ASTVผู้จัดการรายวัน-วัฒนธรรมประกาศศิลปินแห่งชาติ ปี 2555 จำนวน 16 คน คุณหญิงวิมล เจ้าของนามปากกาทมยันตี คุณหญิงกุลทรัพย์ ดอกดิน เพลินพรหมแดน ได้รับการยกย่องใน 3 สาขา ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ศิลปะการแสดง เตรียมเข้ารับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติ 24 ก.พ.นี้
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กวช.) ครั้งที่ 1/2556 วานนี้ (9 ม.ค.) ว่า กวช.ได้พิจารณารายชื่อผู้สมควรได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติประจำปี 2555 จาก 477 คน แบ่งเป็นสาขาทัศนศิลป์ 101 คน สาขาวรรณศิลป์ 86 คน และสาขาศิลปะการแสดง 290 คนแล้ว ผลปรากฏว่า มีผู้สมควรที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน 16 คน
โดย1.สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ รศ.เข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นางเนื่อง แฝงสีคำ (ประณีตศิลป์-ช่างทอง) ศ.วิโชค มุกดามณี (สื่อผสม) และศ.พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ (จิตรกรรม)
2.สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นางนงไฉน ปริญญาธวัช คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ และนายมกุฏ อรฤดี
3.สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางบัวซอน ถนอมบุญ (การแสดงพื้นบ้าน-การขับซอ) นายดอกดิน กัญญามาลย์ (ภาพยนตร์) นายสมส่วน พรหมสว่าง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) นายมนัส ปิติสานต์ (ดนตรีไทยสากล) พันโทเสนาะ หลวงสุนทร (ดนตรีไทย) พันโทวิชิต โห้ไทย (ดนตรีไทย-โยธวาทิต) นายเคล้าน้อย โรจนเมธากุล (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) และน.ส.ทัศนีย์ ขุนทอง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์)
นายสนธยากล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2555 ได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 237 คน เสียชีวิตไปแล้ว 97 คน มีชีวิตอยู่ 140 คน โดยศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2555 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ.2556 ซึ่งตรงกับวันศิลปินแห่งชาติ และในวันดังกล่าวจะมีงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ พร้อมกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยด้วย
คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ กล่าวว่า รู้สึกดีใจ และเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะการทำงานตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานทั้งบทร้อยแก้ว บทร้อยกรองด้วยความสุข และรักในงานที่ทำ และสิ่งที่ภาคภูมิภาคใจเหนือสิ่งอื่นใด นั่นคือ การได้มีโอกาสเขียนบทสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในโอกาสมหามงคลต่างๆ คิดเสมอว่าผลงานทุกชิ้นสร้างสรรค์จากหัวใจ อย่างไรก็ตาม จะยังคงสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งนิตยสาร และการทำงานในราชบัณฑิตยสถานในการรักษาภาษาและวรรณคดีไทยต่อไป
นายสมส่วน พรหมสว่าง หรือเพลินพรหมแดน กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งกว่าจะได้รับ ถือว่าลำบาก เพราะศิลปินมีเป็นจำนวนมาก โดยเพื่อนฝูงได้เป็นกันมานานแล้ว ตอนแรกตนคิดว่า จะยังไม่ได้ เนื่องจากได้ส่งผลงานมาแล้วถึง 3 ครั้ง จึงได้เว้นการส่งผลงานมาถึง 3 ปี แต่มีเพื่อนแนะนำว่า ให้ส่งผลงานทุกปี ปีนี้ก็เลยลองส่งเข้ามาอีก และก็โชคดีได้รับการพิจารณา ส่วนการทำงานหลังจากนี้ จะสานต่องานเพลงอย่างต่อเนื่องต่อไป
รศ.เข็มรัตน์ กองสุข กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตนก็จะทำหน้าที่เผยแพร่สอนหนังสือ ทำงานส่วนตัว ทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าด้านลักษณะเฉพาะ นำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ไทย รูปแบบนำเสนอในระดับสากลที่มีความเป็นไทย โดยทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำไม่ไหว
สำหรับประวัติศิลปินแห่งชาติ อาทิ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ปัจจุบันอายุ 76 ปี มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้อ่านไม่ว่าจะมีการสำรวจความคิดเห็นกี่ครั้ง ในนามปากกาทมยันตี และนามปากกาอื่นๆ อาทิ โรสลาเรน ลักษณาวดี กนกเลขา คุณหญิงวิมลเริ่มสร้างสรรค์ผลงานเรื่องสั้นในระยะแรก ต่อมาเริ่มเขียนนวนิยาย โดยนวนิยายเรื่องแรกชื่อในฝัน ในนามปากกาโรสลาเรน แต่นามปากกาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ทมยันตี โดยนวนิยายที่เป็นที่นิยมของทมยันตี อาทิ ดั่งดวงหฤทัย โสมส่องแสง ดาวเรือง ทวิภพ เป็นต้น ทมยันตีตั้งใจไว้ว่านวนิยายเรื่องสุดท้ายที่จะเขียนก่อนวางมือจากวงการวรรณกรรม คือ เรื่องจอมศาสดา เพื่อเป็นพุทธบูชาในความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับนายเข็มรัตน์ กองสุข ปัจจุบันอายุ 65 ปี ชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่มีฐานแนวความคิดจากปรัชญา วิถีชีวิต พุทธปรัชญาที่นำมาตีความนำเสนอเป็นผลงานสร้างสรรค์เป็นรูปสัญลักษณ์ทางทัศนศิลป์ ประติมากรรมทั้งในรูปแบบนามธรรม และรูปแบบสัญลักษณ์ โดยพัฒนาศักยภาพแนวคิดและเทคนิคอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังถวายงานแด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการปั้นพระประธานเพื่อนำไปประดิษฐานในวิหารปฏิบัติธรรม วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “พระปฏิมาสิริภานฤมิตร” นับเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ศิลปะและถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาและอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
นายดอกดิน กัญญามาลย์ ปัจจุบันอายุ 88 ปี เป็นชาวกรุงเทพฯ เริ่มเป็นศิลปินตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยเป็นนักแสดงจำอวดละครย่อย เป็นศิลปินเดี่ยวไปกับคระละครเร่ เล่นลิเก ร้องเพลง ต่อมาเล่นละครกับคณะอัศวินการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล เป็นตัวตลกใช้ชื่อการแสดงว่า ดอกดิน เริ่มสนใจการสร้างหนัง โดยเริ่มรับบทบาทพากย์หนังจากประเทศฮ่องกง ให้กับนายพิสิฐ ตันสัจจา เจ้าของศาลาเฉลิมไทย และมีโอกาสเรียนรู้การทำหนังจากสคริปหนังฝรั่งในปี 2494 จึงสร้างหนัง 16 มม.ขาวดำ เรื่องแรกชื่อสามเกลอถ่ายหนัง และรับแสดงภาพยนตร์ให้ครูเนรมิตเพื่อเรียนรู้การทำงานนำความรู้มาสร้างภาพยนตร์สีเรื่องแรก สาวชาวไร่ (2496) โดยเอาละครเวทีมารวมกับหนังก็ประสบความสำเร็จ และสร้างเรื่องอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง มีผลงานสร้างภาพยนตร์ทั้งหมด 32 เรื่อง ในชื่อกัญญามาลย์ภาพยนตร์ อาทิ นกน้อย กาเหว่า นกเอี้ยง ปูจ๋า สายฝน เป็นต้น โดยรายได้ของหนังที่ถึงล้านแล้วจ้ามี 24 เรื่อง และเริ่มตั้งชื่อวลีที่ว่าล้านแล้วจ้า คือ เรื่องนกน้อย อันเป็นเรื่องที่อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต มานำเรื่อง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในเมืองไทย จนเป็นที่นิยมต่อกันมา กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงการบันเทิงไทย
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กวช.) ครั้งที่ 1/2556 วานนี้ (9 ม.ค.) ว่า กวช.ได้พิจารณารายชื่อผู้สมควรได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติประจำปี 2555 จาก 477 คน แบ่งเป็นสาขาทัศนศิลป์ 101 คน สาขาวรรณศิลป์ 86 คน และสาขาศิลปะการแสดง 290 คนแล้ว ผลปรากฏว่า มีผู้สมควรที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน 16 คน
โดย1.สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ รศ.เข็มรัตน์ กองสุข (ประติมากรรม) นางเนื่อง แฝงสีคำ (ประณีตศิลป์-ช่างทอง) ศ.วิโชค มุกดามณี (สื่อผสม) และศ.พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ (จิตรกรรม)
2.สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ นางนงไฉน ปริญญาธวัช คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ และนายมกุฏ อรฤดี
3.สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางบัวซอน ถนอมบุญ (การแสดงพื้นบ้าน-การขับซอ) นายดอกดิน กัญญามาลย์ (ภาพยนตร์) นายสมส่วน พรหมสว่าง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) นายมนัส ปิติสานต์ (ดนตรีไทยสากล) พันโทเสนาะ หลวงสุนทร (ดนตรีไทย) พันโทวิชิต โห้ไทย (ดนตรีไทย-โยธวาทิต) นายเคล้าน้อย โรจนเมธากุล (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) และน.ส.ทัศนีย์ ขุนทอง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์)
นายสนธยากล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2555 ได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 237 คน เสียชีวิตไปแล้ว 97 คน มีชีวิตอยู่ 140 คน โดยศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2555 จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ.2556 ซึ่งตรงกับวันศิลปินแห่งชาติ และในวันดังกล่าวจะมีงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ พร้อมกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยด้วย
คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ กล่าวว่า รู้สึกดีใจ และเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ เพราะการทำงานตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานทั้งบทร้อยแก้ว บทร้อยกรองด้วยความสุข และรักในงานที่ทำ และสิ่งที่ภาคภูมิภาคใจเหนือสิ่งอื่นใด นั่นคือ การได้มีโอกาสเขียนบทสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในโอกาสมหามงคลต่างๆ คิดเสมอว่าผลงานทุกชิ้นสร้างสรรค์จากหัวใจ อย่างไรก็ตาม จะยังคงสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งนิตยสาร และการทำงานในราชบัณฑิตยสถานในการรักษาภาษาและวรรณคดีไทยต่อไป
นายสมส่วน พรหมสว่าง หรือเพลินพรหมแดน กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งกว่าจะได้รับ ถือว่าลำบาก เพราะศิลปินมีเป็นจำนวนมาก โดยเพื่อนฝูงได้เป็นกันมานานแล้ว ตอนแรกตนคิดว่า จะยังไม่ได้ เนื่องจากได้ส่งผลงานมาแล้วถึง 3 ครั้ง จึงได้เว้นการส่งผลงานมาถึง 3 ปี แต่มีเพื่อนแนะนำว่า ให้ส่งผลงานทุกปี ปีนี้ก็เลยลองส่งเข้ามาอีก และก็โชคดีได้รับการพิจารณา ส่วนการทำงานหลังจากนี้ จะสานต่องานเพลงอย่างต่อเนื่องต่อไป
รศ.เข็มรัตน์ กองสุข กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตนก็จะทำหน้าที่เผยแพร่สอนหนังสือ ทำงานส่วนตัว ทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าด้านลักษณะเฉพาะ นำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ไทย รูปแบบนำเสนอในระดับสากลที่มีความเป็นไทย โดยทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำไม่ไหว
สำหรับประวัติศิลปินแห่งชาติ อาทิ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ปัจจุบันอายุ 76 ปี มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเขียน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้อ่านไม่ว่าจะมีการสำรวจความคิดเห็นกี่ครั้ง ในนามปากกาทมยันตี และนามปากกาอื่นๆ อาทิ โรสลาเรน ลักษณาวดี กนกเลขา คุณหญิงวิมลเริ่มสร้างสรรค์ผลงานเรื่องสั้นในระยะแรก ต่อมาเริ่มเขียนนวนิยาย โดยนวนิยายเรื่องแรกชื่อในฝัน ในนามปากกาโรสลาเรน แต่นามปากกาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ทมยันตี โดยนวนิยายที่เป็นที่นิยมของทมยันตี อาทิ ดั่งดวงหฤทัย โสมส่องแสง ดาวเรือง ทวิภพ เป็นต้น ทมยันตีตั้งใจไว้ว่านวนิยายเรื่องสุดท้ายที่จะเขียนก่อนวางมือจากวงการวรรณกรรม คือ เรื่องจอมศาสดา เพื่อเป็นพุทธบูชาในความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับนายเข็มรัตน์ กองสุข ปัจจุบันอายุ 65 ปี ชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่มีฐานแนวความคิดจากปรัชญา วิถีชีวิต พุทธปรัชญาที่นำมาตีความนำเสนอเป็นผลงานสร้างสรรค์เป็นรูปสัญลักษณ์ทางทัศนศิลป์ ประติมากรรมทั้งในรูปแบบนามธรรม และรูปแบบสัญลักษณ์ โดยพัฒนาศักยภาพแนวคิดและเทคนิคอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังถวายงานแด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการปั้นพระประธานเพื่อนำไปประดิษฐานในวิหารปฏิบัติธรรม วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “พระปฏิมาสิริภานฤมิตร” นับเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ศิลปะและถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาและอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
นายดอกดิน กัญญามาลย์ ปัจจุบันอายุ 88 ปี เป็นชาวกรุงเทพฯ เริ่มเป็นศิลปินตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยเป็นนักแสดงจำอวดละครย่อย เป็นศิลปินเดี่ยวไปกับคระละครเร่ เล่นลิเก ร้องเพลง ต่อมาเล่นละครกับคณะอัศวินการละคร ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล เป็นตัวตลกใช้ชื่อการแสดงว่า ดอกดิน เริ่มสนใจการสร้างหนัง โดยเริ่มรับบทบาทพากย์หนังจากประเทศฮ่องกง ให้กับนายพิสิฐ ตันสัจจา เจ้าของศาลาเฉลิมไทย และมีโอกาสเรียนรู้การทำหนังจากสคริปหนังฝรั่งในปี 2494 จึงสร้างหนัง 16 มม.ขาวดำ เรื่องแรกชื่อสามเกลอถ่ายหนัง และรับแสดงภาพยนตร์ให้ครูเนรมิตเพื่อเรียนรู้การทำงานนำความรู้มาสร้างภาพยนตร์สีเรื่องแรก สาวชาวไร่ (2496) โดยเอาละครเวทีมารวมกับหนังก็ประสบความสำเร็จ และสร้างเรื่องอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง มีผลงานสร้างภาพยนตร์ทั้งหมด 32 เรื่อง ในชื่อกัญญามาลย์ภาพยนตร์ อาทิ นกน้อย กาเหว่า นกเอี้ยง ปูจ๋า สายฝน เป็นต้น โดยรายได้ของหนังที่ถึงล้านแล้วจ้ามี 24 เรื่อง และเริ่มตั้งชื่อวลีที่ว่าล้านแล้วจ้า คือ เรื่องนกน้อย อันเป็นเรื่องที่อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต มานำเรื่อง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในเมืองไทย จนเป็นที่นิยมต่อกันมา กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงการบันเทิงไทย