นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน ระบุจะขึ้นค่าแก๊สเอ็นจีวี ในเดือนก.พ. ปีหน้าว่า ขณะนี้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าครองชีพสูงอยู่แล้ว หากทำเรื่องนี้จริง ต้องถือว่ารัฐบาลเป็นผู้ซ้ำเติมประชาชนและประเทศ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง อยากให้รัฐบาลตั้งหลักใหม่ และที่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ระบุว่า การขึ้นค่าแก็สเอ็นจีวี ไม่กระทบต่อประชาชน เพราะจะมีการสนับสนุนโดยให้บัตรเครดิตพลังงาน ก็เท่ากับว่ากำลังกลับไปสู่รูปแบบนโยบายที่เอื้อต่อการทุจริต เพราะจะมีปัญหามาก ในเรื่องหลักเกณฑ์ที่จะจ่ายบัตรเครติด ไม่ว่าคูปอง หรือส่วนอื่นๆ
ในปีหน้าค่าครองชีพจะสูงขึ้น จากปัญหาราคาแก็ส และแนวโน้มเรื่องอาหารจะได้รับผลกระทบด้วย วันนี้เห็นชัดเจนแล้วว่า ทุกอย่างไม่ได้ดีขึ้น แต่เลวร้ายลง ซึ่งเกิดจากนโยบาย และทัศนคติของรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันปัญหา และการทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งที่ทุกภาคส่วนในสังคมพยายามช่วยรัฐบาลในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แต่รัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และยังเดินหน้านโยบายที่เอื้อต่อการทุจริตต่อไปอีก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การที่ประเทศไทยติดอันดับ 8 ของโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุดก็ไม่เป็นผลดีกับภาพลักษณ์ของประเทศ รวมถึงกรณีการตกชั้นในเรื่องการดูแลปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันด้วย ซึ่งจะทำให้กระทบต่อความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลต้องไปดูที่สาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด
ส่วนกรณีที่โอไอซี แสดงความกังวล เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น จะทำให้ต่างชาติยื่นมือเข้ามาแทรกแซงการแก้ไขปัญหาในภาคใต้หรือไม่นั้น ก็อยู่ที่รัฐบาลต้องแสดงความพร้อมในการแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่จะรับผิดชอบในระดับนโยบายที่จะไปดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด เช่น ปัญหายิงครูและการปิดโรงเรียนใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังเกิดเหตุซ้ำอีก
ในปีหน้าค่าครองชีพจะสูงขึ้น จากปัญหาราคาแก็ส และแนวโน้มเรื่องอาหารจะได้รับผลกระทบด้วย วันนี้เห็นชัดเจนแล้วว่า ทุกอย่างไม่ได้ดีขึ้น แต่เลวร้ายลง ซึ่งเกิดจากนโยบาย และทัศนคติของรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันปัญหา และการทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งที่ทุกภาคส่วนในสังคมพยายามช่วยรัฐบาลในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แต่รัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และยังเดินหน้านโยบายที่เอื้อต่อการทุจริตต่อไปอีก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การที่ประเทศไทยติดอันดับ 8 ของโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุดก็ไม่เป็นผลดีกับภาพลักษณ์ของประเทศ รวมถึงกรณีการตกชั้นในเรื่องการดูแลปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันด้วย ซึ่งจะทำให้กระทบต่อความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลต้องไปดูที่สาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด
ส่วนกรณีที่โอไอซี แสดงความกังวล เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น จะทำให้ต่างชาติยื่นมือเข้ามาแทรกแซงการแก้ไขปัญหาในภาคใต้หรือไม่นั้น ก็อยู่ที่รัฐบาลต้องแสดงความพร้อมในการแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่จะรับผิดชอบในระดับนโยบายที่จะไปดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด เช่น ปัญหายิงครูและการปิดโรงเรียนใน 3 จังหวัดภาคใต้ก็ยังเกิดเหตุซ้ำอีก