วานนี้ (30 ม.ค.) คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายวิรุฬ ฟื้นแสน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นประธานการประชุม ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารเรือ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นราธิวาส และจังหวัดสงขลา ตลอดจนประธานสมาคมโรฮิงญาแห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อเท็จจริง และหาแนวทางการช่วยเหลือชาวโรฮิงญา ที่อพยพมายังภาคใต้ของประเทศไทย
ทั้งนี้ นายเชิดเกียรติ อัตถากร รองอธิบดีองค์การระหว่างต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยตัวเลขชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ ล่าสุดอยู่ที่ 1,486 ราย โดยกระจายการดูแล และควบคุมตัวอยู่ที่ ตม. และบ้านพักเด็ก และครอบครัวในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น รัฐบาลได้ให้การดูแล และช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ ส่วนระยะกลาง อยู่ระหว่างการพูดคุยกับประเทศพม่า และประเทศที่ 3 ที่จะรับกลุ่มคนเหล่านี้ไปดูแล ขณะที่การแก้ไขปัญหาระยะยาว จะมีการหารือในระดับภูมิภาค เพื่อหาทางแก้ไขให้กับผู้ลี้ภัย
ขณะที่ นายหม่อง จอนุ ประธานสมาคมโรงฮิงญาแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสาเหตุที่ชาวโรฮิงญา ต้องอพยพเข้ามายังประเทศไทย ว่า เนื่องจากไม่มีความเป็นประชาธิปไตยในพม่า เกิดการเข่นฆ่า-ล้างเผ่าพันธุ์ไปแล้วกว่า 5 หมื่นราย ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่ากระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้รับรายงาน เพราะมีความพยายามปกปิดตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทางการพม่ามาโดยตลอด พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้อพยพมา เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่า จะมีชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ยอมรับว่า มีขบวนการลักลอบเข้าเมืองจริง โดยเฉลี่ยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 60,000-65,000 บาท
นอกจากนี้ นายหม่อง จอนุ ได้เรียกร้องให้ทางการไทย จดทะเบียนชั่วคราว เพื่อให้คนกลุ่มเหล่านี้ได้รับสิทธิ์ในการทำงาน และการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ขณะเดียวกันขอให้ทางยูเอ็น จัดกองกำลังสันติภาพคุ้มครองชาวโรฮิงญา ในระหว่างการเดินทางกลับพื้นที่ และจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ขอให้มีการประชุมลับ เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เบื้องต้นได้วางกรอบที่จะรับดูแลชาวโรฮิงญา ที่หลบหนี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเป็นเวลา 6 เดือน โดยได้ทำเรื่องของบกลางในอัตราหัวละ 75 บาทต่อวัน ซึ่งมีชาวโรฮิงญาทั้งหมด 1,300 คน ซึ่งขณะนี้ได้แยกโรฮิงญา ที่เป็นผู้ชายไว้ที่สำนักงานตำรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ ส่วนผู้หญิงและเด็ก จะให้อยู่ที่บ้านพักเด็กและสตรี ของกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ในวันนี้ จะนำทูต และตัวแทนสถานทูตของกลุ่มประเทศองค์การอิสลาม หรือ โอไอซี ไปลงพื้นที่ดูปัญหาดังกล่าว พร้อมกันนี้ยังได้กำชับปลัดกระทรวงต่างประเทศ ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยชน เพื่อขอรับการช่วยเหลือดูแล โรฮิงญาเหล่านี้ รวมถึงพิจารณาส่งไปประเทศที่สาม ขณะเดียวกันก็ประสานกับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพเมียนมาร์ เพื่อรับคนกลุ่มนี้กลับประเทศ แต่ต้องยืนยันความปลอดภัย
รมว.ต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ในการลงพื้นที่วันนี้ นอกจากปัญหาโรฮิงญา แล้วจะได้นำทูตและตัวแทนทูตกลุ่มโอไอซี ไปลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และขอความเห็นในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ นายเชิดเกียรติ อัตถากร รองอธิบดีองค์การระหว่างต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยตัวเลขชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ ล่าสุดอยู่ที่ 1,486 ราย โดยกระจายการดูแล และควบคุมตัวอยู่ที่ ตม. และบ้านพักเด็ก และครอบครัวในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น รัฐบาลได้ให้การดูแล และช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ ส่วนระยะกลาง อยู่ระหว่างการพูดคุยกับประเทศพม่า และประเทศที่ 3 ที่จะรับกลุ่มคนเหล่านี้ไปดูแล ขณะที่การแก้ไขปัญหาระยะยาว จะมีการหารือในระดับภูมิภาค เพื่อหาทางแก้ไขให้กับผู้ลี้ภัย
ขณะที่ นายหม่อง จอนุ ประธานสมาคมโรงฮิงญาแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสาเหตุที่ชาวโรฮิงญา ต้องอพยพเข้ามายังประเทศไทย ว่า เนื่องจากไม่มีความเป็นประชาธิปไตยในพม่า เกิดการเข่นฆ่า-ล้างเผ่าพันธุ์ไปแล้วกว่า 5 หมื่นราย ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่ากระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้รับรายงาน เพราะมีความพยายามปกปิดตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทางการพม่ามาโดยตลอด พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้อพยพมา เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่า จะมีชาวโรฮิงญา ที่อพยพเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ยอมรับว่า มีขบวนการลักลอบเข้าเมืองจริง โดยเฉลี่ยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 60,000-65,000 บาท
นอกจากนี้ นายหม่อง จอนุ ได้เรียกร้องให้ทางการไทย จดทะเบียนชั่วคราว เพื่อให้คนกลุ่มเหล่านี้ได้รับสิทธิ์ในการทำงาน และการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ขณะเดียวกันขอให้ทางยูเอ็น จัดกองกำลังสันติภาพคุ้มครองชาวโรฮิงญา ในระหว่างการเดินทางกลับพื้นที่ และจัดหาที่พักพิงชั่วคราวให้ด้วย จากนั้น ที่ประชุมได้ขอให้มีการประชุมลับ เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เบื้องต้นได้วางกรอบที่จะรับดูแลชาวโรฮิงญา ที่หลบหนี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเป็นเวลา 6 เดือน โดยได้ทำเรื่องของบกลางในอัตราหัวละ 75 บาทต่อวัน ซึ่งมีชาวโรฮิงญาทั้งหมด 1,300 คน ซึ่งขณะนี้ได้แยกโรฮิงญา ที่เป็นผู้ชายไว้ที่สำนักงานตำรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ ส่วนผู้หญิงและเด็ก จะให้อยู่ที่บ้านพักเด็กและสตรี ของกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ในวันนี้ จะนำทูต และตัวแทนสถานทูตของกลุ่มประเทศองค์การอิสลาม หรือ โอไอซี ไปลงพื้นที่ดูปัญหาดังกล่าว พร้อมกันนี้ยังได้กำชับปลัดกระทรวงต่างประเทศ ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยชน เพื่อขอรับการช่วยเหลือดูแล โรฮิงญาเหล่านี้ รวมถึงพิจารณาส่งไปประเทศที่สาม ขณะเดียวกันก็ประสานกับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพเมียนมาร์ เพื่อรับคนกลุ่มนี้กลับประเทศ แต่ต้องยืนยันความปลอดภัย
รมว.ต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ในการลงพื้นที่วันนี้ นอกจากปัญหาโรฮิงญา แล้วจะได้นำทูตและตัวแทนทูตกลุ่มโอไอซี ไปลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และขอความเห็นในการแก้ปัญหาดังกล่าว