จับตาการเปิดสอนระบบทางไกล อาจต้องทบทวนการอนุมัติเปิดสอน พร้อมแฉกระบวนการนายหน้าขอเซ้งหลักสูตร จัดหา นศ.ให้แต่ขอใช้ชื่อหลักสูตร คณะ การอนุมัติจบของมหาลัยรวมทั้งหมด ชี้ส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาโท ขอให้ สกอ.ทำการตรวจสอบและทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกล เตรียมจับตามหาลัยเอกชนย่านฝั่งธน เปิดศูนย์นอกที่ตั้งเกือบ 200 ศูนย์!
ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ดำเนินการแก้ไขปัญหาการศึกษา โดยในระดับอุดมศึกษามีปัญหาที่ซับซ้อนและทับถมมานานที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่ โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยอีสาน ที่ถูกปิดตัวไปเพราะเปิดสอนหลักสูตรนอกที่ตั้งโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สกอ.กำลังจับตามองมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งย่านฝั่งธนบุรี ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรนอกที่ตั้งเกือบ 200 ศูนย์ ซึ่งดูจากตัวเลขก็คาดการณ์ได้ในเบื้องต้นว่าไม่สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพราะต้องหาอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวนมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ก็ใช้วิธีนำคนในท้องถิ่นที่มีวุฒิปริญญาเอกที่ไม่เคยสอนหนังสือมาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร เพราะเกณฑ์ของ สกอ.ระบุว่าอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องจบปริญญาเอก
ศ.ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า การจัดการศึกษาอีกแบบที่น่าเป็นห่วงคือ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งจะต้องมีการทบทวนการขออนุมัติการเปิดสอน เพราะขณะนี้บางมหาวิทยาลัยใช้เพียงแค่มีอาจารย์ผู้สอนนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปยังผู้เรียน ซึ่งเรียนอยู่ที่ใดก็ไม่ทราบ ที่น่าตกใจคือ มีบริษัทนายหน้าเข้ามาติดต่อมหาวิทยาลัยและให้ข้อเสนอที่จะจัดการเรียนการสอน ทั้งจัดหาผู้เรียนให้ โดยมหาวิทยาลัยต้องยินยอมให้ใช้ชื่อ
มหาวิทยาลัย หลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอนุมัติปริญญาบัตรให้ เป็นลักษณะเซ้งหลักสูตร มหาวิทยาลัยก็เพียงแต่นั่งรับเงินเท่านั้น ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่ามีการจัดการเรียนการสอนครบตามหลักสูตรและได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนดหรือไม่
จึงขอให้สกอ.ทำการสำรวจเพราะขณะนี้เปิดสอนกันแบบใต้ดิน โดยที่สภามหาวิทยาลัยไม่รับทราบ ส่วนใหญ่ที่เปิดสอนจะเป็นหลักสูตระดับปริญญาโท และใช้หลักสูตรที่ผ่านการรับทราบจาก กกอ. และผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แต่สกอ.ยังไม่มีกระบวนการติดตามตรวจสอบคุณภาพอย่างเป็นระบบ
“ผมเสนอให้ กกอ.จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยยกตัวอย่างการจัดการศึกษาทางไกลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะมีใบอนุญาตต่างหากสำหรับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางไกล หรือไซเบอร์ยูนิเวอซิตี้ แม้ว่ามหาวิทยาลัยนั้นจะใช้ชื่อเดียวกันกับมหาวิทยาลัยแม่ข่าย โดยปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้เปิดสอน 17 แห่ง สำหรับประเทศไทยจะต้องดูให้ชัดเจนทั้งเรื่องโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการติดตามประเมินผล อาจารย์ประจำหลักสูตรซึ่งต้องแตกต่างจากอาจารย์ประจำหลักสูตรในชั้นเรียน เป็นต้น” ศ.ดร.ภาวิช กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัย 4-5 แห่ง ที่เสนอขอการจัดการศึกษาทางไกล แต่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังไม่มีการพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลอย่างชัดเจน ดังนั้น คณะอนุกรรมการมาตรฐานการศึกษาทางไกล จึงได้มีการพิจารณาควบคุมมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกล เพื่อรับรองมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ และสกอ.ได้มีแนวทางพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนมากขึ้น โดยได้มีการไปศึกษาระบบ การพัฒนามาตรฐานจากประเทศเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลจากสกอ. และขณะนี้พบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทำการประกาศรับสมัครนักศึกษาผ่านเว็บไซต์ โดยอ้างว่าหลักสูตรได้รับการรับรองจาก สกอ.แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง และขณะนี้ สกอ.ก็ได้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว.
ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ดำเนินการแก้ไขปัญหาการศึกษา โดยในระดับอุดมศึกษามีปัญหาที่ซับซ้อนและทับถมมานานที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่ โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยอีสาน ที่ถูกปิดตัวไปเพราะเปิดสอนหลักสูตรนอกที่ตั้งโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สกอ.กำลังจับตามองมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งย่านฝั่งธนบุรี ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรนอกที่ตั้งเกือบ 200 ศูนย์ ซึ่งดูจากตัวเลขก็คาดการณ์ได้ในเบื้องต้นว่าไม่สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพราะต้องหาอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวนมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ก็ใช้วิธีนำคนในท้องถิ่นที่มีวุฒิปริญญาเอกที่ไม่เคยสอนหนังสือมาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร เพราะเกณฑ์ของ สกอ.ระบุว่าอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องจบปริญญาเอก
ศ.ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า การจัดการศึกษาอีกแบบที่น่าเป็นห่วงคือ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งจะต้องมีการทบทวนการขออนุมัติการเปิดสอน เพราะขณะนี้บางมหาวิทยาลัยใช้เพียงแค่มีอาจารย์ผู้สอนนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปยังผู้เรียน ซึ่งเรียนอยู่ที่ใดก็ไม่ทราบ ที่น่าตกใจคือ มีบริษัทนายหน้าเข้ามาติดต่อมหาวิทยาลัยและให้ข้อเสนอที่จะจัดการเรียนการสอน ทั้งจัดหาผู้เรียนให้ โดยมหาวิทยาลัยต้องยินยอมให้ใช้ชื่อ
มหาวิทยาลัย หลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอนุมัติปริญญาบัตรให้ เป็นลักษณะเซ้งหลักสูตร มหาวิทยาลัยก็เพียงแต่นั่งรับเงินเท่านั้น ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่ามีการจัดการเรียนการสอนครบตามหลักสูตรและได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนดหรือไม่
จึงขอให้สกอ.ทำการสำรวจเพราะขณะนี้เปิดสอนกันแบบใต้ดิน โดยที่สภามหาวิทยาลัยไม่รับทราบ ส่วนใหญ่ที่เปิดสอนจะเป็นหลักสูตระดับปริญญาโท และใช้หลักสูตรที่ผ่านการรับทราบจาก กกอ. และผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แต่สกอ.ยังไม่มีกระบวนการติดตามตรวจสอบคุณภาพอย่างเป็นระบบ
“ผมเสนอให้ กกอ.จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยยกตัวอย่างการจัดการศึกษาทางไกลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะมีใบอนุญาตต่างหากสำหรับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางไกล หรือไซเบอร์ยูนิเวอซิตี้ แม้ว่ามหาวิทยาลัยนั้นจะใช้ชื่อเดียวกันกับมหาวิทยาลัยแม่ข่าย โดยปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้เปิดสอน 17 แห่ง สำหรับประเทศไทยจะต้องดูให้ชัดเจนทั้งเรื่องโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบการติดตามประเมินผล อาจารย์ประจำหลักสูตรซึ่งต้องแตกต่างจากอาจารย์ประจำหลักสูตรในชั้นเรียน เป็นต้น” ศ.ดร.ภาวิช กล่าว
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัย 4-5 แห่ง ที่เสนอขอการจัดการศึกษาทางไกล แต่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังไม่มีการพัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลอย่างชัดเจน ดังนั้น คณะอนุกรรมการมาตรฐานการศึกษาทางไกล จึงได้มีการพิจารณาควบคุมมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาทางไกล เพื่อรับรองมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ และสกอ.ได้มีแนวทางพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนมากขึ้น โดยได้มีการไปศึกษาระบบ การพัฒนามาตรฐานจากประเทศเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษาทางไกลจากสกอ. และขณะนี้พบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทำการประกาศรับสมัครนักศึกษาผ่านเว็บไซต์ โดยอ้างว่าหลักสูตรได้รับการรับรองจาก สกอ.แล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง และขณะนี้ สกอ.ก็ได้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว.