สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแจงข้อมูลรับจำนำข้าวระบุขาดทุนเพียง 7 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่หลักแสนล้านตามที่หลายสำนักระบุ ยอมรับฟิทช์สนใจและสอบถามเรื่องรับจำนำข้าวมาก
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในปีการผลิต 2554/2555 ว่าจะขาดทุน 76,377 ล้านบาทให้กับบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง จำกัดรับทราบในวันที่มาขอพบเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานะการเงินและการคลัง รวมถึงผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล จากนั้นจึงจะกลับไปรวบรวมข้อมูลและประกาศอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งคาดว่า น่าจะได้ปรับอันดับขึ้น เนื่องจากฟิทช์ตามหลังบริษัทจัดอันดับอื่นๆ 2 ระดับและไม่ได้ปรับมานานแล้ว
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดกรอบการดำเนินการในโครงการรับจำนำข้าวไว้ว่า ส่วนแรก การชดเชยต้นเงินให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ในฐานะผู้ดำเนินโครงการในอัตราดอกเบี้ย 3.406% ค่าบริหารสินเชื่อ 2.5% ของต้นเงินและต้นทุนการจัดหาเงินกู้อีก 3.2% ส่วนที่ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน มีค่าสีแปรสภาพ 500 บาทต่อตัน ค่าฝากเก็บรักษาข้าวสาร 216 บาทต่อตันต่อ 6 เดือน ค่าเสื่อมคุณภาพจากการเก็บรักษา 1% ของข้าวสาร ค่าขนย้ายข้าวเปลือก 300บาทต่อตัน โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องระบายข้าวให้ได้ภายใน 1 ปี
โดยในปีการผลิตปี 2554/2555 มีข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 21.6 ล้านตัน และเป็นต้นทุนจากการรับจำนำ 335,968 ล้านบาท บวกต้นทุนทางการเงิน 16,613 ล้านบาท บวกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 22,276 ล้านบาท รวมเป็นต้นทุนทั้งสิ้น 374,877 ล้านบาท หากขายได้ใน 1 ปีตามราคาตลาดจะมีรายได้รวม 294,480 ล้านบาท คิดเป็นผลขาดทุน 76,377 ล้านบาท ไม่ได้สูงถึง 1-2 แสนล้านบาทตามที่มีการประมาณกัน และต้นทุนต่างๆยึดตามมติครม.
“ฟิทช์เองสนใจและสอบถามเรื่องรับจำนำข้าวมาก เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อฐานะการคลังได้ เพราะมีการพูดถึงตัวเลขขาดทุนต่างๆ แตกต่างกันไป ซึ่งก็เพราะ มีการคำนวณต้นทุนที่แตกต่างกัน และไม่ทราบว่าแต่ละแห่งนำต้นทุนจากไหนบ้าง” นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า ประเด็นที่ฟิทช์ให้น้ำหนักส่วนใหญ่เป็นด้านเศรษฐกิจและผลของนโยบายภาครัฐ ไม่ได้มองเพียงการเมืองอย่างเดียวเหมือนกับบริษัท สแตนดาร์ด แอนด์พัวร์ จำกัด หรือเอสแอนด์พี จึงมองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ฟิทซ์จะปรับเครดิตของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เพราะในแง่เศรษฐกิจแล้ว มีเสถียรภาพดีทั้งทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูง เงินเฟ้อต่ำ ไม่มีปัญหาการว่างงาน ขณะที่ภาคสถาบันการเงินของไทยก็ยังแข็งแกร่ง เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง และหนี้เสียต่ำ.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในปีการผลิต 2554/2555 ว่าจะขาดทุน 76,377 ล้านบาทให้กับบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง จำกัดรับทราบในวันที่มาขอพบเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานะการเงินและการคลัง รวมถึงผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล จากนั้นจึงจะกลับไปรวบรวมข้อมูลและประกาศอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งคาดว่า น่าจะได้ปรับอันดับขึ้น เนื่องจากฟิทช์ตามหลังบริษัทจัดอันดับอื่นๆ 2 ระดับและไม่ได้ปรับมานานแล้ว
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดกรอบการดำเนินการในโครงการรับจำนำข้าวไว้ว่า ส่วนแรก การชดเชยต้นเงินให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ในฐานะผู้ดำเนินโครงการในอัตราดอกเบี้ย 3.406% ค่าบริหารสินเชื่อ 2.5% ของต้นเงินและต้นทุนการจัดหาเงินกู้อีก 3.2% ส่วนที่ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน มีค่าสีแปรสภาพ 500 บาทต่อตัน ค่าฝากเก็บรักษาข้าวสาร 216 บาทต่อตันต่อ 6 เดือน ค่าเสื่อมคุณภาพจากการเก็บรักษา 1% ของข้าวสาร ค่าขนย้ายข้าวเปลือก 300บาทต่อตัน โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องระบายข้าวให้ได้ภายใน 1 ปี
โดยในปีการผลิตปี 2554/2555 มีข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 21.6 ล้านตัน และเป็นต้นทุนจากการรับจำนำ 335,968 ล้านบาท บวกต้นทุนทางการเงิน 16,613 ล้านบาท บวกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 22,276 ล้านบาท รวมเป็นต้นทุนทั้งสิ้น 374,877 ล้านบาท หากขายได้ใน 1 ปีตามราคาตลาดจะมีรายได้รวม 294,480 ล้านบาท คิดเป็นผลขาดทุน 76,377 ล้านบาท ไม่ได้สูงถึง 1-2 แสนล้านบาทตามที่มีการประมาณกัน และต้นทุนต่างๆยึดตามมติครม.
“ฟิทช์เองสนใจและสอบถามเรื่องรับจำนำข้าวมาก เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อฐานะการคลังได้ เพราะมีการพูดถึงตัวเลขขาดทุนต่างๆ แตกต่างกันไป ซึ่งก็เพราะ มีการคำนวณต้นทุนที่แตกต่างกัน และไม่ทราบว่าแต่ละแห่งนำต้นทุนจากไหนบ้าง” นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า ประเด็นที่ฟิทช์ให้น้ำหนักส่วนใหญ่เป็นด้านเศรษฐกิจและผลของนโยบายภาครัฐ ไม่ได้มองเพียงการเมืองอย่างเดียวเหมือนกับบริษัท สแตนดาร์ด แอนด์พัวร์ จำกัด หรือเอสแอนด์พี จึงมองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ฟิทซ์จะปรับเครดิตของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เพราะในแง่เศรษฐกิจแล้ว มีเสถียรภาพดีทั้งทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูง เงินเฟ้อต่ำ ไม่มีปัญหาการว่างงาน ขณะที่ภาคสถาบันการเงินของไทยก็ยังแข็งแกร่ง เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง และหนี้เสียต่ำ.