วานนี้(14 ม.ค.56) ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเสียงข้างมาก 83 ต่อ 15 เสียง และ 93เสียง ต่อ 8 เสียง เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน ตามลำดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้ว โดยหลังจากนี้จะส่งร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับให้สภาฯเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณาได้เปิดโอกาสให้สว.ได้ใช้สิทธิ์อภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยแสดงความเป็นห่วงว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะไปละเมิดสิทธิของประชาชน เช่น มาตรา 3 ของร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการกำหนดความผิดมูลฐานใน (14) ซึ่งกำหนดให้การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันมีลักษณะเป็นการค้ามีความผิด จะส่งผลให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ หรือ มาตรา 12 เกี่ยวกับการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาสอบสวนได้ อาจจะก่อให้ปัญหาในทางการเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้
นายสุรจิต ชิรเวทย์ สว.สมุทรสงคราม กล่าวว่า อยากสอบถามว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นการเขียนเอาไว้องค์กรต่างชาติเกินไปหรือไม่ เพราะมีบทบัญญัติที่อาจขัดต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 3เพราะเดิมวุฒิสภาได้แก้ไขให้เพิ่มเนื้อหาเข้าไปเพื่อคุ้มครองไม่ให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตที่ต้องดำรงชีพด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีความผิดตามกฎหมาย แต่เมื่อเสียงข้างมากได้ตัดเนื้อหาในส่วนนี้ออกไป จึงอยากสอบถามว่าภาครัฐจะคุ้มครองประชาชนอย่างไร
พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ สว.สุราษฎร์ธานี ในฐานะรองประธานคณะกมธ. ชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถกระทำละเมิดสิทธิประชาชนได้ เพราะกฎหมายฟอกเงินเป็นกฎหมายทางแพ่ง ซึ่งถือเป็นคนละส่วนกันกับการดำเนินคดีอาญา หมายความว่า หากประชาชนที่เข้าไปหาทรัพยากรในป่าเพื่อการดำรงชีพหรือไม่ได้นำที่ดินไปขายโดยมิชอบด้วยกฎหมายก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน โดยหากจะมีความผิดก็จะผิดเฉพาะทางอาญาเท่านั้นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน ที่สำคัญของการพิจารณาคดีจะมีคณะกรรมการธุรกรรมขึ้นมาตรวจสอบก่อน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย อาทิ ตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ทำให้ไม่เกิดการใช้อำนาจโดยพลการได้
พล.ต.ท.มาโนช กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ดีเอสไอสามารถเข้ามาดำเนินการสอบสวนได้ตามกฎหมายฟอกเงินนั้นเป็นลักษณะที่ป.ป.ง.ต้องยืมอำนาจตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษมาใช้เพื่อแสวงหาหลักฐานบางประการที่ป.ป.ง.ไม่มีอำนาจดำเนินการได้อย่างการดักฟังโทรศัพท์หรือการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมบางกรณี หากไม่ให้ดีเอสไอเข้ามาร่วมตามกฎหมายก็อาจไม่สามารถพิจารณาคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานตามกฎหมายฟอกเงินของดีเอสไอไม่ได้ปล่อยดีเอสไอดำเนินการโดยลำพังเพราะป.ป.ง.จะร่วมเข้าไปทำงานด้วย
ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณาได้เปิดโอกาสให้สว.ได้ใช้สิทธิ์อภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยแสดงความเป็นห่วงว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะไปละเมิดสิทธิของประชาชน เช่น มาตรา 3 ของร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการกำหนดความผิดมูลฐานใน (14) ซึ่งกำหนดให้การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันมีลักษณะเป็นการค้ามีความผิด จะส่งผลให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ หรือ มาตรา 12 เกี่ยวกับการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาสอบสวนได้ อาจจะก่อให้ปัญหาในทางการเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้
นายสุรจิต ชิรเวทย์ สว.สมุทรสงคราม กล่าวว่า อยากสอบถามว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นการเขียนเอาไว้องค์กรต่างชาติเกินไปหรือไม่ เพราะมีบทบัญญัติที่อาจขัดต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 3เพราะเดิมวุฒิสภาได้แก้ไขให้เพิ่มเนื้อหาเข้าไปเพื่อคุ้มครองไม่ให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตที่ต้องดำรงชีพด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีความผิดตามกฎหมาย แต่เมื่อเสียงข้างมากได้ตัดเนื้อหาในส่วนนี้ออกไป จึงอยากสอบถามว่าภาครัฐจะคุ้มครองประชาชนอย่างไร
พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ สว.สุราษฎร์ธานี ในฐานะรองประธานคณะกมธ. ชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถกระทำละเมิดสิทธิประชาชนได้ เพราะกฎหมายฟอกเงินเป็นกฎหมายทางแพ่ง ซึ่งถือเป็นคนละส่วนกันกับการดำเนินคดีอาญา หมายความว่า หากประชาชนที่เข้าไปหาทรัพยากรในป่าเพื่อการดำรงชีพหรือไม่ได้นำที่ดินไปขายโดยมิชอบด้วยกฎหมายก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน โดยหากจะมีความผิดก็จะผิดเฉพาะทางอาญาเท่านั้นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายฟอกเงิน ที่สำคัญของการพิจารณาคดีจะมีคณะกรรมการธุรกรรมขึ้นมาตรวจสอบก่อน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย อาทิ ตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น ทำให้ไม่เกิดการใช้อำนาจโดยพลการได้
พล.ต.ท.มาโนช กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ดีเอสไอสามารถเข้ามาดำเนินการสอบสวนได้ตามกฎหมายฟอกเงินนั้นเป็นลักษณะที่ป.ป.ง.ต้องยืมอำนาจตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษมาใช้เพื่อแสวงหาหลักฐานบางประการที่ป.ป.ง.ไม่มีอำนาจดำเนินการได้อย่างการดักฟังโทรศัพท์หรือการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมบางกรณี หากไม่ให้ดีเอสไอเข้ามาร่วมตามกฎหมายก็อาจไม่สามารถพิจารณาคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานตามกฎหมายฟอกเงินของดีเอสไอไม่ได้ปล่อยดีเอสไอดำเนินการโดยลำพังเพราะป.ป.ง.จะร่วมเข้าไปทำงานด้วย