ASTVผู้จัดการรายวัน-“พงษ์ศักดิ์”สั่งศึกษาแผนการผลิตไฟฟ้าที่แม่เมาะใหม่ หวังเร่งใช้ลิกไนต์เบรกค่าไฟในระยะยาวเหตุต้นทุนผลิตต่ำกว่าก๊าซฯกว่าเท่าตัว แถมก๊าซฯอ่าวไทยก็จะทยอยหมดในอีก9-10ปีนำเข้าแพง แนะให้ลองมองถ่านหินนำเข้าจากเพื่อนบ้านเข้ามาเสริม
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงการตรวจเยี่ยมโรงไฟฟ้าแม่เมาะเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการทบทวนแผนผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ที่แม่เมาะในระยะยาวที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากแผนให้เร็วขึ้นและปรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใหม่ที่ขณะนี้มีเทคโนโลยีประหยัดและสะอาดกว่าเพื่อที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการช่วยลดผลกระทบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft เนื่องจากต้นทุนผลิตไฟเพียง 1 บาทต่อหน่วยซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ระดับ 3.20 บาทต่อหน่วย
“ผมอยากให้มองกลับกันแทนที่จะพยายามรักษาลิกไนต์ที่มีอยู่ไว้ให้นานๆ แต่ในเมื่อค่าไฟต่ำมากอนาคตก๊าซฯอ่าวไทยก็จะหมดลงในอีก 9-10 ปีนำเข้าจะแพงมาก ทำไมไม่เอาโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะมาผลิตไฟให้ประชาชนมากขึ้นเพื่อที่จะพยายามตรึงค่าไฟไว้ในระยะยาวไม่ให้สูง ลองดูว่าถ้าเราเร่งใช้ แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเอาถ่านหินนำเข้าจากแหล่งเพื่อนบ้านเช่นพม่าที่อยู่เหนือเราขึ้นไป ”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้ต้องการให้กฟผ.นำเงินกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ปีหนึ่งจะมีรายได้กว่า 300 ล้านบาทนำส่วนหนึ่งมาจัดสรรการสร้างที่พักรวมเพื่อให้บริการฟรีแก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษาให้มากขึ้นเ และปรับทิวทัศน์เพื่อที่จะยกระดับให้แม่เมาะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ให้กับเยาวชนไทยเพื่อปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน
โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่แม่เมาะมีความปลอดภัยโดยเฉพาะการปล่อยมลพิษนั้นพบว่าต่ำมากกว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯด้วยซ้ำไป
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 2,400 เมกะวัตต์( 10 เครื่อง)คิดเป็น 8% ของการผลิตของประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือ EHIA เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4-7 กำลังผลิต 600 เมกวัตต์คาดว่าจะเสนอบอร์ดกฟผ.และนำเสนอครม.เห็นชอบได้เร็วๆ นี้
“แนวคิดของรัฐมนตรีคงต้องนำไปศึกษา โดยเฉพาะอนาคตจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ระบบคมนาคมระบบรางรถไฟที่จะวางไปก็จะเชื่อมกันได้และลดต้นทุนก็น่าจะมีโอกาสเพิ่ม ซึ่งแหล่งถ่านหินที่พม่าก่อนหน้านี้เคยมีโครงการผลิตไฟเสนอขายแต่ได้เลิกไปแต่เหมืองเองยังพัฒนาอยู่ก็อาจจะพิจารณาจุดนี้ได้”นายสุทัศน์กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงการตรวจเยี่ยมโรงไฟฟ้าแม่เมาะเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการทบทวนแผนผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ที่แม่เมาะในระยะยาวที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากแผนให้เร็วขึ้นและปรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใหม่ที่ขณะนี้มีเทคโนโลยีประหยัดและสะอาดกว่าเพื่อที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการช่วยลดผลกระทบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft เนื่องจากต้นทุนผลิตไฟเพียง 1 บาทต่อหน่วยซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ระดับ 3.20 บาทต่อหน่วย
“ผมอยากให้มองกลับกันแทนที่จะพยายามรักษาลิกไนต์ที่มีอยู่ไว้ให้นานๆ แต่ในเมื่อค่าไฟต่ำมากอนาคตก๊าซฯอ่าวไทยก็จะหมดลงในอีก 9-10 ปีนำเข้าจะแพงมาก ทำไมไม่เอาโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะมาผลิตไฟให้ประชาชนมากขึ้นเพื่อที่จะพยายามตรึงค่าไฟไว้ในระยะยาวไม่ให้สูง ลองดูว่าถ้าเราเร่งใช้ แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเอาถ่านหินนำเข้าจากแหล่งเพื่อนบ้านเช่นพม่าที่อยู่เหนือเราขึ้นไป ”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้ต้องการให้กฟผ.นำเงินกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ปีหนึ่งจะมีรายได้กว่า 300 ล้านบาทนำส่วนหนึ่งมาจัดสรรการสร้างที่พักรวมเพื่อให้บริการฟรีแก่กลุ่มนักเรียน นักศึกษาให้มากขึ้นเ และปรับทิวทัศน์เพื่อที่จะยกระดับให้แม่เมาะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ให้กับเยาวชนไทยเพื่อปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน
โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่แม่เมาะมีความปลอดภัยโดยเฉพาะการปล่อยมลพิษนั้นพบว่าต่ำมากกว่าพื้นที่ในกรุงเทพฯด้วยซ้ำไป
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 2,400 เมกะวัตต์( 10 เครื่อง)คิดเป็น 8% ของการผลิตของประเทศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือ EHIA เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4-7 กำลังผลิต 600 เมกวัตต์คาดว่าจะเสนอบอร์ดกฟผ.และนำเสนอครม.เห็นชอบได้เร็วๆ นี้
“แนวคิดของรัฐมนตรีคงต้องนำไปศึกษา โดยเฉพาะอนาคตจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ระบบคมนาคมระบบรางรถไฟที่จะวางไปก็จะเชื่อมกันได้และลดต้นทุนก็น่าจะมีโอกาสเพิ่ม ซึ่งแหล่งถ่านหินที่พม่าก่อนหน้านี้เคยมีโครงการผลิตไฟเสนอขายแต่ได้เลิกไปแต่เหมืองเองยังพัฒนาอยู่ก็อาจจะพิจารณาจุดนี้ได้”นายสุทัศน์กล่าว