ขณะที่เขียนต้นฉบับนี้ วันรุ่งขึ้นกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ก็จะทำการชุมนุมกันที่สนามม้านางเลิ้ง ในเวลาเดียวกัน กลุ่มคนเสื้อแดงก็นัดชุมนุมกันโดยเรียกตัวเองว่าเป็นกลุ่ม “ปราบกบฏ”
การเมืองไทยได้เปลี่ยนจากการต่อสู้แข่งขันกันในระบบรัฐสภามาเป็นการเมืองของมวลชน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นพวก และพร้อมที่จะระดมพลมาคัดค้านรัฐบาลของฝ่ายตรงข้าม เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล กลุ่มคนเสื้อแดงก็ออกมาประท้วง และนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ก็ใช้พระราชบัญญัติความมั่นคง เหมือนกับในสมัยนี้
แม้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะไม่ได้มีมติอย่างเป็นทางการที่จะเข้าร่วม แต่ก็ไม่คัดค้านและเชื่อว่าพันธมิตรฯ จำนวนไม่น้อยคงเข้าร่วมชุมนุมด้วย แม้การชุมนุมจะไม่ได้เริ่มจากแกนนำของพันธมิตรฯ ก็ตาม
การที่การเมืองไทยพัฒนามาเป็นการเมืองของการเผชิญหน้าระหว่างประชาชน และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนี้ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะการใช้การชุมนุมนอกสภา เป็นวิธีการแสดงออกทางการเมือง ไม่ใช่ครรลองของระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดคำถามว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
การเคลื่อนไหวของประชาชนครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อสมัย 14 ตุลา 2516 แต่ในเวลานั้นการเมืองถูกปิดกั้น และเป็นการต่อสู้กันระหว่างผู้นำทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อมีประชาธิปไตยแล้ว ก็ย่อมมีช่องทางปกติหลายช่องทางในการแสดงออกทางการเมือง นอกจากนั้นรัฐบาลก็มาจากการเลือกตั้ง
แต่มูลเหตุสำคัญของการเมืองแบบเผชิญหน้า ก็มาจากการเมืองที่มีการแบ่งแยกเป็นพรรคพวกที่แฝงด้วยความเกลียดชัง แต่ละฝ่ายต่างมีการจัดตั้ง และไม่ได้เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ หากเป็นเรื่องของการสนับสนุน และการคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ
การเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยม ก่อให้เกิดการนำเอาประชาชนเข้ามาผูกพันกับผลประโยชน์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ใช่เป็นเพียงกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น หากยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงในรูปแบบต่างๆ จาก “ระบอบทักษิณ” อีกด้วย ดังนั้น ความแตกแยกในสังคมจึงหยั่งรากลึกมากขึ้น เพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เกิดการเมืองแบบเผชิญหน้าก็คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คุมเสียงข้างมาก ทำให้โอกาสที่จะโค่นล้มรัฐบาลผ่านกระบวนการทางรัฐสภาเป็นไปไม่ได้ และนับวันรัฐบาลก็ยิ่งมีความแข็งแกร่งมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็นลำดับ
แต่ในสิงคโปร์และมาเลเซียก็มีสภาพทางการเมืองเช่นนี้เหมือนกัน แต่เหตุใดจึงไม่เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงเหมือนเมืองไทย ในกรณีสิงคโปร์นั้นเป็นประเทศเล็ก และไม่มีเขตชนบทหรือมีความยากไร้ขัดสน สำหรับมาเลเซียก็ได้มีการรวมกลุ่มทางการเมืองเป็นพรรคพันธมิตรแล้วความขัดแย้งจึงมีน้อยลง
วิธีเล่นการเมืองของผู้นำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม การเมืองแบบมวลชนที่ใช้นโยบายประชานิยม และการจัดตั้งประชาชนเปิดโอกาสให้นักแสวงโชคที่มีแนวโน้มนิยมความรุนแรงเข้ามาเป็นฐานทางการเมือง และมีประชาชนส่วนหนึ่งที่มีความคับแค้นใจถูกปลุกระดมให้เข้ามีส่วนร่วม โดยเน้นความแตกต่างกับคนส่วนอื่นๆ ในสังคม เช่น เน้น “ความเป็นไพร่” เพื่อแสดงความแตกต่างจาก “พวกอำมาตย์” เป็นต้น การมีฐานทางการเมืองแบบนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกในสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ตรงกันข้ามกับหลักการของประชาธิปไตย ที่ต้องการแสวงหาจุดร่วม ความสมานฉันท์ และการประนีประนอม
โอกาสที่สังคมไทยจะเกิดความรุนแรงเป็นระยะๆ จึงมีสูง ไปๆ มาๆ ประชาธิปไตยกลับเป็นระบบการเมืองที่สร้างความแตกแยกแทนที่จะสร้างความสมานฉันท์
การเมืองไทยได้เปลี่ยนจากการต่อสู้แข่งขันกันในระบบรัฐสภามาเป็นการเมืองของมวลชน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นพวก และพร้อมที่จะระดมพลมาคัดค้านรัฐบาลของฝ่ายตรงข้าม เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล กลุ่มคนเสื้อแดงก็ออกมาประท้วง และนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ก็ใช้พระราชบัญญัติความมั่นคง เหมือนกับในสมัยนี้
แม้ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะไม่ได้มีมติอย่างเป็นทางการที่จะเข้าร่วม แต่ก็ไม่คัดค้านและเชื่อว่าพันธมิตรฯ จำนวนไม่น้อยคงเข้าร่วมชุมนุมด้วย แม้การชุมนุมจะไม่ได้เริ่มจากแกนนำของพันธมิตรฯ ก็ตาม
การที่การเมืองไทยพัฒนามาเป็นการเมืองของการเผชิญหน้าระหว่างประชาชน และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนี้ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะการใช้การชุมนุมนอกสภา เป็นวิธีการแสดงออกทางการเมือง ไม่ใช่ครรลองของระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดคำถามว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้
การเคลื่อนไหวของประชาชนครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อสมัย 14 ตุลา 2516 แต่ในเวลานั้นการเมืองถูกปิดกั้น และเป็นการต่อสู้กันระหว่างผู้นำทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อมีประชาธิปไตยแล้ว ก็ย่อมมีช่องทางปกติหลายช่องทางในการแสดงออกทางการเมือง นอกจากนั้นรัฐบาลก็มาจากการเลือกตั้ง
แต่มูลเหตุสำคัญของการเมืองแบบเผชิญหน้า ก็มาจากการเมืองที่มีการแบ่งแยกเป็นพรรคพวกที่แฝงด้วยความเกลียดชัง แต่ละฝ่ายต่างมีการจัดตั้ง และไม่ได้เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ หากเป็นเรื่องของการสนับสนุน และการคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ
การเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยม ก่อให้เกิดการนำเอาประชาชนเข้ามาผูกพันกับผลประโยชน์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ใช่เป็นเพียงกลุ่มสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น หากยังเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงในรูปแบบต่างๆ จาก “ระบอบทักษิณ” อีกด้วย ดังนั้น ความแตกแยกในสังคมจึงหยั่งรากลึกมากขึ้น เพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เกิดการเมืองแบบเผชิญหน้าก็คือ การมีพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คุมเสียงข้างมาก ทำให้โอกาสที่จะโค่นล้มรัฐบาลผ่านกระบวนการทางรัฐสภาเป็นไปไม่ได้ และนับวันรัฐบาลก็ยิ่งมีความแข็งแกร่งมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็นลำดับ
แต่ในสิงคโปร์และมาเลเซียก็มีสภาพทางการเมืองเช่นนี้เหมือนกัน แต่เหตุใดจึงไม่เกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงเหมือนเมืองไทย ในกรณีสิงคโปร์นั้นเป็นประเทศเล็ก และไม่มีเขตชนบทหรือมีความยากไร้ขัดสน สำหรับมาเลเซียก็ได้มีการรวมกลุ่มทางการเมืองเป็นพรรคพันธมิตรแล้วความขัดแย้งจึงมีน้อยลง
วิธีเล่นการเมืองของผู้นำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม การเมืองแบบมวลชนที่ใช้นโยบายประชานิยม และการจัดตั้งประชาชนเปิดโอกาสให้นักแสวงโชคที่มีแนวโน้มนิยมความรุนแรงเข้ามาเป็นฐานทางการเมือง และมีประชาชนส่วนหนึ่งที่มีความคับแค้นใจถูกปลุกระดมให้เข้ามีส่วนร่วม โดยเน้นความแตกต่างกับคนส่วนอื่นๆ ในสังคม เช่น เน้น “ความเป็นไพร่” เพื่อแสดงความแตกต่างจาก “พวกอำมาตย์” เป็นต้น การมีฐานทางการเมืองแบบนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกในสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ตรงกันข้ามกับหลักการของประชาธิปไตย ที่ต้องการแสวงหาจุดร่วม ความสมานฉันท์ และการประนีประนอม
โอกาสที่สังคมไทยจะเกิดความรุนแรงเป็นระยะๆ จึงมีสูง ไปๆ มาๆ ประชาธิปไตยกลับเป็นระบบการเมืองที่สร้างความแตกแยกแทนที่จะสร้างความสมานฉันท์