ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าแบงก์ชาติยอมรับเงินบาทช่วง 2-3 สัปดาห์นี้แข็งค่าเร็ว แต่เป็นไปตามพื้นฐานเศรษฐกิจและเกาะกลุ่มภูมิภาค ย้ำเกิดความจำเป็นพร้อมนำเครื่องมือเตรียมไว้มาใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ และผลขาดทุนของแบงก์ชาติที่เกิดขึ้นไม่ใช่อุปสรรคในการดูแลค่าเงิน ส่วนทิศทางนโยบายของ ธปท.ปีนี้เน้นรักษาสมดุลนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายและความยั่งยืนของประชาชน พร้อมเปิดใบอนุญาตให้สถาบันการเงินต่างชาติเข้าไทย ล่าสุยื่นขอแล้ว 2-3 ราย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ อัตราการแข็งค่าเงินบาทค่อนข้างเร็วกว่าสกุลเงินภูมิภาคเอเชีย แต่แง่ของการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนควรดูกรอบเวลาเหมาะสมหรือช่วงระยะยาวมากกว่า โดยเมื่อเทียบตลอด 1 ปีกับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทยังถือว่าเงินบาทไม่แตกต่างกับสกุลเงินภูมิภาคมากนักและเงินบาทยังสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ก็มีการเตรียมเครื่องมือไว้พร้อมอยู่แล้ว หากเกิดความจำเป็นในสถานการณ์ต่างๆ
“สถานการณ์ปัจจุบัน ธปท.มีการติดตามอย่างใกล้ชิดพิเศษ ซึ่งเห็นว่าผลกระทบตอนนี้ก็มีบ้างแตกต่างตามธุรกิจ อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ หากฝืนความเป็นไปของตลาดมากเกินไปจะมีผลต่อต้นทุน แต่ไม่ตอบรับว่ากลไกตลาดเป็นสิ่งที่พิเศษสุด แต่หน้าที่ของธนาคารกลางต้องดูความพอดีของกลไกตลาดให้สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ฉะนั้นเราต้องดูประกอบกันระหว่างธุรกรรมระยะสั้นและพื้นฐานระยะยาว ส่วนเรื่องผลขาดทุนของแบงก์ชาติก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการดูแลค่าเงินบาท เพราะการทำหน้าที่ของธนาคารกลางไม่ใช่บริษัทที่คิดแง่ผลกำไร”
เน้นรักษาสมดุลนโยบายการเงินรอบด้าน
เมื่อวานนี้ (22 ม.ค.) ธปท.ได้จัดงานแถลงนโยบายเรื่อง “ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ประจำปี 56” ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเชื่อมโยง ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ ทำให้ความซับซ้อนมีมากขึ้นและอาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของระบบได้ แม้จะเป็นการก่อตัวจากจุดเล็กๆ ดังนั้นความท้าทายในการดำเนินงานของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าควรอยู่ที่การรักษาสมดุลนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อสร้างประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชน
โดยความท้าทายแรกด้านนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเห็นว่าควรรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพการเงิน เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเกินไปอาจจะสูงใจให้ภาคเอกชนก่อหนี้สินมากเกินควรหรือกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามากขึ้นและอาจนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินหรือภาวะฟองสบู่ได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันราคาอสังหาริมทรัพย์ไทยไม่ได้สูงเกินไป เทียบกับประเทศภูมิภาคนี้
ความท้าท้ายต่อมา การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนมากขึ้น รวมถึงการติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจ ซึ่งการวางโครงสร้างและเตรียมความพร้อมแก่ภาคเอกชน ถือเป็นการพิจารณาสำคัญต่อการเลือกแผนรับมือในสถานการณ์ต่างๆ ขณะที่นโยบายระบบชำระเงินจะรักษาสมดุลในการพัฒนา เพื่อเสริมประสิทธิภาพและสร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ระบบการชำระเงินไทย ธปท.ตั้งเป้าที่จะขยายระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค( ICAS)ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้การเรียกเก็บเช็คข้ามจังหวัดที่ปัจจุบันใช้เวลา 3-5 วันทำการจะเหลือเพียง 1 วันทำการ และส่งเสริมให้ใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนเงินสด รวมถึงยกระดับระบบการชำระเงินไทยให้เอื้อต่อการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
แบงก์ต่างชาติจ่อเข้าไทยอีก 2-3 ราย
ขณะที่ความท้าทายนโยบายสถาบันการเงินจะรักษาสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยในปีนี้ ธปท.มีแผนจะให้ใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินต่างชาติที่จะเข้ามาดำเนินการในไทยตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะสอง เบื้องต้นคาดว่า ธปท.จะทำเสนอเรื่องนี้ให้ รมว.คลังรับทราบภายในไตรมาสแรกและไตรมาสถัดไปน่าจะได้ข้อสรุป หลังจากนั้นช่วงกลางปีนี้จะสามารถประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อเข้าช่วงครึ่งหลังของปีจะเริ่มให้สถาบันการเงินต่างชาติขออนุญาตและเริ่มทำอย่างจริงจังในช่วงต้นปี 57 จึงเชื่อว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อธนาคารพาณิชย์ไทย ตรงกันข้ามจะส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการให้มาก
"ขณะนี้มีสถาบันการเงินต่างชาติมีความสนใจขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจในไทยมาบ้างแล้ว จึงคาดว่าช่วงต้นปี 57 นี้ จะมีสถาบันการเงินต่างชาติเข้ามาสนใจทำธุรกิจในไทยเพิ่มเติมอีก 2-3 ราย" นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวเพิ่มเติม.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ อัตราการแข็งค่าเงินบาทค่อนข้างเร็วกว่าสกุลเงินภูมิภาคเอเชีย แต่แง่ของการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนควรดูกรอบเวลาเหมาะสมหรือช่วงระยะยาวมากกว่า โดยเมื่อเทียบตลอด 1 ปีกับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทยังถือว่าเงินบาทไม่แตกต่างกับสกุลเงินภูมิภาคมากนักและเงินบาทยังสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม ธปท.ก็มีการเตรียมเครื่องมือไว้พร้อมอยู่แล้ว หากเกิดความจำเป็นในสถานการณ์ต่างๆ
“สถานการณ์ปัจจุบัน ธปท.มีการติดตามอย่างใกล้ชิดพิเศษ ซึ่งเห็นว่าผลกระทบตอนนี้ก็มีบ้างแตกต่างตามธุรกิจ อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ หากฝืนความเป็นไปของตลาดมากเกินไปจะมีผลต่อต้นทุน แต่ไม่ตอบรับว่ากลไกตลาดเป็นสิ่งที่พิเศษสุด แต่หน้าที่ของธนาคารกลางต้องดูความพอดีของกลไกตลาดให้สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ฉะนั้นเราต้องดูประกอบกันระหว่างธุรกรรมระยะสั้นและพื้นฐานระยะยาว ส่วนเรื่องผลขาดทุนของแบงก์ชาติก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการดูแลค่าเงินบาท เพราะการทำหน้าที่ของธนาคารกลางไม่ใช่บริษัทที่คิดแง่ผลกำไร”
เน้นรักษาสมดุลนโยบายการเงินรอบด้าน
เมื่อวานนี้ (22 ม.ค.) ธปท.ได้จัดงานแถลงนโยบายเรื่อง “ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ประจำปี 56” ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเชื่อมโยง ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ ทำให้ความซับซ้อนมีมากขึ้นและอาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของระบบได้ แม้จะเป็นการก่อตัวจากจุดเล็กๆ ดังนั้นความท้าทายในการดำเนินงานของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าควรอยู่ที่การรักษาสมดุลนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อสร้างประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชน
โดยความท้าทายแรกด้านนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเห็นว่าควรรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพการเงิน เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเกินไปอาจจะสูงใจให้ภาคเอกชนก่อหนี้สินมากเกินควรหรือกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามากขึ้นและอาจนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินหรือภาวะฟองสบู่ได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันราคาอสังหาริมทรัพย์ไทยไม่ได้สูงเกินไป เทียบกับประเทศภูมิภาคนี้
ความท้าท้ายต่อมา การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนมากขึ้น รวมถึงการติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจ ซึ่งการวางโครงสร้างและเตรียมความพร้อมแก่ภาคเอกชน ถือเป็นการพิจารณาสำคัญต่อการเลือกแผนรับมือในสถานการณ์ต่างๆ ขณะที่นโยบายระบบชำระเงินจะรักษาสมดุลในการพัฒนา เพื่อเสริมประสิทธิภาพและสร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้แก่ระบบการชำระเงินไทย ธปท.ตั้งเป้าที่จะขยายระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค( ICAS)ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้การเรียกเก็บเช็คข้ามจังหวัดที่ปัจจุบันใช้เวลา 3-5 วันทำการจะเหลือเพียง 1 วันทำการ และส่งเสริมให้ใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนเงินสด รวมถึงยกระดับระบบการชำระเงินไทยให้เอื้อต่อการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
แบงก์ต่างชาติจ่อเข้าไทยอีก 2-3 ราย
ขณะที่ความท้าทายนโยบายสถาบันการเงินจะรักษาสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยในปีนี้ ธปท.มีแผนจะให้ใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินต่างชาติที่จะเข้ามาดำเนินการในไทยตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะสอง เบื้องต้นคาดว่า ธปท.จะทำเสนอเรื่องนี้ให้ รมว.คลังรับทราบภายในไตรมาสแรกและไตรมาสถัดไปน่าจะได้ข้อสรุป หลังจากนั้นช่วงกลางปีนี้จะสามารถประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อเข้าช่วงครึ่งหลังของปีจะเริ่มให้สถาบันการเงินต่างชาติขออนุญาตและเริ่มทำอย่างจริงจังในช่วงต้นปี 57 จึงเชื่อว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อธนาคารพาณิชย์ไทย ตรงกันข้ามจะส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการให้มาก
"ขณะนี้มีสถาบันการเงินต่างชาติมีความสนใจขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจในไทยมาบ้างแล้ว จึงคาดว่าช่วงต้นปี 57 นี้ จะมีสถาบันการเงินต่างชาติเข้ามาสนใจทำธุรกิจในไทยเพิ่มเติมอีก 2-3 ราย" นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวเพิ่มเติม.