xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ผลิตภัณฑ์ปลอดแร่ใยหินโตต่อ “กระเบื้องกระดาษ”เชื่อดันยอดขายโตเพิ่ม5%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

    ASTVผู้จัดการรายวัน - กระเบื้องกระดาษไทย ย้ำดีมานด์ผลิตภัณฑ์ กระเบื้องหลังคา แผ่นฝ้า-ผนัง และผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ปลอดแร่ใยหิน ขยายตัวต่อเนื่อง แม้ราคาขายแพงกว่าสินค้าผสมแร่ใยหิน แจงปี55ยอดขายโต5% จากยอดขายรวมปีก่อนหน้า8,400ล้านบาท   

    นายภาศกร บุณณะวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ในเครือ SCG ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า  ในช่วง5ปีที่ผ่านมาบริษัทใช้งบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ในการปรับเปลี่ยนสายการผลิตกระเบื้องหลังคาตราช้าง ผลิตภัณฑ์ฝ้าและผนังสมาร์ทบอร์ตราช้าง รวมถึงสายการผลิตวัสดุก่อสร้างทดแทนไม้ สมาร์ท วูดตราช้าง โดยยกเลิกส่วนผสมแร่ใยหินและเปลี่ยนมาใช้เซลลูโลศ หรือเยื้อไม่เป็นส่วนผสมในการผลิต ผลิตภัณฑ์ตราช้างแทน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อร่างกายของผู้บริโภคที่เกิดจากแร่งในหิน

    ทั้งนี้ ภายหลังจากเลิกใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า และหันาใช้เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าบริษัทเพิ่มสูงขึ้น30% ทำให้ต้องขยับราคาขายสินค้าทั้ง3กลุ่มดังกล่าวขึ้น2-5% ซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาลดลงไปเล็กน้อย แต่หลังจากทำความเข้าใจ อธิบายถึงผลดีผลเสีย รวมถึงคุณภาพสินค้าของบริษัทที่ไม่ใช้ส่วนผสมของแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ของบริษัทในกลุ่มลูกค้าในช่วงที่ผ่านมาทำให้ยอดขายโดยรวมของบริษัทมีการปรับตัวที่ดี และเติบโตต่อเนื่องในทุกปี

     โดยในปี2554 ที่ผ่านมาบริษัท มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กระเบื้องหลังคาดตราช้าง ผลิตภัณฑ์ฝ้าและผนังสมาร์ทวูด สมาร์ทบอร์ด ตราช้าง มียอดขายรวม 8,400ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ5% อย่างไรก็ตามเมื่อแบ่งสัดส่วนรายได้จากยอดขายรวมของบริษัท สามารถแบ่งออกเป็นรายได้จากกลุ่มกระเบื้องหลังคา 30% สมาร์ทบอร์ดตราช้าง30% และสมร์ทวูดตราช้าง 40% โดยสินค้าใน3กลุ่มนี้สมาร์ทวูดถือว่ามีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด

    ปัจจุบัน สินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลอดแร่ใยหินของบริษัทมีกำลังการผลิตรวม 140 ล้านตารางเมตร(ตร.ม.) ขณะที่ตลาดรวมมีกำลังผลิตที่180ล้านตร.ม. ส่วนดีมานด์การใช้สินค้าปลอดแร่ใยหินในปัจุบันไม่สามารถระบุชัดว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใดเนื่องจากผู้ประกอบการทุกรายยังเดินสายการผลิตไม่เต็มกำลัง100%         

       
กำลังโหลดความคิดเห็น