ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”โวบริษัทตั้งใหม่เดือนม.ค.พุ่งทะลุ 8 พันราย เพิ่ม 60% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนบริษัทเจ๊งมีแค่ 1.2 พันราย เพิ่มขึ้นแค่ 9% “ณัฐวุฒิ”ฟุ้งที่เจ๊งส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากไม่ได้ประกอบการ ขาดทุน แต่ไม่ใช่สาเหตุจากค่าแรง 300 คุยธุรกิจตั้งใหม่เพิ่ม เหตุรัฐมีมาตรการช่วยเหลือเพียบ
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค.2556 มีธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8,184 ราย เพิ่มขึ้น 3,644 ราย หรือเพิ่มขึ้น 80% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการจดทะเบียนธุรกิจ และเพิ่มขึ้น 3,097 ราย หรือเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2555 ส่วนการจดทะเบียนเลิกกิจการ ในเดือนม.ค.2556 มีจำนวน 1,202 ราย ลดลง 2,636 ราย หรือลดลง 68% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 และเพิ่มขึ้น 108 ราย หรือเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2555
สาเหตุที่มีการจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่มีการปรับโครงสร้างภาษีโดยลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 30% เป็น 23% เมื่อปี 2555 และในปีนี้ลดลงเหลือ 20% ทำให้ธุรกิจพร้อมเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นผลดีในแง่ข้อมูลทางธุรกิจที่จะมีความชัดเจนมากขึ้นในการวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ และในจำนวนธุรกิจที่ตั้งใหม่นี้ สัดส่วน 94% หรือ 7,717ราย เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยคาดว่ายอดตั้งใหม่ทั้งปีจะทำลายสถิติจดทะเบียนสูงสุดได้อีก
สำหรับการเลิกกิจการที่มีถึง 1,202 ราย มีสาเหตุมาจากการไม่ได้ประกอบกิจการ 38% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการค้าสลากที่มีระเบียบผู้ค้าสลากต้องเป็นนิติบุคคล จึงมีการจดทะเบียนตั้งธุรกิจดังกล่าวสูง และสอดคล้องกับธุรกิจที่เลิกกิจการ เพราะเมื่อธุรกิจนั้นๆ ไม่ได้โควตาค้าสลาก จึงต้องเลิกกิจการไป นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดทุน 26% ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้า 26% ปัญหาอื่นๆ เช่น หุ้นส่วนขัดแย้ง เสียชีวิต เป็นต้น อีก 10%
“ที่มีข้อสังเกตว่าการเลิกกิจการน่าจะเป็นผลจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ เมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น พบว่าธุรกิจที่เลิกกิจการไม่ได้มีสาเหตุจากปัจจัยดังกล่าว แต่กลับมีธุรกิจตั้งใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น และทุกคนก็ไม่ได้กังวลเรื่องค่าแรง 300 เพราะได้รับผลดีจากนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ SMEs”นายณัฐวุฒิกล่าว
สำหรับทุนจดทะเบียนของธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนม.ค. มีมูลค่าสูงถึง 40,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142% หรือเพิ่มขึ้น 23,969 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 และเพิ่มขึ้น 133% หรือ 23,312 ล้านบาทเทียบกับเดือนม.ค.2555 ที่ผ่านมา โดยธุรกิจตั้งใหม่ส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจบริการนันทนาการ 1,154 ราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าสลาก 1,108 ราย สัดส่วน 96% และอื่นๆ 4% เช่น ธุรกิจจัดหานางแบบ คาราโอเกะ ธุรกิจบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์ 789 ราย ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 657 ราย โดยธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนตั้งใหม่สูงสุด ได้แก่ ผลิตไฟฟ้า 8,762 ราย อสังหาริมทรัพย์ 2,617 ราย ก่อสร้างอาคารทั่วไป 2,479 ราย
ปัจจุบัน มีห้างหุ้นส่วนบริษัทจำกัดดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 534,723 ราย มีทุนจดทะเบียนรวม 10.71 ล้านบาท แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 364,279 ราย บริษัทมหาชน จำกัด 986 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 169,458 ราย
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค.2556 มีธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8,184 ราย เพิ่มขึ้น 3,644 ราย หรือเพิ่มขึ้น 80% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการจดทะเบียนธุรกิจ และเพิ่มขึ้น 3,097 ราย หรือเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2555 ส่วนการจดทะเบียนเลิกกิจการ ในเดือนม.ค.2556 มีจำนวน 1,202 ราย ลดลง 2,636 ราย หรือลดลง 68% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 และเพิ่มขึ้น 108 ราย หรือเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2555
สาเหตุที่มีการจดทะเบียนตั้งนิติบุคคลเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลที่มีการปรับโครงสร้างภาษีโดยลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 30% เป็น 23% เมื่อปี 2555 และในปีนี้ลดลงเหลือ 20% ทำให้ธุรกิจพร้อมเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นผลดีในแง่ข้อมูลทางธุรกิจที่จะมีความชัดเจนมากขึ้นในการวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ และในจำนวนธุรกิจที่ตั้งใหม่นี้ สัดส่วน 94% หรือ 7,717ราย เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาท โดยคาดว่ายอดตั้งใหม่ทั้งปีจะทำลายสถิติจดทะเบียนสูงสุดได้อีก
สำหรับการเลิกกิจการที่มีถึง 1,202 ราย มีสาเหตุมาจากการไม่ได้ประกอบกิจการ 38% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจการค้าสลากที่มีระเบียบผู้ค้าสลากต้องเป็นนิติบุคคล จึงมีการจดทะเบียนตั้งธุรกิจดังกล่าวสูง และสอดคล้องกับธุรกิจที่เลิกกิจการ เพราะเมื่อธุรกิจนั้นๆ ไม่ได้โควตาค้าสลาก จึงต้องเลิกกิจการไป นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดทุน 26% ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้า 26% ปัญหาอื่นๆ เช่น หุ้นส่วนขัดแย้ง เสียชีวิต เป็นต้น อีก 10%
“ที่มีข้อสังเกตว่าการเลิกกิจการน่าจะเป็นผลจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ เมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น พบว่าธุรกิจที่เลิกกิจการไม่ได้มีสาเหตุจากปัจจัยดังกล่าว แต่กลับมีธุรกิจตั้งใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น และทุกคนก็ไม่ได้กังวลเรื่องค่าแรง 300 เพราะได้รับผลดีจากนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ SMEs”นายณัฐวุฒิกล่าว
สำหรับทุนจดทะเบียนของธุรกิจตั้งใหม่ในเดือนม.ค. มีมูลค่าสูงถึง 40,758 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142% หรือเพิ่มขึ้น 23,969 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2555 และเพิ่มขึ้น 133% หรือ 23,312 ล้านบาทเทียบกับเดือนม.ค.2555 ที่ผ่านมา โดยธุรกิจตั้งใหม่ส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจบริการนันทนาการ 1,154 ราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าสลาก 1,108 ราย สัดส่วน 96% และอื่นๆ 4% เช่น ธุรกิจจัดหานางแบบ คาราโอเกะ ธุรกิจบริการด้านวิทยุและโทรทัศน์ 789 ราย ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 657 ราย โดยธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนตั้งใหม่สูงสุด ได้แก่ ผลิตไฟฟ้า 8,762 ราย อสังหาริมทรัพย์ 2,617 ราย ก่อสร้างอาคารทั่วไป 2,479 ราย
ปัจจุบัน มีห้างหุ้นส่วนบริษัทจำกัดดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 534,723 ราย มีทุนจดทะเบียนรวม 10.71 ล้านบาท แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 364,279 ราย บริษัทมหาชน จำกัด 986 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 169,458 ราย