โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
มองภาพการศึกษาไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมือง ที่เข้ามากำกับกระทรวงแห่งปัญญาของประเทศ โดยมอบนโยบายและวิสัยทัศน์ทางการศึกษา แบบมาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็วแล้ว รู้สึกเศร้าใจกับความหวังในการปฏิรูปการศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายแท็บเล็ต เพื่อเด็ก ป. 1 ที่ไม่รู้จะบรรจุแอพพลิเคชันทางการศึกษาใด ที่จะพัฒนาก้านสมองของเยาวชนให้ต่อยอดทางปัญญาไปได้ เพราะคุณสมบัติแท็บเล็ตต่ำเหลือเกิน รวมทั้งส่อส่งผลกระทบกับภาวะโรคสมาธิสั้น อีกแนวคิดปฏิรูปเรื่องทรงผมนักเรียน และล่าสุด มีแนวคิดการปรับปรุงหลักสูตร โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหา เวลาเรียน วิธีการวัดผลและประเมินผล ตลอดจนลดภาระงานการบ้านของนักเรียน
ปรากฏการณ์ปัญหาทางการศึกษา โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คงต้องยอมรับว่า ผู้บริหารการศึกษา ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับสถานศึกษา ยังคงตีประเด็นปัญหาการศึกษาไม่แตก กล่าวคือ คิดว่าปัญหาการศึกษาอยู่ในกระดาษ ผู้เรียน วัสดุการเรียนการสอน รวมทั้งปัญหาการบ้าน นักเรียนที่ทำการเรียนการสอนอยู่แบบแยกส่วน มิใช่การเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Education) ซึ่งต่างจากชีวิตจริงของมนุษย์
หากจะมีข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ผู้เขียนขอเสนอบัญญัติปฏิรูปการศึกษา 5 ประการดังนี้
ประการแรก ปฏิรูปปัญญา ของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ให้มองถึงผลลัพธ์ (OUTPUT) และผลกระทบ (OUTCOME) ที่มีต่อผู้เรียนและสังคม ประเทศชาติ ซึ่งเป็นผลผลิตทางการศึกษาที่ควรได้รับเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยไม่แปลกแยกจากชีวิตและชุมชนของตน อันเป็นการเรียนรู้โดยใช้ “ชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง” ให้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) ไปพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่
ประการที่ 2 ปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ ของผู้สอน โดยดึงศักยภาพอันเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างแท้จริง มาปรับให้เข้ากับยุคสมัย ผนวกเข้ากับความเสียสละทุ่มเทเกินร้อย มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบที่เรียกว่า “ลูกคุณ คือลูกเรา” พร้อมกับ “เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา”
ประการที่ 3 ปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ โดยสร้างความเข้าใจในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง ว่า หน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา คือ ผู้บริหารคุณภาพการศึกษา โดยติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพการศึกษาในมาตรฐานการศึกษา ตามสภาพจริง ไม่ใช่สร้างภาพการศึกษา โดยเฉพาะการบริหารโครงสร้างเวลาเรียน ซึ่งมีการเรียนการสอนมาก แต่ผลลัพธ์น้อย รวมทั้งปฏิรูปเวลาในการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สถานศึกษาควรแยกเวลาจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาผู้เรียน ให้อยู่นอกเหนือโครงสร้างเวลาเรียนปกติ ซึ่งเหลื่อมล้ำกันอยู่
ประการที่ 4 ปฏิรูปการมีส่วนร่วมทางชุมชนและสังคม โดยใช้กลไกของชุมชน อย่างคณะกรรมการสถานศึกษา ให้มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง มิใช่รอเป็นตรายาง เพื่อประทับรับรองคุณภาพผู้เรียน ซึ่งนั่นเป็นผลพลอยได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองและชุมชนของตน อันจะก่อให้เกิดค่านิยมรักบ้านเกิดตามมา รวมทั้งลดช่องว่างระหว่างผู้มีฐานะดีกับผู้มีฐานะยากจนถึงปานกลาง ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งอาจเป็นได้แค่วาทกรรมทางการศึกษาในความฝัน
และประการสุดท้าย ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยสื่อในที่นี้ หมายรวมถึง สื่อสาธารณะที่มีทุกรูปแบบ ควรเป็นไปเพื่อร่วมพัฒนาปัญญาและคุณภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียน มิใช่การมอมเมาเยาวชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสกระทำวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไว้อย่างแยบยลและยืดหยุ่นต่อการเรียน
ผู้เขียน มองเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามากแนวคิดและหลากนโยบายหลายรัฐบาล เป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มและครอบงำผู้เรียน ให้จำยอมปฏิบัติตามกฎ กติกาทางการศึกษา ที่รอเพียงไม่กี่คนจากส่วนกลางของประเทศสั่งการ แล้วบังคับใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมิได้คำนึงถึงความพร้อม ความไม่พร้อม บริบทพื้นที่อันเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา วิทยาการอันล้ำหน้า และนิสัยการเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากยุคกระดานฉนวน หรือกระดานดำสู่กระดาน I-pad ไปเรียบร้อยแล้ว
แม้ว่าบทสรุป จะให้มีแนวคิดปรับหลักสูตร ลดการบ้าน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่คงพอทำเนาได้ แต่นั่นคงมิใช่การปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการผลลัพธ์ คือ เด็กดี เด็กเก่งและมีความสุขในชีวิต เพราะหากผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการศึกษา ยังมองเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษา คงอยู่ในกระดาษ ซึ่งเขียนหลักการไว้อย่างสวยหรู แต่ล้มเหลวทุกครั้ง เมื่อนำสู่การปฏิบัติ รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องเพื่อติดตามประเมินผล ด้วยความเอาใจใส่อย่างจริงจัง
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
มองภาพการศึกษาไทย ภายใต้การเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมือง ที่เข้ามากำกับกระทรวงแห่งปัญญาของประเทศ โดยมอบนโยบายและวิสัยทัศน์ทางการศึกษา แบบมาเร็ว เคลมเร็ว ไปเร็วแล้ว รู้สึกเศร้าใจกับความหวังในการปฏิรูปการศึกษาของชาติ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายแท็บเล็ต เพื่อเด็ก ป. 1 ที่ไม่รู้จะบรรจุแอพพลิเคชันทางการศึกษาใด ที่จะพัฒนาก้านสมองของเยาวชนให้ต่อยอดทางปัญญาไปได้ เพราะคุณสมบัติแท็บเล็ตต่ำเหลือเกิน รวมทั้งส่อส่งผลกระทบกับภาวะโรคสมาธิสั้น อีกแนวคิดปฏิรูปเรื่องทรงผมนักเรียน และล่าสุด มีแนวคิดการปรับปรุงหลักสูตร โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหา เวลาเรียน วิธีการวัดผลและประเมินผล ตลอดจนลดภาระงานการบ้านของนักเรียน
ปรากฏการณ์ปัญหาทางการศึกษา โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คงต้องยอมรับว่า ผู้บริหารการศึกษา ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับสถานศึกษา ยังคงตีประเด็นปัญหาการศึกษาไม่แตก กล่าวคือ คิดว่าปัญหาการศึกษาอยู่ในกระดาษ ผู้เรียน วัสดุการเรียนการสอน รวมทั้งปัญหาการบ้าน นักเรียนที่ทำการเรียนการสอนอยู่แบบแยกส่วน มิใช่การเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Education) ซึ่งต่างจากชีวิตจริงของมนุษย์
หากจะมีข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ผู้เขียนขอเสนอบัญญัติปฏิรูปการศึกษา 5 ประการดังนี้
ประการแรก ปฏิรูปปัญญา ของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ให้มองถึงผลลัพธ์ (OUTPUT) และผลกระทบ (OUTCOME) ที่มีต่อผู้เรียนและสังคม ประเทศชาติ ซึ่งเป็นผลผลิตทางการศึกษาที่ควรได้รับเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยไม่แปลกแยกจากชีวิตและชุมชนของตน อันเป็นการเรียนรู้โดยใช้ “ชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง” ให้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) ไปพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่
ประการที่ 2 ปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนรู้ ของผู้สอน โดยดึงศักยภาพอันเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างแท้จริง มาปรับให้เข้ากับยุคสมัย ผนวกเข้ากับความเสียสละทุ่มเทเกินร้อย มาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบที่เรียกว่า “ลูกคุณ คือลูกเรา” พร้อมกับ “เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา”
ประการที่ 3 ปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ โดยสร้างความเข้าใจในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง ว่า หน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา คือ ผู้บริหารคุณภาพการศึกษา โดยติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพการศึกษาในมาตรฐานการศึกษา ตามสภาพจริง ไม่ใช่สร้างภาพการศึกษา โดยเฉพาะการบริหารโครงสร้างเวลาเรียน ซึ่งมีการเรียนการสอนมาก แต่ผลลัพธ์น้อย รวมทั้งปฏิรูปเวลาในการบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สถานศึกษาควรแยกเวลาจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาผู้เรียน ให้อยู่นอกเหนือโครงสร้างเวลาเรียนปกติ ซึ่งเหลื่อมล้ำกันอยู่
ประการที่ 4 ปฏิรูปการมีส่วนร่วมทางชุมชนและสังคม โดยใช้กลไกของชุมชน อย่างคณะกรรมการสถานศึกษา ให้มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง มิใช่รอเป็นตรายาง เพื่อประทับรับรองคุณภาพผู้เรียน ซึ่งนั่นเป็นผลพลอยได้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองและชุมชนของตน อันจะก่อให้เกิดค่านิยมรักบ้านเกิดตามมา รวมทั้งลดช่องว่างระหว่างผู้มีฐานะดีกับผู้มีฐานะยากจนถึงปานกลาง ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งอาจเป็นได้แค่วาทกรรมทางการศึกษาในความฝัน
และประการสุดท้าย ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยสื่อในที่นี้ หมายรวมถึง สื่อสาธารณะที่มีทุกรูปแบบ ควรเป็นไปเพื่อร่วมพัฒนาปัญญาและคุณภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียน มิใช่การมอมเมาเยาวชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสกระทำวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไว้อย่างแยบยลและยืดหยุ่นต่อการเรียน
ผู้เขียน มองเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามากแนวคิดและหลากนโยบายหลายรัฐบาล เป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มและครอบงำผู้เรียน ให้จำยอมปฏิบัติตามกฎ กติกาทางการศึกษา ที่รอเพียงไม่กี่คนจากส่วนกลางของประเทศสั่งการ แล้วบังคับใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมิได้คำนึงถึงความพร้อม ความไม่พร้อม บริบทพื้นที่อันเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา วิทยาการอันล้ำหน้า และนิสัยการเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากยุคกระดานฉนวน หรือกระดานดำสู่กระดาน I-pad ไปเรียบร้อยแล้ว
แม้ว่าบทสรุป จะให้มีแนวคิดปรับหลักสูตร ลดการบ้าน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่คงพอทำเนาได้ แต่นั่นคงมิใช่การปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการผลลัพธ์ คือ เด็กดี เด็กเก่งและมีความสุขในชีวิต เพราะหากผู้รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการศึกษา ยังมองเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษา คงอยู่ในกระดาษ ซึ่งเขียนหลักการไว้อย่างสวยหรู แต่ล้มเหลวทุกครั้ง เมื่อนำสู่การปฏิบัติ รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องเพื่อติดตามประเมินผล ด้วยความเอาใจใส่อย่างจริงจัง