ศูนย์ข่าวหาดใหญ่-ผู้ปกครอง-นักวิชาการปัตตานี ไม่เห็นด้วยกับมาตรการปิดโรงเรียนกดดันรัฐของสมาพันธ์ครูชายแดนใต้ ระบุเหมือนใช้เด็กเป็นตัวประกัน อาจสร้างความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ขณะที่ผู้ว่าฯ ปัตตานี เผยทุกโรงเรียนเตรียมเปิดสอนปกติในวันจันทร์หน้า หลังแกนนำครูได้พบ รมว.ศึกษาธิการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปัตตานี ว่า โรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยังคงปิดเป็นวันที่ 2 ตามข้อตกลงของสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ยังคงมีโรงเรียนอีกหลายแห่งที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนตามปกติ นอกจากนั้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกระดับชั้นก็ยังเปิดเรียนตามปกติ ทำให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในพื้นที่เริ่มไม่พอใจกับแนวทาง หรือมาตรการที่ทางสมาพันธ์ครูฯ ที่ใช้วิธีปิดโรงเรียนเพื่อกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง โดยระบุว่าไม่ต่างกับมาตรการเอาเด็กเป็นตัวประกัน แต่กลับไม่เคยมีมาตรการหรือข้อเรียกที่มีประโยชน์ให้แก่การศึกษานักเรียนในพื้นที่เลย ขณะเดียวกัน การศึกษาในพื้นที่แย่มาก เด็กอ่านเขียนหนังสือไม่ได้
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า มาตรการที่ทางสมาพันธ์ครูฯ ใช้วิธีการปิดโรงเรียนนั้น ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมันกลายเป็นการสร้างปัญหาการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ปกครองนักเรียนไม่เห็นด้วย อาจจะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนเริ่มเกลียดชังครูมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มเงื่อนไขของปัญหาในพื้นที่ เพราะโรงเรียนอื่นในพื้นที่เขาก็เปิดเรียนตามปกติ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกระดับชั้นก็ยังเปิดการเรียนการสอน
ส่วนข้อเรียกร้องของทางสมาพันธ์ครูฯ กลับไม่มีแนวทางหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่เลย มีแต่เรื่องมาตรการดูแลความปลอดภัยครู เรื่องผลประโยชน์ หรือสวัสดิการให้แก่ครู จึงอยากให้ทางสมาพันธ์ครูฯ ทบทวนกับมาตรการดังกล่าว และควรศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงมันเกิดจากอะไร ทำไมไม่คิดที่จะหันมาทำแผนการศึกษาที่มันสอดคล้องกับมิติของสังคมในพื้นที่ เพราะสังคมที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับคณะครูมากยิ่งขึ้น และจะเป็นเกราะที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะทุกวันนี้ ผู้ปกครองชนชั้นกลางในพื้นที่เริ่มจะส่งลูกเข้าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่มีค่าใช่จ่ายที่สูงมาก แต่ก็ต้องยอมเพื่อการศึกษาที่ดีกว่าให้ลูก เพราะผู้ปกครองเหล่านี้ไม่มั่นใจกับการศึกษาของโรงเรียนของรัฐ
ด้านนายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ขณะนี้ได้ร่วมประชุมกับตัวแทนสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำครูใน จ.ปัตตานี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเรียกขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษากว่า 300 แห่งที่ได้งดทำการเรียนการสอนชั่วคราว โดยจากการประชุมหารือในมาตรการรักษาความปลอดภัย จากนี้จะเน้นให้หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ปฏิบัติงานเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งจะไม่เน้นลาดตระเวณเส้นทางเฉพาะก่อน และหลังเลิกเรียน เหมือนที่ผ่านมา แต่จะคอยเอ็กซเรย์ความปลอดภัยชีวิตครูตลอดทั้งวัน ทั้งที่โรงเรียน และกลับบ้านไม่ว่าจะเป็นการเช็คหมายกำหนดและภารกิจของเพื่อนครูว่าต้องทำกิจวัตรนอกรั้วโรงเรียน หรือมีแผนงานที่ต้องออกนอกเส้นทาง โดยหน่วยกองกำลังจะต้องเป็นคนคอยเข้าหาและประสานกับสถานศึกษานั้นอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ยังมีการทำข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับครูในสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างละเอียด เพื่อให้หน่วยความมั่นคงรับรู้ข้อมูลของเป้าหมายในภารกิจพิทักษ์ความปลอดภัย เช่นสถานศึกษาแต่ละจุดมีครูผู้ชาย และครูสตรีกี่ราย แต่ละคนมีบ้านพักอยู่ที่ใด ใช้ยานพาหนะอะไร เพื่อให้บุลคากรทางการศึกษามีความมั่นใจมากที่สุดว่าจะมีกำลังคอยดูแลใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ครูสามารถกลับมาเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
นายประมุข กล่าวอีกว่า ในวันศุกร์ที่ 30 พ.ย.นี้ จะมีแกนนำและตัวแทนของสมาพันธ์ครูจากชายแดนภาคใต้จำนวน 50 คน เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อพบกับ รมว.ศึกษาธิการ โดยจะประชุมและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่ลุกลามเข้ามาถึงแวดวงการศึกษาในชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมาตรการในการต่างๆ ที่จะช่วยเรียกคือขวัญและความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรทางการศึกษาอีกครั้ง ทั้งนี้ หลังจากตัวแทนครูจากชายแดนภาคใต้ได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว คาดว่าโรงเรียนในจังหวัดปัตตานีที่ปิดเรียนตามมติของสมาพันธ์ครู3จังหวัดชายแดนภาคใต้ คงจะสามารถกลับมาเปิดเรียนได้ตามปกติอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 3 ธ.ค.นี้
ทางด้านนายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเพื่อต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทบทวนและปรับแผนมาตรการต่างๆ ให้รัดกุมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอน แม้ในทางปฎิบัติอาจทำให้กระทบกับการศึกษาของเด็กนักเรียนที่ต้องหยุดเรียนไปบ้าง แต่เบื้องต้นได้ประสานและกำชับครูให้เตรียมจัดการเรียนการสอนชดเชย หรือการให้ความรู้ในด้านอื่นๆ เสริมให้กับเด็กเป็นการเฉพาะกิจไปก่อนจนกว่าจะครบตามหลักสูตร เนื่องจากเรื่องความปลอดภัยของครูเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากให้สถานการณ์ทำร้ายครูเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนลดลงเพราะครูตกอยู่ในสภาพหวาดผวาที่ไม่พร้อมสอน
วันเดียวกันนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พบปะกับคณะครูและผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 15 ซึ่งประประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ยะลา และจ.ปัตตานี กว่า 110 คน โดยนายเสริมศักดิ์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอรมน.) เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถึงมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับพี่น้องครู ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ครูในพื้นที่ควรจะได้รับ เพราะนายกฯ เข้าใจดีว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พิเศษ ดังนั้น สิทธิต่างๆ ที่ควรจะตามรับก็ควรต้องมีความพิเศษด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปัตตานี ว่า โรงเรียนในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยังคงปิดเป็นวันที่ 2 ตามข้อตกลงของสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ยังคงมีโรงเรียนอีกหลายแห่งที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนตามปกติ นอกจากนั้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกระดับชั้นก็ยังเปิดเรียนตามปกติ ทำให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในพื้นที่เริ่มไม่พอใจกับแนวทาง หรือมาตรการที่ทางสมาพันธ์ครูฯ ที่ใช้วิธีปิดโรงเรียนเพื่อกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง โดยระบุว่าไม่ต่างกับมาตรการเอาเด็กเป็นตัวประกัน แต่กลับไม่เคยมีมาตรการหรือข้อเรียกที่มีประโยชน์ให้แก่การศึกษานักเรียนในพื้นที่เลย ขณะเดียวกัน การศึกษาในพื้นที่แย่มาก เด็กอ่านเขียนหนังสือไม่ได้
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า มาตรการที่ทางสมาพันธ์ครูฯ ใช้วิธีการปิดโรงเรียนนั้น ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมันกลายเป็นการสร้างปัญหาการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ปกครองนักเรียนไม่เห็นด้วย อาจจะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนเริ่มเกลียดชังครูมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะยิ่งเพิ่มเงื่อนไขของปัญหาในพื้นที่ เพราะโรงเรียนอื่นในพื้นที่เขาก็เปิดเรียนตามปกติ โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกระดับชั้นก็ยังเปิดการเรียนการสอน
ส่วนข้อเรียกร้องของทางสมาพันธ์ครูฯ กลับไม่มีแนวทางหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่เลย มีแต่เรื่องมาตรการดูแลความปลอดภัยครู เรื่องผลประโยชน์ หรือสวัสดิการให้แก่ครู จึงอยากให้ทางสมาพันธ์ครูฯ ทบทวนกับมาตรการดังกล่าว และควรศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงมันเกิดจากอะไร ทำไมไม่คิดที่จะหันมาทำแผนการศึกษาที่มันสอดคล้องกับมิติของสังคมในพื้นที่ เพราะสังคมที่นี่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับคณะครูมากยิ่งขึ้น และจะเป็นเกราะที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะทุกวันนี้ ผู้ปกครองชนชั้นกลางในพื้นที่เริ่มจะส่งลูกเข้าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่มีค่าใช่จ่ายที่สูงมาก แต่ก็ต้องยอมเพื่อการศึกษาที่ดีกว่าให้ลูก เพราะผู้ปกครองเหล่านี้ไม่มั่นใจกับการศึกษาของโรงเรียนของรัฐ
ด้านนายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ขณะนี้ได้ร่วมประชุมกับตัวแทนสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำครูใน จ.ปัตตานี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเรียกขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษากว่า 300 แห่งที่ได้งดทำการเรียนการสอนชั่วคราว โดยจากการประชุมหารือในมาตรการรักษาความปลอดภัย จากนี้จะเน้นให้หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ปฏิบัติงานเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งจะไม่เน้นลาดตระเวณเส้นทางเฉพาะก่อน และหลังเลิกเรียน เหมือนที่ผ่านมา แต่จะคอยเอ็กซเรย์ความปลอดภัยชีวิตครูตลอดทั้งวัน ทั้งที่โรงเรียน และกลับบ้านไม่ว่าจะเป็นการเช็คหมายกำหนดและภารกิจของเพื่อนครูว่าต้องทำกิจวัตรนอกรั้วโรงเรียน หรือมีแผนงานที่ต้องออกนอกเส้นทาง โดยหน่วยกองกำลังจะต้องเป็นคนคอยเข้าหาและประสานกับสถานศึกษานั้นอย่างละเอียด
นอกจากนี้ ยังมีการทำข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับครูในสถานศึกษาแต่ละแห่งอย่างละเอียด เพื่อให้หน่วยความมั่นคงรับรู้ข้อมูลของเป้าหมายในภารกิจพิทักษ์ความปลอดภัย เช่นสถานศึกษาแต่ละจุดมีครูผู้ชาย และครูสตรีกี่ราย แต่ละคนมีบ้านพักอยู่ที่ใด ใช้ยานพาหนะอะไร เพื่อให้บุลคากรทางการศึกษามีความมั่นใจมากที่สุดว่าจะมีกำลังคอยดูแลใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ครูสามารถกลับมาเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
นายประมุข กล่าวอีกว่า ในวันศุกร์ที่ 30 พ.ย.นี้ จะมีแกนนำและตัวแทนของสมาพันธ์ครูจากชายแดนภาคใต้จำนวน 50 คน เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อพบกับ รมว.ศึกษาธิการ โดยจะประชุมและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่ลุกลามเข้ามาถึงแวดวงการศึกษาในชายแดนภาคใต้ รวมทั้งมาตรการในการต่างๆ ที่จะช่วยเรียกคือขวัญและความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรทางการศึกษาอีกครั้ง ทั้งนี้ หลังจากตัวแทนครูจากชายแดนภาคใต้ได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว คาดว่าโรงเรียนในจังหวัดปัตตานีที่ปิดเรียนตามมติของสมาพันธ์ครู3จังหวัดชายแดนภาคใต้ คงจะสามารถกลับมาเปิดเรียนได้ตามปกติอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 3 ธ.ค.นี้
ทางด้านนายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเพื่อต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทบทวนและปรับแผนมาตรการต่างๆ ให้รัดกุมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอน แม้ในทางปฎิบัติอาจทำให้กระทบกับการศึกษาของเด็กนักเรียนที่ต้องหยุดเรียนไปบ้าง แต่เบื้องต้นได้ประสานและกำชับครูให้เตรียมจัดการเรียนการสอนชดเชย หรือการให้ความรู้ในด้านอื่นๆ เสริมให้กับเด็กเป็นการเฉพาะกิจไปก่อนจนกว่าจะครบตามหลักสูตร เนื่องจากเรื่องความปลอดภัยของครูเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากให้สถานการณ์ทำร้ายครูเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนลดลงเพราะครูตกอยู่ในสภาพหวาดผวาที่ไม่พร้อมสอน
วันเดียวกันนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พบปะกับคณะครูและผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 15 ซึ่งประประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ยะลา และจ.ปัตตานี กว่า 110 คน โดยนายเสริมศักดิ์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ตนไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอรมน.) เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถึงมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับพี่น้องครู ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ครูในพื้นที่ควรจะได้รับ เพราะนายกฯ เข้าใจดีว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พิเศษ ดังนั้น สิทธิต่างๆ ที่ควรจะตามรับก็ควรต้องมีความพิเศษด้วย