ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (17ม.ค.) ช่วงก่อนเข้าสู่วาระ นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ได้หารือ ถึงการให้บริการด้านสาธารณสุข ภายในสภาผู้แทนราษฎร หลังจากเกิดกรณี นายสกล สนธิรัตน์ ช่างภาพเครือเนชั่น ป่วยแล้วไม่ได้รับการดูแล เพราะต้องกันรถพยาบาลให้กับ ส.ส. -ส.ว. ซึ่งทำให้ประชาชน มองมาแล้วไม่ดี ซึ่ง ตนเห็นว่า ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินอะไร ควรจะรีบให้การช่วยเหลือทันที
ขณะที่ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า ทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำข้อตกลงกับโรงพยาลบาลพระมงกุฎ ไว้แล้ว ว่า ในเรื่องการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. -ส.ว. สมาชิก และการดูแลประชาชน ให้ยาทุกชนิด เท่าเทียมกัน พร้อมกับกำชับว่า สมาชิกต้องดูแลเหมือนกัน ขณะนี้ ทางสภาฯได้มีรถฉุกเฉินมาเพิ่มอีก 1 คันแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
ต่อมา นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ถามกระทู้สดถึงเรื่องนี้ โดยระบุว่า จากเหตุการณ์สื่อมวลชนป่วยที่สภา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.นั้น ปรากฏเป็นข่าวว่า มีรถพยาบาลฉุกเฉิน แต่ไม่นำส่งทันที อ้างว่าต้องเอาไว้ดูแล ส.ส. -ส.ว. นอกจากนี้ผู้ป่วยมีอาการฉุกเฉิน แต่กลับไปส่งโรงพยาลบาลที่มีประกันสังคม ทั้งๆที่กรณีฉุกเฉิน ควรส่งไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องรถพยาบาลที่ระบุว่า ต้องรอส่งเฉพาะ ส.ส. ส.ว. เท่านั้นและหากในสัปดาห์นี้ มีการนำรถพยาบาลมาไว้ที่สภาฯ 2 คัน ตนมองว่าเป็นการฟุ่มเฟือย ควรแบ่งให้ประชาชนได้ใช้บ้าง และหากมีเหตุก็ควรเอาคันที่อยู่ประจำสภาฯ ออกส่งก่อน แล้วส่งคันใหม่เข้ามาประจำการแทน
ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข ชี้แจงว่า จากคำแถลงรายงานของ รพ.พระมงกุฎเกล้า ซึ่ง แพทย์และพยาบาลที่ประจำรัฐสภาได้เข้ามาวินิจฉัยอาการของสื่อมวลชน พบว่า อยู่ในภาวะสีเหลือง คือ ภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน ที่ยังสามารถรอ และให้ไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม แต่ก็ต้องนำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งตอนแรกจะนำไปส่งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แต่ในขณะนั้นผู้ป่วยสามารถ โต้ตอบ สื่อสารรู้เรื่อง และร้องขอไปโรงพยาบาลกลาง ที่ถือบัตรประกันสังคมอยู่
ส่วนที่ถามว่าหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ต้องไปส่งในโรงพยาลที่ผู้ป่วยถือสิทธิ หรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า หากเป็นกรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาที่โรงพยาลไหนก็ได้ และสิทธิต่างๆก็จะตามไปชดเชยให้ผู้ป่วย ส่วนปัญหาระบบการให้การช่วยเหลือคนในช่วงฉุกเฉิน ตนรับปากว่าจะนำปัญหานี้ไปแก้ไขต่อไป
ขณะที่ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า ทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำข้อตกลงกับโรงพยาลบาลพระมงกุฎ ไว้แล้ว ว่า ในเรื่องการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. -ส.ว. สมาชิก และการดูแลประชาชน ให้ยาทุกชนิด เท่าเทียมกัน พร้อมกับกำชับว่า สมาชิกต้องดูแลเหมือนกัน ขณะนี้ ทางสภาฯได้มีรถฉุกเฉินมาเพิ่มอีก 1 คันแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก
ต่อมา นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ถามกระทู้สดถึงเรื่องนี้ โดยระบุว่า จากเหตุการณ์สื่อมวลชนป่วยที่สภา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.นั้น ปรากฏเป็นข่าวว่า มีรถพยาบาลฉุกเฉิน แต่ไม่นำส่งทันที อ้างว่าต้องเอาไว้ดูแล ส.ส. -ส.ว. นอกจากนี้ผู้ป่วยมีอาการฉุกเฉิน แต่กลับไปส่งโรงพยาลบาลที่มีประกันสังคม ทั้งๆที่กรณีฉุกเฉิน ควรส่งไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องรถพยาบาลที่ระบุว่า ต้องรอส่งเฉพาะ ส.ส. ส.ว. เท่านั้นและหากในสัปดาห์นี้ มีการนำรถพยาบาลมาไว้ที่สภาฯ 2 คัน ตนมองว่าเป็นการฟุ่มเฟือย ควรแบ่งให้ประชาชนได้ใช้บ้าง และหากมีเหตุก็ควรเอาคันที่อยู่ประจำสภาฯ ออกส่งก่อน แล้วส่งคันใหม่เข้ามาประจำการแทน
ด้านนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข ชี้แจงว่า จากคำแถลงรายงานของ รพ.พระมงกุฎเกล้า ซึ่ง แพทย์และพยาบาลที่ประจำรัฐสภาได้เข้ามาวินิจฉัยอาการของสื่อมวลชน พบว่า อยู่ในภาวะสีเหลือง คือ ภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน ที่ยังสามารถรอ และให้ไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม แต่ก็ต้องนำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งตอนแรกจะนำไปส่งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แต่ในขณะนั้นผู้ป่วยสามารถ โต้ตอบ สื่อสารรู้เรื่อง และร้องขอไปโรงพยาบาลกลาง ที่ถือบัตรประกันสังคมอยู่
ส่วนที่ถามว่าหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ต้องไปส่งในโรงพยาลที่ผู้ป่วยถือสิทธิ หรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า หากเป็นกรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาที่โรงพยาลไหนก็ได้ และสิทธิต่างๆก็จะตามไปชดเชยให้ผู้ป่วย ส่วนปัญหาระบบการให้การช่วยเหลือคนในช่วงฉุกเฉิน ตนรับปากว่าจะนำปัญหานี้ไปแก้ไขต่อไป