วานนี้ ( 14 พ.ย.) ศาลปกครองกลางได้ไต่สวนคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้เพิกถอนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี โดยการไต่สวนครั้งนี้ ศาลจะพิจารณาว่า สมควรที่จะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือสั่งระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินร้องขอหรือไม่ และจะรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่
หลังการไต่สวนที่ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ศาลได้ไต่สวนเพื่อพิจารณาประกอบคำร้องใน 2 ประเด็น คือ การจัดประมูลคลื่นความถี่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมอย่างไร และเหตุใดจะต้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาคือสั่งกสทช. ระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ซึ่งก็ได้ชี้แจงว่า ทางผู้ตรวจฯเห็นว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ตามประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮริตซ์ ของสำนักงานกสทช. มีลักษณะไม่เอื้อต่อการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ตามนัยยะมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม 2553 มาตรา 45 ที่บัญญัติว่า การจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ต้องใช้วิธีประมูล ซึ่งแม้กสทช. จะใช้วิธีการประมูล แต่ก็ไม่เป็นการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ก็บัญญัติว่า หากมีการออกใบอนุญาตแล้วก็จะถือว่าเอกชนรายนั้น เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตไปเลย ตรงนี้ก็ได้ชี้แจงให้ศาลเห็นว่า หากคดียังไม่เป็นที่ยุติ แล้วกสทช. มีการออกใบอนุญาตไปก่อน จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เพราะรายได้ที่รัฐควรจะได้จากการประมูล ก็ยังเป็นปัญหาว่าเป็นรายได้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดจริงหรือไม่ รวมทั้งยังมีเงื่อนไขต่างๆ ที่กสทช.กำหนดให้เอกชนต้องดำเนินการ เช่น การลงทุนอะไรต่างๆ ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการไปก่อนแล้วต่อมาศาลมีคำสั่งว่าการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ไม่ชอบและสั่งเพิกถอน อาจเกิดปัญหายุ่งยาก การแก้ไขเยียวยาก็จะยากยิ่งกว่า และทำให้ล่าช้ายิ่งขึ้นไปอีก
จึงจำเป็นที่ศาลฯควรจะมีคำสั่งชะลอการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ซึ่งผู้ตรวจฯยืนยันว่า การยื่นฟ้องไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้การออกใบอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีล่าช้า และหลังจากนี้คงไม่ต้องมาชี้แจงใดๆอีก รวมทั้งศาลก็ไม่ได้เรียกเอกสารใดๆ เพิ่มเติม โดยศาลได้แจ้งให้ทราบว่า จะเร่งพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็ว แต่ไม่ได้บอกว่าจะเป็นเมื่อใด รวมทั้งไม่ได้บอกว่าจะมีการเรียกพยานที่เป็นผู้ร้องเรื่องดังกล่าวต่อผู้ตรวจฯมาให้ถ้อยคำหรือไม่ด้วย
อย่างไรก็ตามการไต่สวนครั้งนี้ เป็นการไต่สวนฝ่ายผู้ร้องคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินเพียงฝ่ายเดียว โดยศาลได้นัดฝ่ายผู้ถูกร้องคือกสทช. เข้าไต่สวนในวันนี้ (15พ.ย.) เวลา 13.30 น.
หลังการไต่สวนที่ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ศาลได้ไต่สวนเพื่อพิจารณาประกอบคำร้องใน 2 ประเด็น คือ การจัดประมูลคลื่นความถี่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมอย่างไร และเหตุใดจะต้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาคือสั่งกสทช. ระงับการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ซึ่งก็ได้ชี้แจงว่า ทางผู้ตรวจฯเห็นว่า การจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ตามประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮริตซ์ ของสำนักงานกสทช. มีลักษณะไม่เอื้อต่อการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ตามนัยยะมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม 2553 มาตรา 45 ที่บัญญัติว่า การจะได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ต้องใช้วิธีประมูล ซึ่งแม้กสทช. จะใช้วิธีการประมูล แต่ก็ไม่เป็นการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญ
นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ก็บัญญัติว่า หากมีการออกใบอนุญาตแล้วก็จะถือว่าเอกชนรายนั้น เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตไปเลย ตรงนี้ก็ได้ชี้แจงให้ศาลเห็นว่า หากคดียังไม่เป็นที่ยุติ แล้วกสทช. มีการออกใบอนุญาตไปก่อน จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เพราะรายได้ที่รัฐควรจะได้จากการประมูล ก็ยังเป็นปัญหาว่าเป็นรายได้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดจริงหรือไม่ รวมทั้งยังมีเงื่อนไขต่างๆ ที่กสทช.กำหนดให้เอกชนต้องดำเนินการ เช่น การลงทุนอะไรต่างๆ ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการไปก่อนแล้วต่อมาศาลมีคำสั่งว่าการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ไม่ชอบและสั่งเพิกถอน อาจเกิดปัญหายุ่งยาก การแก้ไขเยียวยาก็จะยากยิ่งกว่า และทำให้ล่าช้ายิ่งขึ้นไปอีก
จึงจำเป็นที่ศาลฯควรจะมีคำสั่งชะลอการออกใบอนุญาต 3 จีไว้ก่อน ซึ่งผู้ตรวจฯยืนยันว่า การยื่นฟ้องไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้การออกใบอนุญาตการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีล่าช้า และหลังจากนี้คงไม่ต้องมาชี้แจงใดๆอีก รวมทั้งศาลก็ไม่ได้เรียกเอกสารใดๆ เพิ่มเติม โดยศาลได้แจ้งให้ทราบว่า จะเร่งพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็ว แต่ไม่ได้บอกว่าจะเป็นเมื่อใด รวมทั้งไม่ได้บอกว่าจะมีการเรียกพยานที่เป็นผู้ร้องเรื่องดังกล่าวต่อผู้ตรวจฯมาให้ถ้อยคำหรือไม่ด้วย
อย่างไรก็ตามการไต่สวนครั้งนี้ เป็นการไต่สวนฝ่ายผู้ร้องคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินเพียงฝ่ายเดียว โดยศาลได้นัดฝ่ายผู้ถูกร้องคือกสทช. เข้าไต่สวนในวันนี้ (15พ.ย.) เวลา 13.30 น.