ศูนย์ข่าวหาดใหญ่-สถานการณ์น้ำท่วมพัทลุงยังอ่วม ฝนยังตกต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำท่วมขังขยายวงกว้าง 6 อำเภอ เตือนประชาชนในแถบเทือกเขาบรรทัดระวังน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ส่วนนราธิวาสสั่งปิดโรงเรียนแล้ว 3 แห่ง ด้านผู้ว่าฯ สุราษฏร์ธานีประกาศให้อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ขณะที่สถานการณ์น่าห่วง นายกฯ สั่ง ปภ. ลงใต้ดูแลประชาชนที่ประสบอุทกภัย มท. เตือนภาคใต้จ่อวิกฤตซ้ำอีกช่วงวันส่งท้ายปีเก่า 29-31 ธ.ค.
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง ได้ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นใน 6 อำเภอ ในพื้นที่รอบนอกตัวจังหวัด และหนักสุดที่ ต.ชะทวง ต.ควนขนุน ต.ปันแต ต.มะกอกเหนือ ต.พะนางตุง อ.ควนขนุน ที่ปริมาณน้ำไหลหลากมาจากเทือกเขาบรรทัด ผ่านคลองท่าแนะ ได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่การเกษตร สวนยางพารา และนาข้าว มีน้ำท่วมสูง 1 เมตร ชาวบ้านยังคงเร่งนำกระสอบทรายมาวางกั้นเพื่อป้องกันน้ำที่เพิ่มระดับมากขึ้นตลอดเวลา และยังมีทีท่าว่าจะเพิ่มระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ หากฝนไม่หยุดตก
ขณะที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้สั่งให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชม.พร้อมได้แจ้งเตือนประชาชนในแถบริมเทือกเขาบรรทัดใน 5 อำเภอ เช่น อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด อ.กงหรา อ.ศรีนครินทร์ และ อ.ศรีบรรพต ให้เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มด้วย
**นราฯน้ำขังสถานศึกษาปิดแล้ว3แห่ง
ที่ จ.นราธิวาส ยังมีฝนตกหนักถึงหนักมากใน 13 อำเภอ ส่งผลทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่มและพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของราษฎร ขยายวงกว้างเป็น 13 อำเภอแล้ว โดยมีระดับน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ยใน 50 ซม.ส่งผลให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 อ.เมือง จ.นราธิวาส ต้องปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวแล้ว 3 โรง เนื่องจากมีน้ำท่วมขัง
**สถานการณ์น้ำสุราษฎร์ฯยังน่าห่วง
ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ฝนได้ทิ้งช่วงหยุดตกและเริ่มมีแดดออกมาเป็นบางช่วงส่งผลน้ำป่าในคลองคราม หมู่ที่ 13 ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ เริ่มลดระดับลงแต่กระแสยังสูงและไหลเชี่ยว ชาวบ้านในพื้นที่บ้านหัวเตย และบ้านหน้าถ้ำได้ช่วยกันแซมสะพานเก่าที่ก่อสร้างมานานกว่า 10 ปีใช้สัญจรเป็นการชั่วคราวเพื่อนำสินค้าทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังท้องตลาด ในขณะที่เครื่องมือจักรกลหนักของ อบจ.สุราษฏร์ธานี ยังไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ เนื่องจากกระแสน้ำยังไหลแรง ชาวบ้านพยายามเดินลุยฝ่ากระแสน้ำแต่ไม่สามารถผ่านมา ในขณะที่เจ้าหน้าที่ชลประทานท่าทอง เร่งเปิดประตูน้ำเต็มพิกัดเพื่อปล่อยน้ำลงสู่เบื้องล่าง ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ท้ายฝายกว่า 100 ครัวเรือน
**ทหารเร่งซ่อมสะพานขาดในนครศรีฯ
ด้านความคืบหน้าการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่หัวสะพานขาดประมาณ 50 เมตร ระหว่างรอยต่อบ้านเขาพับผ้า ม.11 และ ม.1 บ้านน้ำร้อน ต.สี่ขีด อ.สิชล ทำให้ชาวบ้านบ้านน้ำร้อน ม.1 ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ กระแสน้ำไหลเชี่ยวทำให้เสาไฟฟ้าแรงสูงในหมู่บ้านน้ำร้อนล้มลงในลำคลอง ส่งผลให้ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา
นายสำคัญ ศรีสุข นายก อบต.สี่ขีด และ พ.ต.ประเสริฐ สายทองแท้ ผู้บังคับการค่ายฝึกรบพิเศษสิชล พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ทหารช่วยกันดึงเศษไม้และท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำมาติดที่เสาสะพานเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก และได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่มาถมคอสะพานเพื่อให้สามารถใช้สัญจรไปมาได้ รถของเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าสามารถเข้าไปซ่อมเสาไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟได้ ขณะเดียวกันค่ายฝึกการรบพิเศษสิชลได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร 4ชุด ชุดละ 30 คน ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการชั่วคราวกระจายทั่วพื้นที่ อ.สิชล เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือชาวบ้านอย่างทันท่วงที
ส่วนในพื้นที่ ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช กระแสคลื่นได้ลดความรุนแรงลงกว่าวันที่ 24 ธ.ค. แต่ยังคงมีทะเลหนุนเข้าท่วมพร้อมกับคลื่นสูงเข้ามาในหมู่บ้านจนชาวบ้านต้องอพยพออกไปอยู่บ้านญาติภายนอกจนหมู่บ้านแทบเป็นหมู่บ้านร้าง ขณะที่สภาพในหมู่บ้านเต็มไปด้วยทรายที่ถูกคลื่นหอบมากองทับถมบ้านเรือน รวมทั้งเศษซากสิ่งของและวัชพืชจำนวนมากกระจัดกระจายเกลื่อน โดยมีเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กที่เจ้าของต้องนำขึ้นมาจากทะเลหลบความรุนแรงของคลื่นลมมาจอดอยู่บริเวณในหมู่บ้าน และยังพบว่านอกจากแนวคันกันคลื่นที่ถูกสร้างเมื่อปีที่ผ่านมาทะเลได้กัดเซาะพื้นดินหายไปเป็นจำนวนมาก จนชาวบ้านที่อยู่นอกแนวคันกันคลื่นอยู่ในสภาพวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยเช่นเดียวกัน
**นายกฯสั่ง ปภ.ลงพื้นที่ดูแลประชาชน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะจ.พัทลุง ว่า ได้มีการแจ้งในที่ประชุมครม.แล้ว โดยได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ให้ลงพื้นที่ดูแลประชาชน อีกทั้งได้สั่งการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ในการที่จะนำวิธีการต่างๆ ไปดูใหม่ เนื่องจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น วิธีการอาจจะไม่ใช่แบบเดิมแล้ว ซึ่งแนวโน้มนั้นจะเห็นว่าโดยรวมในปีนี้นั้นปริมาณน้ำฝนไม่มาก แต่กลับไปมากในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มนั้นลงไปทางภาคใต้มากขึ้น ซึ่งก็คงต้องมีการเตรียมตัวในปีหน้าในเรื่องของการรองรับโดยเฉพาะพื้นที่กลางน้ำที่ต้องการการบูรณะในเรื่องของแหล่งน้ำต่างๆ ให้มากขึ้น ซึ่งก็ได้มีการเร่งรัดทางกบอ.และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการเตรียมตัวนี้ด้วย
**มท.เตือนใต้จ่อวิกฤตซ้ำส่งท้ายปีเก่า
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นราธิวาสว่า นายกฯ ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยดูแลประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนแล้ว โดยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย มอบให้ตนและอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยลงพื้นที่ไปดูแลแล้ว ทั้งนี้ ยอมรับว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในภาวะอาจเกิดวิกฤตได้ เพราะทราบจากนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ว่า ขณะนี้ลมหนาวกำลังแผ่ลงมาอีกระลอกระหว่างวันที่ 29-31 ธ.ค. ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกหนักใน 4-5 จังหวัดภาคใต้ ดังนั้น จึงได้แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ในช่วงดังกล่าวที่อาจจะเกิดน้ำท่วมและน้ำป่าฉับพลันได้
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พัทลุง ได้ขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นใน 6 อำเภอ ในพื้นที่รอบนอกตัวจังหวัด และหนักสุดที่ ต.ชะทวง ต.ควนขนุน ต.ปันแต ต.มะกอกเหนือ ต.พะนางตุง อ.ควนขนุน ที่ปริมาณน้ำไหลหลากมาจากเทือกเขาบรรทัด ผ่านคลองท่าแนะ ได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่การเกษตร สวนยางพารา และนาข้าว มีน้ำท่วมสูง 1 เมตร ชาวบ้านยังคงเร่งนำกระสอบทรายมาวางกั้นเพื่อป้องกันน้ำที่เพิ่มระดับมากขึ้นตลอดเวลา และยังมีทีท่าว่าจะเพิ่มระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ หากฝนไม่หยุดตก
ขณะที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้สั่งให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชม.พร้อมได้แจ้งเตือนประชาชนในแถบริมเทือกเขาบรรทัดใน 5 อำเภอ เช่น อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด อ.กงหรา อ.ศรีนครินทร์ และ อ.ศรีบรรพต ให้เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มด้วย
**นราฯน้ำขังสถานศึกษาปิดแล้ว3แห่ง
ที่ จ.นราธิวาส ยังมีฝนตกหนักถึงหนักมากใน 13 อำเภอ ส่งผลทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่มและพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของราษฎร ขยายวงกว้างเป็น 13 อำเภอแล้ว โดยมีระดับน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ยใน 50 ซม.ส่งผลให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 อ.เมือง จ.นราธิวาส ต้องปิดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราวแล้ว 3 โรง เนื่องจากมีน้ำท่วมขัง
**สถานการณ์น้ำสุราษฎร์ฯยังน่าห่วง
ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ฝนได้ทิ้งช่วงหยุดตกและเริ่มมีแดดออกมาเป็นบางช่วงส่งผลน้ำป่าในคลองคราม หมู่ที่ 13 ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ เริ่มลดระดับลงแต่กระแสยังสูงและไหลเชี่ยว ชาวบ้านในพื้นที่บ้านหัวเตย และบ้านหน้าถ้ำได้ช่วยกันแซมสะพานเก่าที่ก่อสร้างมานานกว่า 10 ปีใช้สัญจรเป็นการชั่วคราวเพื่อนำสินค้าทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังท้องตลาด ในขณะที่เครื่องมือจักรกลหนักของ อบจ.สุราษฏร์ธานี ยังไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ เนื่องจากกระแสน้ำยังไหลแรง ชาวบ้านพยายามเดินลุยฝ่ากระแสน้ำแต่ไม่สามารถผ่านมา ในขณะที่เจ้าหน้าที่ชลประทานท่าทอง เร่งเปิดประตูน้ำเต็มพิกัดเพื่อปล่อยน้ำลงสู่เบื้องล่าง ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ท้ายฝายกว่า 100 ครัวเรือน
**ทหารเร่งซ่อมสะพานขาดในนครศรีฯ
ด้านความคืบหน้าการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่หัวสะพานขาดประมาณ 50 เมตร ระหว่างรอยต่อบ้านเขาพับผ้า ม.11 และ ม.1 บ้านน้ำร้อน ต.สี่ขีด อ.สิชล ทำให้ชาวบ้านบ้านน้ำร้อน ม.1 ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ กระแสน้ำไหลเชี่ยวทำให้เสาไฟฟ้าแรงสูงในหมู่บ้านน้ำร้อนล้มลงในลำคลอง ส่งผลให้ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา
นายสำคัญ ศรีสุข นายก อบต.สี่ขีด และ พ.ต.ประเสริฐ สายทองแท้ ผู้บังคับการค่ายฝึกรบพิเศษสิชล พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ทหารช่วยกันดึงเศษไม้และท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำมาติดที่เสาสะพานเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก และได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่มาถมคอสะพานเพื่อให้สามารถใช้สัญจรไปมาได้ รถของเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าสามารถเข้าไปซ่อมเสาไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟได้ ขณะเดียวกันค่ายฝึกการรบพิเศษสิชลได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร 4ชุด ชุดละ 30 คน ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการชั่วคราวกระจายทั่วพื้นที่ อ.สิชล เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือชาวบ้านอย่างทันท่วงที
ส่วนในพื้นที่ ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช กระแสคลื่นได้ลดความรุนแรงลงกว่าวันที่ 24 ธ.ค. แต่ยังคงมีทะเลหนุนเข้าท่วมพร้อมกับคลื่นสูงเข้ามาในหมู่บ้านจนชาวบ้านต้องอพยพออกไปอยู่บ้านญาติภายนอกจนหมู่บ้านแทบเป็นหมู่บ้านร้าง ขณะที่สภาพในหมู่บ้านเต็มไปด้วยทรายที่ถูกคลื่นหอบมากองทับถมบ้านเรือน รวมทั้งเศษซากสิ่งของและวัชพืชจำนวนมากกระจัดกระจายเกลื่อน โดยมีเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็กที่เจ้าของต้องนำขึ้นมาจากทะเลหลบความรุนแรงของคลื่นลมมาจอดอยู่บริเวณในหมู่บ้าน และยังพบว่านอกจากแนวคันกันคลื่นที่ถูกสร้างเมื่อปีที่ผ่านมาทะเลได้กัดเซาะพื้นดินหายไปเป็นจำนวนมาก จนชาวบ้านที่อยู่นอกแนวคันกันคลื่นอยู่ในสภาพวิตกกังวลถึงความไม่ปลอดภัยเช่นเดียวกัน
**นายกฯสั่ง ปภ.ลงพื้นที่ดูแลประชาชน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะจ.พัทลุง ว่า ได้มีการแจ้งในที่ประชุมครม.แล้ว โดยได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ให้ลงพื้นที่ดูแลประชาชน อีกทั้งได้สั่งการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ในการที่จะนำวิธีการต่างๆ ไปดูใหม่ เนื่องจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น วิธีการอาจจะไม่ใช่แบบเดิมแล้ว ซึ่งแนวโน้มนั้นจะเห็นว่าโดยรวมในปีนี้นั้นปริมาณน้ำฝนไม่มาก แต่กลับไปมากในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร และมีแนวโน้มนั้นลงไปทางภาคใต้มากขึ้น ซึ่งก็คงต้องมีการเตรียมตัวในปีหน้าในเรื่องของการรองรับโดยเฉพาะพื้นที่กลางน้ำที่ต้องการการบูรณะในเรื่องของแหล่งน้ำต่างๆ ให้มากขึ้น ซึ่งก็ได้มีการเร่งรัดทางกบอ.และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการเตรียมตัวนี้ด้วย
**มท.เตือนใต้จ่อวิกฤตซ้ำส่งท้ายปีเก่า
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นราธิวาสว่า นายกฯ ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยดูแลประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนแล้ว โดยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย มอบให้ตนและอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยลงพื้นที่ไปดูแลแล้ว ทั้งนี้ ยอมรับว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในภาวะอาจเกิดวิกฤตได้ เพราะทราบจากนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ว่า ขณะนี้ลมหนาวกำลังแผ่ลงมาอีกระลอกระหว่างวันที่ 29-31 ธ.ค. ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกหนักใน 4-5 จังหวัดภาคใต้ ดังนั้น จึงได้แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ในช่วงดังกล่าวที่อาจจะเกิดน้ำท่วมและน้ำป่าฉับพลันได้