วานนี้(26 พ.ย.55) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ แถลงว่ากระทรวงการต่างประเทศได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยประกอบด้วยกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ มาร่วมประชุมในวันที่ 29 พ.ย.เวลา 15.00 น.เพื่อพิจารณาจัดทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี)โดยจะนำรายละเอียดทั้งหมดไปสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปว่าไทยจะยอมรับเขตอำนาจศาลในกรณี 98 ศพที่ได้มีผู้ไปยื่นคำร้องต่อไอซีซีหรือไม่ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันก็จะเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
นายสุรพงษ์กล่าวว่า เท่าที่ได้รับฟังคำชี้แจงจากอัยการของไอซีซีพร้อมกับผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทวงการต่างประเทศชัดเจนว่า การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศและไม่เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 เพราะเป็นการประกาศฝ่ายเดียว ไม่มีข้อผูกมัดจะยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก็ต้องฟังความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ของไทยที่เกี่ยวข้องหากหน่วยงานใดมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมจะได้สอบถามไปยังไอซีซีเพื่อขอคำชี้แจงอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นในปีนี้เลยหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้องรอดูผลประชุมวันที่ 29 พ.ย.ก่อนจึงจะพูดได้ โดยยืนยันว่าที่มีบางฝ่ายให้ความเห็นว่าการรับอำนาจไอซีซีเท่ากับไทยจะเสียอำนาจอธิปไตยด้านศาลคงไม่ใช่ เพราะไอซีซีพูดชัดเจนว่าสิ่งใดที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศเดินหน้าไปได้อยู่แล้วเเละจะไม่เข้ามายุ่ง นอกจากกรณีที่เห็นว่ายังไม่ได้รับความยุติธรรมเท่านั้น
"เราจะพยายามทำให้เร็วที่สุดเพราะไม่อยากเห็นการปฏิวัติ การกระทำนอกระบอบประชาธิปไตย หรือการทำลายชีวิตประชาชน เกิดขึ้นในไทยอีกการที่ไทยได้รับการยอมรับและมีการเยือนจากผู้นำนานาประเทศก็เพราะเราเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งผิดกับรัฐบาลก่อนที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครอยากมาเยือนแม้จะเชิญไปเขาก็ยังไม่มา"นายสุรพงษ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าถูกกดดันหรือไม่เพราะก่อนหน้านี้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงขู่ว่าจะเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีต่างประเทศหากไม่รีบรับเขตอำนาจไอซีซี
นายสุรพงษ์กล่าวว่า "เปลี่ยนไม่ได้ เพราะคุณจตุพรไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ชีวิตผมไม่เคยมีใครมากดดัน ถึงกดก็ไม่รู้สึกเพราะผมเป็นเบาหวาน เหน็บกินมันชา"
**นปช.ที่รางน้ำถูกยิงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
วันนี้ (26 พ.ย.) ศาลอาญานัดฟังคำสั่งในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ของนาย ชาญณรงค์ พลศรีลา แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ที่ถูกยิงบริเวณหน้าสถานีบริการน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
ศาลพิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานและหลักฐานแล้ว สรุปว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ นายชาญณรงค์ เกิดจากกระสุนปืนกลเล็ก ขนาด .223ที่ยิงได้จากอาวุธปืน เอ็ม 16 ทราโว่ และเอสเค 33 เข้าบริเวณช่องท้อง ทำให้ลำไส้เล็กฉีกขาดหลายแห่ง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากระสุนปืนมาจากปืนกระบอกใด แต่จากคำเบิกความของพยานสอดคล้องกัน ว่ากระสุนปืนมาจะฝั่งทหารที่ประจำการอยู่ จึงยืนยันได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารจากสังกัดใด
ด้านนางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยานายชาญณรงค์ เปิดเผยภายหลังฟังคำสั่งว่า รู้สึกพอใจกับคำสั่งในวันนี้ ซึ่งไม่เกินความคาดหมาย ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อ อยู่ระหว่างการปรึกษากับทีมทนายความ โดยหลังจากนี้สำนวนคดีดังกล่าวจะถูกส่งกลับให้พนักงานอัยการ ก่อนส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. กล่าวว่า ที่ศาลมีคำสั่งในวันนี้รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก และพยานที่มาเบิกความต่อศาลคดีนี้ก็มาจากสื่อมวลชนที่ไม่ได้เป็นสื่อของเสื้อแดง เรื่องการเยียวยาญาติและครอบครัวผู้ตายด้วยการจ่ายเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่การที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทำให้ชื่อเสียงเกียรติยศของครอบครัวผู้ตายเสียหาย จึงควรเยียวยาความรู้สึกด้วยการเสนอความจริงแก้ไขชื่อเสียงให้
นพ.เหวง แกนนำ นปช. กล่าวว่า เมื่อคำสั่งศาลระบุว่านายชาญณรงค์ ผู้ตาย ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศอฉ. ยิงตาย ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ควรต้องออกมารับผิดชอบ และในคดีนี้ที่ฝ่ายทหารมาเบิกความว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธนั้น ศาลก็ไม่ได้นำประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาเนื่องจากไม่เกี่ยวกับการตายของนายชาญณรงค์ และจากการตรวจพิสูจน์ในที่เกิดเหตุปรากฏร่องรอยกระสุนของทหารมากถึง 33 รอย แสดงให้เห็นว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ มีเพียงหนังสติ๊กเท่านั้น
ด้านนายโชคชัย ทนายญาติผู้ตาย กล่าวว่า หลังศาลมีคำสั่ง พนักงานอัยการก็จะนำคำสั่งศาลไปมอบให้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต่อไป
นายสุรพงษ์กล่าวว่า เท่าที่ได้รับฟังคำชี้แจงจากอัยการของไอซีซีพร้อมกับผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทวงการต่างประเทศชัดเจนว่า การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศและไม่เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 เพราะเป็นการประกาศฝ่ายเดียว ไม่มีข้อผูกมัดจะยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ก็ต้องฟังความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ของไทยที่เกี่ยวข้องหากหน่วยงานใดมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมจะได้สอบถามไปยังไอซีซีเพื่อขอคำชี้แจงอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นในปีนี้เลยหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้องรอดูผลประชุมวันที่ 29 พ.ย.ก่อนจึงจะพูดได้ โดยยืนยันว่าที่มีบางฝ่ายให้ความเห็นว่าการรับอำนาจไอซีซีเท่ากับไทยจะเสียอำนาจอธิปไตยด้านศาลคงไม่ใช่ เพราะไอซีซีพูดชัดเจนว่าสิ่งใดที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศเดินหน้าไปได้อยู่แล้วเเละจะไม่เข้ามายุ่ง นอกจากกรณีที่เห็นว่ายังไม่ได้รับความยุติธรรมเท่านั้น
"เราจะพยายามทำให้เร็วที่สุดเพราะไม่อยากเห็นการปฏิวัติ การกระทำนอกระบอบประชาธิปไตย หรือการทำลายชีวิตประชาชน เกิดขึ้นในไทยอีกการที่ไทยได้รับการยอมรับและมีการเยือนจากผู้นำนานาประเทศก็เพราะเราเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งผิดกับรัฐบาลก่อนที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครอยากมาเยือนแม้จะเชิญไปเขาก็ยังไม่มา"นายสุรพงษ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าถูกกดดันหรือไม่เพราะก่อนหน้านี้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงขู่ว่าจะเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีต่างประเทศหากไม่รีบรับเขตอำนาจไอซีซี
นายสุรพงษ์กล่าวว่า "เปลี่ยนไม่ได้ เพราะคุณจตุพรไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ชีวิตผมไม่เคยมีใครมากดดัน ถึงกดก็ไม่รู้สึกเพราะผมเป็นเบาหวาน เหน็บกินมันชา"
**นปช.ที่รางน้ำถูกยิงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
วันนี้ (26 พ.ย.) ศาลอาญานัดฟังคำสั่งในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ของนาย ชาญณรงค์ พลศรีลา แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ที่ถูกยิงบริเวณหน้าสถานีบริการน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
ศาลพิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานและหลักฐานแล้ว สรุปว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ นายชาญณรงค์ เกิดจากกระสุนปืนกลเล็ก ขนาด .223ที่ยิงได้จากอาวุธปืน เอ็ม 16 ทราโว่ และเอสเค 33 เข้าบริเวณช่องท้อง ทำให้ลำไส้เล็กฉีกขาดหลายแห่ง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ากระสุนปืนมาจากปืนกระบอกใด แต่จากคำเบิกความของพยานสอดคล้องกัน ว่ากระสุนปืนมาจะฝั่งทหารที่ประจำการอยู่ จึงยืนยันได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารจากสังกัดใด
ด้านนางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยานายชาญณรงค์ เปิดเผยภายหลังฟังคำสั่งว่า รู้สึกพอใจกับคำสั่งในวันนี้ ซึ่งไม่เกินความคาดหมาย ส่วนการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อ อยู่ระหว่างการปรึกษากับทีมทนายความ โดยหลังจากนี้สำนวนคดีดังกล่าวจะถูกส่งกลับให้พนักงานอัยการ ก่อนส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. กล่าวว่า ที่ศาลมีคำสั่งในวันนี้รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก และพยานที่มาเบิกความต่อศาลคดีนี้ก็มาจากสื่อมวลชนที่ไม่ได้เป็นสื่อของเสื้อแดง เรื่องการเยียวยาญาติและครอบครัวผู้ตายด้วยการจ่ายเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่การที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทำให้ชื่อเสียงเกียรติยศของครอบครัวผู้ตายเสียหาย จึงควรเยียวยาความรู้สึกด้วยการเสนอความจริงแก้ไขชื่อเสียงให้
นพ.เหวง แกนนำ นปช. กล่าวว่า เมื่อคำสั่งศาลระบุว่านายชาญณรงค์ ผู้ตาย ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศอฉ. ยิงตาย ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ควรต้องออกมารับผิดชอบ และในคดีนี้ที่ฝ่ายทหารมาเบิกความว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธนั้น ศาลก็ไม่ได้นำประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาเนื่องจากไม่เกี่ยวกับการตายของนายชาญณรงค์ และจากการตรวจพิสูจน์ในที่เกิดเหตุปรากฏร่องรอยกระสุนของทหารมากถึง 33 รอย แสดงให้เห็นว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ มีเพียงหนังสติ๊กเท่านั้น
ด้านนายโชคชัย ทนายญาติผู้ตาย กล่าวว่า หลังศาลมีคำสั่ง พนักงานอัยการก็จะนำคำสั่งศาลไปมอบให้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต่อไป