วานนี้ (4 ก.พ.56) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานวันสถาปนา นรด. ครบรอบ 65 ปี ว่า หลักสูตรการฝึกนักศึกษาวิชาทหารต้องปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์ และให้ทันต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ช่วยเหลือการปฏิบัติการทางทหารเป็นหลัก ดังนั้นต้องปลูกฝังให้เยาวชน โดยเฉพาะนักศึกษาวิชาทหารให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่วนราชการต่างๆ นอกจากนี้ อยากให้เรียนรู้ถึงภัยคุกคามที่มากมายทุกประเทศโลกทั้งปัญหายาเสพติด แรงงานต่างด้าว เพื่อทำให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งขึ้น ประเด็นสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้มีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการดูแลประเทศชาติให้มากขึ้น
ทั้งนี้ปัญหาของนักศึกษาวิชาทหาร คือสัดส่วนในการเกณฑ์ทหารในแต่ละปี เรามีความต้องการทหาร 8 หมื่น โดยมีคนเข้ามาเกณฑ์ในระบบมากกว่า 3 เท่า ดังนั้น ถ้ามีคนเรียนนักศึกษาวิชาทหารมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้สัดส่วนคนเข้ามาเกณฑ์มีจำนวนลดลง และอาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลว่า ให้เพิ่มอัตรานักศึกษาวิชาทหารในแต่ละปี ดังนั้นต้องมองต่อไปว่า จะทำอย่างไรต่อไป
"ผมอาจเสนอว่า ถ้าคนอยากเรียนนักศึกษาวิชาทหารจริงๆ ก็เรียนได้ แต่เมื่อถึงเวลาตรวจเลือกทหารจะต้องมาตรวจเลือกด้วย อยากจะดูว่า คนจะมาเรียน รด.มากเหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งนี้ หากมีนักศึกษาวิชาทหารเรียนให้มากขึ้นต้องเพิ่มครูและสถานที่ ซึ่งต้องชมเชย รด.หญิงที่สมัครเข้ามาเรียนทั้งที่ไม่ได้รับสิทธิอะไรทั้งสิ้น ผู้หญิงไทยเก่งเข้มแข็งดี” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกฎหมายที่ห้ามเยาวชนต่ำว่า 18 ปีถืออาวุธนั้น เราแก้ปัญหาโดยให้เรียนแค่อาวุธศึกษา ไม่ต้องฝึกยิงปืน ซึ่งเราจะไม่ขัดกฎหมายอื่น ส่วนเรื่องทรงผมนักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้นักเรียนไว้ผมยาวได้นั้น แต่ในส่วนของนักศึกษาวิชาทหาร ต้องมีกติกา ดังนั้น ผมขอเถอะเมื่อทุกคนแต่งเครื่องแบบทหารจึงควรจะไว้ผมสั้นเสียหน่อย มิเช่นนั้นจะแยกแยะไม่ออกระหว่างทหารกับพลเรือน ถ้าผมและหนวดยาวจะดูไม่เรียบร้อย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังมีการโยนหินถามทางข้อเสนอนี้มา ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย กลายแห่ง ทั้งสนับสนุนและคัคค้าน รวมถึงทำให้เกิดการตีความ และวิจารณ์กว้างขวาง ว่า จะเกณฑ์รด.ไปเป็นทหาร เพราะกำลังทหารไม่พอจริงหรือไม่
กลุ่มที่เห็นด้วย เชื่อว่า ที่ผบทบ.เสนอแนวคิด ก็เพื่อที่จะแก้เผ็ด พวกที่อยากเรียน รด.เพราะไม่อยากเป็นทหาร จะได้ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ที่ว่าจะให้ไปเกณฑ์ทหารด้วย เพราะตอนนี้ มีคนอยากเรียนรด.กันมาก ถึงขั้นต้อง วิ่งเต้น และฝาก ใช้เส้นเรียนกันเลยทีเดียว เพราะทั้งพ่อแม่ และเจ้าตัว ไม่อยากจะไปเกณฑ์ทหาร ด้วยนั่นเอง
หรือ เห็นมาเยอะพวกวิ่งเต้นไม่อยากเกณฑ์ทหาร ก็เลยเรียน รด. ถึงขั้นต้องเสียเงินเพื่อเข้าไปเรียน แย่งที่นั่งกัน เพราะบางที่รับจำนวนจำกัด พอไม่ได้เรียนก็มาร้องโวยวายว่าโดนโกงอย่างนั้นอย่างนี้
ขณะที่กลุ่มคัดค้าน เห็นว่า งบประมาณก็ไม่ค่อยมี เอาทหารเกณฑ์เข้าไป ก็ยิ่งเป็นภาระกับกองทัพ รับเฉพาะคนที่สมัครใจเถอะท่าน หรือถ้าทำแบบท่านว่าได้จริงๆ อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีคนมาเรียนสักเท่าไหร่กัน จะแย่งกันเรียนอีกหรือเปล่า เป็นต้น
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวว่า ทุกคนที่เรียนจบหลักสูตรควรเข้ามารับการฝึกประมาณ 3-6 เดือน เพื่อเพิ่มพูนจิตวิญญาณการรักชาติ ซึ่งเป็นเพียงการขยายแนวความคิดเท่านั้น คงต้องไปศึกษากันในรายละเอียดว่า จะทำกันอย่างไรต่อไป ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มยอดของนศ.วิชาทหาร เพราะขณะนี้ผู้ที่เข้ารับการฝึก คือ ผู้ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ จึงเกิดคำถามว่า หากมีการตรวจเลือกทหาร ผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ ก็จะต้องเข้ามาเป็นทหาร และ คนส่วนใหญ่ที่จะถูกเกณฑ์เข้ามาจะเป็นคนที่ไม่รู้หนังสือหรือเป็นพวกที่มีการศึกษาน้อย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคมชัดเจน
“ทาง นรด. จึงต้องจำกัดยอด นศ.วิชาทหารไว้ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำจนเกินไป โดยขณะนี้อัตราส่วนของชายไทยที่เข้ารับการตรวจเลือกแล้วต้องเป็นทหารเกณฑ์ลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้มีอัตราส่วนอยู่ที่ 2.3 คน ต่อการเป็นทหารเกณฑ์ 1 คน ดังนั้นหากเราเพิ่มยอด นศ.วิชาทหารมากเท่าไรจะทำให้อัตราส่วนลดลงไปอีก ตรงนี้เป็นสัดส่วนสำคัญที่ทางกองทัพมีการพูดคุยกันมาก ที่สำคัญจะทำให้เกิดความรู้สึกต่อคนในระดับรากหญ้า ดังนั้นทางกองทัพกำลังมองถึงความยุติธรรม คือ ทุกคนรักชาติต้องรับใช้ชาติ แต่ในเรื่องการเกณฑ์ทหารต้องมีความยุติธรรมเหมือนกัน ไม่ใช่กลายเป็นว่า คนจนต้องเป็นทหาร ถ้าเป็นอย่างนั้นจะดูไม่ดี เพราะคนจนยังจำเป็นต้องทำงาน เพื่อครอบครัว แต่มีโอกาสที่จะได้จับใบดำใบแดงมาก ดังนั้นคนที่อยู่ในสังคมชั้นกลางและสังคมชั้นสูงควรจะมีโอกาสเป็นทหารด้วยเหมือนกัน เพื่อให้มีความเท่าเทียมกัน”ผบ.นรด.กล่าว
พล.ท.วิชิต กล่าวว่า ขณะนี้ตนพยายามจำกัดอายุของผู้ที่เข้ารับการเรียนหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารให้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพราะหากนำเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีมาฝึกจะเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของกองทัพอย่างมาก อย่างไรก็ตามทาง นรด.ไม่สามารถฝึกนศ.วิชาทหารได้อย่าง 100 %อยู่แล้ว เพราะทาง นรด.ต้องรับผิดชอบนศ.ทั้งหมดว่า ห้ามบาดเจ็บ ห้ามเสียชีวิต
รายงานข่าวจากนรด.แจ้งว่า ปัจจุบันมีนศ.วิชาทหารที่ศึกษาระหว่างชั้นปีที่ 1-5 รวมทั่วประเทศจำนวน 3 แสนคน โดยในชั้นปีที่ 4-5 จะมีนศ.วิชาทหารหญิงด้วย ทั้งนี้นรด.ได้กำหนดจำนวนผู้เข้ารับการเรียนหลักสูตรไม่เกินปีละ 1 แสนคน ซึ่งจากการหารือในรายละเอียด คาดว่า ต่อไปนศ.วิชาทหารอาจจะต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ แต่จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนระยะเวลาในการรับราชการทหารแทน โดยอาจจะต้องเข้ามารับการฝึกประมาณ 3-6 เดือน
ทั้งนี้ปัญหาของนักศึกษาวิชาทหาร คือสัดส่วนในการเกณฑ์ทหารในแต่ละปี เรามีความต้องการทหาร 8 หมื่น โดยมีคนเข้ามาเกณฑ์ในระบบมากกว่า 3 เท่า ดังนั้น ถ้ามีคนเรียนนักศึกษาวิชาทหารมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้สัดส่วนคนเข้ามาเกณฑ์มีจำนวนลดลง และอาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลว่า ให้เพิ่มอัตรานักศึกษาวิชาทหารในแต่ละปี ดังนั้นต้องมองต่อไปว่า จะทำอย่างไรต่อไป
"ผมอาจเสนอว่า ถ้าคนอยากเรียนนักศึกษาวิชาทหารจริงๆ ก็เรียนได้ แต่เมื่อถึงเวลาตรวจเลือกทหารจะต้องมาตรวจเลือกด้วย อยากจะดูว่า คนจะมาเรียน รด.มากเหมือนเดิมหรือไม่ ทั้งนี้ หากมีนักศึกษาวิชาทหารเรียนให้มากขึ้นต้องเพิ่มครูและสถานที่ ซึ่งต้องชมเชย รด.หญิงที่สมัครเข้ามาเรียนทั้งที่ไม่ได้รับสิทธิอะไรทั้งสิ้น ผู้หญิงไทยเก่งเข้มแข็งดี” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกฎหมายที่ห้ามเยาวชนต่ำว่า 18 ปีถืออาวุธนั้น เราแก้ปัญหาโดยให้เรียนแค่อาวุธศึกษา ไม่ต้องฝึกยิงปืน ซึ่งเราจะไม่ขัดกฎหมายอื่น ส่วนเรื่องทรงผมนักเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้นักเรียนไว้ผมยาวได้นั้น แต่ในส่วนของนักศึกษาวิชาทหาร ต้องมีกติกา ดังนั้น ผมขอเถอะเมื่อทุกคนแต่งเครื่องแบบทหารจึงควรจะไว้ผมสั้นเสียหน่อย มิเช่นนั้นจะแยกแยะไม่ออกระหว่างทหารกับพลเรือน ถ้าผมและหนวดยาวจะดูไม่เรียบร้อย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังมีการโยนหินถามทางข้อเสนอนี้มา ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย กลายแห่ง ทั้งสนับสนุนและคัคค้าน รวมถึงทำให้เกิดการตีความ และวิจารณ์กว้างขวาง ว่า จะเกณฑ์รด.ไปเป็นทหาร เพราะกำลังทหารไม่พอจริงหรือไม่
กลุ่มที่เห็นด้วย เชื่อว่า ที่ผบทบ.เสนอแนวคิด ก็เพื่อที่จะแก้เผ็ด พวกที่อยากเรียน รด.เพราะไม่อยากเป็นทหาร จะได้ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ที่ว่าจะให้ไปเกณฑ์ทหารด้วย เพราะตอนนี้ มีคนอยากเรียนรด.กันมาก ถึงขั้นต้อง วิ่งเต้น และฝาก ใช้เส้นเรียนกันเลยทีเดียว เพราะทั้งพ่อแม่ และเจ้าตัว ไม่อยากจะไปเกณฑ์ทหาร ด้วยนั่นเอง
หรือ เห็นมาเยอะพวกวิ่งเต้นไม่อยากเกณฑ์ทหาร ก็เลยเรียน รด. ถึงขั้นต้องเสียเงินเพื่อเข้าไปเรียน แย่งที่นั่งกัน เพราะบางที่รับจำนวนจำกัด พอไม่ได้เรียนก็มาร้องโวยวายว่าโดนโกงอย่างนั้นอย่างนี้
ขณะที่กลุ่มคัดค้าน เห็นว่า งบประมาณก็ไม่ค่อยมี เอาทหารเกณฑ์เข้าไป ก็ยิ่งเป็นภาระกับกองทัพ รับเฉพาะคนที่สมัครใจเถอะท่าน หรือถ้าทำแบบท่านว่าได้จริงๆ อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีคนมาเรียนสักเท่าไหร่กัน จะแย่งกันเรียนอีกหรือเปล่า เป็นต้น
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวว่า ทุกคนที่เรียนจบหลักสูตรควรเข้ามารับการฝึกประมาณ 3-6 เดือน เพื่อเพิ่มพูนจิตวิญญาณการรักชาติ ซึ่งเป็นเพียงการขยายแนวความคิดเท่านั้น คงต้องไปศึกษากันในรายละเอียดว่า จะทำกันอย่างไรต่อไป ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มยอดของนศ.วิชาทหาร เพราะขณะนี้ผู้ที่เข้ารับการฝึก คือ ผู้ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ จึงเกิดคำถามว่า หากมีการตรวจเลือกทหาร ผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ ก็จะต้องเข้ามาเป็นทหาร และ คนส่วนใหญ่ที่จะถูกเกณฑ์เข้ามาจะเป็นคนที่ไม่รู้หนังสือหรือเป็นพวกที่มีการศึกษาน้อย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างทางสังคมชัดเจน
“ทาง นรด. จึงต้องจำกัดยอด นศ.วิชาทหารไว้ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำจนเกินไป โดยขณะนี้อัตราส่วนของชายไทยที่เข้ารับการตรวจเลือกแล้วต้องเป็นทหารเกณฑ์ลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้มีอัตราส่วนอยู่ที่ 2.3 คน ต่อการเป็นทหารเกณฑ์ 1 คน ดังนั้นหากเราเพิ่มยอด นศ.วิชาทหารมากเท่าไรจะทำให้อัตราส่วนลดลงไปอีก ตรงนี้เป็นสัดส่วนสำคัญที่ทางกองทัพมีการพูดคุยกันมาก ที่สำคัญจะทำให้เกิดความรู้สึกต่อคนในระดับรากหญ้า ดังนั้นทางกองทัพกำลังมองถึงความยุติธรรม คือ ทุกคนรักชาติต้องรับใช้ชาติ แต่ในเรื่องการเกณฑ์ทหารต้องมีความยุติธรรมเหมือนกัน ไม่ใช่กลายเป็นว่า คนจนต้องเป็นทหาร ถ้าเป็นอย่างนั้นจะดูไม่ดี เพราะคนจนยังจำเป็นต้องทำงาน เพื่อครอบครัว แต่มีโอกาสที่จะได้จับใบดำใบแดงมาก ดังนั้นคนที่อยู่ในสังคมชั้นกลางและสังคมชั้นสูงควรจะมีโอกาสเป็นทหารด้วยเหมือนกัน เพื่อให้มีความเท่าเทียมกัน”ผบ.นรด.กล่าว
พล.ท.วิชิต กล่าวว่า ขณะนี้ตนพยายามจำกัดอายุของผู้ที่เข้ารับการเรียนหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารให้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพราะหากนำเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีมาฝึกจะเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของกองทัพอย่างมาก อย่างไรก็ตามทาง นรด.ไม่สามารถฝึกนศ.วิชาทหารได้อย่าง 100 %อยู่แล้ว เพราะทาง นรด.ต้องรับผิดชอบนศ.ทั้งหมดว่า ห้ามบาดเจ็บ ห้ามเสียชีวิต
รายงานข่าวจากนรด.แจ้งว่า ปัจจุบันมีนศ.วิชาทหารที่ศึกษาระหว่างชั้นปีที่ 1-5 รวมทั่วประเทศจำนวน 3 แสนคน โดยในชั้นปีที่ 4-5 จะมีนศ.วิชาทหารหญิงด้วย ทั้งนี้นรด.ได้กำหนดจำนวนผู้เข้ารับการเรียนหลักสูตรไม่เกินปีละ 1 แสนคน ซึ่งจากการหารือในรายละเอียด คาดว่า ต่อไปนศ.วิชาทหารอาจจะต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ แต่จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนระยะเวลาในการรับราชการทหารแทน โดยอาจจะต้องเข้ามารับการฝึกประมาณ 3-6 เดือน