**จบลงไปแบบไม่มีหักมุม สำหรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” และอีก 3 รัฐมนตรี ซึ่งบทสรุปส่งท้ายการซักฟอก 3 วัน 3 คืนก็อยู่ที่ “ผลโหวต” การลงมติของ ส.ส.ที่ต่อให้อภิปรายให้ดีแค่ไหน ข้อมูลโดนเพียงใด เวลายกมือในสภาก็ไม่ต่างจาก “ฝักถั่ว” ที่พร้อมที่จะอุ้มชูพวกเดียวกันผ่านศึกไปอย่างไม่มีแตกแถว โดยเฉพาะยุคที่เป็นการเมืองเสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จขนาดนี้
แม้จะผ่านฉลุยไม่มีใครตกเก้าอี้ แต่ “ตัวเลข” คะแนนเสียงที่ออกมาก็มีนัยยะสำคัญทางการเมืองเสมอ ยิ่งสกอร์ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน ก็ยิ่งต้องถอดรหัสหาต้นสานปลายเหตุ โดยงานนี้ “ยิ่งลักษณ์” ผู้นำรัฐบาลขึ้นแท่นท็อปสกอร์ด้วยแต้มไว้วางใจ 308 เสียง ไม่ไว้วางใจ 159 เสียง “เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี ตามมาห่างๆ ที่ 287 เสียง ไม่ไว้วางใจ 157
“สุกำพล สุวรรณทัต – ชัจน์ กุลดิลก” รั้งบ๊วยร่วมกันที่ 284 เสียงเท่ากัน แต่ “สุกำพล” รมว.กลาโหม มีเสียงไม่ไว้วางใจแค่ 160 เสียง ส่วน “ชัจจ์ ” รมช.มหาดไทย ที่ถูกอภิปรายในฐานะอดีต รมช.คมนาคม เสียงไม่ไว้วางใจโดดไปถึง 182 เสียง
สำหรับ 308 เสียงของ “นายกฯปู” ที่โผล่มาเกินเสียง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็มาจากพรรคฝ่ายค้านอย่าง “พรรคภูมิใจไทย” ทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน 24 เสียง และกลุ่มมัชฌิมาที่มีอยู่ 7 เสียง ต่างเฮโลวางมัดจำยกมือหนุน “ยิ่งลักษณ์” เหมือนหวังสิ่งตอบแทน แถมด้วย 2 เสียงจาก “พรรคมาตุภูมิ” ทั้ง “สนธิ บุญยรัตกลิน - อนุมัติ ซูสารอ” กับ 2 กบฎรักประเทศไทย “ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ - โปรดปราน โต๊ะราหนี” ที่แหกคอกโหวตสวน “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” หัวหน้าพรรค
ความน่าสนใจอยู่ในส่วนของ “พรรคภูมิใจไทย” ที่วันนี้แยกทางเดินเป็น 2 สายชัดเจน สายหนึ่งกลุ่มเพื่อนเนวินอยู่ในอาณัติของ “เสี่ยหนู - อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรค และอีกสายหนึ่งเหนียวแน่นอยู่กับ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” ในนามกลุ่มมัชฌิมา ที่มีอยู่ 7 เสียง และได้โหวตหนุนนายกฯ และ 3 รัฐมนตรีแบบไม่แตกแถว
ขณะที่ 24 เสียงของกลุ่มเพื่อนแนวิน นอกจากยกมือให้ผู้นำรัฐบาลแล้ว เลือกที่จะงดออกเสียงในส่วนของ “เฉลิม – สุกำพล” แต่กลับโหวตไม่ไว้วางในรายของ “ชัจจ์ ” ทำให้เสียงไม่ไว้วางใจพุ่งไปถึง 182 เสียง ก็ด้วยข้อหาหมั่นไส้ หลังชี้แจงกรณีโครงการรับเหมาในกระทรวงคมนาคมแฉลบพาดพิงไปถึงรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งพรรคภูมิใจไทย คุมกระทรวงหูกวางอยู่
**การออกเสียงในญัตติสำคัญครั้งนี้ของ “พรรคภูมิใจไทย” มองได้ไม่ยากว่าเป็นการ “แบไต๋” ออดอ้อนอยากได้โดดข้ามฝากขอเป็นหนึ่งใน “พรรคร่วมรัฐบาล”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระแสข่าวความพยายามตะเกียกตะกายขอเข้าไปร่วมวง “เอ็นจอยคาร์บิเนต” ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีมาโดยตลอด เพียงแต่ยังติดที่พรรคพะยี่ห้อ “เนวิน ชิดชอบ” ครูใหญ่แห่งบ้านภูมิใจไทยหราอยู่นั่นเอง
แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะอย่าง “เสี่ยหนู” คนคู่กายของ “เสี่ยเน” ก็มีข่าวว่าเทียวไล้เทียวขื่อ บินนอกบังเอิญไปปะหน้า “นายใหญ่” อยู่บ่อยครั้ง แถมยังมีตัวช่วยสำคัญอย่าง “สัญญาณพิเศษ” ที่ทำให้ดูมีภาษีดีกว่าอีกฝั่งของ “สมศักดิ์” ซึ่งเปิดหน้าเดินเกมแบบไม่มีขัดเขิน ทั้งการโผล่ร่วมอีเว้นท์ต่างๆของพรรคเพื่อไทย หลังจากที่ปลดล็อก หลุดจากคุกการเมืองตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.55 ที่ผ่านมา
ไฮไลต์สำคัญคงเป็นการไปล้อมวง “เจี๊ยะเหลา” กันที่ภัตตาคารโฮคิตเช่น ของ “เฮียฮง - สุนทร จารุมนต์” ขุนคลังส่วนตัวของ “สมศักดิ์” ร่วมกับ 2 ผัวเมีย “สมชาย – เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” ที่เคยร่วมกันสร้างตำนาน “วังบัวบาน” จนใหญ่โตคับ พรรคไทยรักไทยมาแล้วในอดีต ซึ่งอาหารในวันนั้นก็เลิศรสจนต่างฝ่ายต่างหยอดคำหวานใส่กัน โดยเฉพาะ “พี่สาวนายกฯ” ที่ ประกาศลาก “สมศักดิ์” ร่วมรัฐบาลในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งหน้าอย่างแน่นอน
เปิดหน้าเปิดตัวทอดสะพานกันแบบไม่มีเหนียมขนาดนี้ แถมยัง “วางดาวน์” กันด้วยเสียงไว้วางใจ “ผู้นำคนสวย” แบบนี้ สงสัยเก้าอี้ดนตรีปรับ ครม.เที่ยวหน้า มีเบียดกันสนุก
**แต่จะได้ไปกันทั้งพรรคหรือเปล่า ต้องลุ้นกันอีกหลายเฮือก
แม้จะผ่านฉลุยไม่มีใครตกเก้าอี้ แต่ “ตัวเลข” คะแนนเสียงที่ออกมาก็มีนัยยะสำคัญทางการเมืองเสมอ ยิ่งสกอร์ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน ก็ยิ่งต้องถอดรหัสหาต้นสานปลายเหตุ โดยงานนี้ “ยิ่งลักษณ์” ผู้นำรัฐบาลขึ้นแท่นท็อปสกอร์ด้วยแต้มไว้วางใจ 308 เสียง ไม่ไว้วางใจ 159 เสียง “เฉลิม อยู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี ตามมาห่างๆ ที่ 287 เสียง ไม่ไว้วางใจ 157
“สุกำพล สุวรรณทัต – ชัจน์ กุลดิลก” รั้งบ๊วยร่วมกันที่ 284 เสียงเท่ากัน แต่ “สุกำพล” รมว.กลาโหม มีเสียงไม่ไว้วางใจแค่ 160 เสียง ส่วน “ชัจจ์ ” รมช.มหาดไทย ที่ถูกอภิปรายในฐานะอดีต รมช.คมนาคม เสียงไม่ไว้วางใจโดดไปถึง 182 เสียง
สำหรับ 308 เสียงของ “นายกฯปู” ที่โผล่มาเกินเสียง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็มาจากพรรคฝ่ายค้านอย่าง “พรรคภูมิใจไทย” ทั้งกลุ่มเพื่อนเนวิน 24 เสียง และกลุ่มมัชฌิมาที่มีอยู่ 7 เสียง ต่างเฮโลวางมัดจำยกมือหนุน “ยิ่งลักษณ์” เหมือนหวังสิ่งตอบแทน แถมด้วย 2 เสียงจาก “พรรคมาตุภูมิ” ทั้ง “สนธิ บุญยรัตกลิน - อนุมัติ ซูสารอ” กับ 2 กบฎรักประเทศไทย “ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ - โปรดปราน โต๊ะราหนี” ที่แหกคอกโหวตสวน “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” หัวหน้าพรรค
ความน่าสนใจอยู่ในส่วนของ “พรรคภูมิใจไทย” ที่วันนี้แยกทางเดินเป็น 2 สายชัดเจน สายหนึ่งกลุ่มเพื่อนเนวินอยู่ในอาณัติของ “เสี่ยหนู - อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรค และอีกสายหนึ่งเหนียวแน่นอยู่กับ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” ในนามกลุ่มมัชฌิมา ที่มีอยู่ 7 เสียง และได้โหวตหนุนนายกฯ และ 3 รัฐมนตรีแบบไม่แตกแถว
ขณะที่ 24 เสียงของกลุ่มเพื่อนแนวิน นอกจากยกมือให้ผู้นำรัฐบาลแล้ว เลือกที่จะงดออกเสียงในส่วนของ “เฉลิม – สุกำพล” แต่กลับโหวตไม่ไว้วางในรายของ “ชัจจ์ ” ทำให้เสียงไม่ไว้วางใจพุ่งไปถึง 182 เสียง ก็ด้วยข้อหาหมั่นไส้ หลังชี้แจงกรณีโครงการรับเหมาในกระทรวงคมนาคมแฉลบพาดพิงไปถึงรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งพรรคภูมิใจไทย คุมกระทรวงหูกวางอยู่
**การออกเสียงในญัตติสำคัญครั้งนี้ของ “พรรคภูมิใจไทย” มองได้ไม่ยากว่าเป็นการ “แบไต๋” ออดอ้อนอยากได้โดดข้ามฝากขอเป็นหนึ่งใน “พรรคร่วมรัฐบาล”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระแสข่าวความพยายามตะเกียกตะกายขอเข้าไปร่วมวง “เอ็นจอยคาร์บิเนต” ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีมาโดยตลอด เพียงแต่ยังติดที่พรรคพะยี่ห้อ “เนวิน ชิดชอบ” ครูใหญ่แห่งบ้านภูมิใจไทยหราอยู่นั่นเอง
แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะอย่าง “เสี่ยหนู” คนคู่กายของ “เสี่ยเน” ก็มีข่าวว่าเทียวไล้เทียวขื่อ บินนอกบังเอิญไปปะหน้า “นายใหญ่” อยู่บ่อยครั้ง แถมยังมีตัวช่วยสำคัญอย่าง “สัญญาณพิเศษ” ที่ทำให้ดูมีภาษีดีกว่าอีกฝั่งของ “สมศักดิ์” ซึ่งเปิดหน้าเดินเกมแบบไม่มีขัดเขิน ทั้งการโผล่ร่วมอีเว้นท์ต่างๆของพรรคเพื่อไทย หลังจากที่ปลดล็อก หลุดจากคุกการเมืองตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.55 ที่ผ่านมา
ไฮไลต์สำคัญคงเป็นการไปล้อมวง “เจี๊ยะเหลา” กันที่ภัตตาคารโฮคิตเช่น ของ “เฮียฮง - สุนทร จารุมนต์” ขุนคลังส่วนตัวของ “สมศักดิ์” ร่วมกับ 2 ผัวเมีย “สมชาย – เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” ที่เคยร่วมกันสร้างตำนาน “วังบัวบาน” จนใหญ่โตคับ พรรคไทยรักไทยมาแล้วในอดีต ซึ่งอาหารในวันนั้นก็เลิศรสจนต่างฝ่ายต่างหยอดคำหวานใส่กัน โดยเฉพาะ “พี่สาวนายกฯ” ที่ ประกาศลาก “สมศักดิ์” ร่วมรัฐบาลในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งหน้าอย่างแน่นอน
เปิดหน้าเปิดตัวทอดสะพานกันแบบไม่มีเหนียมขนาดนี้ แถมยัง “วางดาวน์” กันด้วยเสียงไว้วางใจ “ผู้นำคนสวย” แบบนี้ สงสัยเก้าอี้ดนตรีปรับ ครม.เที่ยวหน้า มีเบียดกันสนุก
**แต่จะได้ไปกันทั้งพรรคหรือเปล่า ต้องลุ้นกันอีกหลายเฮือก