“สุชาติ” เตรียมนัดกลุ่มมหา’ลัยรัฐ ราชภัฏ ราชมงคล เอกชน คุยเลื่อนเปิด-ปิดเทอม 5 ก.ย.นี้ ชี้ ส่วนตัวเห็นควรทำเป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้าน “ไพฑูรย์” ระบุ ยังไม่มีความจำเป็นต้องเลื่อนให้ตรงอาเซียนเวลานี้ แต่แนวโน้มมหา’ลัยเอกชนต้องเลื่อนตาม ทปอ.ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความลักลั่น
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวกล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติเลื่อนกระบวนการคัดเลือกและปฏิทินการสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2557 ซึ่งเดิมกระบวนการรับสมัครแอดมิชชันจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปีมาเป็นช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกับกลุ่มประเทศอาเซียน ว่า ในสัปดาห์หน้าตนจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังไม่อยากพูดว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งควรจะต้องเลื่อนเปิด-ปิดเทอมให้เหมือนกัน แต่ตนเห็นว่าเราควรทำให้เป็นมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทุกๆ ประเทศก็ทำแบบนั้น ยกเว้นเพียงมหาวิทยาลัยอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) หรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ซึ่งเปิดรับนักศึกษาได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทราบว่าจะไม่เลื่อนเปิดเทอม ซึ่งตนก็เห็นด้วยเพื่อที่นักเรียนจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมและในต่างประเทศเขาก็ไม่มีการปรับเปลี่ยน
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เชิญมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ., มรภ., มทร.มหาวิทยาลัยเอกชน มาประชุมร่วมกันที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในวันที่ 5 กันยายน เวลา 15.00 น.ซึ่งนอกจากมหาวิทยาลัยแล้วยังจะเชิญ สพฐ.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะได้มาพูดคุยปัญหาของแต่ละฝ่ายและหาทางออกร่วมกัน เพราะมีความกังวลว่าหากเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกันจะเกิดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบมากขึ้น ผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่าย และก็ยังเป็นภาระงบประมาณของรัฐด้วย นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอื่นๆ เช่น กรณีกลุ่ม ม.ราชภัฏ ก็เป็นกังวลว่านักศึกษาที่เรียนในศึกษาศาสตร์ อาจจะกระทบว่าเมื่อต้องไปฝึกสอนในโรงเรียน 1 ปีการศึกษาหากเลื่อนเปิดเทอมออกไปเวลาการฝึกสอน อาจจะไม่ตรงกับการเปิดเรียนของโรงเรียน หรือกลุ่ม มทร.เองอาจจะเสียโอกาสหากเด็กที่จบอาชีวศึกษาแล้วอยากจะมาเรียนต่อ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า จริงๆ แล้วมีแนวโน้มว่ามหาวิทยาลัยเอกชนจะต้องเลื่อนการเปิด ปิดภาคเรียนตามมติ ทปอ.แน่นอน เพราะไม่เช่นจะทำให้เกิดการลักลั่น ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนตาม ทปอ.ก็อาจจะมีกรณีที่นักเรียนสละสิทธิ์ เพื่อมาสอบแอดมิชชันได้ หรือมาเข้าร่วมระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) และความจริงแล้ว อุดมศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) หากจะเลื่อนก็ควรจะเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน หรือจะปรับแนวทางอะไรก็ควรปรับให้ให้สอดคล้องกันทั้งระบบ ไม่เช่นนั้นการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยเองจะเกิดปัญหา นักเรียนเองก็จะสับสนขณะเดียวกันทำให้เด็กต้องวิ่งสอบหลายครั้ง
“ส่วนตัวเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่อุดมศึกษาไทยต้องเร่งรีบเลื่อนเปิด-ปิด ภาคเรียนให้ตรงกับประเทศอาเซียน เพราะเรายังพอมีเวลาศึกษา ผลกระทบที่เกิดจากการร่วมตัวของประชาคมอาเซียนให้ดีก่อน ถ้าพบว่า เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้วกิจกรรมของในระดับอุดมศึกษามีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร หรือมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติมาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น ค่อยตัดสินใจเลื่อน แต่ถ้าไม่มีผลกระทบดังกล่าวมากก็ยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากทุกวันก็นักศึกษาไทยไปเรียนต่อต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่จำเป็นต้องเลื่อน เพราะเป็นนักศึกษาจำนวนน้อย และโดยส่วนตัวเชื่อว่า ช่วงที่รวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใหม่ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษา จะยังมีน้อยอยู่
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวกล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติเลื่อนกระบวนการคัดเลือกและปฏิทินการสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2557 ซึ่งเดิมกระบวนการรับสมัครแอดมิชชันจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปีมาเป็นช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกับกลุ่มประเทศอาเซียน ว่า ในสัปดาห์หน้าตนจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารือในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังไม่อยากพูดว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งควรจะต้องเลื่อนเปิด-ปิดเทอมให้เหมือนกัน แต่ตนเห็นว่าเราควรทำให้เป็นมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทุกๆ ประเทศก็ทำแบบนั้น ยกเว้นเพียงมหาวิทยาลัยอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) หรือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ซึ่งเปิดรับนักศึกษาได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทราบว่าจะไม่เลื่อนเปิดเทอม ซึ่งตนก็เห็นด้วยเพื่อที่นักเรียนจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมและในต่างประเทศเขาก็ไม่มีการปรับเปลี่ยน
ด้าน รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เชิญมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ., มรภ., มทร.มหาวิทยาลัยเอกชน มาประชุมร่วมกันที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในวันที่ 5 กันยายน เวลา 15.00 น.ซึ่งนอกจากมหาวิทยาลัยแล้วยังจะเชิญ สพฐ.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะได้มาพูดคุยปัญหาของแต่ละฝ่ายและหาทางออกร่วมกัน เพราะมีความกังวลว่าหากเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกันจะเกิดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบมากขึ้น ผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่าย และก็ยังเป็นภาระงบประมาณของรัฐด้วย นอกจากนี้ ยังมีความกังวลอื่นๆ เช่น กรณีกลุ่ม ม.ราชภัฏ ก็เป็นกังวลว่านักศึกษาที่เรียนในศึกษาศาสตร์ อาจจะกระทบว่าเมื่อต้องไปฝึกสอนในโรงเรียน 1 ปีการศึกษาหากเลื่อนเปิดเทอมออกไปเวลาการฝึกสอน อาจจะไม่ตรงกับการเปิดเรียนของโรงเรียน หรือกลุ่ม มทร.เองอาจจะเสียโอกาสหากเด็กที่จบอาชีวศึกษาแล้วอยากจะมาเรียนต่อ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า จริงๆ แล้วมีแนวโน้มว่ามหาวิทยาลัยเอกชนจะต้องเลื่อนการเปิด ปิดภาคเรียนตามมติ ทปอ.แน่นอน เพราะไม่เช่นจะทำให้เกิดการลักลั่น ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนตาม ทปอ.ก็อาจจะมีกรณีที่นักเรียนสละสิทธิ์ เพื่อมาสอบแอดมิชชันได้ หรือมาเข้าร่วมระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) และความจริงแล้ว อุดมศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) หากจะเลื่อนก็ควรจะเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน หรือจะปรับแนวทางอะไรก็ควรปรับให้ให้สอดคล้องกันทั้งระบบ ไม่เช่นนั้นการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยเองจะเกิดปัญหา นักเรียนเองก็จะสับสนขณะเดียวกันทำให้เด็กต้องวิ่งสอบหลายครั้ง
“ส่วนตัวเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่อุดมศึกษาไทยต้องเร่งรีบเลื่อนเปิด-ปิด ภาคเรียนให้ตรงกับประเทศอาเซียน เพราะเรายังพอมีเวลาศึกษา ผลกระทบที่เกิดจากการร่วมตัวของประชาคมอาเซียนให้ดีก่อน ถ้าพบว่า เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้วกิจกรรมของในระดับอุดมศึกษามีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร หรือมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติมาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น ค่อยตัดสินใจเลื่อน แต่ถ้าไม่มีผลกระทบดังกล่าวมากก็ยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากทุกวันก็นักศึกษาไทยไปเรียนต่อต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่จำเป็นต้องเลื่อน เพราะเป็นนักศึกษาจำนวนน้อย และโดยส่วนตัวเชื่อว่า ช่วงที่รวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใหม่ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษา จะยังมีน้อยอยู่