ASTVผู้จัดการรายวัน-ค่ายรถจักรยานยนต์คาวาซากิ ชี้การปรับภาษีสรรพสามิตใหม่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า กระทบการดำเนินธุรกิจอย่างหนัก โวยปรับราคาขึ้นตามได้ แต่ไม่อยากโยนภาระให้ผู้บริโภค ล่าสุดเร่งเจรจา
ภาครัฐทบทวนอีกรอบ คาดได้ข้อสรุปไม่เกินสัปดาห์นี้ ฝั่งฮอนด้าแนะทางออกจัดเก็บเหมือนรถยนต์ตามค่ามาตรฐานไอเสีย
นายชาญณรงค์ นิ่มบุญ ผู้จัดการแผนกสื่อสารการตลาด บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ในแวด
วงยานยนต์ โดยกลุ่มรถยนต์ให้เวลาปรับตัว 3 ปี แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ ทางภาครัฐไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งยังประกาศใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 55ที่ผ่านมา โดยจัดเก็บตั้งแต่ 3-20% ตามขนาดความจุของ
เครื่องยนต์
“หลังมีข่าวปรับขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้เกิดสุญญากาศในธุรกิจบิ๊กไบค์ แทบทุกค่ายไม่มีการซื้อขายในช่วงนี้ มีเพียงการเปิดรับจองแต่ไม่แจ้งรายละเอียดราคาที่ชัดเจน โดยคาวาซากิถือว่าโดนผลกระทบหนักที่
สุด เพราะผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 250-1,000 ซีซี”
นายชาญณรงค์ กล่าวว่า หากให้ปรับเพิ่มตามการจัดเก็บใหม่ก็ทำได้ แต่ที่ยังไม่เปิดเผยราคาตอนนี้ เพราะกำลังหาทางออกที่กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด โดยกำลังดำเนินการเจรจากับภาครัฐว่าจะทบทวนมติดังกล่าวได้
หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลไม่เกินสัปดาห์นี้
ขณะเดียวกัน นายสุชาติ อรุณแสงโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับโครงสร้างบางส่วนที่ไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบไม่เกิน
150 ซีซี จัดเก็บ 3% แต่สำหรับกลุ่มบิ๊กไบค์ควรจัดเก็บตามมาตรฐานเดียวกับรถยนต์ โดยใช้การปล่อยไอเสียและสามารถเลือกใช้พลังงานทดแทนได้เป็นเกณฑ์กำหนด
“ทางออกนี้จะทำให้ผู้ผลิตนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาเครื่องยนต์ให้สามารถปล่อยมลพิษได้น้อยที่สุด และประโยชน์จะเกิดกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่าทุกค่ายสามารถทำได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการ
พัฒนาสักพักหนึ่ง อย่างฮอนด้าบางรุ่นปัจจุบันสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 ได้แล้ว ส่วนจะมีโอกาสไปได้ถึง อี85 หรือไม่ ต้องดูนโยบายทางภาครัฐก่อนว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร”
ภาครัฐทบทวนอีกรอบ คาดได้ข้อสรุปไม่เกินสัปดาห์นี้ ฝั่งฮอนด้าแนะทางออกจัดเก็บเหมือนรถยนต์ตามค่ามาตรฐานไอเสีย
นายชาญณรงค์ นิ่มบุญ ผู้จัดการแผนกสื่อสารการตลาด บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ในแวด
วงยานยนต์ โดยกลุ่มรถยนต์ให้เวลาปรับตัว 3 ปี แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ ทางภาครัฐไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งยังประกาศใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 55ที่ผ่านมา โดยจัดเก็บตั้งแต่ 3-20% ตามขนาดความจุของ
เครื่องยนต์
“หลังมีข่าวปรับขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้เกิดสุญญากาศในธุรกิจบิ๊กไบค์ แทบทุกค่ายไม่มีการซื้อขายในช่วงนี้ มีเพียงการเปิดรับจองแต่ไม่แจ้งรายละเอียดราคาที่ชัดเจน โดยคาวาซากิถือว่าโดนผลกระทบหนักที่
สุด เพราะผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 250-1,000 ซีซี”
นายชาญณรงค์ กล่าวว่า หากให้ปรับเพิ่มตามการจัดเก็บใหม่ก็ทำได้ แต่ที่ยังไม่เปิดเผยราคาตอนนี้ เพราะกำลังหาทางออกที่กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด โดยกำลังดำเนินการเจรจากับภาครัฐว่าจะทบทวนมติดังกล่าวได้
หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลไม่เกินสัปดาห์นี้
ขณะเดียวกัน นายสุชาติ อรุณแสงโรจน์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับโครงสร้างบางส่วนที่ไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีปริมาตรความจุกระบอกสูบไม่เกิน
150 ซีซี จัดเก็บ 3% แต่สำหรับกลุ่มบิ๊กไบค์ควรจัดเก็บตามมาตรฐานเดียวกับรถยนต์ โดยใช้การปล่อยไอเสียและสามารถเลือกใช้พลังงานทดแทนได้เป็นเกณฑ์กำหนด
“ทางออกนี้จะทำให้ผู้ผลิตนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาเครื่องยนต์ให้สามารถปล่อยมลพิษได้น้อยที่สุด และประโยชน์จะเกิดกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่าทุกค่ายสามารถทำได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการ
พัฒนาสักพักหนึ่ง อย่างฮอนด้าบางรุ่นปัจจุบันสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 ได้แล้ว ส่วนจะมีโอกาสไปได้ถึง อี85 หรือไม่ ต้องดูนโยบายทางภาครัฐก่อนว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร”