ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ขยายตัวมาก แต่ยังไม่เห็นสัญญาณหนี้เน่า ระบุเอ็นพีแอลมีไม่ถึง 2% เชื่อแบงก์พาณิชย์พิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยกู้ตามปกติ
นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเพิ่มเติมถึงสินเชื่อรายย่อยว่า ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ธปท.ยังไม่เห็นสัญญาณการเร่งตัวของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และจากข้อมูลที่ ธปท. มีในปัจจุบัน พบว่าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั้นมีสัดส่วนของเอ็นพีแอลไม่ถึง 2% ด้วย และไม่ได้เร่งตัวขึ้นจากในอดีต จึงไม่น่ากังวลจนเกินไป
"หนี้เสียสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มีอยู่บ้าง แต่ไม่ได้มาก พวกนี้เวลาดูสินเชื่อรายย่อยไม่ได้ดูแค่เอ็นพีแอลเพียงอย่างเดียว แต่แค่เริ่มค้างตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เราก็เก็บสถิติแล้ว ซึ่งที่มีข้อมูลอยู่ก็ไม่เห็นการเร่งตัวขึ้นแต่อย่างใด" นางสาลินีกล่าว
ทั้งนี้ ในการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ได้สอบถามผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ที่มาร่วมประชุมเช่นกันว่า อัตราการเกิดหนี้เสียในตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นอย่างไร ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันจากผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ว่า มีไม่มาก และที่ผ่านมา ธปท. เองก็ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบไปสำรวจดูเช่นกันว่า การปล่อยสินเชื่อเหล่านี้มีความหย่อนยานเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ไม่ได้พบว่ามีการหย่อนยานลงแต่อย่างใด
"ผู้ว่าการมีการสอบถามนอกรอบว่า สถิติหนี้เสียเป็นอย่างไร และคนมากู้เยอะแค่ไหน ให้บริการกันทันหรือไม่ ซึ่งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้มีมาก แต่เราเองก็ไม่ได้เชื่อหมดอย่างน้อยก็ต้องส่งคนไปดูว่าจริงหรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจสอบที่เราส่งไปก็บอกว่ายังไม่มีสัญญาณว่าจะมีการปล่อยสินเชื่อหละหลวมใดๆ ส่วนที่เป็นข่าวเราก็เข้าใจว่า เมื่อจำนวนปล่อยกู้มันเพิ่มเป็นพันเป็นหมื่นราย ย่อมต้องมีที่เสียบ้าง แต่จำนวนที่เสียไม่ได้มากเมื่อเทียบกับจำนวนที่เพิ่มขึ้น” นางสาลินีกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมายังมีการพูดคุยถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยเนื่องจาก สคบ.แสดงความห่วงใยเรื่องอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ยังอยู่ใในระดับสูง โดย ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทยให้ดูแลในเรื่องของการโฆษณา ไม่ให้เป็นลักษณะที่กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนมากเกินไป
ส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ฝ่ายกำกับของ ธปท.ไม่ได้เป็นห่วงมากนัก เพราะการเติบโตของสินเชื่อประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล และเป็นการปล่อยสินเชื่อโดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ซึ่งถือเป็นส่วนน้อยของสินเชื่อในระบบ.
นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเพิ่มเติมถึงสินเชื่อรายย่อยว่า ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ธปท.ยังไม่เห็นสัญญาณการเร่งตัวของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และจากข้อมูลที่ ธปท. มีในปัจจุบัน พบว่าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์นั้นมีสัดส่วนของเอ็นพีแอลไม่ถึง 2% ด้วย และไม่ได้เร่งตัวขึ้นจากในอดีต จึงไม่น่ากังวลจนเกินไป
"หนี้เสียสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มีอยู่บ้าง แต่ไม่ได้มาก พวกนี้เวลาดูสินเชื่อรายย่อยไม่ได้ดูแค่เอ็นพีแอลเพียงอย่างเดียว แต่แค่เริ่มค้างตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เราก็เก็บสถิติแล้ว ซึ่งที่มีข้อมูลอยู่ก็ไม่เห็นการเร่งตัวขึ้นแต่อย่างใด" นางสาลินีกล่าว
ทั้งนี้ ในการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ได้สอบถามผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ที่มาร่วมประชุมเช่นกันว่า อัตราการเกิดหนี้เสียในตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นอย่างไร ซึ่งก็ได้รับคำยืนยันจากผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ว่า มีไม่มาก และที่ผ่านมา ธปท. เองก็ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบไปสำรวจดูเช่นกันว่า การปล่อยสินเชื่อเหล่านี้มีความหย่อนยานเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ไม่ได้พบว่ามีการหย่อนยานลงแต่อย่างใด
"ผู้ว่าการมีการสอบถามนอกรอบว่า สถิติหนี้เสียเป็นอย่างไร และคนมากู้เยอะแค่ไหน ให้บริการกันทันหรือไม่ ซึ่งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้มีมาก แต่เราเองก็ไม่ได้เชื่อหมดอย่างน้อยก็ต้องส่งคนไปดูว่าจริงหรือไม่ ซึ่งผู้ตรวจสอบที่เราส่งไปก็บอกว่ายังไม่มีสัญญาณว่าจะมีการปล่อยสินเชื่อหละหลวมใดๆ ส่วนที่เป็นข่าวเราก็เข้าใจว่า เมื่อจำนวนปล่อยกู้มันเพิ่มเป็นพันเป็นหมื่นราย ย่อมต้องมีที่เสียบ้าง แต่จำนวนที่เสียไม่ได้มากเมื่อเทียบกับจำนวนที่เพิ่มขึ้น” นางสาลินีกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมายังมีการพูดคุยถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยเนื่องจาก สคบ.แสดงความห่วงใยเรื่องอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ยังอยู่ใในระดับสูง โดย ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทยให้ดูแลในเรื่องของการโฆษณา ไม่ให้เป็นลักษณะที่กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนมากเกินไป
ส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ฝ่ายกำกับของ ธปท.ไม่ได้เป็นห่วงมากนัก เพราะการเติบโตของสินเชื่อประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล และเป็นการปล่อยสินเชื่อโดยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ซึ่งถือเป็นส่วนน้อยของสินเชื่อในระบบ.