ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่ำวันที่ 4 ม.ค. นายฌอง มาร์ค เอโรต์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ได้เดินทางไปร่วมพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่กรุงพนมเปญ จากนั้นจะออกเดินทางมาถึงไทยคืนนี้ เวลา 21.00 น. โดยเที่ยวบินพิเศษ ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง
สำหรับภาระกิจในวันที่ 5 ก.พ.นี้ เวลา 09.30 น. นายเอโรต์ จะไปบรรยายแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต่อมาเวลา14.00 น.จะกล่าวเปิดการสัมมนาภาคธุรกิจไทย - ฝรั่งเศส ที่ โรงแรมดุสิตธานี หลังจากนั้นในเวลา 17.00 น. จะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ ร.พ.ศิริราช และหลังจากนั้นเวลา 18.00 น. จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือทวิภาคี แบบเต็มคณะกับรัฐบาลไทย
การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับจากเดินทางไปเยือนฝรั่งเศส เมื่อเดือน ก.ค. 2555 ได้ส่งจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการและได้รับการตอบรับจากนายกฯ ฝรั่งเศส จึงเท่ากับเป็นการสะท้อนความถี่ในการเยือนของผู้นำระหว่างกัน และเป็นการต่อยอดผลการเยือนของนายกรัฐมนตรีไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจ
ในการหารือจะเน้นเรื่องการแสวงหาโอกาสทางด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านต่างๆ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการวิจัย รวมถึงพลังงานทดแทน และร่วมลงนามความตกลง 5 ฉบับ ที่ครอบคลุมในหลายด้าน และแถลงข่าวร่วม หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติ ก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศไทยในเวลา 23.45 น.
การมาประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการมาเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำฝรั่งเศสในรอบ 7 ปี หลังจากที่นายฌาคส์ ชีรัค อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส เคยมาเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2549
สำหรับการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ และจะ เป็นการต่อยอดการหารือหลังจากนายกรัฐมนตรีเคยไปเยือนฝรั่งเศสก่ออนหน้านี้ ซึ่งฝรั่งเศสให้ความาสำคัญกับเรื่องการขยายปริมาณการค้า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ความร่วมมือด้านการศึกษาตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคและพหุภาคี
พร้อมกันนี้หลังการหารือ จะมีการลงนามความตกลง 5 ฉบับ.โดย 4 ฉบับที่น่าสนใจคือ
1.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ โดยกระทรวงกลาโหม
2.หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ
3.บันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือในการผลิตวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบ โดยกระทรวงสาธารณสุข
4.ความตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับสถาบันIUTเรื่องการพัฒนาหลักสูตร
มีรายงานว่า คณะเจรจาฝ่ายไทย โดยเฉพาะนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะขอหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพราะฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องของระบบเดินรถ มีบริษัท Alstom ของฝรั่งเศสเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในเรื่องนี้ และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าประมูลสัญญาเดินรถไฟความเร็วสูงของไทย เบื้องต้นทราบว่าฝรั่งเศสสนใจจะให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบรถไฟความเร็วสูง น่าจะเป็นประโยชน์กับการเตรียมพร้อมบุคลากรของไทยในเรื่องดังกล่าว.
สำหรับภาระกิจในวันที่ 5 ก.พ.นี้ เวลา 09.30 น. นายเอโรต์ จะไปบรรยายแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต่อมาเวลา14.00 น.จะกล่าวเปิดการสัมมนาภาคธุรกิจไทย - ฝรั่งเศส ที่ โรงแรมดุสิตธานี หลังจากนั้นในเวลา 17.00 น. จะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ ร.พ.ศิริราช และหลังจากนั้นเวลา 18.00 น. จะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือทวิภาคี แบบเต็มคณะกับรัฐบาลไทย
การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลับจากเดินทางไปเยือนฝรั่งเศส เมื่อเดือน ก.ค. 2555 ได้ส่งจดหมายเชิญอย่างเป็นทางการและได้รับการตอบรับจากนายกฯ ฝรั่งเศส จึงเท่ากับเป็นการสะท้อนความถี่ในการเยือนของผู้นำระหว่างกัน และเป็นการต่อยอดผลการเยือนของนายกรัฐมนตรีไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจ
ในการหารือจะเน้นเรื่องการแสวงหาโอกาสทางด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านต่างๆ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการวิจัย รวมถึงพลังงานทดแทน และร่วมลงนามความตกลง 5 ฉบับ ที่ครอบคลุมในหลายด้าน และแถลงข่าวร่วม หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติ ก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศไทยในเวลา 23.45 น.
การมาประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการมาเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำฝรั่งเศสในรอบ 7 ปี หลังจากที่นายฌาคส์ ชีรัค อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส เคยมาเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2549
สำหรับการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ และจะ เป็นการต่อยอดการหารือหลังจากนายกรัฐมนตรีเคยไปเยือนฝรั่งเศสก่ออนหน้านี้ ซึ่งฝรั่งเศสให้ความาสำคัญกับเรื่องการขยายปริมาณการค้า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ความร่วมมือด้านการศึกษาตลอดจนประเด็นระดับภูมิภาคและพหุภาคี
พร้อมกันนี้หลังการหารือ จะมีการลงนามความตกลง 5 ฉบับ.โดย 4 ฉบับที่น่าสนใจคือ
1.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ โดยกระทรวงกลาโหม
2.หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ
3.บันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือในการผลิตวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบ โดยกระทรวงสาธารณสุข
4.ความตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับสถาบันIUTเรื่องการพัฒนาหลักสูตร
มีรายงานว่า คณะเจรจาฝ่ายไทย โดยเฉพาะนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะขอหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพราะฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องของระบบเดินรถ มีบริษัท Alstom ของฝรั่งเศสเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในเรื่องนี้ และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าประมูลสัญญาเดินรถไฟความเร็วสูงของไทย เบื้องต้นทราบว่าฝรั่งเศสสนใจจะให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบรถไฟความเร็วสูง น่าจะเป็นประโยชน์กับการเตรียมพร้อมบุคลากรของไทยในเรื่องดังกล่าว.