นายสุรชัย ตรงงาม ประธานโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ในฐานะทีมกฎหมายของชุมชนชาวคลิตี้ล่าง กล่าวว่า วันที่ 10 ม.ค. เวลา 9.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 7 ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุดจะพิพากษาคดีประวัติศาสตร์กรณีตัวแทนชาวบ้านคลิตี้ล่าง จำนวน 22 คน ยื่นฟ้องกรมควบคุมมลพิษ ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ควบคุมตรวจสอบการประกอบกิจการของบริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทซ์ ที่ปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารตะกั่วเจือปนในลำห้วยคลิตี้ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีและราษฎรได้รับความเสียหาย หลังจากพิจารณาคดีมานานกว่า 9 ปี ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 2547 เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ กรมควบคุมมลพิษดำเนินการกำจัดมลพิษและฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โดยจัดให้มีแผนการดำเนินงานภายใต้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้ลำห้วยคลิตี้และสภาพนิเวศกลับคืนสู่สภาพเดิม และเป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมาย โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีเรียกค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายจากผู้ก่อมลพิษในภายหลัง
"คำพิพากษาแห่งคดีนี้ย่อมเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการเยียวยาฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายและการชดเชยค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้ก่อมลพิษ ตามหลักกฎหมาย ซึ่งผลของคำพิพากษานี้จะมีผลทั้งโดยตรงกับการแก้ไขปัญหากรณีการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ และเป็นบรรทัดฐานต่อกรณีปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน กรณีอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกหลายพื้นที่"นายสุรชัย กล่าว
ด้าน นายพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการรณรงค์ประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ชาวคลิตี้ต้องทนอยู่กับการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้มานานกว่า 14 ปี สิ่งที่ชาวคลิตี้ต้องการมากที่สุด คือการได้ลำห้วยคลิตี้ที่สะอาดปราศจากสารตะกั่วกลับคืนมา ดังนั้นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลปกครองก็โดยประสงค์ให้กระบวนการยุติธรรมเป็นกลไกที่สำคัญในการผลักดันให้รัฐดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ตามธรรมชาติอย่างรวดเร็วและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม
"คำพิพากษาแห่งคดีนี้ย่อมเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการเยียวยาฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายและการชดเชยค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้ก่อมลพิษ ตามหลักกฎหมาย ซึ่งผลของคำพิพากษานี้จะมีผลทั้งโดยตรงกับการแก้ไขปัญหากรณีการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ และเป็นบรรทัดฐานต่อกรณีปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชน กรณีอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกหลายพื้นที่"นายสุรชัย กล่าว
ด้าน นายพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการรณรงค์ประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ชาวคลิตี้ต้องทนอยู่กับการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้มานานกว่า 14 ปี สิ่งที่ชาวคลิตี้ต้องการมากที่สุด คือการได้ลำห้วยคลิตี้ที่สะอาดปราศจากสารตะกั่วกลับคืนมา ดังนั้นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลปกครองก็โดยประสงค์ให้กระบวนการยุติธรรมเป็นกลไกที่สำคัญในการผลักดันให้รัฐดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ตามธรรมชาติอย่างรวดเร็วและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม