ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - โรงเรียนปัตตานีกว่า 300 แห่งเงียบ หลังสมาพันธ์ครูใต้ฯมีมติปิดเรียนไม่มีกำหนด จนกว่าจะมั่นใจความปลอดภัย เตรียมขอภาครัฐกำหนดโรงเรียนเป็นพื้นที่พิเศษ ด้านสมาพันธ์ครูนราฯ-ยะลา ลั่นหากคำร้องขอไม่เป็นผล พร้อมปิดทั้ง 3 จชต. "ผบ.ทบ." เต้นสั่ง มทภ.4 ปรับแผน มทภ.4 เรียกประชุมครูพร้อมทบทวนแผนชง 8 มาตรการ ด้าน "รมว.ศธ." พร้อมพิจารณาเบี้ยเสี่ยงภัยครูใต้เพิ่มจากเดิม 2,500 บาทเป็น 3,500 บาท
หลังจากสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมติให้โรงเรียนกว่า 331 แห่งในพื้นที่ จ.ปัตตานี ปิดการเรียนการสอนอย่างไม่มีกำหนดและจะทำหนังสือถึงสมาพันธ์ครูในจังหวัดยะลา และนราธิวาส เพื่อขอให้ปิดการเรียนการสอนเช่นเดียวกันเพื่อแสดงพลังกดดันให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทบทวนแผนในการดูแลความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ครูมากขึ้นกว่านี้ หลังจากนางนันทนา แก้วจันทร์ อายุ 51 ปี ผอ.โรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พ.ย.55 ที่ผ่านมานั้น ทำให้บรรยากาศตามโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ จ.ปัตตานีวานนี้ (27 พ.ย.) เงียบเหงา ไม่มีนักเรียนและครูมาโรงเรียนเหมือนปกติ และพบว่าทางโรงเรียนได้มีการนำป้ายข้อความติดประกาศไว้ตามประตูหน้าโรงเรียนว่า "ปิดการเรียนการสอนโดยไม่มีกำหนด" เว้นแต่โรงเรียนระดับมัธยมในเขตพื้นที่เมือง รวมทั้งโรงเรียนเอกชนที่ยังคงเปิดให้มีการเรียนการสอนตามปกติ
ขณะที่กำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในโรงเรียนยังคงทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยโรงเรียนและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโรงเรียนอย่างเข้มงวดและเป็นพิเศษ เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มคนร้ายอาจอาศัยจังหวะนี้เข้ามาทำลายทรัพย์สินของโรงเรียนได้
**ขอให้กำหนดโรงเรียนเป็นพื้นที่พิเศษ
นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียน 321 แห่งของพื้นที่ จ.ปัตตานี หยุดเรียนอย่างไม่มีกำหนด คาดว่าจะมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ส่วนข้อเสนอนั้นต้องการให้ภาครัฐกำหนดพื้นที่โรงเรียนเป็นเขตพื้นที่พิเศษ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีกลุ่มครูไทยพุทธจำนวนมากและอยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ส่วนการลาดตระเวนต้องการให้ดำเนินการตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลารับส่ง ซึ่งถ้าได้ข้อสรุปที่น่าพอใจและสร้างความมั่นใจให้กับครูได้ ก็จะทำการเปิดเรียนเปิดสอนตามปกติ แต่ในช่วงที่ปิดเรียนนั้นครูได้มอบหมายงานให้กับนักเรียนไว้ทำที่บ้านและเมื่อเปิดเรียนมาก็จะทำการสอนชดเชย ตามจำนวนวันที่ขอปิดเรียน
ด้านนายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส ยืนยันว่า มติดังกล่าวเป็นความเห็นชอบของแกนนำครูทั้ง 3 จังหวัดไม่ว่าจะเป็น จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ซึ่งหากยังไม่ความชัดเจนในสิ่งที่เพื่อนครูร้องขอ จากนี้ไปอาจจะมีการประกาศปิดเพิ่มเติมในส่วนของโรงเรียนพื้นที่ จ.นราธิวาส และยะลาตามมาอีก
" ขณะนี้เพื่อนครูต่างตกอยู่ในภาวะขวัญระส่ำระสายอย่างหนัก เพราะก่อนเกิดเหตุที่นางนันทนา แก้วจันทร์ ผอ.โรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จะถูกยิงเสียชีวิต ได้มีกระแสข่าวข่มขู่ทำร้ายเพื่อนครูอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งหลังเกิดเหตุสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้เรียกประชุมด่วนเพื่อหาทางลดอัตราเสี่ยงและป้องกันอันตรายจากการตกเป็นเป้าของกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ยังไม่เป็นผล ดังนั้น เราต้องขอให้เจ้าหน้าที่ควบคุมความร้อนแรงของสถานการณ์ในช่วงนี้ให้ได้เสียก่อน เพราะขณะนี้เหตุการณ์ในพื้นที่รุนแรงมาก" นายสงวน กล่าว
**มทภ.4 ชง 8 มาตรการสร้างมั่นใจ
วันเดียวกัน พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดแผยภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 และตัวแทนครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ว่า หลังจากเข้าร่วมประชุมรับฟังข้อคิดเห็น และปัญหาในการปฎิบัติงาน โดยเฉพาะมาตรการในการรักษาความปลอดภัยครูในพื้นที่ ซึ่งตัวแทนครูได้เสนอให้เจ้าหน้าที่ปรับทบทวนแผนมาตรการรปภ.ครูให้เคร่งครัดมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทาง 8 มาตรการในการดูแลความปลอดภัยร่วมกัน เช่น 1.ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลครูและสถานศึกษา, 2.ให้เจ้าหน้าที่ทุ่มเทกำลังการทำงานให้หนักขึ้น, 3.ให้มีการประสานงานกันระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ร่วมกันมากขึ้น, 4.ให้มีการประชุมประเมินผลงานเดือนละ 1-2 ครั้ง, 5.การเพิ่มความถี่ในการตั้งด่านตรวจ, 6.การเพิ่มกำลังพลในการคุ้มครองดูแลครูทั้งในส่วนของ อส.-เจ้าหน้าที่, 7.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ และที่สำคัญการเข้าประจำการของเจ้าหน้าที่ภายในโรงเรียน
"และ 8.การเข้าไปประจำการของเจ้าหน้าที่ รปภ.ภายในโรงเรียนนั้นต้องมีการหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากยังมีความคิดเห็นต่างกัน ซึ่งโรงเรียนบางแห่งต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตั้งฐานภายในโรงเรียนและเดินทางร่วมกับคณะครูทุกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจ ขณะที่โรงเรียนบางแห่งไม่ต้องการเพราะเกรงจะตกเป็นหมายที่อันตราย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้บริหารแต่ละโรงเรียนหารือร่วมเป็นรายพื้นที่เพื่อกำหนดให้เป็นไปตามความเหมาะสม ส่วนประเด็นอื่นๆพล.ท.อุดมชัยพร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับครูและพร้อมทบทวนมาตรการต่างๆให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้ครูเชื่อมั่นจะได้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งโดยเร็วที่สุด ส่วนจะเปิดเรียนได้เมื่อไหร่นั้นยังไม่ได้กำหนดชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของสมาพันธ์ครูอีกครั้ง" พ.อ.ปราโมทย์ กล่าว
**ผบ.ทบ.สั่งมทภ.4ปรับแผนคุมเข้ม
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงพยายามแก้ปัญหาทุกครั้ง แต่ขณะนี้ยังมีการก่อเหตุที่รุนแรงอยู่ ครูเป็นเป้าหมายหลักในการก่อความไม่สงบ เพราะไม่ต้องการประชาชน และผู้บริสุทธิ์ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งกองทัพให้ความสำคัญและมีมาตรการในการจัดชุด รปภ.ครู และกำหนดเส้นทาง และเวลาในการเดินทาง แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมาก็มีความบกพร่อง บางครั้งครูมีธุระส่วนตัวหรือมีความจำเป็นออกนอกเส้นทางหรือนอกเวลาที่กำหนดไว้
"ผมได้สั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หามาตรการและปรับแผนการป้องกันความปลอดภัยให้กับครูแล้ว แต่ขณะนี้เห็นอย่างเดียวหากจะทำให้เกิดความปลอดภัยต้องให้ครูพักที่โรงเรียน เพื่อลดเป้าหมาย แต่เป็นเรื่องยากเพราะครูมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามลดความน่าเชื่อถือและดิสเครดิตเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้การแก้ปัญหามีผลกระทบต่อสากล เราต้องพยายามลดระดับลงให้ได้"
**ศธ.พิจารณาเบี้ยเสี่ยงภัยครูใต้เพิ่ม
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคุ้มครองครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประสานกับหน่วยงานความมั่นคงโดยตลอด ส่วนจะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่หรือไม่ต้องดูที่แต่ละจุดและเส้น ซึ่งทางยุทธศาสตร์การดูแลมีอยู่แล้ว
"ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ผู้แทนครูได้ติดต่อขอพบผมที่กระทรวงเพื่อมาหารือ โดยอาจจะมีประเด็นเรื่องขวัญกำลังใจ ต้องยอมรับว่าครูในพื้นที่มีความเสี่ยงภัยมากกว่าพื้นที่อื่นมาก ฉะนั้น จึงต้องดูแลให้มีขวัญกำลังใจเต็มที่ ซึ่งรัฐบาลเข้าใจดีว่าสถานการณ์อย่างนี้คนที่ทำงานที่มีความเสี่ยงก็ต้องมีขวัญกำลังใจ อาจจะไม่ใช่เรื่องการเพิ่มเบี้ยอย่างเดียว เช่น กรณีบาดเจ็บ เสียชีวิต จะมีการดูแลลูกหลานอย่างไร ซึ่งช่วงธันวาคม ผมจะลงพื้นที่อีกครั้ง คาดว่าต้นเดือนธันวาคมโรงเรียนจะกลับมาเปิดตามปกติ"
ด้านนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนจะลงพื้นที่วันที่ 29 พ.ย.เพื่อร่วมงานศพของผู้อำนวยการโรงเรียนท่ากำชำ และจะมีการหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และ ศอ.บต.รวมทั้งจะพบกับสมาพันธ์ครูด้วย ส่วนเรื่องเบี้ยเสี่ยงภัยจะพิจารณาจากเดิม 2,500 บาท อาจจะเพิ่มให้เป็น 3,500 บาท
หลังจากสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมติให้โรงเรียนกว่า 331 แห่งในพื้นที่ จ.ปัตตานี ปิดการเรียนการสอนอย่างไม่มีกำหนดและจะทำหนังสือถึงสมาพันธ์ครูในจังหวัดยะลา และนราธิวาส เพื่อขอให้ปิดการเรียนการสอนเช่นเดียวกันเพื่อแสดงพลังกดดันให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทบทวนแผนในการดูแลความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ครูมากขึ้นกว่านี้ หลังจากนางนันทนา แก้วจันทร์ อายุ 51 ปี ผอ.โรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พ.ย.55 ที่ผ่านมานั้น ทำให้บรรยากาศตามโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ จ.ปัตตานีวานนี้ (27 พ.ย.) เงียบเหงา ไม่มีนักเรียนและครูมาโรงเรียนเหมือนปกติ และพบว่าทางโรงเรียนได้มีการนำป้ายข้อความติดประกาศไว้ตามประตูหน้าโรงเรียนว่า "ปิดการเรียนการสอนโดยไม่มีกำหนด" เว้นแต่โรงเรียนระดับมัธยมในเขตพื้นที่เมือง รวมทั้งโรงเรียนเอกชนที่ยังคงเปิดให้มีการเรียนการสอนตามปกติ
ขณะที่กำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในโรงเรียนยังคงทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยโรงเรียนและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโรงเรียนอย่างเข้มงวดและเป็นพิเศษ เนื่องจากเกรงว่ากลุ่มคนร้ายอาจอาศัยจังหวะนี้เข้ามาทำลายทรัพย์สินของโรงเรียนได้
**ขอให้กำหนดโรงเรียนเป็นพื้นที่พิเศษ
นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้โรงเรียน 321 แห่งของพื้นที่ จ.ปัตตานี หยุดเรียนอย่างไม่มีกำหนด คาดว่าจะมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐในวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ส่วนข้อเสนอนั้นต้องการให้ภาครัฐกำหนดพื้นที่โรงเรียนเป็นเขตพื้นที่พิเศษ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีกลุ่มครูไทยพุทธจำนวนมากและอยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ส่วนการลาดตระเวนต้องการให้ดำเนินการตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลารับส่ง ซึ่งถ้าได้ข้อสรุปที่น่าพอใจและสร้างความมั่นใจให้กับครูได้ ก็จะทำการเปิดเรียนเปิดสอนตามปกติ แต่ในช่วงที่ปิดเรียนนั้นครูได้มอบหมายงานให้กับนักเรียนไว้ทำที่บ้านและเมื่อเปิดเรียนมาก็จะทำการสอนชดเชย ตามจำนวนวันที่ขอปิดเรียน
ด้านนายสงวน อินทรักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส ยืนยันว่า มติดังกล่าวเป็นความเห็นชอบของแกนนำครูทั้ง 3 จังหวัดไม่ว่าจะเป็น จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ซึ่งหากยังไม่ความชัดเจนในสิ่งที่เพื่อนครูร้องขอ จากนี้ไปอาจจะมีการประกาศปิดเพิ่มเติมในส่วนของโรงเรียนพื้นที่ จ.นราธิวาส และยะลาตามมาอีก
" ขณะนี้เพื่อนครูต่างตกอยู่ในภาวะขวัญระส่ำระสายอย่างหนัก เพราะก่อนเกิดเหตุที่นางนันทนา แก้วจันทร์ ผอ.โรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จะถูกยิงเสียชีวิต ได้มีกระแสข่าวข่มขู่ทำร้ายเพื่อนครูอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งหลังเกิดเหตุสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้เรียกประชุมด่วนเพื่อหาทางลดอัตราเสี่ยงและป้องกันอันตรายจากการตกเป็นเป้าของกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ยังไม่เป็นผล ดังนั้น เราต้องขอให้เจ้าหน้าที่ควบคุมความร้อนแรงของสถานการณ์ในช่วงนี้ให้ได้เสียก่อน เพราะขณะนี้เหตุการณ์ในพื้นที่รุนแรงมาก" นายสงวน กล่าว
**มทภ.4 ชง 8 มาตรการสร้างมั่นใจ
วันเดียวกัน พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดแผยภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 และตัวแทนครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ว่า หลังจากเข้าร่วมประชุมรับฟังข้อคิดเห็น และปัญหาในการปฎิบัติงาน โดยเฉพาะมาตรการในการรักษาความปลอดภัยครูในพื้นที่ ซึ่งตัวแทนครูได้เสนอให้เจ้าหน้าที่ปรับทบทวนแผนมาตรการรปภ.ครูให้เคร่งครัดมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทาง 8 มาตรการในการดูแลความปลอดภัยร่วมกัน เช่น 1.ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลครูและสถานศึกษา, 2.ให้เจ้าหน้าที่ทุ่มเทกำลังการทำงานให้หนักขึ้น, 3.ให้มีการประสานงานกันระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ร่วมกันมากขึ้น, 4.ให้มีการประชุมประเมินผลงานเดือนละ 1-2 ครั้ง, 5.การเพิ่มความถี่ในการตั้งด่านตรวจ, 6.การเพิ่มกำลังพลในการคุ้มครองดูแลครูทั้งในส่วนของ อส.-เจ้าหน้าที่, 7.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างครูและเจ้าหน้าที่ และที่สำคัญการเข้าประจำการของเจ้าหน้าที่ภายในโรงเรียน
"และ 8.การเข้าไปประจำการของเจ้าหน้าที่ รปภ.ภายในโรงเรียนนั้นต้องมีการหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากยังมีความคิดเห็นต่างกัน ซึ่งโรงเรียนบางแห่งต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตั้งฐานภายในโรงเรียนและเดินทางร่วมกับคณะครูทุกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจ ขณะที่โรงเรียนบางแห่งไม่ต้องการเพราะเกรงจะตกเป็นหมายที่อันตราย ซึ่งเบื้องต้นได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้บริหารแต่ละโรงเรียนหารือร่วมเป็นรายพื้นที่เพื่อกำหนดให้เป็นไปตามความเหมาะสม ส่วนประเด็นอื่นๆพล.ท.อุดมชัยพร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับครูและพร้อมทบทวนมาตรการต่างๆให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้ครูเชื่อมั่นจะได้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งโดยเร็วที่สุด ส่วนจะเปิดเรียนได้เมื่อไหร่นั้นยังไม่ได้กำหนดชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของสมาพันธ์ครูอีกครั้ง" พ.อ.ปราโมทย์ กล่าว
**ผบ.ทบ.สั่งมทภ.4ปรับแผนคุมเข้ม
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงพยายามแก้ปัญหาทุกครั้ง แต่ขณะนี้ยังมีการก่อเหตุที่รุนแรงอยู่ ครูเป็นเป้าหมายหลักในการก่อความไม่สงบ เพราะไม่ต้องการประชาชน และผู้บริสุทธิ์ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งกองทัพให้ความสำคัญและมีมาตรการในการจัดชุด รปภ.ครู และกำหนดเส้นทาง และเวลาในการเดินทาง แต่ยอมรับว่าที่ผ่านมาก็มีความบกพร่อง บางครั้งครูมีธุระส่วนตัวหรือมีความจำเป็นออกนอกเส้นทางหรือนอกเวลาที่กำหนดไว้
"ผมได้สั่งการให้แม่ทัพภาคที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หามาตรการและปรับแผนการป้องกันความปลอดภัยให้กับครูแล้ว แต่ขณะนี้เห็นอย่างเดียวหากจะทำให้เกิดความปลอดภัยต้องให้ครูพักที่โรงเรียน เพื่อลดเป้าหมาย แต่เป็นเรื่องยากเพราะครูมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามลดความน่าเชื่อถือและดิสเครดิตเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้การแก้ปัญหามีผลกระทบต่อสากล เราต้องพยายามลดระดับลงให้ได้"
**ศธ.พิจารณาเบี้ยเสี่ยงภัยครูใต้เพิ่ม
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การคุ้มครองครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประสานกับหน่วยงานความมั่นคงโดยตลอด ส่วนจะเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่หรือไม่ต้องดูที่แต่ละจุดและเส้น ซึ่งทางยุทธศาสตร์การดูแลมีอยู่แล้ว
"ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ผู้แทนครูได้ติดต่อขอพบผมที่กระทรวงเพื่อมาหารือ โดยอาจจะมีประเด็นเรื่องขวัญกำลังใจ ต้องยอมรับว่าครูในพื้นที่มีความเสี่ยงภัยมากกว่าพื้นที่อื่นมาก ฉะนั้น จึงต้องดูแลให้มีขวัญกำลังใจเต็มที่ ซึ่งรัฐบาลเข้าใจดีว่าสถานการณ์อย่างนี้คนที่ทำงานที่มีความเสี่ยงก็ต้องมีขวัญกำลังใจ อาจจะไม่ใช่เรื่องการเพิ่มเบี้ยอย่างเดียว เช่น กรณีบาดเจ็บ เสียชีวิต จะมีการดูแลลูกหลานอย่างไร ซึ่งช่วงธันวาคม ผมจะลงพื้นที่อีกครั้ง คาดว่าต้นเดือนธันวาคมโรงเรียนจะกลับมาเปิดตามปกติ"
ด้านนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนจะลงพื้นที่วันที่ 29 พ.ย.เพื่อร่วมงานศพของผู้อำนวยการโรงเรียนท่ากำชำ และจะมีการหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และ ศอ.บต.รวมทั้งจะพบกับสมาพันธ์ครูด้วย ส่วนเรื่องเบี้ยเสี่ยงภัยจะพิจารณาจากเดิม 2,500 บาท อาจจะเพิ่มให้เป็น 3,500 บาท