ทีแรกก็หลงดีใจว่ารัฐสภาใจกว้างที่จะเปิดเวทีสาธารณะให้หารือกันในประเด็นปราสาทพระวิหาร เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่รัฐบาลในการพิจารณาตัดสินใจ แต่แล้วก็แค่วูบเดียว เพราะในที่สุดก็ยังหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะเดิมทีรัฐสภาดำริให้มีการจัดสัมมนากรณีปราสาทพระวิหารขึ้น 2 วัน ในวันศุกร์ที่ 22 และเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้ห้องประชุมใหญ่รัฐสภาที่อาคาร 1 ที่ปกติใช้ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยประธานรัฐสภาแต่งตั้งให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เจริญ จรรย์โกมล เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการ มีการประชุมพูดคุยกันหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปตัวผู้ปาฐกถาและผู้อภิปรายเรียบร้อย และมีการเชิญผู้ได้รับการทาบทามมาร่วมหารือแล้ว โดยมีท่านศ.สมปอง สุจริตกุลปาฐกถานำช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์หัวข้อ "ประเด็นข้อกฎหมายและประเด็นพื้นที่พิพาท" ผมได้ร่วมอยู่ในวงอภิปรายภาคบ่ายวันเดียวกันในหัวข้อ "ทางเลือกที่เป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนไทยในกรณีที่ศาลโลกตีความคำพิพากษาเรื่องปราสาทพระวิหาร" ส่วนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ภาคเช้ามีการปาฐกถาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และวงอภิปรายโดยข้าราชการประจำ 1 วง ภาคบ่ายมีการแยกกลุ่มสัมมนาย่อยเป็น 4 กลุ่ม
ตลอดงานทั้ง 2 วันจะถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุรัฐสภา และโทรทัศน์ช่อง 11
งานนี้ออกหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียบร้อย รอแต่ประชาสัมพันธ์ให้เอิกเกริกเท่านั้น
แต่แล้วก็วืด !
ผมได้รับแจ้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่างานเลื่อนออกไปก่อนโดยไม่มีกำหนด ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับท่านเจริญ จรรย์โกมลก็เป็นไปตามนั้น เหตุผลเท่าที่ทราบ ก็เป็นผลมาจากการหารือเมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ว่าเกรงว่าการสัมมนาจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกระทบต่อผลการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2
ทราบว่าเรื่องนี้เดิมทีมาจากข้อเสนอของนพ.เหวง โตจิราการ แต่ล่าสุดก็เป็นนพ.เหวง โตจิราการเองนั้นแหละที่มาหารือว่าอาจจะมีผลกระทบดังกล่าว ก็เลยกลายเป็นว่าเมื่อผู้เสนอเห็นความไม่เหมาะสม ก็ยังไม่ต้องจัด
ผมได้ให้ความเห็นไปกับท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่าไม่เห็นด้วยที่เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด เพราะจะเป็นการเสียโอกาสที่รัฐสภาไทยจะได้ช่วยรัฐบาลทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นหลากหลายมุมมอง ไม่น่าห่วงเรื่องความเป็นกลาง เพราะไม่ได้มีแค่แนวความคิดหนึ่งความคิดใดมานำเสนอ ในการปาฐกถาพิเศษนอกจากท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลแล้วก็ยังมีอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ที่เชื่อว่าเห็นอีกมุมหนึ่ง แล้วยังมีการปาฐกถาในอีกวันหนึ่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวงอภิปรายของผมก็ยังมีคุณนภดล ปัทมะ คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ และท่านทูตเตช บุนนาค แถมดำเนินการอภิปรายโดยจอม เพชรประดับ หรือในวงอภิปรายวันรุ่งขึ้นก็มีข้าราชการประจำหลายหน่วยงานความมั่นคง ไม่น่าจะต้องห่วงว่าแนวความคิดหนึ่งความคิดใดจะครอบงำได้
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการเชิญผู้ร่วมปาฐกถาและอภิปรายบางท่านมาสนทนากันแล้วด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี โดยทุกท่านก็รับว่าปัญหานี้มีความละเอียดอ่อน ทั้งในด้านคดีความที่คาศาลอยู่ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทุกท่านเป็นผู้ใหญ่ มีวัตรปฏิบัติที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ว่าจะไม่ใช้เวทีสาธารณะของรัฐสภาเสนอแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งโดยขาดวิจารณญาณ
ในวงสนทนาก็มีข้าราชการประจำจากกระทรวงการต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมรับฟังและเสนอความเห็นอยู่ด้วยโดยตลอด และได้ปรับบุคลากรจนเป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย
ผมเรียนกับท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่าไอ้ที่จะกระทบต่อผลแห่งคดี และผลการเจรจาเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในอนาคตนะ ไม่ใช่เวทีสาธารณะของรัฐสภาที่ท่านกรุณาเป็นประธานอำนวยการให้ได้รูปแบบออกมาดูดีพอสมควรแล้วหรอก
หากแต่เป็นเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็นถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ต่างหาก !
ดำริและการเดินหน้าของรัฐสภามีขึ้นก่อนการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวของกระทรวงการต่างประเทศ ผมได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2556 เอกสารเจ้าปัญหาเผยแพร่ปลายเดือนมกราคม 2556
โดยส่วนตัวผม เชื่อเอาเองว่าการเลื่อนการสัมมนาของรัฐสภาอย่างไม่มีกำหนดนี้ สาเหตุหลักมีอยู่หนึ่งเดียว
เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อเอกสาร "50 ปี 50 ประเด็นถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร" ที่กลายเป็นท่าทีใหม่และจุดยืนใหม่ของประเทศไทยไปแล้ว
เป็นจุดยืนที่เสมือนสละเส้นเขตแดนเดิม !
ก็ได้เรียนท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่ารัฐสภาไทยเสียโอกาสไปแล้วอย่างสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นอิสระจากรัฐบาลและฝ่ายบริหาร
ไม่เป็นไรครับ นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งข้อยืนยันถึงเนื้อแท้ของระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่
ตราบใดที่เสียงข้างมากในรัฐสภายังเป็นพวกเดียวกลุ่มเดียวกับรัฐบาล โดยมีระบบพรรคการเมืองกำกับอยู่ ตราบนั้นเรื่องแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นหรอก
เอาละ แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของรัฐสภา ในวันเดียวกันที่รู้ข่าวการเลื่อนไม่มีกำหนดของรัฐสภา คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีคุณรสนา โตสิตระกูลเป็นประธาน ผมเป็นรองประธานคนที่ 1 และพวกเราหลายคนในกลุ่ม 40 ส.ว.ร่วมเป็นกรรมาธิการอยู่ ก็ได้ตัดสินใจที่จะจัดสัมมนาขึ้นมาแทนที่ทันที โดยก่อนหน้านั้นแม้พวกเรามีความประสงค์จะจัดสัมมนาเช่นกัน แต่เมื่อเห็นรัฐสภาจะจัดใหญ่ 2 วันซ้อนก็เลยชลอไว้ก่อน
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 – 14.00 น. ห้องรับรอง 1 – 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2
เรื่องปราสาทพระวิหารนี่แหละ ชื่อหัวข้อที่เหมาะสมจะว่ากันอีกที
ห้องอาจจะคับแคบไม่โอ่โถงเหมือนห้องประชุมใหญ่รัฐสภา แต่เชื่อว่าอบอุ่นแน่นอน
จะติดต่อให้ช่อง 11 ทีวีรัฐสภา และวิทยุรัฐสภา ถ่ายทอดสด แต่จะได้รับการตอบสนองแค่ไหนก็ยังไม่ทราบ แต่ไม่เป็นไร เพราะเชื่อว่างานนี้ FMTV และ ASTV น่าจะกรุณาเหมือนเคย
วิทยากรที่จะร่วมเวทีแน่นอนว่าต้องเป็นศ.สมปอง สุจริตกุลคนหนึ่งละ ที่เหลือก็จะมีคุณไพบูลย์ นิติตะวัน และที่จะพิเศษกว่าเวทีอื่นหน่อยคือจะพยายามติดต่อพล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ อดีตผบ.กองกำลังบูรพา ผู้นำกำลังเข้าไปช่วยเหลือคนไทยบนแผ่นดินไทยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนถูกกัมพูชากล่าวหาไปทั่วโลกว่าไทยรุกรานกัมพูชา ณ นาทีนั้น มีการทำแผ่นป้ายศิลาจารึกไว้ด้วยนะครับหากเรายังไม่ลืมกัน
คุณรสนา โตสิตระกูลในฐานประธานกรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่กล่าวนำเบื้องต้นตามธรรมเนียม และจะเป็นการกล่าวนำที่บ่งบอกจุดยืนของคณะกรรมาธิการ และของคนไทย
โดยจะมีคลิปวิดีโอบอกเล่าเรื่องราวโดยสรุปในนามคณะกรรมาธิการด้วย ขณะนี้นักวิชาการของคณะกำลังเร่งจัดทำอยู่
ผมขอทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย แต่จะซักถาม และร่วมอภิปรายเสริมและสรุปด้วย
เวทีข้างล่างก็จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่สนใจติดตามเรื่องนี้มายาวนานเข้าร่วมด้วย และจะเสนอความคิดเห็นในช่วงหลังจากที่บนเวทีอภิปรายจบการแสดงความเห็นรอบแรกแล้ว
อย่าลืมนะ
พุธหน้า 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 น. พบกันที่อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 3 ห้องรับรอง 1-2 จับเข่าคุยกันประสาคนไทยที่ยังไม่ลืมชาติและบรรพบุรุษ
เพราะเดิมทีรัฐสภาดำริให้มีการจัดสัมมนากรณีปราสาทพระวิหารขึ้น 2 วัน ในวันศุกร์ที่ 22 และเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้ห้องประชุมใหญ่รัฐสภาที่อาคาร 1 ที่ปกติใช้ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยประธานรัฐสภาแต่งตั้งให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เจริญ จรรย์โกมล เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการ มีการประชุมพูดคุยกันหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปตัวผู้ปาฐกถาและผู้อภิปรายเรียบร้อย และมีการเชิญผู้ได้รับการทาบทามมาร่วมหารือแล้ว โดยมีท่านศ.สมปอง สุจริตกุลปาฐกถานำช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์หัวข้อ "ประเด็นข้อกฎหมายและประเด็นพื้นที่พิพาท" ผมได้ร่วมอยู่ในวงอภิปรายภาคบ่ายวันเดียวกันในหัวข้อ "ทางเลือกที่เป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนไทยในกรณีที่ศาลโลกตีความคำพิพากษาเรื่องปราสาทพระวิหาร" ส่วนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ภาคเช้ามีการปาฐกถาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และวงอภิปรายโดยข้าราชการประจำ 1 วง ภาคบ่ายมีการแยกกลุ่มสัมมนาย่อยเป็น 4 กลุ่ม
ตลอดงานทั้ง 2 วันจะถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุรัฐสภา และโทรทัศน์ช่อง 11
งานนี้ออกหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียบร้อย รอแต่ประชาสัมพันธ์ให้เอิกเกริกเท่านั้น
แต่แล้วก็วืด !
ผมได้รับแจ้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่างานเลื่อนออกไปก่อนโดยไม่มีกำหนด ได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับท่านเจริญ จรรย์โกมลก็เป็นไปตามนั้น เหตุผลเท่าที่ทราบ ก็เป็นผลมาจากการหารือเมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ว่าเกรงว่าการสัมมนาจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกระทบต่อผลการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารภาค 2
ทราบว่าเรื่องนี้เดิมทีมาจากข้อเสนอของนพ.เหวง โตจิราการ แต่ล่าสุดก็เป็นนพ.เหวง โตจิราการเองนั้นแหละที่มาหารือว่าอาจจะมีผลกระทบดังกล่าว ก็เลยกลายเป็นว่าเมื่อผู้เสนอเห็นความไม่เหมาะสม ก็ยังไม่ต้องจัด
ผมได้ให้ความเห็นไปกับท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่าไม่เห็นด้วยที่เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด เพราะจะเป็นการเสียโอกาสที่รัฐสภาไทยจะได้ช่วยรัฐบาลทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นหลากหลายมุมมอง ไม่น่าห่วงเรื่องความเป็นกลาง เพราะไม่ได้มีแค่แนวความคิดหนึ่งความคิดใดมานำเสนอ ในการปาฐกถาพิเศษนอกจากท่านอาจารย์สมปอง สุจริตกุลแล้วก็ยังมีอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ที่เชื่อว่าเห็นอีกมุมหนึ่ง แล้วยังมีการปาฐกถาในอีกวันหนึ่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวงอภิปรายของผมก็ยังมีคุณนภดล ปัทมะ คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ และท่านทูตเตช บุนนาค แถมดำเนินการอภิปรายโดยจอม เพชรประดับ หรือในวงอภิปรายวันรุ่งขึ้นก็มีข้าราชการประจำหลายหน่วยงานความมั่นคง ไม่น่าจะต้องห่วงว่าแนวความคิดหนึ่งความคิดใดจะครอบงำได้
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการเชิญผู้ร่วมปาฐกถาและอภิปรายบางท่านมาสนทนากันแล้วด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี โดยทุกท่านก็รับว่าปัญหานี้มีความละเอียดอ่อน ทั้งในด้านคดีความที่คาศาลอยู่ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทุกท่านเป็นผู้ใหญ่ มีวัตรปฏิบัติที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ว่าจะไม่ใช้เวทีสาธารณะของรัฐสภาเสนอแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งโดยขาดวิจารณญาณ
ในวงสนทนาก็มีข้าราชการประจำจากกระทรวงการต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมรับฟังและเสนอความเห็นอยู่ด้วยโดยตลอด และได้ปรับบุคลากรจนเป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย
ผมเรียนกับท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่าไอ้ที่จะกระทบต่อผลแห่งคดี และผลการเจรจาเรื่องเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในอนาคตนะ ไม่ใช่เวทีสาธารณะของรัฐสภาที่ท่านกรุณาเป็นประธานอำนวยการให้ได้รูปแบบออกมาดูดีพอสมควรแล้วหรอก
หากแต่เป็นเอกสาร “50 ปี 50 ประเด็นถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร” ต่างหาก !
ดำริและการเดินหน้าของรัฐสภามีขึ้นก่อนการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวของกระทรวงการต่างประเทศ ผมได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2556 เอกสารเจ้าปัญหาเผยแพร่ปลายเดือนมกราคม 2556
โดยส่วนตัวผม เชื่อเอาเองว่าการเลื่อนการสัมมนาของรัฐสภาอย่างไม่มีกำหนดนี้ สาเหตุหลักมีอยู่หนึ่งเดียว
เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อเอกสาร "50 ปี 50 ประเด็นถาม-ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร" ที่กลายเป็นท่าทีใหม่และจุดยืนใหม่ของประเทศไทยไปแล้ว
เป็นจุดยืนที่เสมือนสละเส้นเขตแดนเดิม !
ก็ได้เรียนท่านเจริญ จรรย์โกมลไปว่ารัฐสภาไทยเสียโอกาสไปแล้วอย่างสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นอิสระจากรัฐบาลและฝ่ายบริหาร
ไม่เป็นไรครับ นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งข้อยืนยันถึงเนื้อแท้ของระบอบการเมืองที่ดำรงอยู่
ตราบใดที่เสียงข้างมากในรัฐสภายังเป็นพวกเดียวกลุ่มเดียวกับรัฐบาล โดยมีระบบพรรคการเมืองกำกับอยู่ ตราบนั้นเรื่องแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นหรอก
เอาละ แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดของรัฐสภา ในวันเดียวกันที่รู้ข่าวการเลื่อนไม่มีกำหนดของรัฐสภา คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มีคุณรสนา โตสิตระกูลเป็นประธาน ผมเป็นรองประธานคนที่ 1 และพวกเราหลายคนในกลุ่ม 40 ส.ว.ร่วมเป็นกรรมาธิการอยู่ ก็ได้ตัดสินใจที่จะจัดสัมมนาขึ้นมาแทนที่ทันที โดยก่อนหน้านั้นแม้พวกเรามีความประสงค์จะจัดสัมมนาเช่นกัน แต่เมื่อเห็นรัฐสภาจะจัดใหญ่ 2 วันซ้อนก็เลยชลอไว้ก่อน
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 – 14.00 น. ห้องรับรอง 1 – 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2
เรื่องปราสาทพระวิหารนี่แหละ ชื่อหัวข้อที่เหมาะสมจะว่ากันอีกที
ห้องอาจจะคับแคบไม่โอ่โถงเหมือนห้องประชุมใหญ่รัฐสภา แต่เชื่อว่าอบอุ่นแน่นอน
จะติดต่อให้ช่อง 11 ทีวีรัฐสภา และวิทยุรัฐสภา ถ่ายทอดสด แต่จะได้รับการตอบสนองแค่ไหนก็ยังไม่ทราบ แต่ไม่เป็นไร เพราะเชื่อว่างานนี้ FMTV และ ASTV น่าจะกรุณาเหมือนเคย
วิทยากรที่จะร่วมเวทีแน่นอนว่าต้องเป็นศ.สมปอง สุจริตกุลคนหนึ่งละ ที่เหลือก็จะมีคุณไพบูลย์ นิติตะวัน และที่จะพิเศษกว่าเวทีอื่นหน่อยคือจะพยายามติดต่อพล.ท.กนก เนตระคะเวสนะ อดีตผบ.กองกำลังบูรพา ผู้นำกำลังเข้าไปช่วยเหลือคนไทยบนแผ่นดินไทยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จนถูกกัมพูชากล่าวหาไปทั่วโลกว่าไทยรุกรานกัมพูชา ณ นาทีนั้น มีการทำแผ่นป้ายศิลาจารึกไว้ด้วยนะครับหากเรายังไม่ลืมกัน
คุณรสนา โตสิตระกูลในฐานประธานกรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่กล่าวนำเบื้องต้นตามธรรมเนียม และจะเป็นการกล่าวนำที่บ่งบอกจุดยืนของคณะกรรมาธิการ และของคนไทย
โดยจะมีคลิปวิดีโอบอกเล่าเรื่องราวโดยสรุปในนามคณะกรรมาธิการด้วย ขณะนี้นักวิชาการของคณะกำลังเร่งจัดทำอยู่
ผมขอทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย แต่จะซักถาม และร่วมอภิปรายเสริมและสรุปด้วย
เวทีข้างล่างก็จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่สนใจติดตามเรื่องนี้มายาวนานเข้าร่วมด้วย และจะเสนอความคิดเห็นในช่วงหลังจากที่บนเวทีอภิปรายจบการแสดงความเห็นรอบแรกแล้ว
อย่าลืมนะ
พุธหน้า 27 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00 น. พบกันที่อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 3 ห้องรับรอง 1-2 จับเข่าคุยกันประสาคนไทยที่ยังไม่ลืมชาติและบรรพบุรุษ