วานนี้ (18 ธ.ค. 55) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงอาการป่วยของนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจตีบ จนต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยล่าสุดอาการของนายชุมพล มีการตอบสนองต่อการรักษาของแพทย์ได้ดีมากขึ้น แต่แพทย์ยังห่วงเรื่องผลกระทบต่อไต จึงยังคงให้นายชุมพล อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ช่วงเช้านายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการ ทั้งนี้ได้สอบถามอาการป่วยของนายชุมพลกับแพทย์ผู้รักษา ซึ่งนายบรรหารได้ใช้เวลาเยี่ยมนานประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนเดินทางกลับไปปฏิบัติภารกิจและจะกลับมาเยี่ยมอาการอีกครั้งในช่วงเย็น
ทั้งนี้นายบรรหาร ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังเข้าเยี่ยมนายชุมพลว่า ตอนนี้นายชุมพลรู้สึกตัวดีแล้ว ตอบสนองได้ดี ยังต้องเฝ้าอาการแทรกซ้อนโดยเฉพาะเรื่องไต เพราะที่ผ่านมาในช่วงที่ช็อกและหมดสติไปนั้น มีภาวะเรื่องน้ำท่วมปอดด้วย ส่วนอาการด้านหัวใจนั้นไม่น่าห่วง ดีขึ้นแล้ว เหลือแต่เฝ้าดูอาการแทรกซ้อน เท่านั้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.15น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการมอบหมายงานในความรับผิดชอบของนายชุมพล ว่า การมอบหมายงานให้รัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน เป็นไปตามมติ ครม.ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ซึ่งมีการมอบหมายงานตามขั้นตอน ซึ่งเบื้องต้นนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็จะทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานในส่วนของนายชุมพลชั่วคราวไปก่อน ส่วนในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ จะรับผิดชอบแทน.
ก่อนหน้านั้ช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทำเนียบรัฐบาลไม่มีห้องพยาบาลที่มีแพทย์และพยาบาลมาประจำการ หลังจากที่เกิดเหตุนายชุมพล เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบกะทันหันที่ห้องทำงาน ตึกบัญชาการว่า เรื่องนี้ขอหารือและดูสถานที่ที่เหมาะสมอีกครั้งก่อน
ด้าน พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตนและคณะทำงานได้สำรวจและประสานกับฝ่ายอาคารสถานที่ทำเนียบรัฐบาลมาประมาณ 2 เดือนแล้ว หลังจากพบว่าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีบุคคลสำคัญทำงานอยู่ รวมทั้งมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก แต่กลับไม่มีห้องพยาบาลไว้เตรียมพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ของนายชุมพล ก็เคยมีกรณีที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ต้องถูกหามลงมาจากห้องประชุม ครม. และไม่ใช่เฉพาะบรรดารัฐมนตรีเท่านั้น ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง สื่อมวลชน และคนสวน ทุกคนควรได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น แต่ขณะนี้กำลังดูว่าจะตั้งห้องพยาบาลไว้ที่อาคารไหนเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นที่มองไว้คือภายในตึกบัญชาการ 1 หรือห้องว่างของอาคารต่าง ๆ
“ถือเป็นความหละหลวม ที่ทำเนียบรัฐบาลขาดสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป ซึ่งนอกจากห้องพยาบาลแล้ว ผมก็ได้พิจารณาที่จะทำห้องสมุดประจำทำเนียบรัฐบาล และศูนย์ออกกำลังกาย (ฟิสเนต)ด้วย” พล.ต.ต.ธวัช กล่าว
ช่วงเช้านายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้เดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการ ทั้งนี้ได้สอบถามอาการป่วยของนายชุมพลกับแพทย์ผู้รักษา ซึ่งนายบรรหารได้ใช้เวลาเยี่ยมนานประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนเดินทางกลับไปปฏิบัติภารกิจและจะกลับมาเยี่ยมอาการอีกครั้งในช่วงเย็น
ทั้งนี้นายบรรหาร ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังเข้าเยี่ยมนายชุมพลว่า ตอนนี้นายชุมพลรู้สึกตัวดีแล้ว ตอบสนองได้ดี ยังต้องเฝ้าอาการแทรกซ้อนโดยเฉพาะเรื่องไต เพราะที่ผ่านมาในช่วงที่ช็อกและหมดสติไปนั้น มีภาวะเรื่องน้ำท่วมปอดด้วย ส่วนอาการด้านหัวใจนั้นไม่น่าห่วง ดีขึ้นแล้ว เหลือแต่เฝ้าดูอาการแทรกซ้อน เท่านั้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 13.15น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการมอบหมายงานในความรับผิดชอบของนายชุมพล ว่า การมอบหมายงานให้รัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทน เป็นไปตามมติ ครม.ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ซึ่งมีการมอบหมายงานตามขั้นตอน ซึ่งเบื้องต้นนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็จะทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลงานในส่วนของนายชุมพลชั่วคราวไปก่อน ส่วนในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ จะรับผิดชอบแทน.
ก่อนหน้านั้ช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าทำเนียบรัฐบาลไม่มีห้องพยาบาลที่มีแพทย์และพยาบาลมาประจำการ หลังจากที่เกิดเหตุนายชุมพล เกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบกะทันหันที่ห้องทำงาน ตึกบัญชาการว่า เรื่องนี้ขอหารือและดูสถานที่ที่เหมาะสมอีกครั้งก่อน
ด้าน พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตนและคณะทำงานได้สำรวจและประสานกับฝ่ายอาคารสถานที่ทำเนียบรัฐบาลมาประมาณ 2 เดือนแล้ว หลังจากพบว่าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีบุคคลสำคัญทำงานอยู่ รวมทั้งมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่จำนวนมาก แต่กลับไม่มีห้องพยาบาลไว้เตรียมพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ของนายชุมพล ก็เคยมีกรณีที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ต้องถูกหามลงมาจากห้องประชุม ครม. และไม่ใช่เฉพาะบรรดารัฐมนตรีเท่านั้น ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง สื่อมวลชน และคนสวน ทุกคนควรได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น แต่ขณะนี้กำลังดูว่าจะตั้งห้องพยาบาลไว้ที่อาคารไหนเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นที่มองไว้คือภายในตึกบัญชาการ 1 หรือห้องว่างของอาคารต่าง ๆ
“ถือเป็นความหละหลวม ที่ทำเนียบรัฐบาลขาดสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป ซึ่งนอกจากห้องพยาบาลแล้ว ผมก็ได้พิจารณาที่จะทำห้องสมุดประจำทำเนียบรัฐบาล และศูนย์ออกกำลังกาย (ฟิสเนต)ด้วย” พล.ต.ต.ธวัช กล่าว