ชุมชน ถือว่าเป็นสถาบันสำคัญทางสังคมที่มีสมาชิกในชุมชน เป็นผู้ดูแล ช่วยเหลือและประคับประคองให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ภายใต้กติกา มารยาท และธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชุมชน ซึ่งจะกล่าวได้ว่าชุมชนอยู่ได้และเข้มแข็งได้เพราะคนในชุมชน
ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปแถบหมู่บ้านลำยา เป็นพื้นที่ก่อนเข้าถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ไข่แดง ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อร่วมงานอาสัญกรรมของผู้ใหญ่สูงวัยท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นที่รักและนับถือของสมาชิกในชุมชน ภาพที่สะท้อนให้ว่า พื้นที่ไข่แดง ซึ่งมีความอันตรายตามความเชื่อของหลายคน ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังคงได้เห็นภาพหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการจัดการชุมชนและร่วมกิจกรรมรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน จนขยายเป็นความร่วมมือของผู้คนในชุมชน เพราะสมาชิกต่างเห็นว่าชุมชนเข้มแข็งได้เพราะคนในชุมชนช่วยเหลือกัน
บรรยากาศในงานภายในวัดลำยา ซึ่งผู้คนมากมายกำลังรอคอยรดน้ำศพผู้จากไป ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการเข้าแถวยาวเพื่อต่อคิว โดยไม่ต้องมีผู้ประชาสัมพันธ์เพื่อจัดระเบียบผู้มาร่วมงาน พร้อมกันนั้น สิ่งที่นับว่าเป็นประเพณีรดน้ำศพผู้จากไปที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น คือการมอบถ้วยใบเล็ก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารประเภทน้ำพริกหรือน้ำซุปแก่แขกผู้มาร่วมงานในวันนั้น จนกลายเป็นภาพประทับใจหนึ่งซึ่งพบได้จากกิจกรรมทางศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา และสิ่งเหล่านี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในชุมชน ต่างดูแลช่วยเหลือและรักสามัคคีกัน นั่นมิใช่เพราะว่าพวกเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองเพียงอย่างเดียว แม้สถานการณ์ความไม่ปกติ อันเกิดมาจากความรุนแรงของน้ำมือผู้ก่อการร้าย จะยังคงเกิดขึ้นอยู่สม่ำเสมอ และมีการนำเสนอข่าวด้วยข้อความที่ว่า เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อก่อให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่
สิ่งที่ผู้เขียนตั้งใจจะสะท้อนให้เห็นภาพชุมชนลำยา ซึ่งเป็นพื้นที่เข้มแข็ง คือผู้คนในชุมชนช่วยกันดูแล ปกป้องคุ้มครองผู้คนและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการจัดการชุมชน ส่งผลให้พี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม เป็นอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ มีวิถีต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกิจกรรมสำคัญ โดยมิได้มองเห็นความแตกต่างในวิถีชีวิตที่มีความเชื่อ ศาสนาและวิถีชีวิตที่ต่างกัน เพราะผู้คนต่างใช้ “ความรักในบ้านเกิด” เป็นแรงขับเคลื่อนและรักษาชุมชน
ผู้เขียน คิดเห็นว่า หากรัฐจะต้องให้การช่วยเหลือหรือสนับสนุน สำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่ ควรให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการคิด กระทำ และจัดการชุมชนของตนเอง เพราะพื้นที่เหล่านั้น เป็นพื้นที่ซึ่งพวกเขาเป็นอยู่มาตั้งแต่กำเนิด รู้จักรายละเอียดของพื้นที่และความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ดี แต่สิ่งที่รัฐควรตระหนักในหน้าที่ซึ่งตนเองจะต้องแจ่มชัดคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” พื้นที่ต่างๆ ตามแนวทางที่พ่อหลวงทรงให้ไว้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากกำกับหรือสั่งการที่อาจมองข้ามข้อมูลและข้อเท็จจริงบางประการที่สำคัญในพื้นที่ อย่างเช่นประเด็นการจัดการตนเองของชุมชน เพราะแท้จริงแล้วผู้คนในชุมชนต่างหาก จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ของพวกเขา ซึ่งไม่จำเป็นต้อง “คิดแทน” พวกเขาทั้งหมด
ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น นอกจากเป็นผลมาจากการก่อการร้ายแล้ว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าสินค้าหนีภาษี ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้คนในพื้นที่กับการดำเนินการของรัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือ ความเข้าใจที่มีต่อชุมชน อันมีลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องเข้าถึง และร่วมเข้าไปพัฒนา มิใช่เข้าไปจัดการในลักษณะเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมจากชุมชน ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงจากการบริหารนโยบายที่ผิดพลาด จนกลายเป็นความพิการซ้ำซ้อนในระบบ จนกลายเป็นความยากลำบากในการเยียวยา เพราะเพียงแต่ลำพังแนวคิดที่ว่า เงิน จะแก้ปัญหาได้นั้น เงินคงไม่ใช่คำตอบในแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น และความจริงใจซึ่งจะต้องใช้ความเชื่อใจ เป็นสิ่งเดิมพัน
ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปแถบหมู่บ้านลำยา เป็นพื้นที่ก่อนเข้าถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ไข่แดง ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อร่วมงานอาสัญกรรมของผู้ใหญ่สูงวัยท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นที่รักและนับถือของสมาชิกในชุมชน ภาพที่สะท้อนให้ว่า พื้นที่ไข่แดง ซึ่งมีความอันตรายตามความเชื่อของหลายคน ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังคงได้เห็นภาพหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการจัดการชุมชนและร่วมกิจกรรมรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน จนขยายเป็นความร่วมมือของผู้คนในชุมชน เพราะสมาชิกต่างเห็นว่าชุมชนเข้มแข็งได้เพราะคนในชุมชนช่วยเหลือกัน
บรรยากาศในงานภายในวัดลำยา ซึ่งผู้คนมากมายกำลังรอคอยรดน้ำศพผู้จากไป ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการเข้าแถวยาวเพื่อต่อคิว โดยไม่ต้องมีผู้ประชาสัมพันธ์เพื่อจัดระเบียบผู้มาร่วมงาน พร้อมกันนั้น สิ่งที่นับว่าเป็นประเพณีรดน้ำศพผู้จากไปที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น คือการมอบถ้วยใบเล็ก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารประเภทน้ำพริกหรือน้ำซุปแก่แขกผู้มาร่วมงานในวันนั้น จนกลายเป็นภาพประทับใจหนึ่งซึ่งพบได้จากกิจกรรมทางศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา และสิ่งเหล่านี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในชุมชน ต่างดูแลช่วยเหลือและรักสามัคคีกัน นั่นมิใช่เพราะว่าพวกเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองเพียงอย่างเดียว แม้สถานการณ์ความไม่ปกติ อันเกิดมาจากความรุนแรงของน้ำมือผู้ก่อการร้าย จะยังคงเกิดขึ้นอยู่สม่ำเสมอ และมีการนำเสนอข่าวด้วยข้อความที่ว่า เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อก่อให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่
สิ่งที่ผู้เขียนตั้งใจจะสะท้อนให้เห็นภาพชุมชนลำยา ซึ่งเป็นพื้นที่เข้มแข็ง คือผู้คนในชุมชนช่วยกันดูแล ปกป้องคุ้มครองผู้คนและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการจัดการชุมชน ส่งผลให้พี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม เป็นอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ มีวิถีต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกิจกรรมสำคัญ โดยมิได้มองเห็นความแตกต่างในวิถีชีวิตที่มีความเชื่อ ศาสนาและวิถีชีวิตที่ต่างกัน เพราะผู้คนต่างใช้ “ความรักในบ้านเกิด” เป็นแรงขับเคลื่อนและรักษาชุมชน
ผู้เขียน คิดเห็นว่า หากรัฐจะต้องให้การช่วยเหลือหรือสนับสนุน สำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่ ควรให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการคิด กระทำ และจัดการชุมชนของตนเอง เพราะพื้นที่เหล่านั้น เป็นพื้นที่ซึ่งพวกเขาเป็นอยู่มาตั้งแต่กำเนิด รู้จักรายละเอียดของพื้นที่และความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ดี แต่สิ่งที่รัฐควรตระหนักในหน้าที่ซึ่งตนเองจะต้องแจ่มชัดคือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” พื้นที่ต่างๆ ตามแนวทางที่พ่อหลวงทรงให้ไว้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากกำกับหรือสั่งการที่อาจมองข้ามข้อมูลและข้อเท็จจริงบางประการที่สำคัญในพื้นที่ อย่างเช่นประเด็นการจัดการตนเองของชุมชน เพราะแท้จริงแล้วผู้คนในชุมชนต่างหาก จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ของพวกเขา ซึ่งไม่จำเป็นต้อง “คิดแทน” พวกเขาทั้งหมด
ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น นอกจากเป็นผลมาจากการก่อการร้ายแล้ว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้าสินค้าหนีภาษี ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และปัญหาการสื่อสารระหว่างผู้คนในพื้นที่กับการดำเนินการของรัฐแล้ว สิ่งสำคัญคือ ความเข้าใจที่มีต่อชุมชน อันมีลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องเข้าถึง และร่วมเข้าไปพัฒนา มิใช่เข้าไปจัดการในลักษณะเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมจากชุมชน ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงจากการบริหารนโยบายที่ผิดพลาด จนกลายเป็นความพิการซ้ำซ้อนในระบบ จนกลายเป็นความยากลำบากในการเยียวยา เพราะเพียงแต่ลำพังแนวคิดที่ว่า เงิน จะแก้ปัญหาได้นั้น เงินคงไม่ใช่คำตอบในแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น และความจริงใจซึ่งจะต้องใช้ความเชื่อใจ เป็นสิ่งเดิมพัน