ภาพข่าวสลดใจ กรณีคนร้ายยิงครูชลธี เจริญชล เสียชีวิต ในขณะดูแลนักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นเหตุสะเทือนขวัญ ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพครู นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งผู้นับถือศาสนาอิสลาม ที่ได้ร่วมประกอบกิจกรรมทางศาสนาให้ผู้เสียชีวิต ซึ่งได้ออกมาเรียกร้องความสงบสุขในพื้นที่ให้ปราศจากความรุนแรง
จากเหตุการณ์ครูชลธี เจริญชล นับได้ว่าเป็นครูสามจังหวัดชายแดนใต้ คนที่ 158 ซึ่งถูกกระทำอย่างโหดร้าย จากผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จากสถานการณ์นี้แสดงให้เห็นน้ำจิตน้ำใจของครู ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากจะย้อนดูประวัติความรักในวิชาชีพครู พบว่า ปัจจุบันครูชลธี เจริญชล กำลังเป็นนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ครูชลธี เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และรักที่จะพัฒนาตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครูอย่างสมเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพนี้ จึงกล่าวยกย่องได้ว่า ครูชลธี เจริญชล เป็นครูผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินเกิดอย่างแท้จริง
ผู้เขียนรู้สึกสะเทือนใจทุกครั้งที่มีข่าวการเสียชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะครู จึงทำให้ไม่แน่ใจว่า มาตรการดูแลคุ้มครองรักษาครู ผู้ประกอบอาชีพปลูกปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรัดกุม สร้างความเชื่อมั่นและคุ้มกันความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินระดับความเข้มข้นเพียงใด คงจะต้องให้ผู้เกี่ยวทั้งภาครัฐและชุมชนที่ข้องเกี่ยวหามาตรการวิธีปฏิบัติอย่างมีความเข้าใจพื้นที่ โดยให้ชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการมีส่วนร่วมและสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง เพราะพื้นที่เป็นอยู่ คือ ถิ่นฐานที่พี่น้องในพื้นที่ต่างปักหลักอยู่ด้วยความรักในบ้านเกิด
ถ้าหากจะให้เห็นภาพเหตุการณ์ครูรายต่อไปในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งไม่ปรารถนาให้เสียชีวิตอีก ภายหลังจากกรณีครูชลธี เจริญชล ผู้เขียนรู้สึกว่า น้ำตาแห่งผู้สูญเสีย ไม่เฉพาะต่อผู้เกี่ยวข้องด้วยวิชาชีพครู แต่หมายถึงน้ำตาของพี่น้องร่วมแผ่นดิน (ซึ่งไม่แน่ใจว่า หากนับจากครูรายที่ 1 ถึงรายที่ 158 นี้) คงกลายเป็นสายน้ำตาแห่งความรู้สึกสูญเสีย ซึ่งคงมากพอที่จะกลายเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง ทดแทนแม่น้ำหลายสายที่กำลังเหือดแห้งอยู่ในผืนแผ่นดินยามนี้
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
จากเหตุการณ์ครูชลธี เจริญชล นับได้ว่าเป็นครูสามจังหวัดชายแดนใต้ คนที่ 158 ซึ่งถูกกระทำอย่างโหดร้าย จากผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จากสถานการณ์นี้แสดงให้เห็นน้ำจิตน้ำใจของครู ผู้ประกอบวิชาชีพครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากจะย้อนดูประวัติความรักในวิชาชีพครู พบว่า ปัจจุบันครูชลธี เจริญชล กำลังเป็นนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ครูชลธี เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และรักที่จะพัฒนาตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครูอย่างสมเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพนี้ จึงกล่าวยกย่องได้ว่า ครูชลธี เจริญชล เป็นครูผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินเกิดอย่างแท้จริง
ผู้เขียนรู้สึกสะเทือนใจทุกครั้งที่มีข่าวการเสียชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะครู จึงทำให้ไม่แน่ใจว่า มาตรการดูแลคุ้มครองรักษาครู ผู้ประกอบอาชีพปลูกปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรัดกุม สร้างความเชื่อมั่นและคุ้มกันความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินระดับความเข้มข้นเพียงใด คงจะต้องให้ผู้เกี่ยวทั้งภาครัฐและชุมชนที่ข้องเกี่ยวหามาตรการวิธีปฏิบัติอย่างมีความเข้าใจพื้นที่ โดยให้ชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการมีส่วนร่วมและสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง เพราะพื้นที่เป็นอยู่ คือ ถิ่นฐานที่พี่น้องในพื้นที่ต่างปักหลักอยู่ด้วยความรักในบ้านเกิด
ถ้าหากจะให้เห็นภาพเหตุการณ์ครูรายต่อไปในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งไม่ปรารถนาให้เสียชีวิตอีก ภายหลังจากกรณีครูชลธี เจริญชล ผู้เขียนรู้สึกว่า น้ำตาแห่งผู้สูญเสีย ไม่เฉพาะต่อผู้เกี่ยวข้องด้วยวิชาชีพครู แต่หมายถึงน้ำตาของพี่น้องร่วมแผ่นดิน (ซึ่งไม่แน่ใจว่า หากนับจากครูรายที่ 1 ถึงรายที่ 158 นี้) คงกลายเป็นสายน้ำตาแห่งความรู้สึกสูญเสีย ซึ่งคงมากพอที่จะกลายเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง ทดแทนแม่น้ำหลายสายที่กำลังเหือดแห้งอยู่ในผืนแผ่นดินยามนี้
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่