ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”รู้ทันเล่ห์โรงสี ปัดไฟเขียวให้โรงสีภาคกลางไปรับจำนำข้าวข้ามเขตที่อีสาน หวั่นขนข้าวหอมปทุมธานีไปปนกับข้าวหอมมะลิ หลังตรวจพบมีโรงสีบางรายจัดฉากจ้างชาวนาประท้วง อ้างจุดจำนำไม่เพียงพอ ขู่ตัดสิทธิพ้นโครงการ
นายสมชาติ สร้อยทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีโรงสีบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาจุดรับจำนำข้าวไม่เพียงพอ และได้เสนอให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ที่มีรมว.พาณิชย์เป็นประธานอนุมัติให้โรงสีภาคกลางเข้ามารับจำนำและระบุชื่อโรงสีภาคกลางที่ต้องการให้เข้ามารับจำนำข้ามเขตด้วย แต่คณะอนุกรรมการฯ ไม่อนุมัติให้ เพราะเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น และน่าจะเป็นการกระทำเป็นขบวนการ เพื่อหวังผลกำไรจากการปลอมปนข้าว
“ถ้าจุดรับจำนำไม่เพียงพอจริงๆ และต้องการให้ข้ามเขตมารับจำนำข้าว คงไม่ต้องถึงขนาดระบุชื่อโรงสี แต่น่าจะเป็นใครก็ได้ที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าเหมาะสมและส่งเข้าไป ที่สำคัญ มีโรงสีบางแห่งจ้างชาวนามาประท้วง ปิดถนน อ้างว่าจุดรับจำนำไม่เพียงพอ แต่พอไปคุยกับชาวนาก็ได้ข้อมูลลึกๆ ว่าเป็นการจัดฉาก ซึ่งหากได้ข้อมูลชัดๆ ว่าใครทำบ้างก็จะถอดออกจากโครงการและไม่ให้เข้าร่วมโครงการอีกเลย”
อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ๆ มีปัญหาจุดรับจำนำไม่เพียงพอจริงๆ เช่น ที่จ.ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ ได้มีการอนุมัติให้โรงสีเข้าไปรับจำนำข้ามเขตจำนวนหนึ่ง
สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกขณะนี้ ราคาดีกว่าปีก่อนมาก เพราะเกิดปัญหาภัยแล้ง ทำให้ข้าวเปลือกหอมมะลิบางส่วนเสียหาย โรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำจึงแย่งซื้อจากเกษตรกร และดันให้ราคาสูงขึ้น โดยราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 16,000 บาท ปีก่อนตันละ 13,000-14,000 บาท ส่วนราคาจำนำตันละ 20,000 บาท ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้าไม่ต่างจากปีก่อนมากนัก ราคาเฉลี่ยตันละ 11,000-12,000 บาท จากราคาจำนำ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มรับจำนำวันที่ 1 ต.ค.-20 พ.ย.2555 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการแล้ว 2.8 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งได้สั่งให้โรงสีสีแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้ว ก่อนส่งเข้าโกดังกลางของรัฐ ขณะที่ปัญหาโกดังเก็บข้าวไม่เพียงพออย่างที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกต ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะรัฐได้ทยอยระบายข้าวในสต๊อกอย่างต่อเนื่องทำให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอที่จะจัดเก็บข้าวได้ อีกทั้งรัฐยังมีนโยบายขายข้าวหอมมะลิใหม่กับผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อ โดยให้ติดต่อกับโรงสีเอง เมื่อรัฐอนุมัติขายแล้ว ก็ให้โรงสีสีแปรสภาพข้าวแล้วส่งมอบให้ผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่เก็บแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่มีความพยายามจากโรงสีที่จะให้รัฐบาลเปิดจุดรับจำนำข้าวข้ามเขต โดยต้องการให้อนุญาตให้โรงสีในภาคกลางเข้าไปข้ามเขตนั้น อาจเป็นเพราะต้องการนำข้าวคุณภาพต่ำ ราคาถูก เช่น ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ไปปลอมปนกับข้าวคุณภาพดี ราคาแพง อย่างข้าวเปลือกหอมมะลิ แล้วส่งมอบเข้าโกดังกลางของรัฐบาล โดยมีบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (เซอร์เวเยอร์) รู้เห็นเป็นใจ และแทนที่จะส่งมอบข้าวหอมมะลิทั้งหมด ก็จะนำข้าวหอมมะลิที่กันไว้ไปขายในตลาดฟันกำไรอีกต่อหนึ่ง
นายสมชาติ สร้อยทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีโรงสีบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาจุดรับจำนำข้าวไม่เพียงพอ และได้เสนอให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ที่มีรมว.พาณิชย์เป็นประธานอนุมัติให้โรงสีภาคกลางเข้ามารับจำนำและระบุชื่อโรงสีภาคกลางที่ต้องการให้เข้ามารับจำนำข้ามเขตด้วย แต่คณะอนุกรรมการฯ ไม่อนุมัติให้ เพราะเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น และน่าจะเป็นการกระทำเป็นขบวนการ เพื่อหวังผลกำไรจากการปลอมปนข้าว
“ถ้าจุดรับจำนำไม่เพียงพอจริงๆ และต้องการให้ข้ามเขตมารับจำนำข้าว คงไม่ต้องถึงขนาดระบุชื่อโรงสี แต่น่าจะเป็นใครก็ได้ที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าเหมาะสมและส่งเข้าไป ที่สำคัญ มีโรงสีบางแห่งจ้างชาวนามาประท้วง ปิดถนน อ้างว่าจุดรับจำนำไม่เพียงพอ แต่พอไปคุยกับชาวนาก็ได้ข้อมูลลึกๆ ว่าเป็นการจัดฉาก ซึ่งหากได้ข้อมูลชัดๆ ว่าใครทำบ้างก็จะถอดออกจากโครงการและไม่ให้เข้าร่วมโครงการอีกเลย”
อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ๆ มีปัญหาจุดรับจำนำไม่เพียงพอจริงๆ เช่น ที่จ.ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ ได้มีการอนุมัติให้โรงสีเข้าไปรับจำนำข้ามเขตจำนวนหนึ่ง
สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกขณะนี้ ราคาดีกว่าปีก่อนมาก เพราะเกิดปัญหาภัยแล้ง ทำให้ข้าวเปลือกหอมมะลิบางส่วนเสียหาย โรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำจึงแย่งซื้อจากเกษตรกร และดันให้ราคาสูงขึ้น โดยราคาตลาดอยู่ที่ตันละ 16,000 บาท ปีก่อนตันละ 13,000-14,000 บาท ส่วนราคาจำนำตันละ 20,000 บาท ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้าไม่ต่างจากปีก่อนมากนัก ราคาเฉลี่ยตันละ 11,000-12,000 บาท จากราคาจำนำ 15,000 บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มรับจำนำวันที่ 1 ต.ค.-20 พ.ย.2555 มีข้าวเปลือกเข้าโครงการแล้ว 2.8 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งได้สั่งให้โรงสีสีแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้ว ก่อนส่งเข้าโกดังกลางของรัฐ ขณะที่ปัญหาโกดังเก็บข้าวไม่เพียงพออย่างที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกต ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะรัฐได้ทยอยระบายข้าวในสต๊อกอย่างต่อเนื่องทำให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอที่จะจัดเก็บข้าวได้ อีกทั้งรัฐยังมีนโยบายขายข้าวหอมมะลิใหม่กับผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อ โดยให้ติดต่อกับโรงสีเอง เมื่อรัฐอนุมัติขายแล้ว ก็ให้โรงสีสีแปรสภาพข้าวแล้วส่งมอบให้ผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่เก็บแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่มีความพยายามจากโรงสีที่จะให้รัฐบาลเปิดจุดรับจำนำข้าวข้ามเขต โดยต้องการให้อนุญาตให้โรงสีในภาคกลางเข้าไปข้ามเขตนั้น อาจเป็นเพราะต้องการนำข้าวคุณภาพต่ำ ราคาถูก เช่น ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ไปปลอมปนกับข้าวคุณภาพดี ราคาแพง อย่างข้าวเปลือกหอมมะลิ แล้วส่งมอบเข้าโกดังกลางของรัฐบาล โดยมีบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (เซอร์เวเยอร์) รู้เห็นเป็นใจ และแทนที่จะส่งมอบข้าวหอมมะลิทั้งหมด ก็จะนำข้าวหอมมะลิที่กันไว้ไปขายในตลาดฟันกำไรอีกต่อหนึ่ง