชาธิปัตย์อีกครั้ง แค่ประชาธิปัตย์ทำได้ตามเป้าแค่นี้ โอกาสก็ลอยลำแล้ว หากยังตรึงฐานไว้ที่ 9 แสนบวกขึ้นไปให้ได้
ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามไปแย่งคะแนนจากคนกรุงเทพฯ ที่เคยเลือกผู้สมัครอิสระฯ จากการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อสี่ปีที่แล้ว ที่ผู้สมัครอิสระอย่าง มล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล กับ แก้วสรร อติโพธิ รวมกันได้เกือบ 5 แสนคะแนน ตรงนี้สำคัญมาก สำหรับประชาธิปัตย์ คือพยายามทำให้คนกรุงเทพฯ ที่เคยเลือกผู้สมัครอิสระหรือคิดจะเลือกผู้สมัครอิสระ ครั้งนี้ต้องเลือกผู้สมัครอิสระให้น้อยที่สุด แล้วหันมาเลือก สุขุมพันธุ์ หรือหากไม่เลือก สุขุมพันธุ์ก็ได้ แต่ก็ต้องไม่ไปเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ
หากประชาธิปัตย์ทำได้ตามเป้า คือล็อกฐานเสียงเดิมเอาไว้ได้ หรือหากจะหายไปบ้างจาก 9 แสนคะแนน ก็ต้องไม่มาก คือหายได้แค่ระดับหมื่น แต่หากหายไปเป็นแสน รับรองลำบากแน่นอน แล้วไปแซะเพิ่มเอาจากคนที่คิดจะเลือกผู้สมัครอิสระให้เปลี่ยนใจมาเลือกสุขุมพันธุ์
โอกาสจะกุมชัยชนะได้อีกครั้ง ก็ยังพอมีหวัง แม้โพลหลายสำนักจะบอกตรงกันว่า คะแนนนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ ทิ้งห่างสุขุมพันธุ์ ออกไปเรื่อยๆ แต่เมื่อความน่าเชื่อถือของโพลบ้านเรายังมีน้อย ความคลาดเคลื่อนยังมีสูง ประชาธิปัตย์ และสุขุมพันธุ์ จึงเชื่อว่ามีโอกาสจะชนะได้ เพียงแต่คะแนนชนะจะออกมาสูสีชนิดลุ้นเหงื่อตกในคืนวันที่ 3 มีนาคม
เมื่อตรวจตราประเด็นหลักในการหาเสียงช่วงนี้ของสองตัวเต็ง สุขุมพันธุ์-พล.ต.อ.พงศพัศ เริ่มพบว่าทั้งสองคนตีกรอบการหาเสียงให้แคบลงแล้ว เห็นได้ชัดว่า ในส่วนของนโยบายการหาเสียงมุ่งเน้นไปที่สองเรื่องหลักคือ
** 1.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพฯ และ 2. การจราจร
อย่างสุขุมพันธุ์ ก็พยายามชูว่า จะมีการเพิ่มการติดตั้งกล้องซีซีทีวีให้มากขึ้นโดยเฉพาะในจุดเสี่ยง และจะเชื่อมโยงกล้องซีซีทีวีของกรุงเทพมหานคร กับของเอกชนและประชาชนให้ครอบคลุมทุกจุดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 แสนตัว รวมถึงการสร้างระบบขนส่งมวลชนแบบรางให้มากขึ้น เพื่อรองรับการเดินทางของคนกรุงเทพฯ
ส่วนพล.ต.อ.พงศพัศ บอกจะสร้างศูนย์เฝ้าระวังอาชญากรรม เน้นการติดตั้งไฟให้ส่องสว่างทั่วกรุงเทพฯโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง และจัดให้มีแนวร่วมอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมในกทม.ประมาณ 1 แสนคน เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยคนกทม.
** ยิ่งสองพรรคใหญ่ขนแกนนำพรรคขึ้นเวทีหาเสียงประชันกันอย่างเข้มข้น ก็ยิ่งทำให้การแข่งขันยิ่งเร้าใจมากขึ้น
อย่างเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือศุกร์ที่ 15 ก.พ. ทั้งสองพรรคก็ตั้งเวทีประชันกันในพื้นที่ ซึ่งเป็นฐานเสียงหลักของตัวเอง คือประชาธิปัตย์ ตั้งเวทีปราศรัยที่วงเวียนใหญ่ ใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นโซนที่ประชาธิปัตย์ ยึดกุมได้อย่างเบ็ดเสร็จในการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อปี 54 ส่วนเพื่อไทยก็ไปเปิดเวทีตรึงพื้นที่ฐานเสียงหลักของตัวเองในพื้นที่กรุงเทพฯ โซนตะวันออก อย่างการเคหะคลองจั่นที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปช่วยขึ้นเวทีด้วย
นี่คือแผนของสองพรรคใหญ่ในช่วงโค้งสุดท้าย ที่ต่างก็ต้องพยายามตรึงพื้นที่ของตัวเองไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด ไม่ให้ใครเจาะเข้ามาได้
และพบว่าฟากประชาธิปัตย์ เริ่มแล้วกับการหาเสียงแบบ “ ขอให้คนกรุงเทพฯต้องเลือก” ทำนอง “ไม่เลือกเราเขามาแน่” แต่จะเห็นชัดมากขึ้นก็ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายนี้
ดูได้จากที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่วงเวียนใหญ่ เมื่อ 15 ก.พ.บอก ให้คนกรุงเทพฯ เลือกเอา จะให้กทม.เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองหลวง
**เมืองขึ้นในความหมายดังกล่าวก็คือ เมืองขึ้นทักษิณ ชินวัตร และเสื้อแดง ที่กำลังจะยกทัพยึดเมืองหลวงได้เป็นครั้งแรกแล้วนั่นเอง หมัดวิชามารนี้ของปชป. จะได้ผล หรือคนกรุงไม่แคร์...ก็น่าติดตามลุ้นอย่างยิ่ง
นับจากนี้ การหาเสียงจะเข้มข้นจากก่อนหน้านี้แน่นอน โดยเฉพาะจากสองพรรคใหญ่-สองผู้สมัครตัวเต็ง คือพรรคเพื่อไทย-พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เจ้าของเก้าอี้จากพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนผู้สมัครอิสระคนอื่นๆ ถึงนาทีนี้ แม้ยังหวังลุ้น แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ยากแล้วจะกวดได้ทัน แต่หากยังไม่หมดกำลังใจ ก็ขอให้สู้ต่อไป
ด้วยระยะเวลาที่งวดเข้ามาทุกที เลยได้เห็นแกนนำเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ รวมถึงทีมยุทธศาสตร์วางแผนหาเสียง ต้องงัดทุกกลยุทธ์มาใช้ ไม่มีเม้มหรือกั๊กกันอีกแล้ว เพราะรู้ดีว่า ขืนมัวแต่ท่ามากจะไม่ทันการณ์
เนื่องจากช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายนี้ จะเป็นช่วงที่คนกรุงเทพมหานคร ที่ก่อนหน้านี้อยู่ในระหว่างการรอตัดสินใจว่าจะเลือกใคร จะเริ่มหาข้อมูลผู้สมัครแต่ละคนแล้วว่ามีวิสัยทัศน์ และนโยบายการทำงานอย่างไร ก็มีทั้งการหาข้อมูลจากสื่อมวลชน หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนๆในที่ทำงาน ว่าควรเลือกคนไหน ไม่ควรเลือกคนไหน เพราะอะไร จากนั้นก็จะนำข้อมูลต่างๆ มาเปรียบเทียบความโดดเด่นของนโยบายที่แต่ละคนเสนอแล้วว่าของผู้สมัครพรรคไหน หรือผู้สมัครคนไหนมีความเป็นไปได้ในการทำงานมากกว่ากัน
และจุดสำคัญก็จะมีการตรวจสอบย้ำด้วยตัวเองอีกครั้งในรูปแบบต่างๆ อาทิ การไปฟังการปราศรัยใหญ่-ปราศรัยย่อย ของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครแต่ละคนด้วยตัวเอง เพื่อฟังนโยบายการหาเสียงและสิ่งที่ผู้สมัครแต่ละคนปราศรัย ด้วยเหตุนี้ การปราศรัยของผู้สมัครแต่ละคนในช่วงหลัง จะเห็นได้ว่ามีคนกรุงเทพฯ ที่ไม่ใช่พวกจัดตั้งไปร่วมฟังการปราศรัยมากขึ้นกว่าช่วงแรกอย่างเห็นได้ชัด
ช่วงเข้าโค้งสุดท้ายนี้ จึงเป็นห้วงที่ตัวเลขคนกรุงเทพฯ ซึ่งไม่ใช่พวกแฟนคลับของพรรคหรือผู้สมัครคนไหน ก่อนหน้านี้ คนเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกใคร มีสัดส่วนสูงถึงระดับเกือบ 40 เปอร์เซนต์ จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ เพราะจะเริ่มมีตัวเลือกในใจแล้ว แต่จะเด็ดขาดไปเลยว่า จะเลือกใคร ส่วนใหญ่จะอยู่ใน 3-4 วันสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้ง
เรื่องพวกนี้ คนที่ลงเลือกตั้งโดยเฉพาะสองพรรคมากประสบการณ์ ประชาธิปัตย์และเพื่อไทย ก็รู้ดี ด้วยเหตุนี้ สองพรรคใหญ่ จึงให้ความสำคัญอย่างมากกับแผนการหาเสียงช่วงนี้ ชนิดพลาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะโอกาสจะพลิกผันยังมีอยู่ แม้ผลโพลพล.ต.อ.พงศพัศ จะนำก็ตาม
อย่างแผนหลักๆ ของประชาธิปัตย์ เวลานี้มุ่งไปที่การพยายามทำให้กลุ่มคนกรุงเทพมหานคร ที่เคยเลือก อภิรักษ์ โกษะโยธิน และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.สามครั้งก่อนหน้านี้ ที่อยู่ในระดับ 9 แสนคะแนนบวก ต้องออกมาใช้สิทธิ์ และเลือกประชาธิปัตย์อีกครั้ง แค่ประชาธิปัตย์ทำได้ตามเป้าแค่นี้ โอกาสก็ลอยลำแล้ว หากยังตรึงฐานไว้ที่ 9 แสนบวกขึ้นไปให้ได้
ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามไปแย่งคะแนนจากคนกรุงเทพฯ ที่เคยเลือกผู้สมัครอิสระฯ จากการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อสี่ปีที่แล้ว ที่ผู้สมัครอิสระอย่าง มล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล กับ แก้วสรร อติโพธิ รวมกันได้เกือบ 5 แสนคะแนน ตรงนี้สำคัญมาก สำหรับประชาธิปัตย์ คือพยายามทำให้คนกรุงเทพฯ ที่เคยเลือกผู้สมัครอิสระหรือคิดจะเลือกผู้สมัครอิสระ ครั้งนี้ต้องเลือกผู้สมัครอิสระให้น้อยที่สุด แล้วหันมาเลือก สุขุมพันธุ์ หรือหากไม่เลือก สุขุมพันธุ์ก็ได้ แต่ก็ต้องไม่ไปเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ
หากประชาธิปัตย์ทำได้ตามเป้า คือล็อกฐานเสียงเดิมเอาไว้ได้ หรือหากจะหายไปบ้างจาก 9 แสนคะแนน ก็ต้องไม่มาก คือหายได้แค่ระดับหมื่น แต่หากหายไปเป็นแสน รับรองลำบากแน่นอน แล้วไปแซะเพิ่มเอาจากคนที่คิดจะเลือกผู้สมัครอิสระให้เปลี่ยนใจมาเลือกสุขุมพันธุ์
โอกาสจะกุมชัยชนะได้อีกครั้ง ก็ยังพอมีหวัง แม้โพลหลายสำนักจะบอกตรงกันว่า คะแนนนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ ทิ้งห่างสุขุมพันธุ์ ออกไปเรื่อยๆ แต่เมื่อความน่าเชื่อถือของโพลบ้านเรายังมีน้อย ความคลาดเคลื่อนยังมีสูง ประชาธิปัตย์ และสุขุมพันธุ์ จึงเชื่อว่ามีโอกาสจะชนะได้ เพียงแต่คะแนนชนะจะออกมาสูสีชนิดลุ้นเหงื่อตกในคืนวันที่ 3 มีนาคม
เมื่อตรวจตราประเด็นหลักในการหาเสียงช่วงนี้ของสองตัวเต็ง สุขุมพันธุ์-พล.ต.อ.พงศพัศ เริ่มพบว่าทั้งสองคนตีกรอบการหาเสียงให้แคบลงแล้ว เห็นได้ชัดว่า ในส่วนของนโยบายการหาเสียงมุ่งเน้นไปที่สองเรื่องหลักคือ
** 1.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพฯ และ 2. การจราจร
อย่างสุขุมพันธุ์ ก็พยายามชูว่า จะมีการเพิ่มการติดตั้งกล้องซีซีทีวีให้มากขึ้นโดยเฉพาะในจุดเสี่ยง และจะเชื่อมโยงกล้องซีซีทีวีของกรุงเทพมหานคร กับของเอกชนและประชาชนให้ครอบคลุมทุกจุดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 แสนตัว รวมถึงการสร้างระบบขนส่งมวลชนแบบรางให้มากขึ้น เพื่อรองรับการเดินทางของคนกรุงเทพฯ
ส่วนพล.ต.อ.พงศพัศ บอกจะสร้างศูนย์เฝ้าระวังอาชญากรรม เน้นการติดตั้งไฟให้ส่องสว่างทั่วกรุงเทพฯโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง และจัดให้มีแนวร่วมอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมในกทม.ประมาณ 1 แสนคน เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยคนกทม.
** ยิ่งสองพรรคใหญ่ขนแกนนำพรรคขึ้นเวทีหาเสียงประชันกันอย่างเข้มข้น ก็ยิ่งทำให้การแข่งขันยิ่งเร้าใจมากขึ้น
อย่างเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือศุกร์ที่ 15 ก.พ. ทั้งสองพรรคก็ตั้งเวทีประชันกันในพื้นที่ ซึ่งเป็นฐานเสียงหลักของตัวเอง คือประชาธิปัตย์ ตั้งเวทีปราศรัยที่วงเวียนใหญ่ ใจกลางพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นโซนที่ประชาธิปัตย์ ยึดกุมได้อย่างเบ็ดเสร็จในการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อปี 54 ส่วนเพื่อไทยก็ไปเปิดเวทีตรึงพื้นที่ฐานเสียงหลักของตัวเองในพื้นที่กรุงเทพฯ โซนตะวันออก อย่างการเคหะคลองจั่นที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปช่วยขึ้นเวทีด้วย
นี่คือแผนของสองพรรคใหญ่ในช่วงโค้งสุดท้าย ที่ต่างก็ต้องพยายามตรึงพื้นที่ของตัวเองไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด ไม่ให้ใครเจาะเข้ามาได้
และพบว่าฟากประชาธิปัตย์ เริ่มแล้วกับการหาเสียงแบบ “ ขอให้คนกรุงเทพฯต้องเลือก” ทำนอง “ไม่เลือกเราเขามาแน่” แต่จะเห็นชัดมากขึ้นก็ในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายนี้
ดูได้จากที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่วงเวียนใหญ่ เมื่อ 15 ก.พ.บอก ให้คนกรุงเทพฯ เลือกเอา จะให้กทม.เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองหลวง
**เมืองขึ้นในความหมายดังกล่าวก็คือ เมืองขึ้นทักษิณ ชินวัตร และเสื้อแดง ที่กำลังจะยกทัพยึดเมืองหลวงได้เป็นครั้งแรกแล้วนั่นเอง หมัดวิชามารนี้ของปชป. จะได้ผล หรือคนกรุงไม่แคร์...ก็น่าติดตามลุ้นอย่างยิ่ง